บริษัท Boeing จะต้องไม่มีวันล้ม!

พออ่านข่าวพาดหัวแบบนี้ทีไรแล้วทำให้คิดทุกที คือ พอบอกว่าไม่มีวันล้มนี่ เห็นตอนจบไปไม่รอดทุกราย

แต่สำหรับ Boeing ที่เป็นผู้ผลิตเครื่องบินเชิงพาณิชย์ 1 ใน 2 รายใหญ่ของโลก คือ ธุรกิจมีความผูกขาดแบบ Oligopoly (ผู้ขายน้อยราย)

และที่มากกว่านั้นคือ Boeing เป็นผู้ผลิตเครื่องบินรบรายใหญ่ของโลกด้วย ซึ่งสหรัฐอเมริกา คงไม่มีวันยอมปล่อยให้ Boeing ล้มไปง่ายๆ

ล่าสุดจากสถานการณ์โควิด-19 ก็ทำให้ Boeing เจอสถานการณ์ที่ยากลำบากสุดๆ

ถึงขั้นต้องไปขอเงินจากรัฐบาลสหรัฐฯ เกือบ 2 ล้านล้านบาท (เยอะกว่ากระตุ้น โควิด-19 บ้านเราอีก)

ในการช่วยพยุงบริษัทให้อยู่รอด…

โดยราคาหุ้น Boeing ก็ไหลเป็นน้ำตก ราคาลดลงไปแล้วมากกว่า 70% ในช่วงเดือนที่ผ่านมา

แต่จริงๆ แล้วสถานการณ์ของบริษัท Boeing นั้น ย่ำแย่มาก่อนหน้านั้นแล้ว

เรื่องราวความเป็นมาเป็นอย่างไร เราไปติดตามกันเลย

════════════════

หาราคาขนส่งทั่วโลก ที่ดีที่สุด

www.zupports.co

════════════════

1) Boeing ก่อตั้งบริษัทใน ปี ค.ศ.1916 โดยผู้ก่อตั้งชื่อ William หรือ “Bill” Boeing ซึ่งเป็นประธานของบริษัทค้าไม้และต่อเรือ แต่เกิดความหลงใหลในการบิน ก็เลยตั้งชื่อบริษัทใหม่ว่า Pacific Aero Products Co. ที่ ภายหลังบริษัทเปลี่ยนชื่อ เป็น Boeing Airplane Company

William

2) Boeing ดำเนินธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านทั้งยุคสงครามโลก และการควบรวมกิจการกับบริษัทการบินคู่แข่ง จนล่าสุดบริษัทก็มีอายุเกิน 100 ปี ไปแล้ว ซึ่งมีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้ Boeing ยืนหยัดมาได้โดยไม่ล้มหายตายจากไป เนื่องมาจากเหตุผล 5 ข้อด้วยกัน ก็คือ

หนึ่ง วัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยถึงแม้ว่าคุณบิล จะบริหารงานเพียง 18 ปี แต่ก็ส่งผ่านความมุ่งมั่นในการผลิตเครื่องบินที่ดีที่สุด สู่รุ่นต่อไป

สอง ความเชี่ยวชาญทางวิศวกรรม โดนเทคโนโลยีของ Boeing สามารถเอาชนะคู่แข่งได้ในหลายๆ โอกาส ตัวอย่างเช่นการออกแบบอากาศยานลำตัวกว้าง (widebody aircraft) ซึ่งก็คือ Boeing 747 อันโด่งดัง ได้เป็นเจ้าแรก ซึ่งจริงๆแล้วออกแบบมาให้ผู้โดยสารมีความสะดวกสบาย มีที่นั่งกว้างขึ้น แต่สายการบินนั้นไม่รอช้า เพิ่มเก้าอี้ไปซะเลย

สาม ถึงแม้วิศวกรรมจะนำองค์กร แต่ Boeing เองก็สามารถปรับเปลี่ยนสินค้า ตามความต้องการของตลาดได้ทันท่วงที ตัวอย่างเช่น การแตกไลน์ธุรกิจ เครื่องบินรบ

สี่ ใช้กลยุทธ์ การสร้าง Synergy ระหว่างธุรกิจเครื่องบินเชิงพาณิชย์ และเครื่องบินรบ คือ มีการใช้งานออกแบบที่ใช้ร่วมกันได้ในเครื่องบินทั้ง 2 ประเภท

และห้า Boeing สามารถผ่านสภาวะเศรษฐกิจทั้งขาขึ้นและขาลงมาได้ โดยยังเลือกที่จะโฟกัส กับธุรกิจที่ตัวเองถนัด คือ ผลิตเครื่องบิน

3) อย่างไรก็ตาม Boeing ก็เคยเจอสถานการณ์ที่ยากลำบาก จากเหตุการณ์ปี ค.ศ.1969 ที่ตลาดเครื่องบินเติบโตเร็วเกินไป จนถึงจุดอิ่มตัว (ช่วงนั้น) ทำให้ Boeing ต้องลดจำนวนพนักงาน จาก 83,700 คน เหลือเพียง 20,700 คน จนรอดมาได้ในที่สุด

4) แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิด คือ เครื่องบินรุ่นใหม่ของ Boeing คือ รุ่น 737 Max ตกแล้วตกอีก

ครั้งแรก วันที่ 29 ตุลาคม ปี ค.ศ. 2018 สายการบิน Lion Air

ครั้งที่สอง วันที่ 10 มีนาคม ปี ค.ศ. 2019 สายการบิน Ethiopian

ตก 2 ครั้งภายใน 6 เดือน ด้วยสาเหตุเดียวกัน คือ

เซ็นเซอร์เสีย ใช้งานไม่ได้ ทำให้เกิดการสั่งให้เครื่องบิน ดิ่งหัวลงโดยอัตโนมัติ

Boeing สูญเสีย ชื่อเสียง ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรม ที่สั่งสมมามากกว่า 100 ปี….

