[Freight Weekly] อัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศ 16-20 พฤษภาคม เตรียมรับ จีน คลายล็อคดาวน์ กลับสู่ปกติภายใน 1 มิถุนายน

[Freight Weekly] อัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 16-20 พฤษภาคม 2565 กับ ZUPPORTS

เมื่อโลกการผลิตต้องชะงักจากการขาดแคลนวัตถุดิบทางประเทศจีน

 

กลับมาพบกันเหมือนเช่นเคยกับพวกเราชาว ZUPPORTS ในการอัพเดต ข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหว รวมถึงสถานการณ์นำเข้า-ส่งออกในภาคการขนส่งทางเรือประจำสัปดาห์ที่ 21/2022 ซึ่งในสัปดาห์นี้ หลายคนทำงานกันเพียงสี่วัน เนื่องจากมีการประกาศวันหยุดชดเชยวันสำคัญทางศาสนา อย่างวันวิสาขบูชา ในวันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม

.

โดยในสัปดาห์นี้ ยังคงเป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ที่พวกเรายังคงต้องเฝ้าจับตาดูสถานการณ์ล็อคดาวน์ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ถึงความคืบหน้าในการคลายล็อคดาวน์ภายใต้มาตรการของรัฐบาลปักกิ่ง เนื่องจากสัปดาห์นี้ทางการจีนเริ่มมีการผ่อนปรนมาตรการ อนุญาตให้ห้างร้าน กิจการต่างๆ ให้ทยอยกลับมาเปิดทำการได้ หากแต่ยังคงต้องทำภายใต้มาตรการควบคุมและจำกัดผู้ใช้บริการ

.

ซึ่งประเด็นดังกล่าว ทั่วโลกค่อนข้างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก รวมไปถึงคนในแวดวงนำเข้า-ส่งออก และบรรดาผู้ประกอบการในภาคต่างๆ เนื่องจากการล็อคดาวน์เพียงแค่ที่เซี่ยงไฮ้เมืองเดียว แต่ส่งผลกระทบต่อระบบวงจรการขนส่งและการกระจายสินค้าเป็นวงกว้างทั่วโลก

.

รวมไปถึงวิกฤติโลกที่กำลังจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อวงการนำเข้า-ส่งออก อย่างวิกฤติทางด้านพลังงานโลก อันเนื่องมาจากสงครามในภูมิภาคยุโรปตะวันออก ที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันและเชื้อเพลิงทั่วโลก ถีบตัวสูงขึ้นเป็นประวัติกาล ซึ่งมีผลกระทบทางตรงต่อราคาต้นทุนค่าขนส่งในทุกรูปแบบ

.

และวิกฤติด้านอาหารโลก เมื่อหลายประเทศเริ่มออกมาตรการควบคุมและจำกัดการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อป้องกันภาวะขาดแคลนภายในของตน โดยล่าสุดอย่างอินเดีย ชาติที่ส่งออกข้าวสาลีมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก ประกาศหยุดส่งออก!!!

.

หากพร้อมกันแล้ว ตามพวกเรา ZUPPORTS มาดูกันในแต่ละประเด็นหลักๆกันเลย

 

=========================

ZUPPORTS ควบคุมต้นทุนขนส่งผ่านระบบเปรียบเทียบราคาเฟรทออนไลน์

สนใจลงทะเบียนทดลองใช้งานฟรี ที่ www.ZUPPORTS.co/register

=========================

 

1) เริ่มต้นกันที่ประเด็นภาพรวมของการจองพื้นที่ระวางเรือ หรือการบุ๊คกิ้ง Spaceเรือ

.

รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ในทุกเส้นทางการขนส่งทั่วโลก ค่อนข้างเปิดโล่งสำหรับพื้นที่ระวาง  หลายคนได้รับการตอบรับยืนยันการจองจากทุกสายการเดินเรือแบบไม่อยากเย็นนัก สำหรับงานที่มีการจองเรือล่วงหน้า  2-3 สัปดาห์ รวมไปถึงงานที่มีเข้ามาในลักษณะกระชั้นชิดหรือที่เรียกว่าบุ๊คด่วนในบางเส้นทาง ที่คงพอมีลุ้นเมื่อเทียบกับในสัปดาห์ก่อน

.

