ตัดสินใจให้ช้าลง อาจดีกว่า ในช่วงเวลา วิกฤติ

ไม่รู้ว่าเพื่อนๆ รู้สึกเหมือนแอดมินบ้างรึเปล่า?

ว่าข่าวสถานการณ์โควิดมันมาเยอะแยะมากมายเหลือเกิน ทุกช่องทาง

ประกอบกับสงครามน้ำมัน ที่อยู่ๆซาอุฯ ก็เปิดศึกลดราคาน้ำมัน

ผ่านไปไม่นาน  ทรัมป์ ประกาศ ขอช่วยเจรจาสงบศึก ซาอุฯกับรัสเซีย

และทำไปทำมา สหรัฐจะลดกำลังผลิตน้ำมัน ซะเองแล้ว

ซึ่งทาง Harvard Business Review โดยศาสตราจารย์ Art Markman

ได้ระบุสาเหตุ 4 ข้อ ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ อาจตัดสินใจได้ไม่ดีนัก ในช่วงวิกฤตแบบนี้

════════════════

ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก

www.zupports.co

════════════════

สาเหตุทั้ง 4 ข้อ ได้แก่

1) ภัยอันตรายมันชัดเจน และใกล้ตัวมาก

คือ จากภาพข่าว ที่เราได้ทั้งทั้งรูปที่คนจีนป่วยจนล้มทั้งยืน

และข้อมูลตัวเลขผู้ติดเชื้อก็เพิ่มทุกวัน ทำให้คนรู้สึกไม่ปลอดภัยอย่างมาก

หากเทียบกับภาวะโลกร้อนที่คนส่วนใหญ่ อาจรู้สึกเฉยๆ ไม่ได้กังวลเท่าไหร่

เพราะภัยอันตรายมันอยู่ห่างออกไป

2) ความไม่แน่นอนสูง

คือ เราไม่รู้ว่าอนาคตจะออกมารูปแบบไหน

ปกติมนุษย์จะคาดเดาอนาคตได้ดี หากปรากฏการณ์นั้นเปลี่ยนแปลงแบบเส้นตรง หรือ Linear

แต่กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงด้วยอัตราเร่ง เป็น Exponential

มนุษย์มักจะตัดสินใจคาดเดาอนาคตได้แย่ลง

3) เราควบคุมการแพร่กระจายของไวรัสได้จำกัดมาก

คือ สถานการณ์แบบนี้ ที่คนแต่ละคนทำได้ดีที่สุดก็คือ Social Distancing

หมั่นทำความสะอาด ล้างมือ ไม่ไปปะปนกับกลุ่มเสี่ยง

แต่ก็มีส่วนที่เราควบคุมไม่ได้อยู่อีกมาก

4) เรารู้ว่าควรทำอะไร แต่ก็ไม่แน่ใจว่าทำแล้วมันได้ผลอย่างไรบ้าง

หลายๆคนเกิดคำถามในหัวว่า “กูติดรึยังว่ะ…”

ด้วยเหตุผลทั้ง 4 ข้อ ทำให้สถานการณ์แบบนี้ เป็นที่น่าปวดหัวสุดๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับ เจ้าของธุรกิจ ผู้นำองค์กร หรือผู้นำประเทศ

ที่ต้องตัดสินใจสำคัญ เพื่อให้องค์กรไปต่อได้

จะเลือกปรับลดพนักงาน หรือจะให้ทุกคนได้ไปต่อ

วิธีการ ที่ผู้เขียน แนะนำก็คือ “ตัดสินใจให้ช้าลง”

โดยใช้ “System 2” คือ การวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วน ศึกษาข้อมูล

คุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านนต่างๆ

ไม่ใช่ตัดสินใจจากข่าว หรือข้อความในทวีตเตอร์

(โดยเฉพะาหากอ่านจากทวีตเตอร์ของโดนัลด์ ทรัมป์)

ต่างจากจาก System 1 ซึ่งเป็นการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ตามสัญชาติญาณ

ซึ่งเราอาจเกิด Bias หรือ อคติ ทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้

