[Freight Weekly] : อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 18-21 เมษายน กับ ZUPPORTS !!! สัปดาห์แห่งความชุลมุนหลังหยุดยาว รู้นะว่าหลายคนกำลังหา SPACE กับหาหัวลากอยู่ !!!

หยุดยาว

[Freight Weekly] : อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 18-21 เมษายน กับ ZUPPORTS !!!

สัปดาห์แห่งความชุลมุนหลังหยุดยาว รู้นะว่าหลายคนกำลังหา SPACE กับหาหัวลากอยู่ !!!

.

กลับมาพบกับพวกเราเหมือนเช่นเคย ในการรายงานสถานการณ์ ความสาร ความเคลื่อนไหว ในรอบสัปดาห์ในแวดวงการนำเข้า-ส่งออก ภาคการขนส่งสินค้าทางเรือ ตามแบบของพวกเรา ชาว ZUPPORTS!!!

.

และหากนับตามปฏิทินของคนที่ทำงานด้านการขนส่งสินค้าทางเรือ สัปดาห์นี้ เป็นการเข้าสู่สัปดาห์ที่ 16 ประจำปี 2566 ซึ่งถือว่า เรากำลังเข้าสู่ช่วงเวลา 1 ใน 3 ของปี

.

สัปดาห์นี้ ยังคงเป็นอีกสัปดาห์ที่เรียกได้ว่าเป็นช่วงฝุ่นตลบ หลังหยุดสงกรานต์กันพอสมควร เนื่องจากหลายคนมีบุ๊คกิ้งยืนยันการจองเรืออยู่ในมือ แต่ไม่มีหัวลากวิ่งงาน ทำให้ต้องวิ่งวุ่นหาหัวลากกันจ้าละหวั่น โดยที่งานบางส่วนตกค้างหรือกระฉอกมาตั้งแต่ช่วงก่อนหยุด

.

รวมถึงคนที่ดูแลในส่วนงานขานำเข้า ที่ต้องรับมือกับเมลล์จำนวนไม่น้อยที่สะสมไว้ตั้งแต่ช่วงหยุดงาน และต้องตามลูกค้าในการปิดเอกสารขาเข้าทันทีที่เปิดทำงาน

.

ดังนั้น หลายคนที่ยังชุลมุนกับงานที่ว่า และไม่มีเวลาในการติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวในการนำเข้า-ส่งออก อยากให้ลองกดติดตามพวกเราไว้ รับรองคุณจะไม่พลาดข้อมูลดีๆรอบตัว

.

เอาล่ะเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมและพร้อมกันแล้ว ตามพวกเรา มาไล่กันทีละประเด็น ตามลิงค์ด้านล่างนี้กันเลย !!!

.

=========================

ZUPPORTS ช่วยผู้นำเข้าส่งออก หา Space

เปรียบเทียบราคาและบริการ Freight ทั้งทางทะเล ทางอากาศ ทางบก และทางรถไฟ

ด้วยพันธมิตรผู้ให้บริการขนส่ง มากกว่า 30 บริษัท

ลงทะเบียนทดลองใช้งานได้ที่

นัดหมายทดลองใช้งาน

=========================

 

1) สถานการณ์ในการจองพื้นที่ระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หลายเส้นทาง SPACE เต็มถึงกลางเดือนหน้า !!!

.

ภาพรวมการจองเรือในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ในหลายเส้นทางยังคงเป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างทำได้ยากพอสมควร เนื่องจากพื้นที่ระวางขนส่ง หรือ Allocation Space ที่มีค่อนข้างจำกัด จากการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing ส่งผลให้พื้นที่อยู่ในภาวะที่ตึงแน่นอย่างมาก

.

รวมถึง ปัจจัยจากการที่อุปสงค์หรือความต้องการในภาคการขนส่งสินค้าทางเรือ ในบางหมวดหมู่อุตสาหกรรมเริ่มฟื้นตัว อย่าง ภาคการผลิตในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องอุปโภค บริโภค ที่ใช้ในธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรม

.

อีกทั้ง ปัจจัยอย่าง การที่ภาคอุตสาหกรรมของจีนและในหลายประเทศที่เป็นฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชีย ต้องการที่จะดันสินค้าส่งออก ก่อนที่จะปิดงานในช่วงวันแรงงานสากล ในวันที่ 1 พฤษภาคมที่จะถึงนี้

.