ทั้งนี้ก็เนื่องจากหลายประเทศเริ่มมีการผ่อนปรนในการเปิดบ้าน หลายสายการบินเริ่มกลับมาเปิดให้บริการในหลายเมืองมากขึ้น รวมไปถึงประเทศจีนยังคงมาตรการล็อคดาวน์เมืองใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้ จึงทำให้สินค้าจากตลาดเมืองจีนยังคงหดตัว

.

อีกปัจจัยหนึ่ง ที่แทรกขึ้นมาและเป็นผลมาจากการล็อคดาวน์ที่เมืองจีน นั้นคือผู้ประกอบการในหลายๆภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะบรรดาฐานการผลิตต่างๆในเอเชีย กำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญที่เคยนำเข้ามาจากเมืองจีนเพื่อใช้ในการผลิต

.

รวมถึงหลายผู้ประกอบการในบ้านเราเอง หลายรายไม่สามารถเดินสายการผลิตต่อเนื่องจากไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบมาจากเมืองจีน ในขณะที่บางรายจำใจต้องหาทดแทนจากแหล่งอื่นที่ราคาสูงกว่า

.

หากแต่โดยรวมแล้วก็ยังถือว่าค่อนข้างตึงและแน่นกว่าภาวะปกติ ทั้งนี้ก็เนื่องจากในบางเส้นทางการขนส่ง หลายสายการเดินเรือ หรือบรรดากลุ่มพันธมิตรเดินเรือ มีการประกาศตารางเดินว่าง หรือ Blank Sailing รวมไปถึงภาวะการขาดแคลนตู้สินค้า

.

ในภาพรวมของบุ๊คกิ้งยืนยันการจองที่ปล่อย หลายสายการเดินเรือเริ่มมีการปล่อยบุ๊คกิ้งภายใต้ SVC/NAC ให้กับบริษัทรับขนส่งแบบ Freight Forwarder และ ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆมากขึ้นจากเดิม เพื่อเติมพื้นที่บนเรือให้เต็ม Capacity ระวางเท่านั้น เรียกว่าเอาให้เต็มทุกเม็ด รวมถึงในบ้านเราเอง ที่เฟรทเจ้าใหญ่หลายเจ้าแบบ Global Forwarder  เริ่มได้บุ๊คกิ้งยืนยันการจองภายใต้ SVC ที่ทำการต่อรองโดย HQ/ Oversea Agent

.

ขณะภาพรวมงานขาเข้าในบ้านเรา โดยเฉพาะที่มาจากประเทศจีน บรรดาตัวแทนรับขนส่งหลายรายที่มีความพลิ้วหรือมีเพื่อนที่ค่อนข้างแข็งแรงกว่าคนอื่นในประเทศจีน ยังคงสามารถนำสินค้าเข้ามาอย่างต่อเนื่อง หากแต่ใช้เวลาค่อนข้างนานในการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในประเทศจีนเพื่อมาออกท่าเรือในตอนล่างที่เปิดทำงานปกติ ดังนั้นงานส่วนมากที่เข้ามาจึงออกมาจาก HKHKG/ CNYTN/ CNSHK

 

 

*******

2) ในส่วนสถานการณ์และภาพรวมของตู้สินค้า ที่เริ่มทรงตัวและถูไถได้มากขึ้น

.

ในภาพโดยรวมของสถานการณ์ตู้สินค้าทั่วโลก ดูทรงตัว โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากปัจจัยที่กล่าวข้างต้น หลายโรงงานไม่สามารถทำการผลิตได้เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบจากประเทศจีน จึงทำให้ความต้องการหรืออุปสงค์ในการส่งออกลดลงพอสมควร

.

