กว่าจะมาเป็นตู้คอนเทนเนอร์ (History of container) (1)

กว่าจะมาเป็นตู้คอนเทนเนอร์ (History of container) (1)

ย้อนกลับไปปี ค.ศ.1937 หนุ่มชาวอเมริกันวัย 24 ปี นามว่า มัลคอม แม็คลีน ทำอาชีพคนขับรถบรรทุกส่งฝ้าย จากรัฐนอร์ธแคโรไลน่า ทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ไปลงเรือที่รัฐนิวเจอร์ซีย์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทางกว่า 900 กิโลเมตร

โดยทุกครั้งที่เขาไปส่งของที่ท่าเรือ เขาจะต้องเจอกับเหตุการณ์ซ้ำๆ ที่น่าเบื่อมากๆ ก็คือ การรอโหลดของลงเรือสินค้าที่จะออกเดินทางไปสู่ กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี

ในสมัยนั้น การโหลดสินค้าลงเรือ ยังต้องขนสินค้าเป็นชิ้นๆ ขึ้นเรือ โดยใช้แรงงานคน (จะเรียกภาษาชาวบ้านว่า อัตโนมือ ก็เป็นได้) ซึ่งทำให้ มัลคอม ต้องรอเป็นวันๆ กว่าที่จะได้คิวโหลดสินค้า และกว่าที่จะโหลดสินค้าเสร็จ

เขามักจะบ่นกับเพื่อนๆ ทุกครั้ง ในทำนองว่า “มันต้องมีวิธีการที่ดีกว่าการมานั่งรอ ยกสินค้าขึ้นเรือทีละชิ้นแบบนี้ ทำไมถึงไม่มีใครคิดที่จะยกรถทั้งคันขึ้นเรือไปเลย แล้วก็เอาไปใช้งานต่อ”

———————————————————–

โดยเฉลี่ยการโหลดสินค้าลงเรือ ใช้เวลารวมประมาณ 8 วัน…

จากปัญหาที่เขาเจอกับตัวเองในวันนั้น ทำให้ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1950 หลังจากที่เขาได้สร้างธุรกิจขนส่งจนใหญ่โตขึ้น และสั่งสมประสบการณ์ และ Connection ทางธุรกิจ

มัลคอม ได้คิดค้นทางแก้ปัญหา โดยใช้ไอเดีย “กล่องขนาดใหญ่” หรือ “Big Box” ซึ่งก็ประยุกต์มาจากตู้บรรทุกสินค้าของรถไฟ

นวัตกรรมดังกล่าวคือ ไอเดียต้นแบบของ ตู้คอนเทนเนอร์ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และในปีค.ศ. 1956 มัลคอมในฐานะเจ้าของบริษัทขนส่ง ก็ได้ทำให้ความฝันของเขาเป็นความจริง

โดยเขาทำการเปลี่ยนเรือบรรทุกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีชื่อเท่ห์ๆ ว่า “SS Ideal X” ให้เป็นเรือขนส่งสินค้าทางทะเล โดยบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ถึง 58 ตู้ (ความยาวตู้ประมาณ 35 ฟุต) และมีผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกว่า 15,000 ตัน

มัลคอม คำนวณเปรียบเทียบว่า การขนส่งโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์แบบใหม่ของเขาจะช่วยลดต้นทุนขนส่งจาก 5.83 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เหลือเพียง 0.16 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือ 36 เท่า

และการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ และเครนยกตู้ จะช่วยลดเวลาโหลดสินค้าลงเรือ จาก 8 วัน เหลือเพียงหลัก 1-3 วันเท่านั้น

มัลคอมได้เริ่มเปิดดำเนินการธุรกิจขนส่งทางทะเล โดยตู้คอนเทนเนอร์ ในเส้นทาง New York, Florida, และ Texas คือชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ในนามบริษัท Pan-Atlantic Steamship Corporation

ซึ่งต่อมาบริษัทนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Sea-Land Service, Inc ในปี 1960 และสามารถทำกำไรได้ในปีต่อมาและบริษัทก็ขยายกิจการไปเรื่อยๆ (เพื่อนๆ น่าจะคุ้นๆ ชื่อ Sea-Land ไว้มาเล่าเพิ่มใน EP ถัดๆไป…)

งานบางส่วนที่ใช้มือ ก็เริ่มใช้เครื่องจักร ทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติแทนคน…

———————————————————–

ปัจจุบันตู้คอนเทนเนอร์ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีหลากหลายกว่า 16 รูปแบบ ตามชนิดสินค้า

นอกจากนี้เรือขนส่งทางทะเลก็มีแข่งกันสร้างเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำลายสถิติเดิมอย่างต่อเนื่อง

โดยปกติแล้วการวัดขนาดของเรือ จะใช้วิธีเปรียบเทียบกับขนาดตู้สินค้ามาตรฐานหรือ TEUs ย่อมาจากTwenty-foot คือ หน่วยนับสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ความยาว 20 ฟุต

โดยตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต เท่ากับ 1 ทีอียู ตู้คอนเทอนเนอร์ 40 ฟุต เท่ากับ 2 ทีอียู

แรกเริ่มเดิมที เรือขนส่งได้ทีละ 58 ตู้คอนเทนเนอร์ แต่ปัจจุบัน เรือขนาดใหญ่ที่สุด ขนตู้คอนเทนเนอร์ได้ทีละ 24,000 ตู้ เลยทีเดียว! คิดภาพขนาด กว้างคูณยาว ของเรือ ใหญ่เป็น 4 เท่าของสนามฟุตบอลมาตรฐาน!

