สั่งอาหารเดลิเวอรีออนไลน์ ดีจริงหรือ?

มีใครเริ่มคิดถึงป้าขายข้าวแกง ที่ทำงานกันบ้างไหม?

แอดมินเริ่มคิดถึงขึ้นมาละจากการที่ต้อง Work from home แบบนี้

โดยร้านอาหารเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดธุรกิจหนึ่ง

ซึ่งการสั่งอาหารเดลิเวอรีออนไลน์ ดูเหมือนจะมาเป็นฮีโร่ ที่ช่วยในยามวิกฤตแบบนี้

แต่คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ การสั่งอาหารเดลิเวอรีออนไลน์ ดีจริงหรือ?

ซึ่งที่ผ่านมา ก็เกิดปัญหาหลายประเด็น

– ทั้งฝั่งเจ้าของแพลตฟอร์มสั่งอาหารเดลิเวอรีออนไลน์ รายหนึ่ง ที่เรียกเก็บค่าบริการใช้แพลตฟอร์มเพิ่ม แต่ก็โดนกระแสต่อต้าน จนล้มแผนไปแล้ว

– ทั้งคนขับ ที่ต้องผจญโควิด-19 ไหนยังต้องไปรอต่อคิว

– ทั้งร้านค้า ร้านเล็กๆ ที่ไม่ได้มีแบรนด์ที่แข็งแกร่งอะไร ไม่รู้จะไปปรากฏตัว ต่อหน้าจอผู้บริโภคได้อย่างไร

Cr. Kapook

ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นแบบนี้ ก็คงบอกอะไรบางอย่างเกี่ยวกับ การสั่งอาหารเดลิเวอรีออนไลน์

คือ ถ้ามันคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ ระบบมันก็น่าจะอยู่ได้ด้วยตัวเอง

หากเราลองดู ตัวอย่าง Uber Eats ที่เริ่มส่งอาหารมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014

จนมาถึงปีที่แล้วมีประมาณการว่า Uber จะขาดทุนเกิน 100 บาท ทุกๆ การส่งอาหาร 1 รายการ

และคาดว่าจะขาดทุนลดลงเหลือประมาณ 15 บาท ทุกๆ การส่งอาหาร 1 รายการ ในปี ค.ศ. 2024 (ก็ยังขาดทุนอยู่ดีนะ)

Cr. Quartz

นั่นคือ สะดวกผู้บริโภค แต่อาจไม่สะดวกกับเงินในกระเป๋านักลงทุนเท่าไหร่

หรือจริงๆ แล้วผู้บริโภคก็อาจไม่สะดวกมากนัก

เพราะหาก Platform เหล่านี้เก็บเงินค่า Commission มากขึ้น

ผู้ประกอบการก็อาจต้องลดปริมาณ หรือลดคุณภาพอาหารลง

หรือจะให้ร้านค้าไปขึ้นราคาอาหาร ก็คงทำได้ยาก

นอกจากจะมีร้านคู่แข่งในแพลตฟอร์มที่ลูกค้าเทียบกันได้แล้ว

ยังมีลูกค้าที่ Walk-in อยู่แล้ว ก็จะแปลกใจ หากสั่งอาหารจากแอพแพงกว่าไปซื้อที่ร้าน

(ที่พีคที่สุดก็คือ ทั้งแพงขึ้นและได้ปริมาณน้อยลงด้วยเนี่ยแหล่ะ ใครเคยเจอบ้าง)

ซึ่งมีแนวคิดที่อาจสามารถช่วยแก้ปัญหา การสั่งอาหารออนไลน์ และส่งอาหาร ก็คือ

1) การสั่งอาหาร ล่วงหน้า เพื่อร้านค้าจะได้เตรียมทำอาหารไว้ก่อน ไปถึงจะได้ไม่ต้องรอกัน อารมณ์เหมือน Just-in-time ซึ่งก็ใช้ความพยายามในการเปลี่ยนพฤติกรรมลูกค้า จากเดิมที่อยากกินก็สั่ง เป็นการผูกปิ่นโตสั่งอาหารแทน

2) พอสั่งล่วงหน้าแล้ว ก็สามารถกำหนดจุด pick-up คือ สมมติเราสั่งชานมไข่มุก กับไก่ทอด ในห้างเดียวกัน เราก็ให้คนๆ เดียวไปรับอาหาร มาส่งเราทีเดียวได้เลย ไม่ต้องแยกบิล หรือแยกคนส่งอาหาร แต่แอพสั่งอาหารอาจไม่ชอบใจนัก เพราะคิดค่าส่งได้ทีเดียว

3) หรือวิธีที่ Advance หน่อยก็คือ การทำเป็นครัวกลางหรือ Cloud Kitchen ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำอาหาร ลดต้นทุน และทำให้การขนส่งง่ายขึ้น เพราะออกจากจุดเดียว

Cr. Techsuace

แต่ที่น่ากังวลที่สุด ลองคิดภาพ Tesco Lotus มีสินค้า House Brand ดู

(ซึ่งคงต้องมีอยู่แล้ว เช่น ข้าวกะเพราะไก่ ไข่ดาว ใครๆ ก็คงทำได้)

แต่ในยุคที่เศรษฐกิจ ก็แย่แบบนี้ และเดินทางไปไหนก็ไม่สะดวก ถึงแม้พี่คนส่งอาหารก็ดี

แอดมินได้คุยกับเพื่อนแล้วพบว่า

คนไทยเราก็ปรับตัวใช้ของฟรีเก่ง ทำเหมือนๆกันเลย

นั่นก็คือ การทำกลุ่มไลน์แบบง่ายๆในหมู่บ้าน เอาไว้ซื้อ-ขายสินค้ากันเอง

ในกลุ่ม ใครทำอะไรเป็น ก็มาขายกันเต็มที่ มีรูปสินค้าสวยงาม

แถมมีการสั่งจองล่วงหน้า และส่งฟรี อีกด้วย-แหม่ ก็บ้านอยู่ติดกัน

(ดูรูปประกอบ)

และผู้ส่งออกช่วงนี้ที่โดนโควิด-19 เล่นงานจนส่งออกไม่ได้

ก็ต้องหันกลับมาทำตลาดในประเทศไปพลางก่อน

การมาขายของในชุมชน หรือในกลุ่มไลน์ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

เหมือนโลกเรากลับไปสู่ยุคก่อน ที่อยู่กันในชุมชน แบบ

“เศรษฐกิจชุมชนพึ่งพาตัวเอง”

คือบางที เราอาจจะวิ่งเร็วกันเกินไป จนถึงจุดที่มันไม่สมดุล ไม่พอดี

การกลับมาที่จุดเริ่มต้น ก็อาจเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราอยู่รอดต่อไปก็ได้…

Cr. Sysp

════════════════

ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก

www.zupports.co

════════════════

ที่มา:

https://covid-19.kapook.com/video/15646

https://qz.com/1693843/uber-eats-will-lose-money-until-at-least-2024-say-cowen-analysts/

💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม

นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก

ZUPPORTS.co

👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้าส่งออก

http://bit.ly/35Rh2ql

 

 

ข่าวสารอื่นๆ