ช่วงวันหยุดแบบนี้ เรามาหาความรู้เพิ่มเติม
มาทำความรู้จักกับสายการบินต้นทุนต่ำกันให้มากขึ้น
อย่างที่เราทราบว่าธุรกิจสายการบินเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม
ที่โดน โควิด-19 เล่นงานอย่างรุนแรงที่สุด
แต่ในธุรกิจสายการบินเอง ก็มีกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ
ก็คือ สายการบินต้นทุนต่ำ หรือ ที่เรียกภาษาอังกฤษว่า
“Low Cost Airline” หรือ “Budget Airline”
เรื่องราวความเป็นมาจะเป็นอย่างไร หากพร้อมแล้ว เราไปติดตามกันเลย
════════════════
ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก
หาขนส่งมืออาชีพ
════════════════
1) แน่นอนว่าหากพูดถึง “โลว์คอสต์” ที่คนไทย คงคุ้นเคย ต้องมีชื่อของ แอร์เอเชีย (Air Asia), นกแอร์ (Nok Air), “ไทยไลอ้อนแอร์”, “ไทยสมายล์” กันดี
ซึ่งไม่ได้มีคู่แข่งแค่นี้ แต่สายการบินที่ไม่ใช่ “โลว์คอสต์” ก็ยังลงมาแข่งด้วย ทั้งการบินไทย บางกอกแอร์เวยส์ และก็ยังมีน้องใหม่อย่าง ไทยเวียทเจ็ทแอร์ และไทยอีสตาร์ มาแข่งด้วย
หากเราไปดูส่วนแบ่งการตลาด จะพบว่า
ปี 2561 มีผู้โดยสารใช้บริการสายการบินโลว์คอสต์สัญชาติไทย 72 ล้านคน
โดยสายการบินที่ครองมาร์เก็ตแชร์การเดินทางด้วยสายการบินโลว์คอสต์ทั้งหมดสูงสุดคือ
หนึ่ง ไทยแอร์เอเชีย 45%
สอง ไทยไลอ้อนแอร์ 24%
สาม นกแอร์ 21%
Cr. Marketeer
2) 20 ปี ย้อนหลังมานี้ อุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบร้ายแรงอย่างต่อเนื่อง ทั้งเหตุการณ์ก่อการร้าย 911 เครื่องบินชนตึกเวิล์ดเทรด ปี พ.ศ.2544
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน รุนแรง SARS ปี พ.ศ.2546
และวิกฤตการเงินแฮมเบอร์เกอร์ในปี ปี พ.ศ.2553
ทำให้สายการบินแห่งชาติต่างๆ ต้องจัดตั้งสายการบินราคาประหยัดมาสู้กัน
ซึ่งในไทยเอง ก็มีผู้ให้บริการมากหน้าหลายตา อย่างที่เกริ่นไปตอนต้น
3) หากพูดถึงสายการบินต้นทุนต่ำ หลายๆ คนนึกถึง Southwest airlines แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผู้บริหารระดับตำนาน อย่าง Herb Kelleher (ที่เสียชีวิตไปแล้ว เมื่อปีที่แล้ว)
โดยคนส่วนใหญ่มองว่า สายการบินเป็นธุรกิจที่แย่ ขาดทุน หรือกำไรเอาแน่เอานอนไม่ได้
แต่ด้วยกลยุทธ์ลดต้นทุนตามแบบฉบับของ Southwest airlines ทำให้บริษัทมีสถิติ ทำกำไรได้ทุกปี ต่อเนื่องมา 49 ปีแล้ว (คงจะเสียสถิติปี ค.ศ. 2020 นี่แหล่ะ)
Cr. US Commerce
4) สายการบินโลว์คอสต์ ในสหรัฐฯ อย่าง Southwest หรือ Delta อาจมีราคาค่าโดยสารถูกกว่าสายการบินทั่วไปประมาณ 10-20%
แต่ต้องบอกว่า คนที่เอาโมเดลของ Southwest มาทำต่อแบบสุดโต่งไปเลยก็คือ บริษัทสายการบินค่ายฝั่งยุโรปมากกว่า…
เพื่อนๆบางคนที่เคยนั่งไรอันแอร์ (Ryan Air) หรือ Easy Jet
อาจได้ประสบการณ์การให้บริการอีกระดับหนึ่ง
ซึ่งต้องบอกว่าอาจรักและคิดถึงแอร์เอเชียขึ้นมาทันที หากไปนั่ง
คือค่าตั๋วสายการบินโลว์คอสต์ ค่ายยุโรปนี้ถูกจริงๆ คือ ราคาอาจเหลือแค่ 50% หรือ 1 ในสาม ของตั๋วทั่วๆไป
หรือ บางที บินข้ามประเทศ 2-3 ชั่วโมง ค่าตั๋วแค่ 400 บาท ก็มี!
