[Freight Weekly] : อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 31 กรกฎาคม- 4 สิงหาคม กับ ZUPPORTS !!! สัปดาห์ฟันหลอที่แสนชุลมุน รู้น่ะว่าหลายคน กำลังไล่ตามเบอร์ตู้พร้อมปิดจ็อบ !!!

[Freight Weekly] : อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 31 กรกฎาคม- 4 สิงหาคม กับ ZUPPORTS !!!

สัปดาห์ฟันหลอที่แสนชุลมุน รู้น่ะว่าหลายคน กำลังไล่ตามเบอร์ตู้พร้อมปิดจ็อบ  !!!

.

พบกันกับพวกเราอีกครั้งเหมือนเช่นเคย ในทุกวันเริ่มต้นการทำงานของสัปดาห์ กับการรายงานข่าวสาร ความเคลื่อนไหว รวมถึงสถานการณ์ต่างๆรอบตัวพวกเรา ในแวดวงการนำเข้า-ส่งออก ในรูปแบบที่ย่อยง่าย ตามแบบของพวกเราชาว ZUPPORTS !!!

.

สัปดาห์นี้ นับเป็นการเข้าสู่สัปดาห์ที่ 31 ประจำปี 2566 โดยในสัปดาห์นี้ นับเป็นหนึ่งสัปดาห์ที่มีวันหยุดราชการเข้ามาคั่นถึงสองวัน และหากนับนิ้วกันจริงๆ จะเท่ากับว่าเหลือวันทำงานจริงเพียงแค่สองวันเท่านั้น แถมเป็นสองวันที่ชนสุดสัปดาห์เสียด้วย

.

ดังนั้น สัปดาห์นี้ จึงจัดว่า เป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ ที่แสนจะชุลมุนสำหรับใครหลายคน ตั้งแต่ฝ่ายขายไล่ไปจนถึงฝ่ายงานเอกสารและการเงิน ซึ่งแน่นอนว่ากำลังสาละวนอยู่กับการปิดจ็อบสิ้นเดือน

.

อย่างไรเสีย หากใครที่ยุ่งจนไม่มีเวลาติดตามเรื่องราวข่าวสารรอบตัว ในแวดวงนำเข้า-ส่งออก มาไล่อ่านบทสรุปแบบย่อยง่าย กันทีละประเด็นกันเลย

.

=========================

ZUPPORTS ช่วยผู้นำเข้าส่งออก หา Space

เปรียบเทียบราคาและบริการ Freight ทั้งทางทะเล ทางอากาศ ทางบก และทางรถไฟ

ด้วยพันธมิตรผู้ให้บริการขนส่ง มากกว่า 30 บริษัท

ลงทะเบียนทดลองใช้งานได้ที่ zupports.co/register/

=========================

1) สถานการณ์ในการจองพื้นที่ระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หลายคน หนีไปหา Service Contract อีกครั้ง !!!

.

เปิดประเด็น เริ่มกันที่สถานการณ์ในการจองพื้นที่ระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หรือ การบุ๊คกิ้งสำหรับงานใหม่ หลายเส้นทางยังคงอยู่ในภาวะจองเรือยากเย็น และภาวะจองเรือยากที่ว่า มีการขยายหรือเริ่มลามไปยังเส้นทางขนส่งอื่นๆเพิ่มขึ้นในทุกสัปดาห์

.

ภาพรวมของการจองเรือในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะเป็นเรื่องที่ยากเย็นสำหรับใครหลายคน โดยเฉพาะคนที่มีงานขนส่งไปยังภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกกลาง หรือ Asia- Indian Subcontinent and Middle East Trade รวมไปถึง งานที่ขนส่งไปยังภูมิภาคอเมริกาใต้ หรือ Asia- Latin America

.

ขณะเดียวกัน อีกหลายเส้นทางขนส่ง ซึ่งก่อนหน้านี้ ยังจะพอมีพื้นที่ระวางเหลืออยู่บ้าง กลับกลายเป็นเข้าสู่ภาวะจองเรือยากมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ อย่าง ในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ Asia- North America ทั้งในงานที่ขนส่งไปยัง East Coast และฝั่ง West Coast

.