ดังนั้น งานที่ออกจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือและงานที่ขนส่งไปยังภูมิภาคยุโรปตอนล่างฝั่งตะวันตก หรือ Asia- North Europe Trade/ Asia- West Mediterranean Trade ค่อนข้างแน่นอย่างมาก ยิ่งประกอบกับปัญหาความถี่ของรอบเรือน้อยลงจากการปล่อยตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing Schedule ในเส้นทางดังกล่าว

.

ส่งผลให้ งานของผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ตกเรือ หรือ Roll Over ตั้งแต่ท่าต้นทาง อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ ทั้งงานที่ออกจากท่าเรือต้นทางอย่าง เวียดนามหรือแม้กระทั่ง งานที่ออกมาจากประเทศจีนเอง รวมไปถึง งานที่ต้องมีการเปลี่ยนขึ้นเรือแม่ที่จุดถ่ายลำ อย่าง HKHKG และ SGSIN

.

นอกจากนี้ งานที่ขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคตะวันออกกลาง หรือ Asia- Middle East Trade ไปจนถึง เส้นทางที่ขนส่งไปยังแถบทะเลแดง หรือ Asia- Red Sea Trade ต้องเจอกับปัญหาในการต่อเรือแม่ โดยตกเรือหรือ Roll Over อย่างน้อย 2- 4 สัปดาห์ ที่จุดถ่ายลำ อย่าง SGSIN และMYPKG

.

ดังนั้น การจองเรือในหลายเส้นทาง ต้องทำการจองล่วงหน้านานขึ้น อย่างน้อย 2 -3 สัปดาห์ จากการที่พื้นที่ขนส่งมีค่อนข้างจำกัด รวมถึงในหลายเส้นทาง ที่เคยจองเรือง่าย กลับกลายเป็นต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อย 1- 3 สัปดาห์ จากการที่ไม่มีรอบเรือให้บริการ

.

*******

2) สถานการณ์ในการจัดหาและการหมุนเวียนของตู้สินค้า ภาพการขาดแคลนเริ่มที่จะเห็นชัดขึ้น ในหลายพื้นที่ !!!

.

ด้านสถานการณ์ในการจัดหาและการหมุนเวียนของตู้สินค้า หลายพื้นที่ในหลายภูมิภาค ยังคงตกอยู่ในภาวะขาดแคลน แม้ว่าวงจรการหมุนเวียนของตู้ในหลายพื้นที่ จะเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอและทันต่อการฟื้นตัว

.

ด้านภาพรวมการหมุนเวียนของตู้สินค้า หรือตู้คอนเทนเนอร์ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ในพื้นที่ ที่เป็นเมืองท่า หรือเมืองที่เป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าหลัก ยังคงมีตู้สินค้าหมุนเวียนอย่างคล่องตัว อย่าง ตามเมืองท่าหลักในภูมิภาคอเมริกาเหนือ รวมถึงในภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ

.

หากแต่ในหลายพื้นที่ ยังคงตกอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างขาดแคลนและฝืดเคือง โดยเฉพาะตามพื้นที่หรือเมืองที่อยู่ตามแนวลึกในแต่ละภูมิภาค อย่าง ท่าแห้งหรือเมืองรองในภูมิภาคเอเชียใต้ และในภูมิภาคยุโรปตอนล่าง

.

รวมถึงในภูมิเอเชียเอง ที่เริ่มมีหลายสายการเดินเรือ ไม่สามารถทำการจัดหาหรือหมุนเวียนตู้สินค้าได้คล่องตัวเช่นก่อนหน้านื้ อย่าง บางท่าเรือในประเทศเวียดนามและประเทศอินโดนีเซีย หรือแม้แต่ในประเทศจีน ที่หลายเมือง หลายพื้นที่ ประสบกับปัญหาขาดแคลนตู้สินค้าบางประเภท

.

ทั้งนี้ ก็เนื่องจาก ตู้สินค้าส่วนใหญ่ ยังคงอยู่ในภาวะที่กระจุกตัวและตกค้างอยู่ในภูมิภาคต่างๆ อย่าง ในภูมิภาคอเมริกาเหนือ และในภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ รวมถึงในบางพื้นที่ของประเทศจีนเอง

.