แต่ “What you pay is what you get” นะ บริการก็ตามที่จ่ายนั่นแหล่ะ อย่าไปคาดหวัง
อย่างไรอันแอร์ บริษัทจากประเทศไอร์แลนด์ บอกว่า คู่แข่งของเขาไม่ใช่สายการบินทั่วไป แต่เค้าแข่งกับคนที่เดินทางโดยเรือเฟอร์รี่ ข้ามจากอังกฤษ ต่างหาก ดังนั้นแค่บินด้วยราคาตั๋วที่ถูก ในเวลาไม่ถึงชั่วโมง ก็น่าจะเพียงพอแล้ว บริการอื่นๆ มันไม่จำเป็น
5) สายการบินโลว์คอสต์ คิดค่าตั๋วถูก แบบนี้ได้อย่างไร?
ก็ลดต้นทุน ทุกจุด ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออก สิ่งที่ลดต้นทุนได้ ก็ได้แก่
หนึ่ง ซื้อเครื่องบินให้ถูกลง
.
นั่นก็คือ ซื้อรุ่นเดียวกันมันรวดเดียวหลายๆ เครื่อง จะได้ต่อราคาได้
โดยก็มีสายการบินอย่างไรอันแอร์ ที่ประจวบเหมาะ ช่วงหลัง 911
ที่สายการบินเจ้าใหญ่ชะลอการซื้อเครื่องบิน ในขณะที่ไรอันแอร์สวนกระแสก็เลยได้ดีลที่ดี
.
นอกจากซื้อได้ถูกแล้ว ยังได้เครื่องใหม่สุด ซึ่งประหยัดน้ำมันด้วย
ทำให้ได้เปรียบต้นทุนค่าน้ำมัน เทียบรายใหญ่
.
ที่สำคัญอีกประเด็น สำหรับเครื่องบินก็คือ สายการบินโลว์คอสต์ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องบินแค่รุ่นเดียว
ส่งผลดีหลักๆ คือ การประหยัดเงินและเวลาในการฝึก นักบิน แอร์ ช่างซ่อมเครื่องยนต์ และพนักงานภาคพื้น
ทำให้ลดต้นทุนในระยะยาว
.
นอกจากนี้ ในเครื่องบิน ก็ยังตัด Option ที่ไม่จำเป็นออกไปให้หมด เช่นที่นั่งบางสายการบินปรับไม่ได้
ลดต้นทุนเครื่องบิน และค่าซ่อม ได้อีก
สอง การบริหารบุคลากร
.
คนคนหนึ่งทำงานได้หลายหน้าที่ พนักงานเผ้าเกท พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ทำความสะอาด มีคนเดียวก็พอ เรียกว่าใช้คนคุ้ม
.
นอกจากนี้สายการบินราคาประหยัดอย่าง ไรอันแอร์ ก็ยังไม่มีระบบสหภาพแรงงาน ทำให้มีความคล่องตัวในการจ้างบุคลากรมากกว่า
สาม ผู้โดยสารอยากได้อะไรต้องจ่ายเพิ่ม
.
อันนี้คิดว่า เราคงคุ้นเคยกันดี ทั้งจ่ายค่ากระเป๋าเพิ่ม จ่ายค่าน้ำค่าอาหารเพิ่ม หรือขายของ Duty Free
.
คือ ค่าตั๋วศูนย์บาท แต่จ่ายอย่างอื่นเยอะแยะมากมาย
สี่ ใช้สนามบินรอง
.
แน่นอนว่าสนามบินหลัก คนอยากใช้เยอะ ค่าใช้งานสนามบินก็จะแพงไปด้วย
แต่พอไปใช้สนามบินรอง นอกจากราคาถูกลงแล้ว อำนาจต่อรองของสายการบินโลว์คอสต์ยังสูงขึ้นอีกด้วย
บางทีเป็นสายการบินเดียวที่บิน
.
ของฝั่งไทยเราเอง ก็เป็นโอกาสของสนามบินดอนเมือง ซึ่งช่วงที่สุวรรณภูมิ คนแน่นๆ
การไปใช้ดอนเมือง ก็ดูสะดวกรวดเร็วกว่า กลายเป็นสะดวกผู้โดยสารด้วย
ห้า เพิ่มเวลาที่เครื่องบินอยู่บนอากาศ
.
อย่างไรอันแอร์ ใน 1 วันเครื่องบินอาจขึ้นบินถึง 8 รอบ! ทั่วยุโรป
(ในขณะที่การบินไทย บินไป-กลับ ยุโรป ก็ วันกว่าๆ ละ)
.