———————————————————–

การมาถึงของตู้คอนเทนเนอร์ ช่วงลดต้นทุนค่าขนส่ง และลดเวลาขนส่งอย่างมหาศาล ทำให้ โลกาภิวัฒน์(Globalization) เกิดขึ้นได้จริง การขนส่งสินค้าทางเรือ จากประเทศที่มีสินค้า ไปสู่ประเทศที่ไม่มีสินค้าสามารถเป็นไปได้

ตัวอย่างสินค้าที่คลาสสิก ก็คือ “กล้วยหอมเขียว” หรือ กล้วยคาเวนดิช ที่มีปลูกเฉพาะในประเทศเขตร้อนชื้น เช่น อินเดีย ละตินอเมริกา และเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถขายไปได้ทั่วโลก ในราคาที่ถูกเหมือนให้ฟรีในหลายๆประเทศ (กล้วยที่สหรัฐอเมริกา ที่ปลูกกล้วยเองไม่ได้ กลับขายในราคาที่ถูกกว่าไทย ที่ปลูกกล้วยได้เอง!)

———————————————————–

เรื่องราวของ มัลคอม แม็คลีน ที่สามารถคิดค้นนวัตกรรมเพื่อแก้ความเบื่อของเขาจากการที่ต้องมารอโหลดสินค้า ได้สร้างคุณค่าอย่างมหาศาลต่อโลก

ทำให้การค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจากประเทศที่มีสินค้า ไปสู่ประเทศที่ไม่สามารถผลิตสินค้านั้นๆ เป็นไปได้จริง

ตู้คอนเทนเนอร์ ช่วยลดต้นทุนการขนส่งทางทะเล ทำให้โลกาภิวัตน์เกิดขึ้นได้จริง

ประเทศจีนเองที่เป็นโรงงานผลิตของโลกได้ ส่วนหนึ่งก็เพราะเทคโนโลยีการขนส่งทางทะเลที่พัฒนาขึ้นจุดเริ่มต้นมาจากตู้คอนเทนเนอร์

จะกล่าวว่า ตู้คอนเทนเนอร์ ที่ดูแสนจะธรรมดาในปัจจุบัน เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่เีที่สุดของศตวรรษ ที่ผ่านมา ก็ไม่ได้เป็นการกล่าวที่เกินจริง…

ตอนต่อไปเราจะมาติดตามว่า สงครามเวียดนาม ไปเกี่ยวอะไรกับพัฒนาการการขนส่งทางทะเลโดย ตู้คอนเทนเนอร์!

ที่มา:
https://ddec1-0-en-ctp.trendmicro.com:443/wis/clicktime/v1/query?url=https%3a%2f%2fwww.maritime%2dexecutive.com%2farticle%2fthe%2dstory%2dof%2dmalcolm%2dmclean&umid=8ec93648-8f3c-463f-af47-7b304e85faa6&auth=0e627c52565337456625e0b2c1a3806adbc1b6e9-6b76102116e82ae07d7af5db3fbdfeb51e29e14f
https://ddec1-0-en-ctp.trendmicro.com:443/wis/clicktime/v1/query?url=http%3a%2f%2fwww.worldshipping.org%2fabout%2dthe%2dindustry%2fhistory%2dof%2dcontainerization%2fthe%2dbirth%2dof%2dintermodalism&umid=8ec93648-8f3c-463f-af47-7b304e85faa6&auth=0e627c52565337456625e0b2c1a3806adbc1b6e9-254647f4e8d0fe0827a0793b9ed983c0a716b3d7
THE CONTAINERSHIP REVOLUTION Malcom McLean’s 1956 Innovation Goes Global
https://ddec1-0-en-ctp.trendmicro.com:443/wis/clicktime/v1/query?url=http%3a%2f%2fwww.laemchabangportphase3.com%2fknow%5f02.html&umid=8ec93648-8f3c-463f-af47-7b304e85faa6&auth=0e627c52565337456625e0b2c1a3806adbc1b6e9-e97b03a933d03500e52cf89c0dd731919cc811a6
https://ddec1-0-en-ctp.trendmicro.com:443/wis/clicktime/v1/query?url=https%3a%2f%2fwww.portofrotterdam.com%2fen%2fnews%2dand%2dpress%2dreleases%2fmsc%2dgulsun%2dworlds%2dlargest%2dcontainer%2dship%2darrives%2dat%2dthe%2dport%2dof%2drotterdamrlds%2dlargest%2dcontainer%2dship%2darrives%2dat%2dt&umid=8ec93648-8f3c-463f-af47-7b304e85faa6&auth=0e627c52565337456625e0b2c1a3806adbc1b6e9-146a5e491f2b475bfc58592b04c554a9bb86606c

=========================
ZUPPORTS ระบบ Bidding ผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ
สนใจใช้บริการ zupports.co/register
=========================

พิเศษ! กลุ่มไลน์ Openchat สำหรับ คนในวงการ นำเข้า ส่งออก เข้ามาสอบถามข้อมูล ติดตามข่าวการค้า การขนส่งระหว่างประเทศกันได้ที่ https://ddec1-0-en-ctp.trendmicro.com:443/wis/clicktime/v1/query?url=https%3a%2f%2fbit.ly%2f3seJRLk&umid=8ec93648-8f3c-463f-af47-7b304e85faa6&auth=0e627c52565337456625e0b2c1a3806adbc1b6e9-e47b971c885ab1eead9248c8ede86e62e032e626

#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า
#zupports
#ตู้คอนเทนเนอร์
#ขนส่งทางเรือ
#นำเข้า #ส่งออก

ข่าวสารอื่นๆ