*******

3) สถานการณ์ความเสถียรของตารางเดินเรือ ความล่าช้าในการขนส่งทางเรือ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่มีรอบเรือให้บริการ !!!

.

ทางด้านสถานการณ์ความนิ่งของตารางเดินเรือ หลายเส้นทางยังคงอยู่ในภาวะที่ทรงตัว และไม่ต่างจากสัปดาห์ก่อนมากนัก หากแต่ภาวะที่ทุกคนยังต้องรับมือ คือ ปัญหาความล่าช้าของวันเรือและวันที่เรือถึง หรือ Delay Onboard/ Delay Arrival

.

รวมถึง ปัญหาความไม่นิ่งของตารางเดินเรือในหลายเส้นทาง โดยเฉพาะการที่รอบเรือที่ให้บริการหดเหลือน้อยลง และมีสภาพที่ไม่สม่ำเสมอเหมือนคนฟันหลอ จากการที่สายการเดินเรือ ทำการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing !!!

.

โดยในช่วงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 16 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 20 หรือในช่วง 5 สัปดาห์นับจากนี้ ทุกสายการเดินเรือ มีการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing ในเส้นทางการขนส่งหลักรวมกันไปแล้ว อย่างน้อย 52 เที่ยวเรือ หรือคิดเป็น ร้อยละ 8 จากจำนวนรอบเรือทั้งหมด 675 เที่ยวเรือ !!!

.

โดย เส้นทางการขนส่งหลัก ที่ถูกยกเลิกเที่ยวเรือมากที่สุด ร้อยละ 58 คือ เส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในเส้นทาง  Transpacific Eastbound

.

ตามด้วย ร้อยละ 42 เป็นการยกเลิกเที่ยวเรือ ในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปทั้งตอนเหนือและตอนล่าง หรือ Asia- Europe and MED

.

โดย กลุ่มพันธมิตรเดินเรือ อย่าง The Alliance มีการยกเลิกรอบเรือทั้งสิ้น 26 เที่ยวเรือ จากจำนวนทั้งหมด 142 เที่ยวเรือ ตามมาด้วยกลุ่มพันธมิตร Ocean Alliance ที่ทำการยกเลิกทั้งสิ้น 17 เที่ยวเรือ จากจำนวน 172 เที่ยวเรือ และ 2M ยกเลิก 6 รอบเรือ จากจำนวนทั้งสิ้น 120 เที่ยวเรือ

.

ซึ่งเฉพาะแค่สัปดาห์ที่ 16 นี้ ในเส้นทางขนส่งไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ทั้ง US Pacific Northwest, US Pacific Southwest และ ในส่วน US East Coast  จะมีพื้นที่ระวางขนส่งที่หายไปจากท้องน้ำ จากการประกาศตารางเรือว่างทั้งสิ้นประมาณ 133,000 TEU

.

ดังนั้น สิ่งที่เรายังคงต้องรับมือ นั่นคือความไม่แน่นอนของตารางเดินเรือ รวมถึง ระยะเวลาในการขนส่งทางเรือที่นานขึ้น โดยที่ส่วนหนึ่งมาจากการที่ไม่มีรอบเรือให้บริการ

.

**************

4) สถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ อย่ารอคอย หรือคาดหวัง ว่าจะได้เห็นค่าเฟรทจะลดลงเหมือนติดจรวด!!!

.

ด้านสถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ ดัชนีค่าระวางในหลายเส้นทางอยู่ในภาวะคงที่ ในขณะที่อีกหลายเส้นทาง ยังคงสามารถเชิดหัวขึ้นได้ติดต่อกัน จากการที่พื้นที่ระวางขนส่ง ต่ำกว่าความต้องการในภาคขนส่ง

.

ภาพรวมของค่ารางขนส่งสินค้าทางเรือ หรือ ค่าเฟรทในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีค่าระวางขนส่งอยู่ในภาวะคงที่ หรือแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ โดย มาปิดอยู่ที่ USD 1,710 per 40’GP

.

ซึ่งเป็นการปรับลดลงจากสัปดาห์ก่อนเพียงแค่ USD 1 เท่านั้น และเป็นการปรับตัวลดลงคิดเป็น ร้อยละ 78 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

.

โดยเส้นทางที่ค่าระวางขนส่ง มีการปรับลดลง จะมีเพียงเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังอเมริกาเหนือฝั่งตะวันตก หรือ Asia -North America West Coast

.

