จาก “ผู้ว่าฯ หมู่ป่า” สู่ “ผู้ว่าฯ โควิด” ถอดบทเรียนการตัดสินใจภายใต้ภาวะวิกฤตUntitled)

ผู้ว่าฯหมูป่า เคยให้สัมภาษณ์ว่า หน้าที่ในฐานะ ผู้ว่าราชการจังหวัด มี สองส่วนด้วยกัน ก็คือ

หนึ่ง การบริหารราชการตามแนวนโยบายกลยุทธ์ของประเทศ

และสอง คือ การบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของราษฎร โดยเฉพาะในยามที่เกิดเหตุวิกฤต

ซึ่งนับตั้งแต่เหตุการณ์ถ้ำหลวง จังหวัดเชียงราย เมื่อกลางปี 2561 มาจนถึงเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด-19

ทางผู้ว่าก็ได้แสดงให้เห็นถึงวิธีการบริหารจัดการ เพื่อป้องกันและบำบัดทุกข์ให้ประชาชน

บทความนี้เราไปถอดบทเรียนการรับมือวิกฤต ของผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์

สำหรับเหตุการณ์ โควิด-19 ครั้งนี้กันเลย

════════════════

ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก

www.zupports.co

════════════════

1) Awareness – ทราบความเสี่ยง

ถึงแม้ลำปางจะไม่ได้เป็นจังหวัดที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ได้เป็นเมืองหลักที่มีนักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวเยอะ เหมือนกับ กรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ แต่ทางผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ ได้มีการเตรียมความพร้อมรับมือ ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม ซึ่งเป็นวันที่เมืองอู่ฮั่นปิดเมือง

โดยผู้ว่าฯ ได้เชิญคนที่เกี่ยวข้องในจังหวัดมาคุย ให้ทุกฝ่ายไปทำการบ้าน ศึกษาว่าที่เมืองจีนเกิดอะไรขึ้น เชิญชาวจีนที่มีความรู้มาหารือ

หลังจากนั้น ที่สำคัญก็คือ “การสื่อสาร” ทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ต้องให้อธิบายให้คนเข้าใจให้ได้ เพื่อจะได้ปฏิบัติตามได้ถูกต้อง

2) Risk Assessment – ประเมินความเสียหาย ความเสี่ยง

พอได้ข้อมูลแล้ว ก็มาประเมินความเสี่ยง ว่าโรคนี้เป็นอย่างไร มีความน่ากลัวอย่างไร มีจุดอ่อนอย่างไร และควรเตรียมความพร้อมเพื่อรับสถานการณ์อย่างไรบ้าง

ซึ่งผู้ว่าฯ วิเคราะห์แล้วว่า เหตุการณ์จะร้ายแรง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า ตั้งแต่ 2 เดือนก่อน ตั้งแต่ยังไม่มีคนติดในเมืองไทย

3) Planning – วางแผนรับมือ

การวางแผนหลายๆ ครั้งบางคนอาจคิดว่าวางแผนครั้งเดียวแล้วก็ปฏิบัติไปตามแผน ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่แค่นั้น แต่ต้องวางแผน แล้วทดลองปฏิบัติเพื่อว่าจุดอ่อน เพื่อกลับมาปรับปรุงแผนงานนั้น

โดยหากติดตามจากอู่ฮั่น พบว่า หากมีผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อรุนแรง

เครื่องมือช่วยชีวิตที่สำคัญมากๆ ก็คือ “เครื่องช่วยหายใจ” ซึ่งทางลำปาง ทั้งจังหวัด มีเพียง 40 เครื่องเท่านั้น  จึงทำการจัดหามาเพิ่มอีก 30 เครื่อง

หรือ ชุดขาวที่คลุมกันการติดเชื้อ ก็สั่งมาเพิ่มอีก 300 ชุด เพื่อดูแลบุคลากรทางการแพทย์อย่างเต็มที่ เนื่องจากหากไม่มีบุคลากรทางการแพทย์ จะมีใครมาดูแลประชาชน

และเตรียมห้อง Negative pressure ให้รองรับผู้ป่วยได้ประมาณ 400 เคส (แต่ตอนนี้ยังไม่มีเคสผู้ติดเชื้อ)

4) Organization – จัดทีมรับมือ

มีการจัดทีม หลายหน่วยงาน มีทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ  สรรพสามิตจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด และ กอ.รมน.ลำปาง เข้าสื่อสารกับประชาชน และตรวจตราสถานที่ต่างๆ

แต่ที่ทำให้คนชื่นชม และเป็นเหมือนเครื่องหมายการค้าของผู้ว่าฯ ก็คือ การลงพื้นที่ไปที่จุดตรวจสกัดด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีให้บุคลากรที่ปฏิบัติงาน และยังได้เห็นสภาพหน้างานจริงๆ อีกด้วย

5) Monitoring – ติดตาม เฝ้าระวัง

ต้องถือว่าจังหวัดลำปางมีการตรวจคัดกรองที่ค่อนข้างเข้มงวด โดยมีการคัดกรองตรวจยานพาหนะทุกคัน เฉลี่ยวันละ 20,000 คัน และตรวจวัดไข้ผู้ขับขี่รวมถึงผู้โดยสารทุกคน เฉลี่ยวันละ 30,000 คน