5) Bloomberg รายงานว่า ส่วนหนึ่งมาจาก ผู้บริหาร Boeing ที่ต้องการตอบสนองความต้องการของนักลงทุน Wall Street เน้นตัวเลขรายไตรมาส และนโยบายลดต้นทุนแบบสุดขีด ทำให้ละเลยสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ ความปลอดภัย หรือ “Safety first”

มีอีเมลรั่วจากพนักงาน ที่แจ้งผู้บริหาร บ่งบอกถึงความผิดพลาดในการผลิตแล้ว แต่ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข

ดูเหมือน Boeing จะสูญเสีย จิตวิญญาณ ของ Boeing ไป…

6) Boeing 737 Max ถูกจอดนิ่งสงบ 100% มีการประเมินว่า บริษัทสูญเงินไปกว่า 6 แสนล้านบาท

7) จริงๆแล้ว เหตุการณ์ดูแปลกๆ ตั้งแต่ การย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่ ชิคาโก้ โดยที่ทีมออกแบบ วิศวกรรม และโรงงานทั้งหมดยังอยู่ที่ซีแอตเทิ้ล โดยผู้บริหารอยากส่งสัญญานถึงนักลงทุนว่า ผู้บริหารคำนึงถึง ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นมากกว่าสิ่งอื่น

8) นอกจากนี้ ผู้บริหารอยากให้ราคาหุ้นขึ้น ก็เลยซื้อหุ้นของตัวเองคืนซะเลย พอจำนวนหุ้นลดลง ราคาต่อหุ้น ก็จะเพิ่มสูงมากขึ้น

โดยระหว่างปี 2014-2019 ซึ่งหุ้นไปกว่า 1.2 ล้านล้านบาท ถึงขั้นที่ซื้อจนสัดส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ (คล้ายๆ กรณีของสตาร์บัคส์) แถมผู้บริหารยังลดต้นทุนด้วยการไล่วิศวกรอาวุโสออก จ้างแรงงานราคาถูกทดแทน

9) แต่ Wall Street เองกลับ รักบริษัทนี้มาก ราคาหุ้นขึ้นกว่า 3 เท่า, ผู้บริหารกลายเป็น Rock Star

10) สถานการณ์พลิกผัน ด้วยการแข่งขันที่รุนแรงจาก Airbus ที่ออกเครื่องบินรุ่นใหม่ คือ A320neo ที่ประหยัดน้ำมันกว่าเดิมกว่า 20% และลดเวลาที่ใช้ในการฝึกนักบินลงอย่างมีนัยยะสำคัญ แย่งส่วนแบ่งตลาดไปเกือบทั้งหมด ทำให้ Boeing ต้องผลักดัน 737 Max นำมาสู่ปัญหาในที่สุด

11) ณ ตอนนี้ที่บริษัทต้องการเงิน ก็สายไปเสียแล้ว เพราะ Boeing พิมพ์เงินออกมาเองไม่ได้ จะขายหุ้นคืน ก็คงไม่มีใครซื้อ ทำให้ต้องถึงมือรัฐบาล ก็คือ เอาเงินภาษีประชาชนมาช่วย

กรณีปัญหาของ Boeing สะท้อนถึงปัญหาที่ “หมักหมม” มานาน โดยมี โควิด-19 เป็นตัวเร่ง

หลายๆ ธุรกิจ และ หลายๆ ประเทศ กำลังเจอเหตุการณ์คล้ายๆกัน

คือ ปัญหามันสะสมมานานอยู่แล้ว และมาโดนศัตรูที่เรามองไม่เห็นเล่นงาน

ช่วงที่น้ำลดแบบนี้ ก็คงเห็นว่าใครที่แก้ผ้าว่ายน้ำอยู่

และช่วงเวลานี้ สิ่งที่บริษัท พ่อค้า,แม่ค้า ควรทำ ก็คือ การไม่ Compromise ไม่ละเลย เรื่องความปลอดภัย…

และ ควบคุมคุณภาพสินค้าและบริการ

มากกว่าการลดต้นทุน หรือเอาสินค้าปลอมมาหลอกจำหน่าย เพื่อตักตวงผลประโยชน์ เอาเปรียบผู้บริโภค ในช่วงนี้

อย่างที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนระดับโลกกล่าวว่า

“ต้องใช้เวลากว่า 20 ปี ในการสั่งสมชื่อเสียง แต่ใช้เวลาแค่เพียง 5 นาทีในการทำลาย”

════════════════

หาราคาขนส่งทั่วโลก ที่ดีที่สุด

www.zupports.co

════════════════

ที่มา:

https://brandinside.asia/boeing-100-years/

https://www.forbes.com/sites/lorenthompson/2016/07/14/boeing-turns-100-five-reasons-it-survived-while-competitors-died/#18d886e67114

https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-03-18/ackman-sees-boeing-s-survival-hinging-on-u-s-government-bailout

https://m.youtube.com/watch?feature=share&v=EESYomdoeCs

💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม

นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก

ZUPPORTS.co

👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้าส่งออ

http://bit.ly/35Rh2ql

ข่าวสารอื่นๆ