ในขณะที่ ค่าระวางขนส่งในอีกหลายเส้นทาง จากที่เคยอยู่ในภาวะขาลงเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน กลับกลายเป็นภาวะที่เริ่มทรงตัวและมีแนวโน้มที่จะเชิดหัวขึ้น จากการที่อุปสงค์หรือความต้องการในตลาดฟื้นตัว

.

รวมถึง ค่าระวางขนส่งทางเรือในอีกหลายเส้นทาง ยังคงอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างสูงและยังคงติดลมบนติดต่อกัน และไม่มีแนวโน้มที่จะดึงกลับลงมาเหมือนเช่นในช่วงไตรมาสที่สามของปีก่อน อย่าง ในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือฝั่งตะวันออก หรือ Asia- North America East Coast Trade,

.

เส้นทางขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือและยุโรปตอนล่าง หรือ Asia -North Europe Trade/ Asia- Mediterranean Trade ,เส้นทางขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก หรือ Asia- Indian Subcontinent and Middle East Trade

.

รวมไปถึง เส้นทางการขนส่งภายในภูมิภาคเอเชีย หรือ Intra-Asia Trade ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเส้นทางการขนส่งที่ออกมาจากประเทศจีน ซึ่งแน่นอนว่ามีผลต่อค่าระวางขาเข้ามาประเทศไทยเราด้วยเช่นกัน

.

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากเช็คแนวโน้มราคาเฟรท ทางทะเล ย้อนหลัง 3 เดือน แยกไปแต่ละเส้นทางขนส่ง ก็สามารถ ลองเข้าไปเช็คกันได้เลยที่ https://zupports.co/our-services/

.

หรือหากอยากดูราคาเฟรท ในเดือนล่าสุด ก็ลงทะเบียน แบบ premium กันได้เลยที่ https://zupports.co/register/

 

************

5) ด้านสถานการณ์ความหนาแน่นของท่าเรือหลักทั่วโลก หลายท่าเรือเริ่มทรงตัวและนิ่งมากขึ้น !!!

.

ประเด็นสุดท้าย ด้านสถานการณ์ของท่าเรือหลักทั่วโลก หลายท่าเรือกลับสู่ภาวะปกติ เช่นก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจโลก ที่ยังไม่ฟื้นตัว ในขณะที่อีกหลายท่าเรือ ยังอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างตึงมือ ทั้งจากปัญหาคอขวดและปัญหาการนัดหยุดงาน

.

ทางด้านภาพรวมของท่าเรือหลักในภูมิภาคอเมริกาเหนือ หลายท่าเรือหลักของประเทศสหรัฐ อยู่ในภาวะที่ทรงตัวและคงทื่ ไม่ต่างจากสัปดาห์ก่อนมากนัก ทั้งท่าเรือหลักในฝั่งตะวันออก อย่าง USNYC, USORF, USCHS และฝั่งตะวันตก USLAX, USLGB, USSEA, USTIW

.

หากแต่ เริ่มที่จะเห็นจำนวนเรือที่รอเข้าเทียบท่าหนาตามากขึ้น ทั้งนี้ ก็เนื่องจากสินค้าที่ถูกดันออกมาจากฝั่งเอเชียช่วงเปิดทำงานหลังวันหยุดตรุษจีน เริ่มทยอยไปถึงฝั่งภูมิภาคอเมริกากันแล้ว

.

ในขณะที่ สามท่าหลัก อย่าง USSAV ในฝั่งตะวันออก, USHOU ในฝั่งอ่าว และ USOAK ในฝั่งตะวันตก ยังคงตกอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างจะตึงมืออย่างมาก ทั้งจากปริมาณตู้สินค้าและจำนวนเรือที่รอเทียบท่าขนถ่าย

.

ทั้งนี้ โดยภาพรวมของภูมิภาคอเมริกาเหนือ ทั้งประเทศสหรัฐและประเทศแคนาดา ยังต้องรับมือกับปัญหาคอขวดในการเคลื่อนย้ายและหมุนเวียนของสินค้า เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานและอุปกรณ์ในภาคการขนส่ง ทั้งในส่วนของแคร่รถไฟและหางแชสซีสำหรับวางตู้สินค้า ยังคงไม่เพียงพอและตกค้างอยู่เมืองที่เป็นศูนย์การกระจายสินค้า

.