หากแต่ก็ยังถือว่าอยู่ในจุดที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในหลายภูมิภาคทั่วโลกที่เป็นพื้นที่แบบอยู่กลางภูมิภาคหรือไม่ติดทะเลแบบเมืองท่า ที่ยังคงประสบกับปัญหาการขาดแคลนอย่างหนัก อย่างตอนกลางของยุโรป, อเมริกาเหนือ,อเมริกาใต้ รวมไปถึงเอเชียใต้หรือ Indian Subcontinent ตามท่าแห้งหรือ ICD ทางตอนเหนือของอินเดีย ที่ขาดแคลนตู้สินค้าสำหรับงานขาออกอย่างหนัก

.

ส่วนสถานการณ์ตู้สินค้าในบ้านเรานั้น หลายสายการเดินเรือยังคงประสบกับปัญหาการขาดแคลน จำนวนและสภาพโดยรวมของตู้ไม่สัมพันธ์หรือสอดคล้องกับจำนวนบุ๊คกิ้งที่ปล่อย โดยเฉพาะพวกสายการเดินเรือใหญ่ที่มีบริการสายนอก Long Haul ที่หมุนตู้ไม่ทัน ในขณะที่หลายการเดินเรือขนาดกลางลงหรือที่มีบริการแบบสายในวิ่งใกล้ๆ หรือ Short Haul ยังคงที่จะบริหารจัดการ และพอถูไถ ประคองปล่อยให้ลูกค้า แต่ต้องดูกันแบบรายสัปดาห์

.

รวมไปถึง การหดหายไปจากการหมุนเวียนตู้สินค้าในบางภูมิภาค อันเนื่องจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของเส้นทางของการตลาด อันเนื่องจากหลายประเทศมีการออกคำสั่งห้ามส่งออกสินค้าบางประเภท เพื่อป้องกันการขาดแคลนภายในประเทศของตน ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้ ต่างเป็นปัจจัยตัวแปรที่สายการเดินเรือใช้ในการวางแผนเคลื่อนย้ายตู้สินค้า ไปยังภูมิภาคอื่นที่เป็นแหล่งวัตถุดิบรองของโลก

.

อย่าง การที่อินโดนีเซียระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม หรืออย่างกรณีล่าสุด การที่ทางการอินเดียประกาศระงับการส่งออกข้าวสาลี ซึ่งหลายคนต้องหันไปมองว่าแหล่งวัตถุดิบใหม่อย่างในภูมิภาคอเมริกาใต้ หรือ อเมริกากลาง และแน่นอนว่าสายการเดินเรือต่างๆก็ต้องเคลื่อนไหวตามสภาวะกลไกการตลาดโลกเช่นกัน

 

******

3) ในส่วนของภาพรวมตารางเดินเรือและระยะเวลาในการขนส่ง มีทิศทางดีขึ้นและเริ่มทรงตัว

.

จากสถานการณ์ความไม่นิ่งของตารางเดินเรือที่เราต้องประสบกันก่อนหน้านี้ ดูเหมือนจะมีทิศทางไปในทางที่ดีขึ้นเป็นลำดับ ปัญหาความล่าช้าหรือ Delay On Board /Delay Schedule เริ่มดีขึ้น ตารางเดินเรือโดยรวมนิ่งขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้า

.

หากแต่ที่เลี่ยงไม่ได้และยังคงต้องประสบ นั่นคือการแจ้งประกาศตารางเดินเรือว่างหรือ Blank Sailing!!!

.

เนื่องจากประเทศจีนยังคงตรึงมาตรการล็อคดาวน์เมืองเซี่ยงไฮ้ ส่งผลให้เกิดภาวการณ์หดตัวลงของปริมาณสินค้าที่ขนส่งในตลาดหลัก และด้วยเป็นกลยุทธ์ในการบริหารทางการตลาด หลายสายการเดินเรือจึงปล่อยตารางเรือว่างเพื่อลดอุปทานพื้นที่ระวางในการขนส่ง

.