รวมถึง ในเส้นทางที่ขนส่งไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือและยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- North Europe /Asia- Mediterranean ทั้งนี้ ก็เนื่องจากพื้นที่ระวางขนส่งในท้องน้ำถูกหุบแคบลง จากการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing ในขณะที่ภาพรวมความต้องการภาคขนส่งทยอยฟื้นตัวในหลายหมวดหมู่สินค้า

.

ภาพรวมของการจองเรือสำหรับงานใหม่ในหลายเส้นทาง ยังต้องทำการจองล่วงหน้า อย่างน้อย 1 -3 สัปดาห์ ขณะที่ในอีกหลายเส้นทาง ต้องทำการจองเรือล่วงหน้า อย่างน้อย 3- 5 สัปดาห์

.

ดังนั้น ช่วงเวลานี้ ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะจองเรือภายใต้สัญญาค่าระวางขนส่งระยะยาว หรือ Service Contract Rate ที่มีการผูก NAC/ Bullet ต่างๆ แทนที่การจองเรือภายใต้ ราคาค่าระวางระยะสั้น หรือ  SPOT Rate / Monthly Rate เนื่องจากต้องการความแน่นอนและความอุ่นใจในเรื่องของการได้พื้นที่ระวาง หรือ Allocation Space !!!

.

*******

2) สถานการณ์ในการจัดหาและการหมุนเวียนของตู้สินค้า ในไทยบ้านเรา หลายคนเริ่มได้รับผลกระทบในช่วง Long Weekend !!!

.

ด้านสถานการณ์ในการจัดหาและการหมุนเวียนของตู้สินค้า หลายพื้นที่กำลังเริ่มเข้าสู่ช่วงขาดแคลนและฝืดเคือง จากการที่วงจรขนส่งสินค้าทางเรือเริ่มขาดช่วง โดยสาเหตุหลักมาจากภาพรวมทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลให้งานขนส่งลดน้อยลงทั้งกระดาน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19

.

หลายพื้นที่ ตกอยู่ในภาวะที่ตู้สินค้าขาดแคลนและฝืดเคืองอย่างเห็นได้ชัด และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นของพื้นที่ขาดแคลนตู้สินค้าเมื่อเทียบกับปลายสัปดาห์ก่อน อย่างในพื้นที่ตามเมืองที่อยู่ตอนกลางของภูมิภาคเอเชียใต้ รวมถึงในภูมิภาคยุโรปตอนกลาง และในหลายพื้นที่ในภูมิภาคเอเชีย

.

ขณะที่ อีกหลายพื้นที่ ยังคงมีตู้สินค้าให้ใช้ หลายสายการเดินเรือ ยังคงสามารถจัดหาได้อย่างคล่องตัว โดยที่ในหลายพื้นที่ พบว่าอยู่ในภาวะที่ปริมาณตู้สินค้ามีมากเกินจากความต้องการของตลาด อย่าง หลายพื้นที่ส่วนที่เป็นเมืองท่าหลักหรือเมืองที่เป็นศูนย์กระจายสินค้าหลัก ในภูมิภาคอเมริกาเหนือ รวมถึงในภูมิภาคยุโรปตอนเหนือและยุโรปตอนล่าง

.

ทางด้านสถานการณ์ในการจัดหาและหมุนเวียนตู้สินค้าในไทยบ้านเรา หลายสายการเดินเรือ ยังคงสามารถจัดหาและหมุนเวียนได้ดี หากแต่มีอีกหลายสายการเดินเรือ เริ่มออกอาการให้เห็น โดยเฉพาะ ในช่วงก่อนที่จะเข้าสู่สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งมีวันหยุดยาวติดต่อกัน

.