โดยกำหนดเวลา เคลียร์ผู้โดยสาร ทำความสะอาด ระหว่างรอบบิน เพียง 30-45 นาที เรียกว่าแทบไม่ต้องหายใจกันเลยทีเดียว
.
นอกจากนี้อย่าง Southwest Airline เองก็ไม่สามารถจองที่นั่งล่วงหน้าได้
เพราะว่าคนที่อยากได้ที่นั่งดีๆ ก็ต้องมารอที่เกทล่วงหน้า
ตัดปัญหา ไม่ต้องรอกันไปรอกันมาจนไม่ได้บินสักที
Cr. Wendover Productions
หก หลักการข้อสุดท้าย แต่สำคัญ (น่าจะที่สุด) ก็คือ
.
สายการบินโลว์คอสต์ บินแบบ Point to point บินจากเมืองสู่เมือง
และส่วนใหญ่จะเป็น Direct Flight ไม่แวะพัก
.
แต่สายการบินโดยปกติ จะใช้ Hubs คือ ต้องบินมาที่ฐานทัพใหญ่ก่อน เช่น
การบินไทยก็ สุวรรณภูมิ
ซึ่งจากทั้ง 6 ข้อที่ว่ามา ทำให้ ทำไปทำมา สายการบินต้นทุนต่ำ ค่าโดยสารถูกมากๆ เหล่านี้ มีอัตราการทำกำไรที่สูงกว่าสายการบินปกติ ที่ตั๋วราคาแพงไปซะอีก
Profit margin ของ สายการบิน Low Cost เทียบสายการบินอื่น Cr. Wendover Productions
6) จริงๆ แล้ว ในตลาดหุ้นบ้านเรา ก็มี ผู้บริหารที่บอกว่าใช้กลยุทธ์แบบเดียวกันกับ Southwest Airlines เลย
นั่นก็คือ ผู้บริหารปั๊มน้ำมัน PT อย่างคุณพิทักษ์ รัชกิจประการ
หากใครได้ฟังเมื่อกว่า 5 ปีที่แล้วตอนที่เพิ่ง IPO ใหม่ๆ
ก็จะได้ฟังว่าทางคุณพิทักษ์ ใช้กลยุทธ์ ตามแบบฉบับ Sothwest
.
เริ่มจาก ป่าล้อมเมือง คือ เริ่มจากจุดที่คู่แข่งไม่หนาแน่นก่อน ซึ่งก็คือ “ถนนเส้นรอง”
.
การลดการลงทุน โดยการ “เช่า” พื้นที่ปั๊มน้ำมันแทนการ “ซื้อ” ที่ดิน
.
การใช้รถขนส่งน้ำมันยี่ห้อและรุ่นเดียวกัน เพื่อให้บำรุงรักษาง่าย ลดค่าใช้จ่ายระยะยาว
.และเรื่องการสร้างแบรนด์ที่เน้นจุดขายหลัก คือ “การจ่ายน้ำมันเต็มลิตร” เพราะเวลาไปเทียบปั๊มภูธร ที่บางทีก็มิเตอร์ไม่ตรงเท่าไหร่
จนล่าสุด มีจำนวนปั๊ม เป็นรองแค่ ปตท. เจ้าตลาดแล้ว
คือ เวลาผู้บริหารท่านไหนอ้างอิงว่า ใช้กลยุทธ์ Southwest Airlines จะดูน่าสนใจเป็นพิเศษ
7) หากสายการบินต้นทุนต่ำ กลับมาบินหลังโควิด-19 จะเกิดอะไรขึ้น เป็นประเด็นที่น่าคิด
โดยหากเราไปดูสายการบินอย่าง ไทยแอร์เอเชีย ปี 2560, 2561, 2562
– Load Factor 3 ปี ย้อนหลัง อยู่ที่ 87%, 85%, 85%
– ต้นทุนต่อปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (CASK) (รวมต้นทุนน้ำมัน) อยู่ที่ 1.52, 1.58, 1.55 บาท
– และหากไม่รวมน้ำมัน อยู่ที่ 1.05, 1.00, 1.03 บาท
– ค่าโดยสารเฉลี่ย 1500, 1477, 1478 บาท
– กำไรสุทธิ ย้อนหลัง 3 ปี อยู่ที่ 1477, 69, -474 ล้านบาท
ดังนั้นหาก Load Factor ลดลงจากการไม่ขายที่นั่งแถวกลาง อาจเหลือ 66%
หากต้นทุน ต่างๆ คงเดิม และไม่ได้ปรับขึ้นค่าตั๋วเครื่องบิน ก็จะทำให้ต้นทุนต่อปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร ไม่รวมน้ำมัน เพิ่มอย่างน้อยๆ 30%
เอาจริงๆ คือ ไม่น่าจะขึ้นบินถี่ได้เหมือนเดิมแล้ว ต้นทุนต่างๆ ต่อหน่วยคงเพิ่มมากกว่านี้ แต่ยังดีที่ได้ราคาน้ำมันที่ลดลงมาช่วย ไม่งั้นคงแย่มากๆ
8) ในแง่การขนส่งทางอากาศเอง ก็ไม่ได้ขนเฉพาะแค่คน แต่ของก็ยังเดินทางไปทางอากาศด้วย
