[Freight Weekly] : อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 17- 21 กรกฎาคม กับ ZUPPORTS !!! สัปดาห์ต้อนรับการเปิดฤดู Peak Season งานเงียบๆ แต่ Space เรือเต็ม เพียบเกือบทุกเลน !!!

[Freight Weekly] : อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 17- 21 กรกฎาคม กับ ZUPPORTS !!!

สัปดาห์ต้อนรับการเปิดฤดู Peak Season งานเงียบๆ แต่ Space เรือเต็ม เพียบเกือบทุกเลน !!!

.

พบกันเหมือนเช่นเคยอีกครั้ง ในการรายงานข่าวสาร ความเคลื่อนไหว รวมถึงการอัพเดทสถานการณ์นำเข้า-ส่งออก ภาคการขนส่งสินค้าทางเรือประจำสัปดาห์ กับพวกเราชาว ZUPPORTS !!!

.

สัปดาห์นี้ หากนับตามปฏิทินของคนที่ทำงานขนส่งทางเรือ จะถือเป็นสัปดาห์ที่ 29 ประจำปี 2566 ซึ่งจะนับว่าเป็นการเข้าสู่ช่วงหน้าฤดูในการขนส่งสินค้าไปยังหลายเส้นทาง หรือที่เราเรียกกันว่าช่วง Peak Season !!!

.

โดยเฉพาะคนที่เน้นในเส้นทางขนส่งไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ รวมถึงในเส้นทางไปยังภูมิภาคยุโรปและโอเชียเนีย ซึ่งช่วงเวลานี้ จะถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาในการเริ่มต้นของหลายคน ในการเร่งผลกระกอบการ โดยเฉพาะบรรดาฝ่ายขาย หรือ Sale ทั้งหลาย !!!

.

อย่างไรเสีย พวกเรา ZUPPORTS !!! ยังคงเป็นกำลังใจให้ รวมถึงยังคงคอยรายงานข้อมูลข่าวสารดีๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทุกคนในการเข้าสู่ช่วงเวลาที่สำคัญเช่นนี้

.

เมื่อเกริ่นกันมาพอควร ได้เวลาตามพวกเราไปเจาะลึกดูทีละประเด็น ที่ละแง่มุมกันเลย !!!

.

=========================

ZUPPORTS ช่วยผู้นำเข้าส่งออก หา Space

เปรียบเทียบราคาและบริการ Freight ทั้งทางทะเล ทางอากาศ ทางบก และทางรถไฟ

ด้วยพันธมิตรผู้ให้บริการขนส่ง มากกว่า 30 บริษัท

ลงทะเบียนทดลองใช้งานได้ที่ zupports.co/register/

=========================

1) สถานการณ์ในการจองพื้นที่ระวางขนส่งสินค้าทางเรือ การจองเรือฝั่งงานขาเข้า ในหลายเส้นทางยังคงลำบาก  !!!

.

เริ่มต้นกันที่ สถานการณ์ในการจองเรือ หลายเส้นทางยังคงอยู่ในภาวะจองเรือยากสำหรับงานขนส่งขาออก รวมไปถึง งานขนส่ง ที่เป็นงานขานำเข้าจากต่างประเทศ ก็อยู่ในภาวะที่จองเรือยากไม่แพ้กัน !!!

.

ภาพรวมของการจองเรือสำหรับงานใหม่ หรือ การบุ๊คกิ้ง ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายเส้นทางยังคงถือว่าจองเรือยาก จองไม่เข้า เนื่องจากพื้นที่ระวางขนส่งเต็มและแน่นไปจนถึงเส้นเดือน และ Available Schedule ที่สายการเดินเรือสามารถรับได้ เริ่มที่จะขยับออกไปไกลขึ้นทุกที

.

อย่าง ในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกกลาง หรือ Asia- Indian Subcontinent and Middle East Trade รวมไปถึง ในเส้นทางการขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาใต้ หรือ Asia- Latin America และในเส้นทางการขนส่งภายในภูมิภาคเอเชียเอง หรือ Intra Asia ในบางเส้นทาง

.