โดยเราจะยังต้องเจอกับการปล่อยตารางเรือว่าง รวมไปถึงการข้ามไม่เข้าบางท่าเรือ หรือ SKIP Call แบบนี้ต่อไป จนกว่าสภาวะการส่งออกของประเทศจีนกลับมาฟื้นตัวหรือเข้าที่เข้าทาง ซึ่งอาจต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่

.

หากแต่สิ่งที่หลายคนกำลังกังวลเมื่อมองข้ามไปถึงวันที่ประเทศจีนคลายล็อคดาวน์เมืองเซี่ยงไฮ้ นั่นคือปัญหาความล่าช้า หรือไม่เสถียรของตารางเดินเรืออีกครั้ง เมื่อเซี่ยงไฮ้กลับมาเดินเครื่องเต็มรูปแบบ และเรือสินค้าเข้าไปรุมออกันจนแน่นท่ากว่าเดิม

.

รวมไปถึงปัญหาการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงชื่อเรือและเที่ยวเรือ เนื่องจากหลายสายการเดินเรือที่ให้บริการในเส้นทางที่ผ่านประเทศจีน ต่างยังคงรอดูท่าทีของสถานการณ์การคลายล็อคดาวน์ ดังนั้นตารางเรือที่เห็นจึงเป็นการวางแบบลำต่อลำ ในแต่ละรอบเรือไป ซึ่งนั่นหมายถึงสามารถที่จะทำการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เมื่อมีสัญญาณความคืบหน้าจากประเทศจีน

 

*********

4) ทางด้านภาพรวมค่าระวางขนส่งสินค้าหรือค่าเฟรทโลก ที่เริ่มมีทิศทางเป็นใจมากขึ้น

.

โดยทิศทางค่าระวางขนส่งหรือค่าเฟรทโลก ยังคงเป็นไปในทิศทางที่แจ่มใสและสามารถเรียกรอยยิ้มให้ได้บ้าง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากสินค้าในตลาดขนส่งหลักของจีนยังไม่กลับมาสู่วงจร และอุปสงค์ในการส่งออกของหลายประเทศตกลงเนื่องจาก ภาวการณ์ขาดแคลนวัตถุดิบ รวมไปถึงสภาวะความต้องการสินค้าในตลาดโลกหดตัวลงอย่างเห็นได้ชัด

.

โดยในบ้านเราเอง สำหรับบรรดาผู้ประกอบการรายใหญ่หรือตัวแทนรับขนส่งแบบ Freight Forwarder ระดับมหาอำนาจหรือขนาดกลาง หลายคนคงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของราคาค่าระวางหรือค่าเฟรท ที่มีการปรับลงในหลายเส้นทาง แต่ไม่ถึงกับลดฮวบแนวดิ่ง ในขณะที่ผู้ประกอบการ รวมถึงบรรดาตัวแทนรับขนส่งขนาดกลางลงมา หลายคนอาจเจอเพียงแค่การรักษาระดับหรือ Rate Maintain เท่านั้น

.

ทั้งนี้ก็เนื่องจาก ราคาค่าระวางยังคงถูกพยุงด้วยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมถึงปัจจัยอื่นอย่างพื้นที่ระวางที่ยังเต็ม หรือสภาวะตู้สินค้าขาดแคลนนั่นเอง

.

โดยอีกจุดที่น่าสนใจและสังเกตได้คือ ในช่วงสองหรือสามเดือนที่ผ่านมา เริ่มมีตัวแทนรับขนส่งแบบ Freight Forwarder หลายราย มีการออกมาเลขายพื้นที่ระวางกันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเส้นทางขนส่งไปยังภูมิภาค อเมริกาเหนือหรือยุโรป

.

