ธุรกิจควรปรับตัวอย่างไร สำหรับสถานการณ์โควิด-19 March, 27 2020

พอดีได้มีโอกาสอ่านบทวิเคราะห์จากทาง McKinsey & Company (อัพเดตล่าสุด 25 มีนาคม)

โดยเป็นการวิเคราะห์สถานการณ์โควิด-19 มีการคาดการณ์เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น รวมไปถึงแนวทางการปรับตัวของธุรกิจ…

สำหรับบทความนี้ แอดมินจึงสรุปมาแชร์ให้เพื่อนๆ อ่านกัน

โดยจะเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศ

หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย

════════════════

หาราคาขนส่งทั่วโลก ที่ดีที่สุด

www.zupports.co

════════════════

1) สถานการณ์โควิด-19 จะยืดเยื้อขนาดไหน? และส่งผลกระทบอย่างไร?

ทาง McKinsey ประเมินออกมาถึง 9 เหตุการณ์ด้วยกัน

(ใครที่คุ้นเคยกับบริษัทที่ปรึกษา น่าจะคุ้นเคยกับ 2×2 หรือ 3×3 Matrix)

McKinsey

โดยเป็นการวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้เกณฑ์ 2 อย่างคือ

หนึ่ง ผลสำเร็จของมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดโรค (ไล่จากล้มเหลวในการควบคุม, คุมได้ปานกลาง, และคุมได้ดีมาก)

สอง ผลสำเร็จของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ (ไล่จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้ผล, ได้ผลปานกลาง, และได้ผลดีมาก)

ทาง McKinsey มีการคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจ ใน 2 กรณี ก็คือ

McKinsey

กรณีแรก คือ A3 Virus Contained คือ สามารถควบคุมไวรัสได้อย่างรวดเร็ว แต่นโยบายเศรษฐกิจ ได้ผลปานกลาง

– โดยเศรษฐกิจโลกจะดิ่งลงต่ำสุดช่วงไตรมาสสองนี้ และเริ่มฟื้นตัวกลับคืนสู่สภาวะก่อนโควิด-19 ช่วงต้นไตรมาส 4 ปีนี้

– ในกรณีนี้คาดการณ์ว่า GDP ของโลกโดยรวมในปี 2563 จะลดลง 1.5% โดยทางสหรัฐฯ ลดลง 2.4%, จีนลดลง 0.4%, ที่หนักสุดคือ ยุโรปติดลบ 4.4%

McKinsey

กรณีที่สอง คือ A1 Muted Recovery อันนี้คือ สามารถควบคุมไวรัสได้ปานกลาง และนโยบายเศรษฐกิจ ได้ผลปานกลาง

– โดยเศรษฐกิจโลกจะดิ่งลงต่ำสุดช่วงไตรมาสสี่ของปีนี้ และเริ่มฟื้นตัวกลับคืน แต่ก็ยังไม่กลับคืนสู่จุดเดิมภายในปี 2564 จะมีก็แต่เศรษฐกิจจีน ที่กลับคืนมาได้ในไตรมาสสองปี 2564

– ในกรณีนี้คาดการณ์ว่า GDP ของโลกโดยรวมในปี 2563 จะลดลง 4.7% โดยทางสหรัฐฯ ลดลง 8.4%, จีนลดลง 2.7%, ที่หนักสุดคือ ยุโรปติดลบ 9.7%!

– กรณีนี้น่าจะเรียกได้ว่าเป็น Base Case หรือเหตุการณ์ที่น่าจะเป็นไปได้ (ณ ตอนนี้)

แอดมินว่า Model นี้น่าสนใจ เราลองประเมินดูได้ว่าประเทศไทยเราจะออกหน้าไหน

สำหรับภาพที่เห็นชัดในทุกๆกรณี สำหรับผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจนำเข้า-ส่งออกก็คือ ลูกค้าหรือ Supplier ในยุโรปแย่แน่ๆ

ส่วนจีน น่าจะกลับมาเร็วที่สุด เป็นจุดที่เราอาจต้องปรับโฟกัสไปที่จีน

McKinsey ให้คำแนะนำสำหรับผู้บริหาร ก็คือ การถามคำถามตัวเอง 3 คำถาม ได้แก่

หนึ่ง ประเมินว่าความต้องการของผู้บริโภค ลดลงเยอะขนาดไหน?