ด้านภาพรวมของท่าเรือหลักในภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ สามท่าเรือหลัก อย่าง NLRTM, BEANR, อยู่ในภาวะที่คงที่ ในขณะที่ DEHAM อยู่ในภาวะที่ตึงมือจากการนัดหยุดงานเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน รวมไปถึง ที่ค่อนข้างสาหัสคือท่าเรือของประเทศฝรั่งเศส อย่าง FRLEH และ FRFOS ที่ยังคงตกอยู่ในภาวะหนาแน่นอย่างสาหัส จากการนัดหยุดงานเป็นระลอก

.

ด้านภาพรวมท่าเรือหลักในภูมิภาคเอเชีย หลายท่าเรืออยู่ในภาวะที่คงที่และทรงตัว โดยท่าเรือหลักของจีน อย่าง CNNGB, CNTAO เจอกับสภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลให้เกิดความล่าช้า อย่างน้อย 1- 3 วัน ขณะที่ ท่าเรือหลักของประเทศฟิลิปปินส์ อย่าง PHMNL ทั้งอ่าวเหนือและอ่าวใต้ ยังคงอยู่ในภาวะหนาแน่น และไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นในเร็ววัน

.

ด้าน สามท่าเรือที่เป็นจุดถ่ายลำหลัก อย่าง HKHKG, SGSIN, MYPKG เริ่มอยู่ในภาวะที่คงที่และนิ่งมากขึ้นจากช่วงก่อนหน้า หากแต่ยังคงถือว่าหนาแน่น เนื่องจากตู้สินค้าใช้เวลาในการพักที่ท่ายาวนานขึ้น จากการที่ความถี่ของรอบเรือแม่ที่จะมาเก็บตู้ขึ้นลดน้อยลงจากการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing

.

****************

6) สถานการณ์ ความเคลื่อนไหวในรอบสัปดาห์ ที่ต้องติดตาม เมื่อค่าระวางขนส่ง กลับมาอยู่ในทิศทางขาขึ้นอีกครั้ง !!!

.

สถานการณ์ที่เราต้องติดตามในช่วงสัปดาห์นี้ จะอยู่ที่ การทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นของค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หรือ ค่าเฟรท ซึ่งเรียกว่าเป็นต้นทุนหลัก ที่เป็นเรื่องของปากท้องของผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก

.

ทั้งนี้ ในช่วงตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา แม้ว่าค่าระวางขนส่งสินค้าในบางเส้นทาง อยู่ในทิศทางขาลงก็จริง หากแต่ การจองเรือก็ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ยากเย็น เนื่องจากพื้นที่ระวาง หรือ Allocation Space ในหลายเส้นทางบีบแคบอย่างมาก ซึ่งสิ่งที่เราต้องไม่ลืมนั่นคือ ค่าระวางขนส่งและพื้นที่ระวาง ก็คืองานบริการรูปแบบหนึ่ง ที่อิงตามหลักอุปสงค์และอุปทาน

.

และดูเหมือนว่า ในภาวะที่พื้นที่ระวางขนส่งบีบแคบลง การจะได้เห็นภาพของราคาค่าระวางขนส่งทางเรือ หรือ ค่าเฟรท ปรับตัวลดลงแบบดิ่งเหวเหมือนก่อนหน้านี้ ดูจะเริ่มเลือนลาง และทำเอาหลายคนที่เผ้ารอต้องผิดหวัง

.

เนื่องจาก ในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้เห็นหลายสายการเดินเรือ พร้อมใจกันเดินหน้า ประกาศปรับราคาค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือกันถ้วนหน้า ทั้งในรูปแบบของ GRI General Rate Increase และ RR Rate Restoration

.

โดยมีผลสำหรับค่าระวางขนส่งในช่วงครึ่งหลังของเดือนเมษายน ในขณะที่อีกหลายสายการเดินเรือ จะเริ่มมีผลในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้

.

รวมไปถึง การประกาศจำกัดหรือติดน้ำหนักสินค้าในการขนส่ง โดยมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่ม หรือ ที่เรารู้จักกันในชื่อของ Over Weight Surcharge ซึ่ง นั่นก็คือการปรับขึ้นค่าระวางขนส่งสินค้าในรูปแบบหนึ่ง

.