ซึ่งหากเปรียบเทียบกับเมื่อช่วงปีที่แล้ว ในตอนที่โควิด-19กำลังพีค หากจำกันได้ช่วงนั้นมีแต่คนออกถามหาพื้นที่ระวางขนส่งหรือ Space กันจ้าละหวั่น เรียกได้ว่าบางงานที่ไปพอร์ตไม่ยากอย่าง NLRTM บางเจ้ารับงานกันแบบแทบจะซ้อนสามเฟรท หรือ 3HBLs per 1MBL เรียกว่าผู้รับสินค้าปลายทางแทบจะบินมาหาผู้ส่งออกที่ไทย เนื่องจากต้องรับค่าธรรมเนียมขาเข้าหรือ IMP Local Charge แบบซับสามต่อ

.

แต่อย่าเพิ่งชะล่าใจว่าลมกำลังจะเปลี่ยนทิศ หรือโลกสวยว่า ราคาจะหัวปักและทิ่มลงไปแบบนี้เรื่อยๆ !!!

.

เพราะอย่าลืมว่าสิ่งที่เรากำลังรอดูคือการคลายล็อคดาวน์ของเซี่ยงไฮ้ รวมถึงสิ่งสำคัญหนึ่งที่ต้องพึงรู้คือ ทุกสายการเดินเรือเขามีบทเรียนและรู้วิธีในการบริหารจัดการรอบเรือ แบบที่ให้ผลประกอบการออกมาเป็นที่พึงพอใจ หรือพูดง่ายๆว่า สายเรือรู้แล้วว่าวิ่งอย่างไรจึงมีกำไร!!!

.

รวมไปถึงหลายสายการเดินเรือ ทีมีการออกแบบการกำหนดราคาค่าระวางหรือค่าเฟรทแบบต่อชิบเมนต์ หรือที่เราเรียกกันว่า SPOT Rate เหมือนเวลาซื้อตั๋วเครื่องบิน

.

แน่นอน นั่นหมายถึงเราไม่สามารถต่อรองกับ อัลกอริทึม ดังนั้นการจะมองหาราคาค่าระวางขนส่งแบบช่วงวิกฤติก่อนโควิด-19 ดูท่าจะยาก

 

*******

5) กลับมาที่เรื่องสุดท้าย ในประเด็นความหนาแน่นของท่าเรือต่างๆในแต่ละภูมิภาคทั่วโลก

.

ที่ดูแบบภาพรวมแล้วค่อนข้างสดใสและดีวันดีคืน หลายท่าเรือที่เคยประสบปัญหาแบบสาหัส มีแนวโน้มพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น มีจำนวนเรือสินค้ารอเทียบน้อยลง รวมไปถึงใช้เวลารอเทียบและปฏิบัติงานที่ท่าน้อยลง

.

หากแต่ยังคงมีหลายท่าที่ยังถือว่ายังแน่น และหากยังไม่สามารถทำการระบายได้ก่อนเซี่ยงไฮ้คลายล็อคดาวน์ จะกลายเป็นสร้างวิกฤติในโอกาส!!!

.

ซึ่งโดยรวมแล้ว ปัญหาความหนาแน่นของท่าเรือต่างๆทั่วโลก ต้นเหตุหลักเกิดจากการไม่สามารถทำการไหลของตู้สินค้าต่อไปในส่วน In Land ได้ เนื่องจากการขาดแคลนทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิบัติงาน อย่าง ภาคแรงงาน ภาคขนส่ง แคร่รถไฟวางตู้ แชสซีหรือหางวางตู้ และปัญหาที่กล่าวส่วนมากมาสะดุดตอนช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในระลอกแรก

.

หากแต่ในบางภูมิภาค มีการถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาหรือปัจจัยภายใน อย่างปัญหาการนัดหยุดงานของภาคขนส่งและภาคแรงงาน หรือปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิง รวมถึงปัญหาเรื่องการเมืองภายในประเทศ

.

ในด้านภาพรวมของท่าเรือในภูมิภาค อเมริกาเหนือทั้งสองฝั่ง มีสัญญาณพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นและทรงตัว และหลายคนภาวนาให้ระบายเรือที่ตกค้างได้หมดก่อนที่ทางการจีนจะคลายล็อคเซี่ยงไฮ้

.