แอดมินขอยกตัวอย่างอธิบาย เป็นหนังเกาหลีใน Netflix ที่เพิ่งดูจบไป

พอดีที่บ้านแอดมินหลังจากดูหนังซอมบี้ Kingdom จบ

ก็ได้ดูหนังเรื่อง Defendant หรือชื่อไทยว่า “จำเลย… กับความทรงจำที่หายไป” ต่อ เป็นหนังเก่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017

(อาจมี Spoil เล็กน้อย พยายามไม่เล่าเยอะ)

ในหนังตัวเอกของเรื่องคือ อัยการหนุ่มมือสะอาด ที่ชื่อ “พัคจองอู” ดันไปยุ่งกับผู้มีอิทธิพล ทำคดีตามจับทายาทบริษัทใหญ่ ในประเทศเกาหลีใต้

ก็เลยถูกยัดข้อหาฆ่าคนตายซะเลย

โดย พัคจองอู ถูกใส่ร้ายว่าฆ่าภรรยาและลูกตัวเอง!

กลายเป็นผู้ต้องหา ที่ต้องโทษประหารชีวิต

แต่ที่ทำให้เรื่องมันสนุกก็คือ พัคจองอู ดันเกิดความจำเสื่อม

บางทีการลืม ว่าตัวเองเคยรู้อะไรมาบ้าง

ก็ทำให้สามารถคิดได้ถี่ถ้วนมากขึ้น

และทำให้ตัวเอก อย่างอัยการ พัคจองอู

ไม่ตัดสินใจทำอะไรไปด้วยความหุนหันพันแล่น

นำมาสู่การหาข้อมูล เพื่อต่อสู้คดีความ

และตามหาลูกสาว ที่ยังไม่เสียชีวิต

เหตุการณ์ในเรื่องเป็นอย่างไร ไปติดตามกันเองนะ

(ไม่อยากสปอยเยอะ ฮ่าๆ)

ซึ่ง สถานการณ์วิกฤต

การตัดสินใจแบบเร็ว คือ เดาสถานการณ์ไปก่อน

หรือที่ร้ายกว่าคือ คิดว่ารู้ดีอยู่แล้ว

ไม่น่าจะใช่ทางเลือกที่ถูกต้อง

ที่ควรทำคือ คิดให้ถี่ถ้วน ตัดสินใจให้ช้าลง

โดยเข้าใจว่า มีบางข้อมูลที่เรา “ยังไม่รู้”

หรือเราศึกษาข้อมูลจนมั่นใจว่า “เรารู้ดีแล้ว”

จากนั้นจึงคิดออกมาเป็นกลยุทธ์ เพื่อแก้สถานการณ์นั้น

คงคล้ายกับกรณีของ “ผู้ว่าฯ หมูป่า” อย่าง ผู้ว่าณรงค์ศักดิ์ จังหวัดลำปาง

ที่มีการศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่จีน พร้อมกับปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

จนนำมาสู่แผนปฏิบัติการณ์

ซึ่งล่าสุด (4 เม.ย.) ก็ได้ใช้แผนแล้ว

โดย มีผู้ติดเชื้อ ที่ อำเภองาว จำนวน 3 ราย

ทำให้ต้องปิดหมู่บ้าน “บ้านดง ไปแล้ว

ผู้ว่าฯ ให้สัมภาษณ์ว่า งานสู้โควิด-19 นี้ สาหัสกว่างานถ้ำหลวง…

ดังนั้น วันหยุดสุดสัปดาห์ต่อไปยังวันจันทร์นี้

น่าจะเป็นโอกาสดี ในการคิดทบทวนให้ถี่ถ้วน

เพื่อทำให้สามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น…

════════════════

ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก

www.zupports.co

════════════════

ที่มา:

https://hbr.org/2020/03/slow-down-to-make-better-decisions-in-a-crisis

https://hbr.org/2016/07/slow-deciders-make-better-strategists

https://www.prachachat.net/blogger-square/news-271

💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม

นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก

ZUPPORTS.co

👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้าส่งออก

http://bit.ly/35Rh2ql

ข่าวสารอื่นๆ