[Update] อียิปต์เรียกร้องค่าเสียหายกรณีคลองสุเอซเกือบ 2.9 หมื่นล้านบาท เจ้าของสินค้า ต้องช่วยกันจ่ายไหม?

กรณีศึกษา เรื่อง General Average (GA) – ข้อกำหนดความเสียหายร่วม

ถึงแม้ว่าเรือยักษ์ที่ขวางคลองสุเอซ สามารถหลุดออกมาได้กว่า 2 สัปดาห์แล้ว แต่เจ้าของสินค้าบนเรือ ก็ยังไม่ได้สินค้าคืน

จริงๆ แล้วเรือก็ยังไม่ไปไหน อยู่แถวๆ ลองสุเอซนั่นแหล่ะ โดยทางการอียิปต์ ขอรับดูแลเรือและสินค้าเอาไว้ก่อน พร้อมทั้งเรียกร้องค่าเสียหายจากเจ้าของเรือ Ever Given เป็นมูลค่ากว่า 2.9 หมื่นล้านบาท

ถ้าไม่ยอมจ่ายก็ไม่ได้ของ และเรือคืนไปน่ะ!

ทั้งนี้การเรียกร้องความเสียหายแบบนี้ ก็จะมีมาตรฐานสากลที่เป็นที่รู้กันก็คือ การใช้หลัก General Average (GA) หรือ ข้อกำหนดความเสียหายร่วม

ซึ่งไม่เพียงแต่เจ้าของเรือที่ต้องรับผิดชอบความเสียหายจากอุบัติเหตุครั้งนี้เท่านั้น แต่เจ้าของสินค้าที่อยู่บนเรือ ก็อาจต้องช่วยกันจ่ายด้วย ถ้าอยากได้สินค้าคืนไป

General Average (GA) มีหลักเกณฑ์อย่างไร และเหตุการณ์เรือยักษ์ขวางคลองนี้ สร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่ อย่างไรบ้าง

หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

1) เรือยักษ์ Ever Given ที่เห็นมีชื่อสายเรือ Evergreen เป็นผู้ให้บริการขนส่งนั้น จริงๆ แล้วมีเจ้าของเรือเป็นบริษัทญี่ปุ่น Shoei Kisen

2) ถึงแม้ว่าเรือจะหลุดมาจากคลองสุเอซตั้งแต่ วันที่ 29 มีนาคม ที่ผ่านมา แต่ทาง Shoei Kisen ก็ยังต้องเจรจากับทางการของอียิปต์ และทาง Evergreen เพื่อดูว่าใครจะต้องรับภาระความเสียหายตรงไหนบ้าง

3) โดยปัจจุบันเรือ Ever Given ก็ยังจอดอยู่ที่ Great Bitter Lake อยู่บริเวณคลองสุเอซ และทางการอียิปต์ ก็ระบุว่าจะไม่ยอมปล่อยเรือออกไป หากไม่ได้รับการชดเชยค่าเสียหาย มูลค่ากว่า 2.9 หมื่นล้านบาท!

4) แล้วค่าเสียหายดังกล่าวมาจากอะไรบ้าง หากจะประมาณการณ์ ก็จะมีดังนี้

– ค่าเสียโอกาส สำหรับค่าผ่านทางคลองสุเอซ โดยทาง Refinitiv มีการประเมินไว้ที่ 3,000 ล้านบาท

– ค่าเรือดูดทราย, ค่าเรือลากจูง, ค่าแรงงานกว่า 800 ชีวิต, ความเสียหายของคลอง, และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

5) โดยทางเจ้าของเรือ Ever Given ก็ได้ยื่นเรื่อง General Average (GA) หรือ ข้อกำหนดความเสียหายร่วมที่เรียกร้องให้ทาง ผู้ที่เช่าเรือ ก็คือ สายเรือ Evergreen, บริษัทประกัน, และก็ เจ้าของสินค้าบนเรือ ต้องร่วมกันรับผิดชอบด้วย!

.

อย่างนี้เจ้าของสินค้าบนเรือ ต้องยอมจ่าย ค่าเสียหายด้วย!?

6) หลักการสำคัญของ GA ก็คือ การนำข้อมูลค่าความเสียหายทั่วไป อันเป็นความสูญเสีย หรือความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการเสียสละทรัพย์สิน หรือค่าใช้จ่ายเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งจงใจกระทำขึ้นตามสมควรเพื่อปกป้องรักษาเรือ และทรัพย์สินที่เผชิญภยันตรายร่วมกัน มาเฉลี่ยกันในระหว่างเจ้าของเรือ และเจ้าของทรัพย์สินที่เผชิญภยันตรายทางทะเลร่วมกัน

7) หากจะเล่าถึงที่มาที่ไปของ General Average ก็ต้องขอยกเรื่องที่ทาง คุณหยก แสงตะวัน ผู้เชี่ยวชาญด้านชิปปิ้ง เล่าเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า

.