โดยท่าเรือหลักในฝั่งตะวันออกหรือ USEC อย่าง USNYC/ USCHS/ USSAV/ USMIA มีเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบและที่เทียบแล้วในแต่ล่ะท่า ประมาณ 12-20 ลำ โดยใช้เวลารอเทียบเข้าท่าอยู่ที่ 5-10 วัน

.

ในส่วนท่าเรือหลักฝั่งตะวันตกหรือ USWC (USSEA/ USTIW/ USOAK) ยังคงอยู่ในภาวะทรงตัว โดยมีเรือรอเข้าเทียบประมาณ 12 -20 ลำ และใช้เวลารอเข้าเทียบท่าอยู่ที่ 5-12 วัน

.

ทางด้าน (USLAX/ USLGB) ยังคงหนาแน่นแต่มีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น โดยมีเรือรอเข้าเทียบท่าประมาณ 80 ลำ (แบ่งเป็นอยู่ในรัศมี 25ไมล์ทะเลเกือบ 40-50ลำ และอยู่นอกเขต SAQA Zone ประมาณ 30ลำ)  และใช้เวลารอเทียบท่าอยู่ที่ 18 -25 วัน

.

เพื่อนบ้านอย่าง Canada ท่าเรือ CAVAN ที่อยู่ในสภาวะแน่น แต่ดูดีขึ้นบ้าง โดยมีเรือสินค้าที่รอเทียบและเข้าเทียบท่าแล้ว 25-30 ลำ และใช้เวลารอเข้าเทียบและรอปฏิบัติงานที่ท่าอยู่ที่ 22-28 วัน โดยปัญหาหลักยังคงเป็นการขาดแคลนอุปกรณ์ทางรางรวมไปถึงแคร่รถไฟ ที่ใช้ขนส่งช่วงต่อจากท่าเรือเข้ายังกลางแผ่นดิน

.

กลับมาในภูมิภาคเอเชีย อย่างท่าเรือหลักของประเทศจีน ที่หนักหนาที่สุดคงจะเป็น CNSHAและ CNNGB ที่มีเรือทั้งที่รอเทียบขนถ่ายและที่เข้าเทียบแล้วจำนวนรวมกัน เกือบ 7500ลำ ซึ่งเฉพาะแค่ที่เซี่ยงไฮ้คือ 6500 ลำ !!! และเริ่มลามไปท่าเรือตอนบนอย่าง CNTXG ที่มีเรือสินค้าขนถ่ายอยู่ที่ท่าและโดยรอบกว่า 700ลำ

.

ในส่วนของท่าเรือตอนล่าง ที่หนักหนาสุดคงจะเป็นที่ HKHKG มีเรือเข้าเทียบท่าขนถ่ายและรอเทียบจำนวนกว่า 1000ลำ ในขณะที่ CNSHK และCNYTN เริ่มเบาลง โดยมีเรือสินค้ากำลังขนถ่ายและรอเข้าเทียบอยู่ประมาณ 170 -200ลำ

.

และสุดท้ายกับภาพรวมของความหนาแน่นของ 3ท่าเรือหลักของภูมิภาคยุโรป อย่าง NLRTM/ DEHAM/ BEANR ที่มีเรือสินค้ารอเข้าเทียบท่าอยู่รวมกันมากกว่า 700ลำ โดยหนักสุดคือที่ NLRTM มีรอเทียบประมาณ 370 -400 ลำ

 

*******

6) โดยในรอบสัปดาห์นี้ เชื่อว่าเรื่องที่หลายคนในวงการนำเข้า-ส่งออก ยังคงต้องเฝ้าดูคือการคลายล็อคเมืองเซี่ยงไฮ้

.

โดยอย่างที่กล่าว สัปดาห์นี้ทางการจีนจะเริ่มทำการผ่อนคลายมาตรการ หลังจากที่ทำการล็อคดาวน์เมืองท่าแห่งนี้มากกว่า 6สัปดาห์

และเรื่องที่หลายคนรอดูคือ การผ่อนปรนมาตรการในการขนส่งและเดินทางข้ามเมือง เพราะเมื่อไรที่มีการผ่อนปรนประเด็นนี้ นั่นหมายถึงเฟืองของระบบการขนส่งและการกระจายสินค้าจะกลับมาทำงานอีกครั้ง

.

