มีไม่กี่บริษัท ที่ได้ประโยชน์จากโควิด-19 หนึ่งในนั้นก็คือ แพลตฟอร์มค้าขายออนไลน์ e-commerce อย่าง Amazon แห่งสหรัฐฯ
และตอนนี้ยังขยายกิจการไปหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ ยุโรป ออสเตรเลีย หรืออินเดีย
ทำให้ Amazon เป็นอีกช่องทางในการค้าขายระหว่างประเทศ ที่ผู้ส่งออกไทย ต้องให้ความสำคัญ
โดยทาง Amazon เองประกาศรายได้ในไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นถึง 26% ปีต่อปี โดยมีรายได้ประมาณ 2.5 ล้านล้านบาท สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิต่อหุ้น ลดลงกว่า 29% น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลง มาบ้าง…หลังจากเพิ่งทำ All time high ราคาหุ้นสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท เนื่องจากโควิด-19 ช่วยส่งเสริม
และ เจฟฟ์ ยังบอกให้ผู้ถือหุ้น หาที่นั่ง (แล้วคาดเข็มขัดให้แน่นๆ)
เพราะว่า ไตรมาสหน้า กำไรอาจหายหมด จนอาจจะกลับไปขาดทุน!!
เนื่องจาก Amazon วางแผนใช้เงินกว่า 1.3 แสนล้านบาท ในการรับมือกับโควิด-19
บทความนี้ เราลองไปทำความรู้จักกับ Amazon ให้มากขึ้น
แล้วดูว่าที่เจฟฟ์ บอกว่าเขา คิดใหญ่นั้น มันใหญ่ขนาดไหน
หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย
════════════════
ช่วยผู้นำเข้า ส่งออก
หาขนส่งมืออาชีพ
════════════════
1) เจฟฟ์ เบซอส (Jeff Bezos) ก่อตั้ง Amazon เมื่อปี ค.ศ. 1994 จริงๆตอนแรก เจฟฟ์ ใช้ชื่อว่า “Cadabra” ให้ดูแนวเวทย์มนตร์นิดหนึ่ง “abracadabra” แต่เวลาพูดแนะนำบริษัทแล้วมันไปเหมือนคำว่า Cadaver ซึ่งแปลว่า “ซากศพ”
ทำให้สุดท้ายมาจบที่ชื่อ Amazon ซึ่งเป็นลุ่มแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ในประเทศบราซิล)
โลโก้ดั้งเดิมของ Amazon Cr. Amazon
2) เจฟฟ์ เริ่มจากร้านขายหนังสือออนไลน์ก็จริง แต่ความฝันของเขาคือ การทำให้ Amazon เป็นร้านที่ขายสินค้าทุกอย่าง หรือ “Everything Store” (ให้อารมณ์ ร้านจีฉ่อย แถวสามย่านมากๆ)
Cr. CU Marketplace
3) ผ่านมากว่า 26 ปี Amazon ขายแทบทุกอย่างจริงๆ
ปี 1998 ขายเพลงและเกมส์ และขยายกิจการขายหนังสือออนไลน์ ไปอังกฤษ และเยอรมนี
ปี 1999 เติมสินค้าอื่นๆเพิ่มเรื่อยๆ ทั้ง อิเล็กทรอนิกส์, สินค้าตกแต่งบ้าน, ซอฟต์แวร์, ของเล่น, ฯลฯ
ปี 2002 เปิดให้บริการ Amazon Web Services (AWS) หรือบริการเก็บข้อมูลและประมวลผลบนคลาวด์
ปี 2006 เปิดให้บริการ Fulfillment by Amazon หรือ FBA ซึ่งก็คือ การช่วยบริหารจัดการสต็อกสินค้า การแพค และส่งสินค้าให้เหล่าพ่อค้าแม่ค้า บน Amazon แบบครบวงจร
ปี 2012 ซื้อบริษัทหุ่นยนต์ Kiva Systems และลงทุนสร้างคลังสินค้าอัจฉริยะ ใช้หุ่นยนต์ในการดูและหยิบสินค้า
ปี 2017 เข้าสู่โลกออฟไลน์ โดยการซื้อซุปเปอร์มาร์เกต Whole Foods
KIVA systems Cr. Singularity Hub
4) Amazon แบ่งรายได้เป็น 3 ส่วนหลัก
หนึ่ง รายได้การขายสินค้าและบริการ ในทวีปอเมริกาเหนือ (61% ของรายได้รวม) ไตรมาส 1 ที่ผ่านมาเติบโต 29%
สอง รายได้การขายสินค้าและบริการ ต่างประเทศ (25% ของรายได้รวม) ไตรมาส 1 ที่ผ่านมาเติบโต 18%
สาม รายได้จาก AWS (14% ของรายได้รวม) ไตรมาส 1 ที่ผ่านมาเติบโต 33%
โดย AWS ส่วนงานหลักที่ทำกำไรให้ Amazon
Cr. Amazon
5) เจฟฟ์ เบซอส ระบุว่า Amazon วางแผนใช้เงินกว่า 1.3 แสนล้านบาท ในไตรมาส 2 นี้ เพื่อใช้ในการรับมือโควิด-19
ทั้งการจัดหาอุปกรณ์ PPE ให้พนักงาน, การจ้างงานเพิ่ม เพื่อรองรับคำสั่งซื้อสินค้าที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มมากขึ้น นั่นคือ Amazon กลับไปลงทุนใหญ่อีกครั้ง เพื่อรับการเติบโตในอนาคต
Amazon จ้างงานเพิ่มแล้วกว่า 175,000 อัตราในเดือนมีนาคม และเมษายนที่ผ่านมา สวนทางกับหลายๆกิจการ ที่ปลดพนักงาน หรือหยุดการผลิต