หากพบผู้มีไข้สูง ก็จะเข้ากระบวนการสอบสวนโรค เพื่อสอบประวัติย้อนหลังไว้เป็นข้อมูล

6) Implementation of Plan – ซักซ้อมสถานการณ์

พอเอาแผนไปปฏิบัติ ก็ไปปรับแผนใหม่ ให้ไม่มีจุดอ่อน ที่สำคัญคือ ความร่วมมือจากชาวลำปาง ร้อยละ 99 มีการสวมหน้ากากอนามัยเกือบทุกคน และประชาชนก็เข้าใจ โดยยินยอม ตัวอย่างเช่น หากมีการติดโควิด-19 ก็จะต้องทำการปิดทั้งหมู่บ้าน

นอกจากนี้พอชาวบ้านเข้าใจ ก็ไปบอกญาติพี่น้องในต่างจังหวัดด้วย ว่าไม่ต้องเดินทางกลับมาลำปางนะ

7) Command & Control – ระบบบัญชาการ ควบคุม

การควบคุมสั่งการต้องบูรณาการทุกภาคส่วน ให้ทุกคนทำงานให้สอดคล้องกัน

การสื่อสารให้ประชาชนต้อง “ทั่วถึง” และ “ชัดเจน”

หากย้อนหลังไปช่วงเหตุการณ์หมูป่า ต้องบอกว่า ผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ เด็ดขาดมาก คือ พูดกับผู้คนอาสาสมัครทุกคนที่ไปช่วย ประมาณว่า ทุกคนที่ไปช่วย ต้องเต็มที่ ไม่มีเหยาะแหยะ ใครไม่พร้อมก็กลับบ้านไปก่อนได้เลย

สถานการณ์ล่าสุด (1 เมษายน) จังหวัดลำปาง เป็นหนึ่งในไม่กี่จังหวัดของประเทศไทย ที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 และผู้เสียชีวิต ยังเป็นศูนย์ มีผู้เข้าข่ายเฝ้าระวังประมาณ 38 ราย

แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ลำปางเป็นจังหวัดเล็ก ไม่ได้มีเครื่องไม้เครื่องมือทางการแพทย์ที่เพียงพอ ก็ต้องช่วยกันเฝ้าระวัง ไม่ให้มีผู้ติดเชื้อ เกินที่โรงพยาบาลจะรับมือไหว

โดยสรุปวิธีการบริหารความเสี่ยงการตัดสินใจภายใต้ภาวะวิกฤต

ทั้ง 7 ข้อ คือ

1) Awareness – ทราบความเสี่ยง

2) Risk Assessment – ประเมินความเสียหาย ความเสี่ยง

3) Planning – วางแผนรับมือ

4) Organization – จัดทีมรับมือ

5) Monitoring – ติดตาม เฝ้าระวัง

6) Implementation of Plan – ซักซ้อมสถานการณ์

7) Command & Control – ระบบบัญชาการ ควบคุม

เป็นตัวอย่าง เอาไปใช้บริหารเหตุการณ์วิกฤตได้

เดิมที ผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ ไม่ได้คิดว่าจะรับราชการยาวนานแบบนี้ ด้วยความที่ได้ทุนรัฐบาลไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา ตอนแรกก็ตั้งใจทำงานใช้ทุนให้หมด อย่างที่ทุกคนทราบดีคือเงินเดือนราชการ “น้อยกว่า” เงินเดือนภาคเอกชนเป็น “สิบเท่า”

แต่ด้วย คุณแม่ ของท่าน ที่ขอให้รับราชการต่อไปอย่าลาออก ซึ่ง ผู้ว่าฯ ก็เชื่อและมองว่า รับราชการก็ได้ช่วยเหลือประชาชน

ส่วน การที่ได้เงินเดือนไม่มาก แต่ชีวิตก็ไม่ได้ลำบาก… (เงินเดือนผู้ว่าฯ ไม่ถึงหนึ่งแสนบาท)

เราจึงยังมีผู้ว่าฯ ดีๆ แบบทุกวันนี้ (จริงๆ ไม่เฉพาะจังหวัดลำปาง)

และยังเป็นตัวอย่างให้นำแนวทางบริหารไปใช้ได้

มีคำกล่าวอันหนึ่งที่ ผู้ว่าฯ กล่าวไว้ หลังเหตุการณ์หมูป่า ก็คือ

“ผมอยากเห็นชาวโลกรักกัน ผมอยากเห็นประเทศไทยเรารักกัน เหมือนวันนี้ที่เราทำสำเร็จ ผมอยากเห็นความร่วมมือของทุกภาคส่วน อยากให้พวกเราเอาบทเรียนตรงนี้ไปขยาย

ถ้าเราสืบทอดต่อ มันจะเป็นบทเรียนที่สืบทอดประเทศไทยในระยะยาว

และประเทศไทยก็จะได้พัฒนาเต็มศักยภาพ”

พวกเราควรที่จะเอาบทเรียนนี้ไปขยายต่อ

และจะได้บอกคนรุ่นต่อไปว่า

ผู้ว่าฯในฝัน…ยังมีอยู่จริง

════════════════

ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก

www.zupports.co

════════════════

ที่มา:

https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256201Inspiration.aspx

https://www.komchadluek.net/news/regional/425551

https://news.ch7.com/detail/404240

💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก

ZUPPORTS.co

👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก

http://bit.ly/35Rh2ql

ข่าวสารอื่นๆ