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าจับตาคือ ภาวการณ์หดตัวของอุปสงค์ในการขนส่งหรือการส่งออก อันเนื่องมาจากภาวการณ์ขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต และปัจจัยเนื่องมาจากอุปสงค์ของความต้องการในการบริโภคของตลาดโลกลดลง อันเนื่องจากทั่วโลกขาดกำลังซื้อ

.

หากแต่เหตุผลในข้อหลัง ดูจะเป็นสัญญาณที่ไม่ดีสัก ในมุมของคนที่ทำธุรกิจระหว่างประเทศรวมไปถึงธุรกิจในท้องถิ่น!!!

.

เพราะอย่าลืมว่า ในภาคการขนส่ง นำเข้า-ส่งออกนั้น เป็นกิจกรรมหนึ่งในห่วงโซ่ของระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นการที่ความต้องการสินค้าหรือความต้องการในบริโภคของโลกลดลง นั่นอาจหมายถึงกิจกรรมต่างในภาคการขนส่งก็จะหดตัวตาม และสิ่งที่จะตามมาก็คือการชะงักตัวของวงจรในภาคการขนส่งทุกรูปแบบ ซึ่งอาจส่งผลลามไปสู่ภาพใหญ่ที่ครอบเรื่องของการขนส่งไว้อย่างระบบโลจิสติกส์

.

ทั้งหมดนี้คือ การสรุปภาพรวมและแนวโน้มของการนำเข้า-ส่งออก ในภาคการขนส่งทางเรือประจำสัปดาห์ ซึ่งเราจะเห็นว่านับวันการทำงานในวงการของเราไม่ง่ายเหมือนในยุคก่อนสักเท่าไรนัก และหากเราไม่มีพันธมิตร ไม่มีเครื่องมือหรือข้อมูลที่ใช้ในการประกอบการตัดสินใจในการทำงาน นั่นคือเรากำลังเสียเปรียบคนที่เขาเข้าถึงมากกว่าเรา

.

ดังนั้นไม่ต้องกังวลสำหรับเพื่อนๆที่ยังไม่มีเครื่องมือที่ว่า เพราะพวกเรา ZUPPORTS ยังคงอยู่ข้างๆให้อุ่นใจเสมอ

แล้วพบกันใหม่ในสัปดาห์หน้า ลาไปก่อน สวัสดี

 

=========================

ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ นำเข้า ส่งออก

เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk

=========================

ข่าวดี! เช็คราคาขนส่งระหว่างประเทศ ง่ายๆ ผ่านระบบ ZUPPORTS

https://www.facebook.com/100059556852446/posts/382302773764948/?d=n

.

สิ่งที่น่าปวดหัว สำหรับ เพื่อนๆ ผู้นำเข้าส่งออก ประเด็นหนึ่งก็คือ ราคาขนส่งระหว่างประเทศ หรือ ราคาเฟรท ที่เปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา ไม่รู้ว่าเฟรท ที่เราจองไป มันถูก หรือแพงกว่าตลาด

.

แต่ทางแอดมินมีข่าวดี! จะบอกว่าปัจจุบัน ทางสตาร์ทอัพ อย่าง ZUPPORTS กำลังพัฒนา feature “Freight Rate Trends” หรือแนวโน้มราคาขนส่งระหว่างประเทศ เป็นเหมือน “แว่นขยาย” ให้เพื่อนๆ ชาว นำเข้าส่งออก ส่องได้ชัดๆ ว่าราคาเฟรท ที่ได้อยู่มันเหมาะสมหรือยัง

.

เพื่อนๆ ที่สนใจเข้าร่วม มาทดลองใช้ระบบในช่วง Soft Launch รีบลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ ทดลองใช้งานฟรี กันได้เลยที่ https://bit.ly/368GR84

 

ข่าวสารอื่นๆ