ทั้งนี้ หลายสายการเดินเรือ เริ่มอยู่ในภาวะที่ตู้สินค้าค่อนข้างตึง จำนวนตู้สินค้าเปล่าที่มีพร้อมใช้ อยู่ในปริมาณที่พอดีกันกับจำนวนบุ๊คกิ้งยืนยันการจองเรือที่ปล่อยออกมา !!!

.

หลายลานปล่อยตู้ในสภาวะที่ต้องทำไปปล่อยไป รวมถึง สภาพตู้ที่พร้อมปล่อย ก็ยังไม่ค่อยจะเหมาะสมกับสินค้าในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ส่งผลให้ ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย เริ่มเจอกับปัญหาความล่าช้าในขั้นตอนการรับตู้สินค้าเปล่า !!!

.

และต้องขอยืดเวลาตัดตู้ หรือ Closing Time Cargo กับทางสายการเดินเรือ รวมถึง ต้องขอยืดเวลาในการแจ้งน้ำหนักมวลรวมของตู้และเวลาในการส่งเอกสารใบจองเรือ หรือ Closing Time VGM and Late submit SI

.

ดังนั้น การวางแผนงานขนส่งล่วงหน้า ยังต้องเผื่อการเสียเวลาในขั้นตอนการรับตู้ และยังเป็นเวลาที่ทำงานยาก สำหรับงานด่วนๆ !!!

.

*******

3) สถานการณ์ความเสถียรของตารางเดินเรือ ตารางเรือในหลายเส้นทาง ยังคงเว้าแหว่ง จากภาวะ Blank Sailing   !!!

.

ทางด้านสถานการณ์ความนิ่งและความเสถียรของตารางเดินเรือ รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายเส้นทาง ยังคงตกอยู่ในภาวะที่ไม่ปกติและไม่มีความนิ่ง เราจะยังคงต้องรับมือกับความบิดเบี้ยวของตารางเดินเรือ !!!

.

ทั้งปัญหาความล่าช้า หรือ Delay Onboard/ Delay Arrival รวมไปถึง ปัญหาการข้ามไม่เข้าบางท่าเรือตามกำหนดตารางเดินเรือ หรือ SKIP Call Port /OMIT !!!

.

ทั้งนี้ ก็เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงหน้ามรสุม ส่งผลให้เรือจำนวนไม่น้อย ไม่สามารถกลับเข้ารอบเรือของตนเองได้ทัน เนื่องจากตกค้างและติดอยู่ในตามท่าเรือหลักต่างๆ โดยเฉพาะเรือที่วิ่งในเส้นทางจีนตอนล่าง รวมถึง จากการที่สายการเดินเรือ มีการปรับตารางเดินเรือใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพตลาดทางการค้าในปัจจุบัน

.

ขณะที่ภาพรวมของการประกาศตารางเรือว่าง ยกเลิกรอบเรือ หรือ Blank Sailing ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังคงอยู่ในภาวะคงที่และทรงตัว หากแต่ เริ่มเห็นสัญญาณการเพิ่มขึ้น ของจำนวนรอบเรือที่มีการยกเลิกในแต่ละเส้นทางขนส่ง !!!

.

โดยในช่วงตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 31 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 35 หรือในช่วง 5 สัปดาห์นับจากนี้ ทุกสายการเดินเรือ มีการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing ในเส้นทางการขนส่งหลัก รวมกันอย่างน้อย 46 เที่ยวเรือ หรือคิดเป็น ร้อยละ 7 จากจำนวนทั้งหมด 619 เที่ยวเรือ !!!

.

โดยในเส้นทางที่ถูกยกเลิกรอบเรือมากที่สุด จะยังคงเป็นในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในรอบเรือ Transpacific Eastbound ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 48

.

ตามด้วย เส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ และยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- North Europe/ MED ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 28 และในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคยุโรปไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในรอบเรือ Transatlantic Westbound คิดเป็นร้อยละ 23

.

**************

4) สถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หลายเส้นทาง พร้อมกลับมาบวกอีกครั้ง จากหลายปัจจัย !!!

