นำเข้า ส่งออก 101 EP.2: 4 เทศกาลสำคัญ ที่มีผลต่อการนำเข้า ส่งออก

ก่อนอื่น ก็ต้องขอสวัสดีวันสงกรานต์ เพื่อนๆ ผู้อ่าน เพจ นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า และ ZUPPORTS ทุกท่าน

ปีใหม่ไทยแบบนี้ เชื่อว่าหลายๆ ท่าน ก็อาจจะตั้งใจทำสิ่งใหม่ๆ ให้สำเร็จ ก็ขอให้สิ่งนั้นสำเร็จดังปรารถนา

ส่วนทางแอดมินเอง ก็ตั้งเป้า ที่จะแชร์ เรื่องราว ข่าวสาร ความรู้ กันให้เข้มข้นกว่าเดิม และสำหรับเทศกาลสงกรานต์วันหยุดยาวของไทยแบบนี้ ก็เลยอยากจะแชร์ประเด็น ที่สำคัญสำหรับการค้าขายระหว่างประเทศ นั่นก็คือ

การบริหารจัดการ การขนส่งระหว่างประเทศ ให้เข้ากับเทศกาลต่างๆ ของคนทั้งโลก โดยปกติก็จะมี 4 เทศกาลสำคัญด้วยกัน ที่จะมีผลกระทบต่อจองการขนส่ง และราคาขนส่งได้

หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

หนึ่ง เทศกาล ตรุษจีน

แน่นอนว่าเทศกาลหมายเลข 1 ที่มีผลกระทบต่อการนำเข้า ส่งออก ของประชากรโลก ก็คือ เทศกาล ตรุษจีน นั่นเอง โดยปกติก็จะเริ่มกันต้นปีเลย คือ ช่วงเดือน มกราคม หรือกุมภาพันธ์ และจะกินเวลายาวประมาณ 16 วัน

ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ?

1) การที่โรงงานจีน หยุดยาวในช่วงเวลานี้ ทำให้ปริมาณสินค้าที่จะออกสู่ท้องตลาดก็จะลดลงไป ซึ่งโดยปกติก็จะกินเวลากันเป็น 1 เดือน กว่าที่โรงงานจะกลับมาทำการผลิตสินค้าในระดับปกติ โดยที่ผุ้นำเข้า ส่งออก ส่วนใหญ่ ก็จะเร่ง clear order หรือ คำสั่งซื้อ ออกมาจากจีน ก่อนที่จะหยุดตรุษจีน

2) ราคาขนส่งทางทะเลก่อนช่วงหยุดตรุษจีน โดยปกติ ก็จะสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยบางทีก็จะเพิ่มกันล่วงหน้า 3 ถึง 4 สัปดาห์ก่อนที่จะหยุดตรุษจีน และการหา space หรือพื้นที่ขนส่ง ก็จะทำได้ยากมากในช่วงก่อนหยุดตรุษจีน

3) โดยปกติสายเรือ อาจจะสิ่งที่เรียกว่า “Blank Sailing” คือ ไม่จอดที่ท่าเรือในจีนบางท่า เนื่องจากความต้องการขนส่งน้อยช่วงตรุษจีน หรือไม่ก็ยกเลิกการเดินเรือเที่ยวนั้นไปเลย ซึ่งคนที่โดน cancel ก็ต้องรอเรือรอบถัดไป
.

แต่ปีนี้ ก็ต้องบอกว่า blank sailing น้อยมากๆ เพราะโรงงานในจีนส่วนหนึ่งก็ไม่ได้หยุดช่วงตรุษจีน ด้วยสถานการณ์โควิด ที่ยังต้องควบคุมการแพร่ระบาดอยู่

4) ค่าระวางขนส่งทางอากาศ ก็ปรับตัวเพิ่มก่อนหยุดตรุษจีนเช่นเดียวกัน โดยผู้ส่งออก ก็พยายามเคลียร์สินค้าที่สำคัญ ส่งออกไปให้ได้ก่อนที่จะหยุดยาว

——————————–

สอง การทำสัญญาขนส่งระยะยาว ช่วงต้นปี

โดยปกติผู้นำเข้าส่งออก จะมีการทำสัญญาระยะยาวในช่วง ต้นปี ถึงไตรมาสที่ 1 ของปี  เพื่อล็อคต้นทุนค่าขนส่งของทั้งปี (บริษัทนำเข้า ส่งออกใหญ่ๆ ไทย อาจทำกันช่วงสิ้นปี หรือ ประมูลกันทุกไตรมาส แล้วแต่นโยบายแต่ละบริษัท)

ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ?