ทั้งนี้ ก็เนื่องจากพื้นที่ระวางขนส่งในหลายเส้นทางมีค่อนข้างจำกัด ประกอบกับอุปสงค์หรือความต้องการภาคขนส่งในเส้นทางดังกล่าว ยังคงอยู่ในระดับที่สูง เมื่อเทียบกับงานขนส่งในเส้นทางอื่น ส่งผลให้งานที่ขนส่งไปยังเส้นทางที่ว่าเหล่านี้ ต้องทำการจองเรือล่วงหน้า อย่างน้อย 2 – 3 สัปดาห์ หรือในบางสายการเดินเรือ หยุดรับการจองเรือชั่วคราว !!!

.

รวมไปถึง งานขนส่งในฝั่งที่เป็นขานำเข้า มาจากต่างประเทศ หลายเส้นทางยังคงถือว่าจองเรือค่อนข้างยาก ผู้ประกอบการในบ้านเราจำนวนไม่น้อย ต้องเจอกับภาวะที่ต้นทาง หรือ Shipper ไม่สามารถจองเรือ หรือหา Allocation Space ได้ !!!

.

อย่างในเส้นทางที่เป็นขานำเข้ามาจากภูมิภาคอเมริกาเหนือ รวมถึงในเส้นทางที่ขนส่งมาจากภูมิภาคยุโรปตอนเหนือและยุโรปตอนล่าง หรือ North Europe Trade /Mediterranean Trade

.

ทั้งนี้ ก็เนื่องจากพื้นที่ระวางขนส่งที่มีจำกัดอย่างมาก ประกอบกับความถี่ของรอบเรือที่ลดน้อย จากประกาศตารางเรือยว่าง หรือ Blank Sailing รวมถึงการบิดเบี้ยวของตารางเดินเรือ !!!

.

ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมการรับมือ นั่นคือ การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง รวมถึงการมองหาแหล่งวัตถุดิบอื่น เพื่อป้องกันการเสียโอกาสทางธุรกิจ !!!

.

*******

2) สถานการณ์ในการจัดหาและการหมุนเวียนของตู้สินค้า หลายพื้นที่ยังมีตู้เปล่าคล่องมือ แต่ไม่ใช่จะมีเหลือเฟือ !!!

.

ทางด้านสถานการณ์ในการจัดหาและการหมุนเวียนของตู้สินค้า ทั่วโลกยังอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างมีความหลากหลายและไม่มีความสมดุล หลายภูมิภาคยังคงต้องเจอกับภาวะขาดแคลน ในขณะที่อีกหลายพื้นที่ ยังคงมีตู้สินค้าเปล่าสะสมเกินจากความต้องการ

.

ภาพรวมของการจัดหาและการหมุนเวียนของตู้สินค้าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หลาพื้นที่ ในหลายภูมิภาค อยู่ในภาวะที่ขาดแคลน ผู้รับขนส่งสินค้าจำนวนมาก ไม่สามารถที่จะทำการหมุนเวียน จัดหาได้ทันกับความต้องการในภาคขนส่ง เนื่องจากปัญหาคอขวดของท่าเรือ และจากการที่ความถี่ของรอบเรือในท้องน้ำหุบน้อยลง

.

ในขณะที่อีกหลายพื้นที่ กลับประสบกับปัญหามีกองตู้สินค้าเปล่า มากเกินความต้องการในภาคขนส่ง เนื่องจากอุปสงค์หรือความต้องการในภาคขนส่ง ที่ปรับตัวลดลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลก จนส่งผลต่อปัญหาความหนาแน่นในเขตท่าเรือ อย่าง ในภูมิภาคอเมริกาเหนือและในภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ รวมถึงหลายพื้นที่ในภูมิภาคเอเชีย

.

ขณะที่ภาพรวมการจัดหาและการหมุนเวียนตู้สินค้าในบ้านเรา หลายสายการเดินเรือส่วนใหญ่ยังคงบริหาร จัดการได้คล่องตัว โดยผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกที่ยังมีงานส่งออก ยังคงสามารถเลือกหาตู้สินค้าเปล่าไม่ยากเย็นนัก

.