.

ด้านสถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หรือค่าเฟรท หลายเส้นทางกลับมาอยู่ในทิศทางขาขึ้นอีกครั้ง ในขณะที่ภาพรวมในอีกหลายเส้นทาง อยู่ในภาวะคงที่ ทรงตัวหรือ อยู่ในลักษณะการ Maintain Rate !!!

.

ดัชนีค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ ในรอบสัปดาห์นี้ยังคงอยู่ในฝั่งบวก โดย ดัชนีค่าระวางมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน มาปิดอยู่ที่ USD 1,576 per 40’GP และเป็นการปรับตัวลดลงคิดเป็น ร้อยละ 76.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

.

โดย ค่าระวางขนส่งในหลายเส้นทาง กลับมาอยู่ในทิศทางขาขึ้น โดยเฉพาะค่าระวางในเส้นทางขนส่งหลัก อย่าง เส้นทางขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ Asia- North America Trade ทั้งในเลนที่วิ่งไปฝั่ง East Coast และในฝั่ง West Coast

.

รวมไปถึง ในเส้นทางที่ขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือและยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- North Europe Trade / Asia- Mediterranean Trade

.

ขณะเดียวกัน ค่าระวางขนส่งในอีกหลายเส้นทาง ก็ยังคงอยู่ในระดับที่ร้อนแรงหลายสัปดาห์ต่อเนื่อง อย่าง ในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกกลาง หรือ Asia- Indian Subcontinent and Middle East Trade และในเส้นทาง การขนส่งจากภูมิภาคเอเชีย ไปยังภูมิภาคอเมริกาใต้ หรือ Asia- Latin America Trade ฝั่งในฝั่ง East Coast และฝั่ง West Coast

.

นอกจากนี้ สายการเดินเรือ รวมถึงผู้ให้บริการรับขนส่งสินค้าในเส้นทาง Atlantic เดินหน้าเรียกเก็บธรรมเนียมพิเศษสำหรับงานที่ต้องขนส่งผ่านปานามา เนื่องจาก ผู้ได้รับสัมปทานให้บริการคลองปานามา ต้องจำกัดน้ำหนักและระดับกินน้ำลึกของเรือสินค้า ในช่วงที่เกิดภาวะภัยแล้ง ส่งผลให้ผู้ให้บริการรับขนส่ง ต้องลดปริมาณสินค้าที่ต้องขนส่งในแต่ละเที่ยวเรือ !!!

.

==================

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากเช็คแนวโน้มราคาเฟรท ทางทะเล ย้อนหลัง 3 เดือน แยกไปแต่ละเส้นทางขนส่ง ก็สามารถ ลองเข้าไปเช็คกันได้เลยที่ https://zupports.co/our-services/

.

หรือหากอยากดูราคาเฟรท ในเดือนล่าสุด ก็ลงทะเบียน แบบ premium กันได้เลยที่ https://zupports.co/register/

==================

.

************

5) ด้านสถานการณ์ความหนาแน่นของท่าเรือหลักทั่วโลก หลายท่าเรือ เตรียมเข้าสู่โหมด Congest อีกครั้ง  !!!

.

สุดท้าย ประเด็นด้านสถานการณ์ของท่าเรือหลักทั่วโลก รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายท่าเรือ กลับมาอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างตึงมือ และ Congest อีกครั้ง ทั้งจากสถานการณ์นัดหยุดงาน รวมถึงปัจจัยจากสภาพอากาศในช่วงฤดูมรสุม

.

ทางด้านสถานการณ์ของท่าเรือหลักในภูมิภาคอเมริกาเหนือ หลายท่าเรือหลักของประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มกลับมาอยู่ในภาวะคับคั่ง คึกคักกันอีกครั้ง ทั้งในฝั่ง East Coast และในฝั่ง West Coast อย่าง USSAV,USOAK, USTIW, USSEA ซึ่งเริ่มมีการสะสมของตู้สินค้าเพิ่มขึ้น รวมถึงจำนวนเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบ และระยะเวลาในการรอเทียบท่าที่ยาวนานขึ้น !!!