1) ในการทำสัญญาประจำปี โดยการเปิดให้ผู้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น เฟรท ฟอร์เวิร์ดเดอร์ หรือสายเรือ เข้ามาประมูลงานกัน ก็เป็นโอกาสอันดี ที่ผู้นำเข้า ส่งออก จะได้พิจารณา เทียบระหว่างการทำสัญญาระยะยาว กับราคา spot หรือราคาตลาดในช่วงเวลานั้นๆ

2) การทำสัญญาระยะยาว โดยปกติก็จะมีการระบุปริมาณขนส่ง ราคาขนส่ง ระยะเวลา ที่ครอบคลุม และเงื่อนไขพิเศษ ตามแต่จะตกลงกัน เช่นการให้ Free-time หรือเวลาสินค้าที่ท่าเรือ เพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ (ซึ่งจริงๆก็ถูกรวมไปในต้นทุนการให้บริการนั่นแหล่ะ)

3) ราคา spot หรือราคาตลาด ก็ขึ้นกัยสถานการณ์ตลาดในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งต้องบอกว่า ช่วงวิกฤตขนส่งแบบนี้ ผู้นำเข้า ส่งออก หลายราย ก็ต้องมาลุ้นกับราคาตลาดเป็นหลัก

4) โดยที่ผู้ส่งออก ซึ่งบางทีอาจเป็นคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน ก็ทำการแข่งขันกัน เพื่อหาต้นทุนขนส่งที่ดีที่สุด

5) สำหรับผู้ส่งออก ชาวไทย ที่เมื่อก่อน นิยมส่งออกในเทอม FOB – Free On Board หรือรับผิดชอบขนส่งไปถึงท่าเรือฝั่งไทย เท่านั้น ก็คงต้องเริ่มมองหาทางเลือก ที่จะขนส่งเทอม CIF – Cost Insurance Freight หรือ CFR คือ รวมค่าขนส่งจากไทยเรา ไปที่ท่าเรือของลูกค้าในต่างประเทศด้วย (ส่วนหนึ่งเพราะว่าลูกค้าเองก็ปวดหัวในการหาสายเรือ เหมือนกันนั่นเอง)

6) ต้องบอกว่า สายเรือ และผู้ให้บริการขนส่งเอง ก็ไม่ได้ให้สิทธิเศษ หรือราคาขนส่งแบบมิตรภาพ กับผู้นำเข้า ส่งออก ทุกราย เท่าเทียมกัน ราคาและบริการที่ผู้ส่งออกรายใหญ่ได้ กับที่ผู้ส่งออกรายเล็กได้ ก็จะแตกต่างกันพอสมควร

——————————–

สาม Golden week ในจีน

Golden week เป็นวันหยุดยาวของคนจีน อีกช่วงหนึ่งของปี ตรงกับวันที่ 1-7 ตุลาคม ของทุกปี รวมหยุด 7 วัน

ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ?

1) คล้ายเทศกาลตรุษจีน คือ เรือส่วนใหญ่เต็ม และโรคเลื่อน จะถามหา

2) การขนส่งทางอากาศ ก็พุ่งสูงขึ้นก่อนหยุดเทศกาล Golden week และส่วนใหญ่ เที่ยวบินขนส่งสินค้าก็อาจถูกยกเลิกในช่วงเวลาดังกล่าว ที่โรงงานจีนก็หนุดทำงาน 7-10 วัน

3) รถขนส่งในจีน ก็จะมีราคาสูงขึ้นด้วย เพราะคนขับรถก็หยุดเหมือนกัน

——————————–

สี่ Peak season ในสหรัฐอเมริกา

โดยปกติก็เริ่มตั้งแต่ช่วง กลางเดือนสิงหาคม ไปจนถึงเดือน พฤศจิกายน เป็นช่วงที่เริ่มมีการกักตุนสินค้า เพื่อเตรียมรับช่วงเทศกาล ช้อปปิงต่างๆ และวันหยุดของสหรัฐฯ โดยปกติ ก็จะเริ่มจากฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯก่อน และก็มายังฝั่งตะวันตกของสหัฐฯ (ตาม Time zone ที่ต่างกัน)

ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ?

