โรคระบาด บีบให้เราเข้าถึงระบบดิจิตอลเร็วขึ้น ปัจจุบันคือปี ค.ศ.2025 แต่หลายคนยังไม่รู้(ตัว)…

หลายคนบอกว่า โลกนี้กำลังเข้าสู่ “New Normal”

คือ โลกใหม่ หลังโควิด-19 ที่หน้าตาไม่เหมือนเดิม

แอดมิน ได้มีโอกาสฟัง ดร. ธนัย ชรินทร์สาร และ Chris Hafner 2 นักกลยุทธ์ ได้แนวคิดที่ดีมากๆ

ช่วยตอบข้อสงสัย ที่ว่า โลกที่มันหน้าตาไม่เหมือนเดิม แล้วมันหน้าตาเป็นยังไง?

เราลองไปดูประเด็นสำคัญกัน หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย

════════════════

ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก

www.zupports.co

════════════════

1) โลกเราก้าวไปสู่อนาคต โดยเฉพาะด้านดิจิตอล เร็วขึ้น ไม่น้อยกว่า 5 ปี

ที่เปิดหัวบทความว่าปีนี้ คือปี ค.ศ. 2025 ไม่ใช่ว่าอยู่เราก็แก่ขึ้นไปอีก 5 ปี

แต่คือ ด้วยการแพร่ระบาดของโควิด-19

ทำให้โลกเราถูกบีบให้เข้าถึงระบบดิจิตอลเร็วขึ้น….ไม่น้อยกว่า 5 ปี

คงไม่มีใครคิดว่าอยู่ เราจะต้องมานั่งประชุมผ่าน Zoom, Line, หรือ Team กันแบบ non-stop ทั้งวัน

หรือ การที่ห้างและร้านค้าต่างๆ ถูกปิด ทำให้ต้องไปขายช่องทางออนไลน์

และการเกิดขึ้นแบบน่าติดตามสุดๆ ของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน และ จุฬามาร์เกตเพลส

Cr. Positioningmag

ที่ตอนนี้มีฝากร้าน กันแทบทุกมหาวิทยาลัยแล้ว

การจ่ายเงินก็ต้องผ่านระบบดิจิตอล และการรับเงินช่วยเหลือก็เช่นกัน

จากเดิมที่เป็นระบบ “Push” คือ บริษัทเทคโนโลยีต้องเข้าไปขายของให้บริษัท ง้อแล้วง้ออีกกว่าจะซื้อ แล้วบริษัท ก็ต้องไปง้อพนักงานให้ช่วยใช้กันหน่อย (ก็ยังไม่ใช้อยู่ดี)

กลายเป็น “Pull” คือ บริษัท ต้องวิ่งเข้าหาเทคโนโลยีดิจิตอล เหล่านี้แทน

ธุรกิจ ไม่มีทางเลือกอื่นอีกต่อไป นอกจากใช้เทคโนโลยีดิจิตอล…

2) ธุรกิจส่วนใหญ่ อาจคิดถึงการอยู่รอดในระยะสั้น แต่ก็จำเป็นที่จะต้องคิดถึงภาพระยะยาวด้วย

คือ เราจะมั่นใจได้อย่างไร? ว่าโลกหลังโควิด จะ ฟื้นฟูกลับมาเหมือนเดิม ก่อนโควิด??

โดย อ. Chris Hafner ประธานของ *Strategic Planning Society แนะนำว่า

เวลาที่เราคิดถึงกลยุทธ์ ควรเปลี่ยน จากคำว่า

“Return” (การกลับมา) และ “Recover” (การฟื้นฟู)

ไปเป็น

“Emerge” (อุบัติ, ออกมาใหม่) และ “Evolve” (วิวัฒนาการ)

ลองคิดภาพว่าหากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ co-working space เช่น WeWork

คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ลูกค้าจะกลับมาใช้บริการสำนักงานให้เช่าของคุณ

ลูกค้าที่เคยชินกับการประชุมผ่านเครื่องมือออนไลน์แล้ว และยังต้องประหยัดค่าใช้จ่าย

ดังนั้นอาจเป็นไปได้ยากหากจะคิดว่าลูกค้าจะกลับมา…

Cr. Forbes

ให้ลองเปลี่ยนมุมมอง แทนที่ “จะกลับไปเหมือนเดิมอย่างไร”

โดยการตั้งคำถามตัวเองว่า

“The New Normal ของธุรกิจของเราคืออะไร”

“และเราจะพัฒนาไปสู่ The New Normal นั้นได้อย่างไร?”

3) มุมมองในช่วงระยะสั้น ธุรกิจสามารถทำอะไรได้บ้าง?

สำหรับมุมมองใน ระยะสั้น อ.ธนัย มีคำแนะนำที่สามารถลองไปคิดและประยุกต์กัน

ธุรกิจท่องเที่ยว การเดินทางระหว่างประเทศ โดนกระทบมากที่สุด

คำถามคือ ทำอย่างไรให้คนมั่นใจว่า ไปใช้บริการแล้ว จะปลอดภัย ไม่ติดเชื้อโควิด??

