[Freight Weekly] :อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 1- 5 มกราคม 2567 กับ ZUPPORTS !!! สัปดาห์ต้อนรับปีใหม่ ยิ้มรับความท้าทาย ที่เกิดจากวิกฤติทะเลแดง !!!

[Freight Weekly] :อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 1- 5 มกราคม 2567 กับ ZUPPORTS !!!

สัปดาห์ต้อนรับปีใหม่ ยิ้มรับความท้าทาย ที่เกิดจากวิกฤติทะเลแดง !!!

.

โดยในสัปดาห์นี้ ถือนับเป็นสัปดาห์แรก หรือ Week 1 ของปี 2567 ตามปฏิทินของคนในแวดวงขนส่งทางเรือ และสัปดาห์นี้ ยังเป็นสัปดาห์แรกในการเปิดทำงาน หลังจากที่หลายคนได้หยุดพัก เพื่อชาร์จแบตกันเต็มที่ ในช่วงเวลาแห่งเฉลิมฉลองข้ามปีที่ผ่านมา

.

หากแต่ในช่วงที่พวกเราทุกคนหยุดยาวกันนั้น ยังคงมีสถานการณ์ต่างๆมากมาย ที่เกิดขึ้นรอบตัวพวกเราในโลกของการนำเข้า-ส่งออก โดยเฉพาะสถานการณ์ที่ทะเลแดง ซึ่งยังอยู่ในภาวะที่ไม่สงบ และยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาพใหญ่ของการขนส่งสินค้าในทะเล รวมถึงภาพเศรษฐกิจของโลก !!

.

ดังนั้น สรุปข่าวในรอบสัปดาห์นี้ เราจะมาดูกันว่า ในช่วงสัปดาห์แรกของปี หลังจากที่หยุดพักยาว จนถึงเปิดงานกลับมา พวกเราต้องพบเจอกับอะไรกันบ้าง หรือมีสถานการณ์อะไรบ้าง ที่พวกเราต้องเตรียมรับมือกัน !!

.

ซึ่งหากเพื่อนๆทุกคนพร้อมกันแล้ว ตามพวกเรามาไล่เรียงกันทีละประเด็นกันได้เลย

.

=========================

ZUPPORTS ช่วยผู้นำเข้าส่งออก หา Space

เปรียบเทียบราคาและบริการ Freight ทั้งทางทะเล ทางอากาศ ทางบก และทางรถไฟ

ด้วยพันธมิตรผู้ให้บริการขนส่ง มากกว่า 30 บริษัท

ลงทะเบียนทดลองใช้งานได้ที่

นัดหมายทดลองใช้งาน

=========================

1) สถานการณ์ของ Sea Freight Shipment หรือ งานขนส่งสินค้าทางทะเล ภาพรวมยังถือว่าคลื่นลมไม่เป็นใจ

.

เริ่มต้นกันที่ ภาพรวมของงานขนส่งสินค้าทางเรือ หรือ Sea Freight Shipment ที่ดูจะอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างตึงเครียดสำหรับหลายคน ซึ่งต้องกลับมาพบกับความท้าทาย ในเรื่องของการหาพื้นที่ระวางขนส่ง หรือการจองเรือสำหรับงานใหม่

.

ทั้งนี้ ภาพรวมการจองเรือในหลายเส้นทาง ตกอยู่ในภาวะที่จองเรือยากอย่างมาก อย่าง ในเส้นทางที่ขนส่งไปยัง ภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ Asia- North America ทั้งในส่วน East Coast และในฝั่ง West Coast รวมถึง ในเส้นทางที่ขนส่งไปยังภูมิภาคแอฟริกา หรือ  Asia- Africa Trade

.

และในเส้นทางขนส่งไปยัง ภูมิภาคยุโรปตอนเหนือและยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- North Europe Trade / Asia- Mediterranean Trade ที่หลายสายการเดินเรือ ไม่สามารถรับจองเรือสำหรับงานใหม่ได้ จนถึงช่วงสัปดาห์ที่สามของเดือนมกราคมนี้เป็นที่เรียบร้อย

.

นอกจากนี้ การจองเรือในอีกหลายเส้นทาง เริ่มกลับมาอยู่ภาวะที่ยากเย็น นับตั้งแต่เกิดวิกฤติที่ทะเลแดง หรือ Red Sea Crisis อย่าง ในเส้นทางที่ขนส่งไปยังพื้นที่ความเสี่ยง หรือ Red Sea Trade และในเส้นทางที่ขนส่งไปยังภูมิภาคตะวันออกกลาง หรือ Middle East Trade

.

ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากหลายสายการเดินเรือระงับการให้บริการในเส้นทางขนส่งดังกล่าว ประกอบกับ ผู้ประกอบการรับขนส่งสินค้าและผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกจำนวนมาก ที่มีงานขนส่งไปยังยุโรปตอนล่าง หรือ Mediterranean Trade มีการเลี่ยงไปใช้เส้นทางในทะเลอาหรับสูงขึ้น เพื่อที่จะทำการขนส่งต่อเนื่อง หรือทำการลากต่อ ส่งผลให้พื้นที่ระวางจึงค่อนข้างแน่นและเต็มเร็ว

.

ขณะเดียวกัน ภาพรวมการหมุนเวียนของตู้สินค้าในบ้านเรา ยังอยู่ในภาวะที่ไม่คล่องตัวสักเท่าไร โดยในรอบหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ตู้สินค้าที่หมุนเวียนส่วนใหญ่ เป็นตู้สินค้าที่มาจากฝั่งขานำเข้า มากกว่าเป็นการนำตู้สินค้าเปล่าเข้ามาในรูปแบบ Empty Repo

.

ในขณะที่ คาดกันว่าโดยรอบสัปดาห์นี้ จะเป็นช่วงเวลาที่ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ที่มีงานขาส่งออก ต่างเร่งทำการลากตู้สินค้าเปล่า เนื่องจากงานจำนวนมากอั้นมาในช่วงวันหยุด ประกอบกับ ผู้ประกอบการจำนวนหนึ่ง มีการย้ายเรือ หรือถูกทำตกเรือมาตั้งแต่ช่วงก่อนหยุดยาว เนื่องจากไม่สามารถทำการลากตู้เปล่าเพื่อทำการบรรจุสินค้าได้ก่อนที่จะปิดงาน

.

ดังนั้น สัปดาห์นี้ จะเป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างยากลำบาก และท้าทายคนทำงานอย่างแท้จริง

.

*******

2) สถานการณ์ความเสถียรของตารางเดินเรือ สายเส้นทางได้รับผลกระทบจาก Red Sea Crisis !!!

.

ทางด้าน สถานการณ์ความนิ่งของตารางเรือ ในรอบสัปดาห์นี้ ถือว่า น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ตารางเรือค่อนข้างจะปั่นป่วนมากที่สุดสัปดาห์หนึ่ง ตารางเรือในหลายเส้นทาง อยู่ในภาวะที่บิดเบี้ยว และไม่มีความนิ่ง

.

ทั้งจากปัญหาความหนาแน่นของท่าเรือหลักต่างๆ รวมถึง จากปัญหาด้านสภาพอากาศที่แปรปรวนในหลายพื้นที่ อย่างเช่นท่าเรือหลักของประเทศจีน

.

ซ้ำร้าย ยังถูกซ้ำเติมจาก ปัจจัยสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในทะเลแดง ทุกสายการเดินเรือ และผู้ให้บริการรับขนส่งจำนวนมากมีการปรับเส้นทางการเดินเรือและการขนส่ง โดยเพาะในเส้นทางที่ต้องผ่านทะเลแดง

.

ทั้งนี้ ก็เนื่องจาก สายการเดินเรือ รวมถึง ผู้ให้บริการรับขนส่ง ต่างมีการปรับเปลี่ยนเส้นทางขนส่ง โดยการเลี่ยงไม่ผ่านในเส้นทางทะเลแดงและคลองสุเอช ส่งผลให้ระยะเวลาในการขนส่งที่นานขึ้น !!

.

จากระยะทางที่ไกลขึ้นโดยการอ้อมผ่านแหลม Good Hope ของ ประเทศ South Africa เรือสินค้าจำนวนมาก ไม่สามารถที่จะกลับเข้ารอบเรือของตนเองได้ทันตามตารางเรือ เนื่องจากระยะทางที่ไกลขึ้น จากการที่เรือต้องวิ่งอ้อม !!

.

ซึ่งจากปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดปัญหาที่ตามมา คือ ระยะเวลาในการขนส่งที่ยาวนานกว่าปกติ โดยเฉพาะ งานที่ขนส่งไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ และยุโรปตอนล่าง North Europe Trade and Mediterranean Trade

.