.

ทั้งนี้ ก็เนื่องจากความกังวลของผู้ประกอบการในภูมิภาคอเมริกาเหนือ เกี่ยวกับสถานการณ์นัดหยุดงานและความไม่แน่นอนของท่าเรือหลักในฝั่งตะวันตกของประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นบ้านใกล้เรือนเคียง และมีการขนส่งสินค้าข้ามแดนระหว่างกัน

.

ขณะที่ภาพรวมท่าเรือหลักของประเทศแคนาดาเอง โดยเฉพาะในฝั่งตะวันตก ทุกท่าเรือยังคงปฏิบัติตามปกติ หากแต่ประสบกับปัญหาแรงงานบางส่วนไม่เข้าปฏิบัติงาน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของท่าเรือหลักลดลง

.

ส่งผลให้มีการสะสมของตู้สินค้าและเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบ และเริ่มส่งผลกระทบต่อสินค้าที่ต้องขนส่งต่อไปยังท่าเรือหลักในฝั่งตะวันออกและในส่วนตอนกลางของประเทศ !!!

 

ภาพรวมของกลุ่มท่าเรือหลักในภูมิภาคยุโรป สามประตูหลัก อย่าง NLRTM, BEANR ยังคงอยู่ในภาวะทรงตัวและคงที่ พื้นที่ความจุในเขตท่าเรือเริ่มผ่อนคลายลง จะมีเพียงท่าเรือหลักของประเทศเยอรมัน DEHAM ที่เริ่มเห็นสัญญาณความหนาแน่นของตู้สินค้า จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์นัดหยุดงานและการขาดแคลนแรงงานในช่วงสุดสัปดาห์

.

ด้านภาพรวมของท่าเรือหลักในภูมิภาคเอเชีย ท่าเรือหลักของประเทศจีนในส่วนตอนล่าง ได้รับผลกระทบจากไต้ฝุ่นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ CNXMN, CNYTN, CNSHK มีตู้สินค้าและเรือสินค้าสะสมเนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติงานในช่วงที่สภาพอากาศแปรปรวน เกิดปัญหาล่าช้าอย่างน้อย 2 -4 วัน !!!

.

ด้านกลุ่มท่าเรือจุดถ่ายลำหลัก อย่าง SGSIN, MYPKG อยู่ในภาวะคงที่ โดยมีการสะสมของตู้สินค้าสินค้าจำนวนมากที่รอต่อขึ้นเรือแม่ ขณะที่ ท่าเรือ HKHKG รวมถึง ท่าเรือหลักของเกาะ Taiwan ได้รับผลกระทบจากไต้ฝุ่นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีตู้สินค้าและเรือสินค้าสะสมตกค้างในท่า

.

****************

6) ความเคลื่อนไหวที่เราต้องติดตามในรอบสัปดาห์ ติดตามดูกันที่ สถานการณ์ที่ผู้ประกอบการต้องรับมือในช่วงเดือนสิงหาคม 2023  !!!

.

เรื่องที่เราๆ ต้องติดตามกันในรอบสัปดาห์นี้ อยู่ที่ประเด็นสำคัญ อย่างเรื่องของ ภาพรวมการจองพื้นที่ระวางขนส่งสินค้าทางเรือ ซึ่งผู้ประกอบการในวงการนำเข้า-ส่งออก เริ่มที่จะประสบกับปัญหาทั้งที่มีงาน มีของอยู่ในมือ !!!

.

ทั้งนี้ ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ต้องประสบกับความยากเย็นในการจองเรือสำหรับงานที่ขนส่งในหลายเส้นทาง เนื่องจากพื้นที่ระวาง หรือ Allocation Space ที่มีค่อนข้างจำกัดอย่างมาก และหลายเส้นทางส่วนใหญ่ ต้องทำการจองเรืออย่างน้อย 2- 4 สัปดาห์

.