สอง  สถานการณ์จะยืดเยื้อขนาดไหน?

สาม  สถานการณ์จะกลับมาในรูปแบบไหน?

2) ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ

McKinsey

ไล่เรียงตั้งแต่ธุรกิจที่ได้ผลกระทบมากที่สุดได้แก่

หนึ่ง อุตสาหกรรมอากาศยานและการป้องกันประเทศ

คาดการณ์ว่ากว่าจะกลับมาได้ อาจเป็นช่วงปลายปี 2564 เลย ซึ่งบริษัทที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ ก็เช่น Boeing และ Airbus บริษัทผลิตเครื่องบิน ซึ่งผู้ผลิตในห่วงโซ่อุปทานของ 2 กลุ่มนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่

สอง อุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยว

อันนี้อาจกลับมาได้ช่วงไตรมาส 2 ปี 2564 โดยเหตุการณ์ครังนี้แย่กว่า สถานการณ์ 9-11 ที่เครื่องบินชนตึก World Trade กว่า 5-6 เท่า และที่แย่ที่สุดก็คือ ไวรัสจะพีคกลางปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนของโซนยุโรป สหรัฐอเมริกาพอดี

การบินในประเทศน่าจะฟื้นตัวใน 2-3 ไตรมาส ส่วนการบินระหว่างประเทศอาจใช้เวลา 6 ไตรมาสขึ้นไป

สาม ธุรกิจประกัน

อาจกลับมาได้ช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ โดยเฉพาะประกันภัยต่อ และประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งนอกจากโดนเคลมค่าประกันสุขภาพแล้ว ยังมีเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ส่งผลต่อผลตอบแทนการลงทุนที่บริษัทประกันเหล่านี้เอาเงินไปลงทุนเอาไว้จ่ายผู้เอาประกันภัยอีกด้วย

สี่ ธุรกิจน้ำมัน

สงครามราคาน้ำมันส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อบริษัทในกลุ่มนี้ โดนสองเด้งเลย ซึ่งทาง McKinsey คาดการณ์ว่าจะกลับมาได้ ช่วงไตรมาส 3 ปีนี้

ห้า รถยนต์

อาจเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยช่วงนี้ และจริงๆ แล้วยอดขายรถยนต์ในจีนก็ตกลงก่อนหน้าโควิด-19 แล้ว ซึ่งพอมาเจอโควิด-19 ก็ทำให้การผลิตรถยนต์หยุดชะงักไปอีก โดยคาดการณ์ว่าจะเริ่มกลับมาไตรมาส 3 ปีนี้

หก เสื้อผ้า/แฟชั่น/สินค้าหรู

สิ่งเหล่านี้กลายเป็นของฟุ่มเฟือย ที่ต้องหลบให้ของจำเป็นอย่าง อาหาร ยารักษาโรค และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลไปก่อน ซึ่งกลุ่มนี้น่าจะกลับตัวได้ ช่วงไตรมาส 2 ถึง ไตรมาส 3 ปีนี้

3) แผนการรับมือของธุรกิจ

เสนอแผนงาน 5R ก็คือ

McKinsey

Resolve สะสาง

– เร่งแก้ปัญหาทั้งในส่วนของ พนักงาน, ห่วงโซ่อุปทาน, ลูกค้า, และการบริหารสภาพคล่อง