รวมถึง ในเส้นทางที่ขนส่งไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือฝั่งตะวันออก หรือ North America East Coast Trade หรือแม้แต่ในเส้นทางขนส่งในภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกกลาง หรือ Indian Subcontinent and Middle East.

.

**************

4) สถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ ในหลายเส้นทาง ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุก 15 วัน !!!

.

ด้านสถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หรือ Sea Freight Rate ที่ดูจะยังเป็นไปในทิศทางขาขึ้น หลายสายการเดินเรือ ยังคงมีการประกาศปรับขึ้นค่าระวางขนส่งในเส้นทางหลักต่างๆ เนื่องจาก อุปสงค์หรือความต้องการในภาคขนส่งทางเรือ กลับมาอยู่ในจุดที่สูงกว่าอุปทาน หรือพื้นที่ระวางขนส่ง ซึ่งลดน้อยจากการประกาศตารางเรือว่าง ยกเลิกเที่ยวเรือ หรือ Blank Sailing

.

ยิ่งมาประกอบกับสถานการณ์วิกฤติในทะเลแดง จึงยิ่งส่งผลให้ค่าระวางขนส่งในหลายเส้นทาง มีการปรับตัวดันสูงขึ้น อย่าง ในเส้นทางขนส่งไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือและยุโรปตอนล่าง หรือ North Europe Trade and Mediterranean Trade รวมถึง ค่าระวางในเส้นทางที่ขนส่งไปยังแทบทะเลแดง หรือ Red Sea Trade และในเส้นทางที่ขนส่งไปยังภูมิภาคตะวันออกกลาง หรือ Middle East Trade

.

ทั้งนี้ ก็เนื่องจาก หลายสายการเดินเรือ มีการปรับเส้นทางการขนส่ง รวมถึง การระงับการให้บริการ หรือหยุดรับการจองเรือชั่วคราวในหลายเส้นทาง ส่งผลให้พื้นที่ระวางขนส่ง หรือ Allocation Space หุบแคบลงและมีอย่างจำกัด !!

.

ประกอบกับ หลายสายการเดินเรือ มีการยกเลิกบุ๊คกิ้งยืนยันการจองเรือ หรือ Force Cancel และการแจ้งเปลี่ยนท่เรือปลายทาง หรือ COD (Change Port of Destination) ในเส้นทางขนส่งที่ต้องผ่านทะเลแดงและคอลงสุเอช

.

ทั้งนี้ หลายสายการเดินเรือ มีการประกาศแจ้งปรับค่าระวางขนส่ง หรือ Sea Freight Rate GRI (General Rate Increase)/ RR (Rate Restoration) ในหลายเส้นทาง โดยจะมีผลตั้งแต่สัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ 2567

.

ขณะที่ในบางสายการเดินเรือ ยังคงทำการปรับในลักษณะแบ่งเป็น 2- 3 ช่วง คือ กลางเดือนมกราคม ไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ !!

.

==================

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากเช็คแนวโน้มราคาเฟรท ทางทะเล ย้อนหลัง 3 เดือน แยกไปแต่ละเส้นทางขนส่ง ก็สามารถ ลองเข้าไปเช็คกันได้เลยที่ https://zupports.co/our-services/

.

หรือหากอยากดูราคาเฟรท ในเดือนล่าสุด ก็ลงทะเบียน แบบ premium กันได้เลยที่ https://zupports.co/register/

==================

.

************

5) ด้านสถานการณ์ความหนาแน่นของท่าเรือหลักทั่วโลก หลายท่าเรือหลัก ยังคงตึงๆแน่นๆ ข้ามปี !!!

.

ปิดท้ายกันที่ ภาพรวมของท่าเรือหลักทั่วโลก ที่ในช่วงตั้งแต่ก่อนปิดหยุดงานจนถึงเปิดงาน หลายท่าเรือดูจะยังอยู่ในภาวะที่ถือว่าค่อนข้างตึงมือพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นปริมาณตู้สินค้าที่ตกค้างในท่าเรือ และจำนวนเรือสินค้าที่รอเทียบท่า ทั้งนี้ ล้วนแล้วเกิดจากปัญหาคอขวดซึ่งยังคงเป็นปัจจัยหลักในหลายท่าเรือ รวมถึง จากปัญหาความบิดเบี้ยวของตารางเรือและรอบเรือ !!