ซึ่ง สิ่งที่ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ต้องประสบซ้ำเป็นสองเด้ง โดยเฉพาะงานที่ต้องการจองเรือแบบข้ามเดือน นั่นคือปัญหามันจะอยู่ตรงที่ อัตราค่าระวางขนส่ง หรือ Freight Rate ในหลายเส้นทาง ยังไม่มีการยืนยันออกมา

.

หรือในบางเส้นทาง ค่าระวางไม่สามารถยืนพื้นระยะยาวได้มากกว่า 2 สัปดาห์ เนื่องจากภาวะตลาดที่ผันผวน ในขณะที่รอบเรือซึ่งพื้นที่บนเรือสามารถรับได้ขยับไกลออกไปเรื่อยๆ ดังนั้น ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ต้องทำการจองเรือล่วงหน้าข้ามเดือน โดยที่ไม่รู้ราคาค่าระวาง !!!

.

ซึ่งนั่นหมายถึง ประเด็นหลักที่เราต้องเจอ คือ เรากำลังเข้าสู่สภาวะที่ ต้องมีการช่วงชิงพื้นที่ระวางขนส่งบนเรือ และเรื่องต้นทุนค่าระวางตกเป็นประเด็นรอง ซึ่งแน่นอนว่า สิ่งที่จะตามมาคือ Peak Season ย่อมๆ สำหรับผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก

.

ซึ่งผู้รับขนส่ง รวมถึงผู้ประกอบการ หรือคนที่มีพื้นที่ตายในมือ จะกลับมาได้เปรียบอีกครั้งหนึ่งเหมือนเช่นในช่วงโควิด-19หรือไม่ เราต้องมาตามดูกัน !!!

.

ทั้งหมดที่เล่ามา คือการสรุปภาพรวมของสถานการณ์ ทิศทางการนำเข้า-ส่งออก ในภาคการขนส่งสินค้าทางเรือประจำสัปดาห์ ซึ่งหวังว่า จะเป็นเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้ติดตามทุกท่าน ในการบริหารจัดการงานขนส่งสินค้าระหว่างในรอบสัปดาห์

.

สัปดาห์นี้ขอลาไปก่อน ขอบุญรักษาทุกท่าน สวัสดีครับ

.

CR : PIC by David J Laporte

.

=========================

ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ นำเข้า ส่งออก

เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk

=========================

 

แนะนำบริการ Logistics Butler by ZUPPORTS

ระบบ Line Official Account ที่เพื่อนๆ สามารถ Chat ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ และการนำเข้าส่งออก โดยตรงกับ Shipping Man และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์

เหมือนมี พี่ๆ ที่ทำงาน / ที่ปรึกษาส่วนตัว นั่งข้าง ๆ โต๊ะคุณ!!

.

พร้อมรับสิทธิพิเศษ!

  1. Freight Monthly Report รายงานอัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศ ทุกเดือน
  2. แจ้งข่าว อบรม/Webinar ดีๆ สำรองที่นั่ง ก่อนใครเพื่อน
  3. รับส่วนลด 20% สำหรับคอร์สฝึกอบรมออนไลน์ แบบสด สำหรับสมาชิก Logistics Butler

(ตัวอย่าง Course อบรม ได้แก่ DG Cargo, Reefer, พิกัด, พิธีการศุลกากรประเภทต่างๆ บรรยาย โดยวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ ในสายวิชาชีพนั้นๆ ประสบการณ์ 10 ปี ++)

  1. จองเวลาปรึกษา Online meeting แบบ one-on-one เพิ่มเติมได้ (มีค่าบริการเพิ่มเติม)

เหมือนมีห้องสมุดส่วนตัว รวบรวมข้อมูล ความรู้ให้คุณ ถึงหน้าจอมือถือ

.

สนใจลงทะเบียนได้เลยที่

http://bit.ly/3Xma0nR

(ติดต่อสอบถาม รายละเอียด เพิ่มเติมใน inbox ได้เลยจ้า)

ข่าวสารอื่นๆ