1) ราคาขนส่งทางทะเล ก็จะปรับตัวเพิ่ม และหา space ยาก

2) การขนส่งทางอากาศ จะผันแปรตามสถานการณ์ขนส่งทางทะเล โดยหากการขนส่งทางทะเลติดขัด ก็จะทำให้คนไม่มีทางเลือกมากนัก ต้องใช้การขนส่งทางอากาศแทน โดยส่วนใหญ่ช่วงเทศกาล จะทำให้ Transit time หรือเวลาขนส่งเพิ่มขึ้น 2-3 วัน (ต้องเตรียมแผนรับมือเอาไว้)

3) ท่าเรือ ท่าอากาศยาน และคลังสินค้า ก็จะหนาแน่นเป็นพิเศษ ทำให้เวลาขนส่งสินค้าใช้เวลานานขึ้น (ผู้นำเข้า ส่งออก ก็ต้องเผื่อเวลา และเผื่อเงิน เพื่อรับมือ ความไม่แน่นอนเหล่านี้)

ราคาขนส่งที่ปรับตัว ช่วงเทศกาลต่างๆ Cr. Flexport

——————————–

ที่เล่ามา ส่วนใหญ่ ก็ไปพัวพันกับจีน ที่เป็นโรงงานผลิตสินค้าเบอร์ 1 ของโลก และสหรัฐฯ ที่เป็นผู้บริโภคเบอร์ 1 ของโลกเช่นกัน…

สำหรับกลุ่มประเทศ อื่นๆ ก็มีเทศกาลจำเพาะของกลุ่มประเทศนั้นๆ เช่นกัน ตัวอย่าง ได้แก่

– ใกล้ตัวหน่อย ก็สงกรานต์บ้านเรา ซึ่งชิปปิ้งหลายๆ เจ้าก็หยุดทำงานช่วงนี้ สำหรับปีนี้ก็คงต้องเฝ้าระวังเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด หากไม่ซ้ำรอยสหรัฐฯ ที่คนทำงานในท่าเรือ ก็ติดไปด้วย ทำให้การนำเข้า ส่งออก ช้าไปได้อีก

– สำหรับกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ก็จะมีเทศกาลรอมฎอน การถือศีลอดเป็นเวลา 1 เดือน ปีนี้ก็เริ่มวันที่ 13 เม.ย. นี้ ซึ่งห้างในประเทศเหล่านี้ ส่วนใหญ่ก็จะประกาศลดราคาสินค้าก่อนหยุดรอมฎอน ให้คนไปกักตุนกัน ช่วงที่อยู่บ้าน เพื่อถือศีลอด นั่นเอง

– ในอนาคต เราก็คงต้องดูประเทศที่กำลังก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิจของโลก แทนจีน อย่าง อินเดียและเวียดนาม ที่วันหยุดของทั้ง 2 ประเทศนี้ ก็คงมีผลกระทบต่อการนำเข้า ส่งออก ไม่มากก็น้อย…

——————————–

ส่งท้ายนี้ก็สวัสดีวันสงกรานต์อีกครั้ง และขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย ดลให้ ผู้อ่าน ทุกท่าน สุขภาพร่างกายแข็งแรง ปลอดภัยจากโรคร้าย และคิดหวังสิ่งใดก็ขอให้สำเร็จดังที่ตั้งใจ ^^

——————————–

หากไม่อยากพลาดความรู้ ข่าวสาร ดีๆ กดไลค์เพจ และกด Favorites ในเฟสบุ๊ก กันไว้เลย

.

และหากบทความมีประโยชน์ ก็กดไลค์โพสและแชร์ให้เพื่อนๆ กัน ได้เลยจ้า

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

 

(ads) ZUPPORTS เราช่วยทำให้การนำเข้าส่งออก ง่ายเหมือนการช้อปปิงออนไลน์

.

ผู้นำเข้า ส่งออก ที่สนใจทดลองใช้เครื่องมือดิจิตอล ช่วยเปรียบเทียบราคาขนส่ง, จองเรือ รถ เครื่องบิน, ติดตามสถานะงาน และตรวจสอบบิลขนส่งออนไลน์ ง่ายๆ ที่ ZUPPORTS

.

สามารถลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษได้เลยที่ www.zupports.co/register

——————————–

ที่มา: Flexport, morethanshipping

——————————–

❤️ อ่านบทความ ของ “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า” ได้ที่

https://www.zupports.co/author/zupports/

นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า marketplace: ซื้อ-ขาย สินค้าทั้งในและต่างประเทศ ร่วมกลุ่มได้เลยที่

https://www.facebook.com/groups/573677150199055/

#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า#นำเข้า #ส่งออก

#ZUPPORTS

 

 

ข่าวสารอื่นๆ