6) บนแพลตฟอร์มของ Amazon มีขายทั้งสินค้าที่เป็นของ Amazon เอง และสินค้าที่ขายโดย Third party seller หรือผู้ขายอิสระ ทั้งใหญ่ กลาง เล็ก
โดยเหล่า Third party seller นั้น มีปริมาณขาย อยู่ที่ 50% ของยอดขายทั้งหมดของ Amazon
Cr. Oneclickretail.com
ซึ่งทาง Amazon เองรายงานว่ามี SMEs กว่า 15,000 ราย ที่ขายของบน Amazon ในสหรัฐฯ ที่มียอดขายมากกว่า 33 ล้านบาท (1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ในปี 2019
7) ในปี 2018 Amazon ครองส่วนแบ่งการตลาด กว่า 49% ในตลาดค้าปลีก e-commerce ในสหรัฐฯ คือ ขายของออนไลน์มากกว่า 3 คู่แข่งรวมกันซะอีกได้แก่ eBay 6.6%, Apple 3.9%, และ Walmart 3.7%
โดยสัดส่วนการขายออนไลน์ทั้งหมดคิดเป็นเพียง 5% ของการค้าทั้งประเทศ หนทางยังอีกยาวไกลอย่างที่เจฟฟ์ว่า…
8) สำหรับร้านค้าที่ไม่ใช่คนอเมริกัน ก็สามารถขายของบน Amazon ได้ โดยไปจดทะเบียนผู้ค้าเอาไว้ และส่งออกสินค้าไปขาย
ซึ่งวิธีการที่สะดวกก็คือ ส่งเข้าคลังสินค้าของ Amazon โดยใช้บริการ FBA ทำให้สามารถจัดการส่งสินค้าได้ทันความต้องการลูกค้า และช่วยควบคุมต้นทุนด้วย
ทาง Amazon มีข้อมูลว่าการใช้ FBA ช่วยเพิ่มยอดขาย 30-40%
9) แต่ก็เหมือนกับเวลา ผู้ประกอบการเอาสินค้าไปขายใน Tesco Lotus หรือ BigC ที่ต้องเผชิญหน้ากับสินค้า House Brand ซึ่งทาง Amazon ก็ทำเช่นเดียวกัน
โดยมีข้อมูลจากพนักงานเก่าของ Amazon ที่ระบุว่าบริษัท ใช้ข้อมูลการค้าของ เหล่าพ่อค้าแม่ค้า บน Amazon มาใช้ในการออกแบบสินค้า House Brand ของ Amazon เอง เป็นอีกความเสี่ยงของพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องเผชิญ
10) ปัจจุบัน เจฟฟ์ เบซอสอายุ 56 ปี แต่ยังแข็งแรง หนุ่มแน่น มีรูปเจฟฟ์ เหมือนเป็น Terminator ที่ไล่ฆ่าทุกอุตสาหกรรม
Cr. Reddit
คำกล่าวทีเด็ดที่ เจฟฟ์ พูดไว้ก็คือ
“Your margin is my opportunity”
นั่นก็คือ
“กำไรของคุณ คือ ความเพลิดเพลิน เอ้ย โอกาสของผม”
Cr. VOX
Amazon มุ่งเน้นการให้บริการที่ดี และรวดเร็ว แก่ลูกค้า โดยการตัดคนกลางออกจากระบบเพื่อลดต้นทุนโดยรวม
ซึ่งก็เป็นตัวอย่างให้แพลตฟอร์ม e-commerce ต่างๆ ที่เราคุ้นเคยกันดี ไม่ว่าจะเป็น Lazada, Shopee, JD Central
ซึ่ง ณ ตอนนี้ คงไม่ใช่เวลามานั่งถามว่า ขายของออนไลน์บนแพลตฟอร์มเหล่านี้กันดีไหม?
หรือเรามาทำแพลตฟอร์มแบบนี้ของคนไทยไปแข่งกับเขาบ้างดีกว่า
(บริษัทไทยเองคงไม่มีมีเงินพอไปสู้ ตรงๆแบบนั้น)
ที่ต้องคิดมากกว่า ว่าจะใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้อย่างไร?
(เมื่อสู้ไม่ได้ ก็ต้องเข้าร่วมเป็นพวกเดียวกันละกัน)
แต่ก็ต้องคิดเผื่อเอาไว้เหมือนกันว่า ขายไปขายมา
เราจะโดนเตะออกจากระบบหรือไม่ อย่างไร?….
════════════════
ช่วยผู้นำเข้า ส่งออก
หาขนส่งมืออาชีพ
════════════════
ที่มา:
https://www.businessinsider.com/jeff-bezos-amazon-history-facts-2017-4
https://en.wikipedia.org/wiki/Amazon_(company)#History
https://www.businessinsider.com/amazon-earnings-report-q1-revenue-profit-2020-4
https://www.cnbc.com/2020/04/30/amazon-amzn-q1-2020-earnings.html
https://www.bigcommerce.com/blog/amazon-statistics/
https://www.bigcommerce.com/blog/amazon-statistics/#a-shopping-experience-beyond-compare
👫 พิเศษสุด! “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า Marketplace”
สำหรับเพื่อนๆ นำเข้า ส่งออก เชิญค้าขายกันได้เลย
https://www.facebook.com/groups/573677150199055/?source_id=416086589242286
❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก
👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า–ส่งออก