อ. ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาของ Disney resort ที่เซี่ยงไฮ้ เริ่มเปิดบางส่วนวันที่ 9 เม.ย. ที่ผ่านมา

ทุกคนที่เข้าไปในบริเวณ ต้องใส่หน้ากาก ตรวจอุณหภูมิ และมี QR code ให้คนที่ไม่ติดเชื้อ

Cr. Disney

หรือทาง อิตาลี ที่โดนหนักมาก ก็เริ่มประกาศเปิดร้านค้าแล้ว

โดยร้านแรกๆ ที่ได้กลับมาเปิดก็คือ “ร้านหนังสือ”

ซึ่งรัฐบาลให้เหตุผลว่า “ความรู้” คือ “สิ่งจำเป็น” ในชีวิต เป็นภาพเชิงสัญลักษณ์มากกว่า แต่แน่นอนว่ามาตรการต่างๆ ทั้งการใช้หน้ากากป้องกัน ก็ยังต้องคุมเข้ม

Cr. RFI

ธุรกิจอื่นๆ ก็อาจมีมาตรการเพิ่ม เช่น การให้พนักงานสลับกับเข้าออฟฟิศ, การประชุมเก้าอี้เว้นเก้าอี้

หรือตัวอย่าง โรงงานของฮุนได ที่เอาแผ่น Acrylic มากั้นที่นั่งในโรงอาหาร

Cr. WSJ

อกจากนี้ทำอย่างไรให้ลูกค้าสบายใจ ว่าสถานที่มีความปลอดภัย

ร้านอาหาร อาจใช้แนวคิดง่ายๆ เบื้องต้น เช่น การลดจำนวนโต๊ะ เก้าอี้ ลงครึ่งหนึ่ง เพื่อให้ยังมี Social Distancing อยู่

คือ ธุรกิจ ยังไงก็ต้องกลับมาเปิด อย่างน้อยให้ได้กระแสเงินหมุน

แต่จะคิดและทำเหมือนเดิม ก็คงเป็นไปไม่ได้

4) ควรมองภาพอย่างไร ในส่วนของ ระยะกลาง-ระยะยาว?

อ.เปรียบเทียบกับสึนามิ คือ เหตุการณ์แบบนี้ มี Aftershock แน่นอน

โดย Aftershock ที่มาแล้ว ก็คือ วิกฤตเศรษฐกิจ

แต่จะเป็นแค่ Recession (ถดถอย) หรือ Depression คือเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ อ. บอกว่า ยังมีความไม่แน่นอน (Uncertainty) อยู่

ซึ่งหลายๆ แหล่งข่าว ระบุตรงกันว่า สถานการณ์โควิด-19 จะดีขึ้นก็ต่อเมื่อ

สามารถผลิตวัคซีนป้องกัน โควิด-19 ออกมาได้ ซึ่งอาจใช้เวลาอยู่ในช่วง 1 ปีครึ่ง ถึง 2 ปี

ซ้ำร้าย นักวิชาการ Harvard ยังออกมาเตือนว่าเราอาจต้อง Social Distancing กันถึงปี ค.ศ. 2022!!

มองไปข้างหน้าระยะกลาง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ความสะอาดได้รับผลบวก ส่วนระยะยาว แนะนำให้มองเหตุการณ์เป็นทางเลือก

(Scenario) วางแผนรับมือไว้

Cr. Mckinsey

และติดตามข้อมูล หา “จุดเปลี่ยน” ในเหตุการณ์

เพื่อนำไปปรับแผนกลยุทธ์…

ก็เป็นประเด็นสำคัญ ที่มาเล่าสู่กันฟัง

โดยการที่เราเริ่มต้นปรับเปลี่ยนความคิด

จากแค่ความหวังที่จะกลับมาเหมือนเดิม

เปลี่ยนเป็น คิดใหม่ ว่าเราจะปรับตัว และวิวัฒนาการ

ไปหา The New Normal ได้อย่างไร

ภาพการ นำเข้า ส่งออก ก็คงต้องคิดหานวัตกรรมใหม่ๆ

ไม่ว่าจะเป็นตัวสินค้า อาจมีความจำเป็นที่จะต้องยึดอายุสินค้า

เช่นตัวอย่าง ถุงควบคุมการสุกของมะม่วง

หรือการใช้แพลตฟอร์มการค้า e-commerce

ต่างๆ ทดแทนการออกบู๊ธในต่างประเทศ

ซึ่งแอดมินจะสรรหาข้อมูลมาเล่าในโอกาสถัดไป

เพราะที่แน่ๆ คือ “Digital Disruption” มันมาอยู่ตรงหน้าเราแล้ว

ใครไม่ปรับตัว ไม่ยอมเรียนรู้ ก็ต้องบอกว่า “คงไม่ได้ไปต่อ” อย่างแน่นอน…

════════════════

ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก

www.zupports.co

════════════════

ที่มา:

Strategy Essential Group

https://www.themeparktourist.com/news/20200415/28825/shanghai-disney-resort-continues-reopening-required-masks-and-health-check

https://www.wsj.com/articles/the-coronavirus-economic-reopening-will-be-fragile-partial-and-slow-11586800447

https://www.technologyreview.com/2020/04/15/999618/2022-social-distancing-science-lipsitch/

👫 พิเศษสุด! นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า Marketplace

สำหรับเพื่อนๆ นำเข้า ส่งออก เชิญค้าขายกันได้เลย

https://www.facebook.com/groups/573677150199055/?source_id=416086589242286

❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก

ZUPPORTS.co

👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้าส่งออก

http://bit.ly/35Rh2ql

ข่าวสารอื่นๆ