“เรื่องมันเกิดจากเมื่อสมัยตอนที่โลกเรานี้มีการค้าขายระหว่างทวีปยุโรป และเอเชียใหม่ๆ เรือทุกลำต้องแล่นผ่านแหลม good hope ที่อยู่ตอนใต้สุดของทวีปแอฟริกาตอนใต้ กัปตันเรือในสมัยนั้นก็จะนั่งกินเหล้าที่เจ้าของร้านเหล้าชื่อนายลอยด์ (Lloyd)

.

นายลอยด์ได้ลำดับฟังเรื่องราวต่างๆ จากกัปตันเรือหลายคนที่มาแวะเวียนในร้านเหล้าของเขาถึงเหตุกาณ์ที่กัปตัน เรือเหล่านั้นได้ประสบอุบัติเหตุบ้าง ของหายบ้าง ต้องปล่อยให้ลูกเรือลอยคอตายต่อหน้า เพื่อรักษาทุกชีวิตบนเรือ ตัวเรือ และสินค้าบนเรือให้พ้นจากวิกฤต ภยันตรายจากพายุ ฟ้า ฝน ที่บ้าคลั่งในกลางทะเล

.

นายลอยด์ได้รับรู้จากประสบการณ์ และรวบเรื่องเล่าเป็นหนังสือเป็นเล่มๆ ได้ ก็ได้คิดไอเดียว่า ให้กัปตันเรือทุกคนเจียดเงินลงขันบางส่วนก่อนที่จะเอาเรือแล่นออกทะเลไว้ เป็นทุน เพื่อช่วยเหลือกัปตันเรือที่มีปัญหาเรื่องการฟ้องร้อง หรือปัญหาต่างๆ หลังจากนั้นก็เกิดความคิดว่า การที่กัปตันต้องเสียสละสินค้า หรืออุปกรณ์ของเรือ หรือชิวิตของลูกเรือนั้น เป็นการเสียสละ และสูญเสียมากขึ้น คือที่มาของกฎหมายนี้

.

ต่อมากลุ่มกัปตันเรือก็มีความคิดแบบอัจฉริยะคือ ตั้งแต่นี้ต่อไป ถ้าสินค้าของผู้ส่งออกที่ไม่เสียหายต้องมาช่วยกันหารเฉลี่ยกันจ่ายให้กับ สินค้าของผู้ส่งออกที่โดนทิ้งน้ำ ที่โดนสังเวยเจ้าแม่พายุ หรือความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายในการย้ายไปเรือลำใหม่ หรือจากไฟไหม้บนเรือ หรืออุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดระหว่างการเดินเรือ

.

ซึ่งกัปตันก็อ้างว่าตัวเองก็เสียสละเหมือนกันที่บางครั้งต้องรับภาระในค่า ใช้จ่ายที่ต้องเสียอุปกรณ์บนเรือ หรือชีวิตของลูกเรือ หรือซ่อมแซมตัวลำเรือเอง อันนี้ถือว่าหายกันนะ”

8) โดยเหตุไม่คาดฝันทางการขนส่งทางทะเลแบบนี้ ในอดีตก็เกิดขึ้นมาหลายครั้ง ตัวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น แล้ว ทางเจ้าของสินค้าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วย ก็คือ กรณีศึกษาเหตุการณ์เมื่อปี 2561 ที่ทางเจ้าของสินค้า ต้องจ่ายเพิ่มอีก 54% ของมูลค่าสินค้าในตู้ เพื่อที่จะเอาสินค้าออกไปได้ (ตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น ถ้ามูลค่าสินค้าในตู้ 1 ล้านบาท ก็ต้องจ่ายเพิ่มอีก 540,000 บาท)

.

เน้นย้ำว่ากรณี Ever Given ยังไม่ได้ข้อสรุปนะว่าใครต้องจ่ายอะไรบ้าง

9) กลับมาที่กรณีเรือ Ever Given ทาง Nikkei Asia รายงานว่า ต้องใช้เวลากันอีกหลายปี ทีเดียว โดยค่าเสียหาย ยังต้องได้รับการประเมินอีกครั้ง และปัญหาที่น่าหนักใจก็คือ เรือยักษ์ขนาดใหญ่กว่า 20,000 TEU ดังกล่าว มีเจ้าของสินค้าหลายพันบริษัท กว่าจะเคลียร์กันลงตัว ก็ต้องใช้เวลามากกว่าในอดีต ที่เรืออาจมีตู้เพียง 6,000 – 8,000 TEU

10) จากวิกฤตคลองสุเอซ ก็ส่งผลกระทบต่อผู้นำเข้าส่งออก ตอนนี้ราคาเฟรท (คอนเทนเนอร์) จากเอเชียไปยุโรป พุ่งสูงขึ้นไปได้อีก (ราคา Spot 1 ตู้สั้น ราคาหลัก 1 หมื่นเหรียญสหรัฐฯ ก็มีให้เห็น)

.