Resilience ปรับตัว

– 20% ของบริษัททั้งหมดจะโดดเด่นขึ้นมาเมื่อเกิดวิกฤต ซึ่งส่วนใหญ่บริษัทที่โดดเด่นขึ้นมาไม่ได้เริ่มต้นด้วยความได้เปรียบเหนือบริษัทอื่น เช่น มีลูกค้าอยู่แล้ว แต่บริษัทเหล่านั้นมี 2 สิ่งที่คู่แข่งไม่มี ก็คือ Speed (ความเร็ว) และ Discipline (วินัย) ในการปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์

Return เตรียมความพร้อม

เตรียมแผนงานละเอียดเพื่อให้ธุรกิจกลับมาได้เร็วที่สุดหลังจากที่การระบาดของโควิด-19 ลดลง ธุรกิจอาจต้องคิดถึงการกระจายความเสี่ยงให้ดีขึ้นหลังจากเหตุการณ์นี้ ตัวอย่างเช่น หาแหล่งผลิต หรือแหล่งป้อนวัตถุดิบ สำรองเอาไว้ ไม่พึ่งพาเข้าใดเจ้าหนึ่ง

Reimagination คิดใหม่ (ทำใหม่)

คือบางธุรกิจอาจไม่ได้กลับสู่สถานการณ์ปกติแบบเดิม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บริการด้านออนไลน์ต่างๆ บางทีคนอาจคุ้นชิน และกลับไปใช้บริการแบบเดิมๆ ลดลง หรือการไปพบแพทย์ อาจใช้ Telemedicine หรือปรึกษาแพทย์ผ่านออนไลน์เป็นหลักก็ได้

Reform ปฎิรูป

ต่อเนื่องจาก Reimagination คือ ภาครัฐและกฎระเบียบต่างๆ อาจทำให้โลกนี้เปลี่ยนไป เช่น การทำงานจากที่บ้าน หรือไม่ต้องเข้าบริษัท อาจดำเนินต่อไป สวัสดิการพนักงานอาจเปลี่ยนไป

4) การบริหารห่วงโซ่อุปทาน สถานการณ์ราคาขนส่งระหว่างประเทศ

หัวข้อนี้ขอสรุปประเด็นที่น่าสนใจสำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ ได้แก่

– หลังจากการแพร่ระบาดเริ่มควบคุมได้ เศรษฐกิจเริ่มฟื้น จะเกิดความต้องการขนส่งที่พุ่งสูงขึ้น ในขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งยังไม่กลับมาเหมือนเดิม ซึ่งคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้นทุนขนส่งจะเพิ่มสูงขึ้น

– การขนส่งทางเรือ ยังเป็นช่องทางหลัก ที่ปัจจุบันทางจีนก็เริ่มกลับมาแล้ว

– การขนส่งทางอากาศได้รับผลกระทบอย่างมาก และการยกเลิกสายการบินเชิงพาณิชย์ ก็ทำให้หาเที่ยวบินส่งสินค้ายากขึ้น ราคาขนส่งเพิ่มขึ้น

– การขนส่งทางบก ปัจจุบันการปิดชายแดน ก็จำกัดการขนส่งทางบก ซึ่งหากสถานการณ์คลี่คลาย น่าจะกลับมาได้

ก็เป็นสรุป ข้อมูลให้ศึกษากัน ใครสนใจแนะนำอ่านรายงานฉบับเต็ม แล้วลองไปประยุกต์ใช้กันได้

หากมีข้อสงสัย ทักมาคุยกันได้เลยนะครับ

════════════════

หาราคาขนส่งทั่วโลก ที่ดีที่สุด

www.zupports.co

════════════════

ที่มา: https://www.mckinsey.com/~/media/mckinsey/business%20functions/risk/our%20insights/covid%2019%20implications%20for%20business/covid%2019%20march%2025/covid-19-facts-and-insights-march-25-vf.ashx

💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม

นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก

ZUPPORTS.co

👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้าส่งออก

http://bit.ly/35Rh2q

 

 

 

ข่าวสารอื่นๆ