.

ท่าเรือหลักในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ประตูหลักด้านตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกา US East Coast อย่าง USNYC, USSAV, USCHS, USORF ยังคงอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างแน่น จากจำนวนเรือสินค้าและตู้สินค้าที่เพิ่มขึ้น ในช่วงปลายปี รวมถึง ท่าเรือในฝั่งตะวันออก จะยังคงต้องรับบทหนัก ในการรองรับสินค้าจำนวนหนึ่ง ที่หนีมาจากการขนส่งผ่านคลองปานามาซึ่งอยู่ในช่วงวิกฤติภัยแล้ง !!

.

ขณะที่ ภาพรวมของกลุ่มท่าเรือหลักในฝั่งตะวันตก หรือ US West Coast อย่าง USLAX, USLGB, USOAK, USTIW, USSEA ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงมือ จากความหนาแน่นของตู้สินค้าในท่าเรือ และจำนวนเรือสินค้าที่รอเทียบท่า เนื่องจากภาวะความไม่สมดุลและขาดแคลนอุปกรณ์ภาคการขนส่งทางราง ที่ส่วนใหญ่ ยังคงไปกระจุกตัวในฝั่งตะวันออก

.

ซึ่งผลที่ตามมา คือ งานที่ต้องทำการขนส่งต่อเนื่องไปยังเมืองที่ตอนกลางของภูมิภาค หรือ IPI ต่างๆ อย่าง Chicago, Memphis, Detroit ,Cleveland ต้องเกิดความล่าช้าอย่างน้อย 7 -10 วันในการรอต่อขึ้นราง !!

.

กลุ่มท่าเรือหลักในภูมิภาคเอเชีย หลายท่าเรือหลักของประเทศจีน อยู่ในภาวะที่ค่อนข้างตึงมือ จากความหนาแน่นของตู้สินค้า และจำนวนเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาคลื่นลมแรง อย่าง CNSHA, CNNGB, CNTAO, CNTXG รวมถึง ท่าเรือของประเทศเกาหลีใต้ อย่าง KRPUS ที่ประสบกับปัญหาความหนาแน่นเช่นกัน ส่งผลเรือสินค้าเกิดปัญหาความล่าช้า อย่างน้อย 2 -5 วัน !!

.

ทางด้านสถานการณ์ของกลุ่มท่าเรือที่เป็นจุดถ่ายลำหลัก SGSIN, MYPKG ยังตกอยู่ในภาวะที่ตึงมือ จากปัญหาความหนาแน่นของพื้นที่วางตู้ในท่า บวกกับสถานการณ์ความไม่นิ่งและขาดช่วงความถี่ของรองเรือแม่ที่จะมาเก็บตู้ที่รอขนถ่าย ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาคือ ปัญหาความล่าช้าในการปฏิบัติงาน อย่างน้อย 2 -3 วัน

.

โดยเฉพาะที่ MYPKG ภาพรวมถือว่าดูดีกว่า SGSIN หากแต่ หลังจากทางการมาเลเซีย มีประกาศห้ามสายเรืออิสราเอลเข้าเทียบ ส่งผลให้มีตู้สินค้า ที่รอต่อขึ้นเรือของสายการเดินเรือ ZIM Line ตกค้าง ขณะที่ทางด้าน  HKHKG อยู่ในภาวะทรงตัว หากแต่มีปริมาณตู้สินค้าเพิ่มขึ้น และจำนวนเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบเพิ่มขึ้นสะสมตั้งแต่ในช่วงปลายปี !!

******************

.

ที่กล่าวมานั้น คือการสรุปข่าวสาร ความเคลื่อนไหว สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแวดวงการนำเข้า-ส่งออก ภาคการขนส่งสินค้าทางเรือประจำสัปดาห์ ที่พวกเราหมายใจอย่างยิ่ง จะให้เป็นประโยชน์ ต่อท่านผู้ประกอบการและท่านผู้ติดตามทุกท่าน ในการวางแผนการทำงาน และสามารถรับมือกับทุกอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นได้ครับ

.

สัปดาห์นี้ขอลาไปก่อน ขอบุญรักษาทุกท่าน และขอสันติสุข จงมีต่อโลกของเรา สวัสดีครับ

.

CR : PIC by Kees Torn

.

=========================

ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ นำเข้า ส่งออก

เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk

=========================

ข่าวสารอื่นๆ