โดยเฉพาะการค้าขายแบบ e-commerce การส่งพัสุดทั้งในประเทศและข้ามประเทศ ซึ่งการใช้เครื่องบิน ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่สะดวกรวดเร็ว
สายการบินส่วนหนึ่งก็จะได้ประโยชน์จากเทรนด์นี้
แต่ก็ต้องแข่งขันกับผู้ให้บริการส่งพัสดุแบบเร่งด่วนรายใหญ่อย่าง DHL, FedEx หรือ SF Express เป็นต้น
ดูแล้วก็น่าเหนื่อยแทนสำหรับธุรกิจสายการบิน
ขนาดนักลงทุนระดับโลก อย่างวอเร็น บัฟเฟตต์ ยังยอมยกธง ขายหุ้นสายการบิน ขายหุ้นทิ้งไปทั้ง Delta Air Lines และ Southwest Airlines
หลังจากที่ให้ข่าวก่อนหน้าว่ายังไงก็ไม่ขายหุ้นสายการบิน
น่าจะบอกมุมมองสำหรับภาพระยะยาวของบริษัทในกลุ่มนี้
ก็คงต้องรถดูว่าสถานการณ์จะยืดเยื้อขนาดไหน และสายการบินต่างๆ
ใครจะมีสายป่านที่ยาวกว่ากัน พอที่จะอยู่รอดไปได้จนสงครามโรคระบาดครั้งนี้หยุดลง
อย่างไรก็ตาม แอดมินเพิ่งได้ฟัง อ.นิเวศน์ แล้วเห็นด้วยมากๆ กับที่ท่านบอกว่า ความต้องการในการเดินทางไปท่องเที่ยว ดูสิ่งแปลกใหม่ในโลก มันอยู่ใน “ยีนส์” ของมนุษย์
คือต่อให้มี AR VR หรือโลกเสมือนจริงขนาดไหน
มันก็คงไม่มีทางสู้การได้เดินทางไปทั่วโลก
เพื่อเปิดมุมมองใหม่ๆ ด้วยตัวของเราเอง….
ดังนั้นธุรกิจการบิน ก็คงยังเป็นทางเลือกในการเดินทางที่รวดเร็ว
และราคาสมเหตุสมผล ที่สุดในขณะนี้ และคงได้ไปต่อ…
รู้หรือไม่?
ในอนาคต สายการบินต้นทุนต่ำเหล่านี้ อาจลดต้นทุนค่าบุคลากรลงได้อีกนะ!
ลองดูภาพนี้กัน ที่ทางแอร์เอเชีย เปิดตัวชุดพนักงงาน แอร์โฮสเตส แบบใหม่
Cr. Manager
Cr. Manager
Cr. Facebook
แต่งตัวแน่นหนา มีหนากาก ชุดคลุมพร้อม ป้องกันโควิดได้แน่นอน
สร้างความมั่นใจให้ผู้โดยสาร และสร้างความมั่นใจให้พนักงานเองด้วย
แต่ทีนี้ ผู้โดยสารที่เคยแอบเหล่มองแอร์ฯ บ่อยๆ อาจไม่ค่อยสบอารมณ์เท่าไหร่…เพราะจะมองไม่เห็นหน้าแอร์อีกต่อไป
แต่ก็…อาจมองเป็นข้อดี
ที่ในอนาคต แอร์ อาจไม่ต้องเน้นสวย หล่อ ขอแค่ทนร้อนทนเหงื่อได้ ก็พอ…
อย่างนี้เรียก New Normal ด้วยไหม??…
════════════════
ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก
หาขนส่งมืออาชีพ
════════════════
ที่มา:
https://loyaltylobby.com/2020/04/26/airasia-fashion-inspired-ppes/
https://marketeeronline.co/archives/114973
https://www.fool.com/investing/2020/04/21/better-buy-delta-airlines-vs-southwest-airlines.aspx
Wendover Productions
แบบ 56-1 ไทยแอร์เอเชีย
https://www.fool.ca/2020/04/24/why-is-warren-buffett-selling-his-airline-stocks/
👫 พิเศษสุด! “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า Marketplace”
สำหรับเพื่อนๆ นำเข้า ส่งออก เชิญค้าขายกันได้เลย
https://www.facebook.com/groups/573677150199055/?source_id=416086589242286
❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก
👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า–ส่งออก