ดังนั้น นี่จึงเป็นหนึ่งประเด็นที่เราต้องจับตา และมองหาเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกในการทำงานนำเข้า-ส่งออก เพื่อให้แน่ใจว่า ราคาค่าขนส่งหรือค่าเฟรทที่เราได้อยู่ สมเหตุสมผลและสอดคล้องกับราคาตลาดอีกด้วย

.

โดย หลายสายการเดินเรือ ยังคงทยอยประกาศปรับค่าระวางขนส่งสินค้า สำหรับช่วงครึ่งหลังของเดือนเมษายนในหลายเส้นทาง

.

ทั้งหมดที่เล่ามา คือสรุปภาพรวมสถานการณ์ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานสถานการณ์ประจำสัปดาห์ จะเป็นประโยชน์ และเป็นเครื่องมือช่วยในการทำงานของเพื่อนๆทุกคน !!!

.

และแอดมินเองก็ขอแนะนำ ZUPPORTS แพลฟอร์ม ที่จะช่วยผู้นำเข้าส่งออก หา Space  เปรียบเทียบราคาและบริการ Freight ทั้งทางทะเล ทางอากาศ ทางบก และทางรถไฟ ด้วยพันธมิตรผู้ให้บริการขนส่ง มากกว่า 30 บริษัท

ลงทะเบียนทดลองใช้งานได้ที่ https://zupports.co/register/

.

สัปดาห์นี้ขอลาไปก่อน ขอบุญรักษาทุกท่าน สวัสดีครับ

.

CR : PIC by Kees Torn

.

=========================

ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ นำเข้า ส่งออก

เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk

=========================

 

แนะนำบริการ Logistics Butler by ZUPPORTS

ระบบ Line Official Account ที่เพื่อนๆ สามารถ Chat ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ และการนำเข้าส่งออก โดยตรงกับ Shipping Man และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์

เหมือนมี พี่ๆ ที่ทำงาน / ที่ปรึกษาส่วนตัว นั่งข้าง ๆ โต๊ะคุณ!!

.

พร้อมรับสิทธิพิเศษ!

  1. Freight Monthly Report รายงานอัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศ ทุกเดือน
  2. แจ้งข่าว อบรม/Webinar ดีๆ สำรองที่นั่ง ก่อนใครเพื่อน
  3. รับส่วนลด 20% สำหรับคอร์สฝึกอบรมออนไลน์ แบบสด สำหรับสมาชิก Logistics Butler

(ตัวอย่าง Course อบรม ได้แก่ DG Cargo, Reefer, พิกัด, พิธีการศุลกากรประเภทต่างๆ บรรยาย โดยวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ ในสายวิชาชีพนั้นๆ ประสบการณ์ 10 ปี ++)

  1. จองเวลาปรึกษา Online meeting แบบ one-on-one เพิ่มเติมได้ (มีค่าบริการเพิ่มเติม)

เหมือนมีห้องสมุดส่วนตัว รวบรวมข้อมูล ความรู้ให้คุณ ถึงหน้าจอมือถือ

.

สนใจลงทะเบียนได้เลยที่

http://bit.ly/3Xma0nR

(ติดต่อสอบถาม รายละเอียด เพิ่มเติมใน inbox ได้เลยจ้า)

 

📢 ขอแนะนำงานเสวนา ดีๆ

 

“ตามรอย ทุเรียนส่งออก ไปกับ LEO Global Logistics และ ZUPPORTS”

 

พร้อม Q&A ทุกคำถามที่คุณสงสัย 🚞🛫🚢

 

เสวนา Online ผ่านระบบ ZOOM วันพุธที่ 19 เมษายน นี้ เวลา 10:00-11:15 น.

 

  1. มาทำความรู้จักกับ ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้
  2. รูปแบบการขนส่งรวมถึงระยะเวลา ที่เหมาะสมกับทุเรียนและผลไม้ตามฤดูกาล
  3. ปัญหาที่มักจะพบ ในการขนส่งผลไม้ด้วยตู้สินค้า Reefer

 

ลงทะเบียนร่วมเสวนาได้ที่ link zoom ด้านล่างนี้ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

https://us06web.zoom.us/webinar/register/WN_C3fkD9ScSQOvHR5cG9epoA

 

 

ข่าวสารอื่นๆ