โดยสายเรือประเมินว่า คงต้องใช้เวลาเคลียร์ Backlogไปจนถึงสิ้นเดือน มิถุนายนนี้ กว่าสถานการณ์จะดีขึ้น โดยเฉพาะท่าเรือใหญ่ๆ ในยุโรปได้แก่ Rotterdam และ Southampton

11) ไม่เพียงแค่เรือคอนเทนเนอร์ ทางจีนเองก็มีความกังวลเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร โดยการขนส่งเมล็ดพันธุ์และธัญพืช ผ่านเรือเทกอง ก็กินสัดส่วนถึง 10% ของการขนส่งทางทะเลผ่านเรือเทกองทั้งหมด และช่วงหลังจีนเริ่มเปลี่ยนมานำเข้า ธัญพืชจาก ยูเครน รัสเซีย และเอเชียกลาง ผ่านคลองสุเอซบ้าง (แต่ยังดีที่สัดส่วนน้อยอยู่)

.

ทำให้จีน ตอนนี้ก็พยายามโปรโมท เส้นทางรถไฟ และการขนส่งตามเส้นทางสายไหมยุคใหม่ Belt Road Project เพิ่มเติม

12) ที่น่าเป็นห่วงมากกว่าก็คือ ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ในจีน ที่จะร่อยหรอลงไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะตู้ยาว หรือตู้ 40 ที่แต่เดิมก็ไม่ค่อยจะพออยู่แล้ว โดยที่เรือที่ไปยุโรปดีเลย์ กว่าตู้จะหมุนกลับมาฝั่งเอเชีย ก็จะใช้เวลาเพิ่มขึ้นไปอีก และที่สำคัญก็คือ ตู้ส่วนใหญ่ ไปจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ตามลำดับ

.

คุยกับพี่ที่อยู่ในวงการโลจิสติกส์ มานาน เปรียบเทียบได้เห็นภาพ ว่า ประเทศไทยของเราเหมือน ตั้งอยู่ในตรอก การที่ตู้สินค้าจะเข้ามาก็ไม่สะดวกเท่า ประเทศที่อยู่หน้าปากซอย อย่างจีน หรือเวียดนาม

13) สำหรับผู้นำเข้า ส่งออก ที่กำลังมองหา ตัวช่วยบริหารการขนส่งในช่วงที่ผันผวนแบบนี้ ไม่ว่าเป็น ทางเรือ ทางอากาศ หรือ รถ Cross-border ทางแอดมินขอแนะนำแพลตฟอร์ม ZUPPORTS

.

ช่วยทำ Bidding, Booking, Tracking, Billing บริหารการขนส่ง ครบจบในที่เดียว

.

ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ ทดลองใช้ระบบ และรับข่าวสารดีๆ แบบนี้ ได้ที่ www.zupports.co/register

——————————–

หากไม่อยากพลาดความรู้ ข่าวสาร ดีๆ กดไลค์เพจ และกด Favorites ในเฟสบุ๊ก กันไว้เลย

.

และหากบทความมีประโยชน์ ก็กดไลค์โพสและแชร์ให้เพื่อนๆ กัน ได้เลยจ้า

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

(ads) ZUPPORTS เราช่วยทำให้การนำเข้าส่งออก ง่ายเหมือนการช้อปปิงออนไลน์

.

ผู้นำเข้า ส่งออก ที่สนใจทดลองใช้เครื่องมือดิจิตอล ช่วยเปรียบเทียบราคาขนส่ง, จองเรือ รถ เครื่องบิน,ติดตามสถานะงาน และตรวจสอบบิลขนส่งออนไลน์ ง่ายๆ ที่ ZUPPORTS

.

สามารถลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษได้เลยที่ www.zupports.co/register

——————————–

ที่มา:

https://asia.nikkei.com/Business/Transportation/Ever-Given-impounded-in-Suez-Canal

https://www.businessinsider.com/ever-given-1-billion-demand-who-pays-what-for-2021-4

https://www.lloydsloadinglist.com/freight-directory/news/%E2%80%98Ever-Given%E2%80%99-vessel-owner-declares-%E2%80%98general-average%E2%80%99/78806.htm#.YHZ4rOj7Q2w

https://www.chinadaily.com.cn/a/202104/09/WS606f90bca31024ad0bab455b.html

https://www.fleth.co.th/th/news-and-promotions-th/article-main-th/301-698

——————————–

❤️ อ่านบทความ ของ “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า” ได้ที่

https://www.zupports.co/author/zupports/

นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า marketplace: ซื้อ-ขาย สินค้าทั้งในและต่างประเทศ ร่วมกลุ่มได้เลยที่

https://www.facebook.com/groups/573677150199055/

#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า#นำเข้า #ส่งออก

#ZUPPORTS

ข่าวสารอื่นๆ