หากแต่ ภาพโดยรวม ก็ไม่เชิงว่าทุกสายการเดินเรือ จะมีกองตู้สินค้าเปล่าให้เลือกใช้สอยอย่างล้นเหลือเสียทีเดียว เนื่องจากในบางสายการเดินเรือ อยู่ในภาวะที่ตู้สินค้าเปล่า มีจำนวนค่อนข้างจะพอดีกันกับจำนวนบุ๊คกิ้งจองเรือในมือ

.

ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ต้จึงองเจอกับปัญหา ในลักษณะที่ไม่สามารถร้องขอเปลี่ยนตู้ใบใหม่ได้ ในกรณีตู้สินค้าที่ไปรับมา อยู่ในสภาพที่ไม่น่าพอใจ หรือไม่เหมาะสมกับการบรรจุสินค้า

.

ดังนั้น ผู้ประกอบการ ต้องเตรียมรับมือกับปัญหาดังกล่าว โดยการเผื่อเวลาเหลือ เวลาขาด สำหรับการทำงานล่วงหน้า ในภาคการบรรจุสินค้า

.

*******

3) สถานการณ์ความเสถียรของตารางเดินเรือ พื้นที่ระวางในเส้นทางหลัก หดตัวแรงจากการ Blank Sailing  !!!

.

ด้านสถานการณ์ความเสถียรของตารางเดินเรือ ยังคงอยู่ในสภาวะที่ไม่ปกติ ในหลายเส้นทางยังอยู่ในภาวะที่ไม่เสถียร ทั้ง ปัญหาความล่าช้า หรือ Delay Onboard รวมถึงปัญหาการข้ามไม่เข้าในบางท่าเรือ หรือ SKIP Call /OMIT และการเปลี่ยนท่าเรือขนถ่ายที่ปลายทาง จากปัญหาการนัดหยุดงานของสหภาพแรงงานท่าเรือ !!!

.

ขณะที่ภาพรวมของการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing เริ่มที่จะเข้าสู่ภาวะที่นิ่งมากขึ้น หากแต่ในช่วงหลายสัปดาห์นี้ เราจะยังต้องเจอกับปัญหาพื้นที่ระวางขนส่ง หรือ Allocation Space ที่จะหายไปจากท้องน้ำเพิ่มสูงขึ้น !!!

.

โดยในช่วงตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 29 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 33 หรือในช่วง 5 สัปดาห์นับจากนี้ ทุกสายการเดินเรือ มีการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing ในเส้นทางการขนส่งหลัก รวมกันอย่างน้อย 36 เที่ยวเรือ หรือคิดเป็น ร้อยละ 5 จากจำนวนทั้งหมด 666 เที่ยวเรือ !!!

.

โดยในเส้นทางที่ถูกยกเลิกรอบเรือมากที่สุด จะยังคงเป็นในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในรอบเรือ Transpacific Eastbound ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 53

.

ตามด้วย เส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ และยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- North Europe/ MED ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 33 และในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคยุโรปไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในรอบเรือ Transatlantic Westbound คิดเป็นร้อยละ 14

.

ทั้งนี้ จากการยกเลิกรอบเรือ หรือ Blank Sailing ในช่วงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 27 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 31จะส่งให้มีพื้นที่ระวางขนส่งสินค้าที่จะหายไปจากท้องน้ำ ในเส้นทางขนส่งไปยังอเมริกาเหนือ รวมกันแล้วสูงถึงกว่า 410,000 TEU !!!

.

โดยในเลนขนส่งที่พื้นที่ระวางหายไปมากที่สุดจะเป็น ในส่วน US East Coast 156,000 TEU ตามด้วยในเลนที่ขนส่งไปยัง Pacific Northwest 110,000 TEU และในเลนที่ขนส่งไปยัง Pacific Southwest จะมีพื้นที่ระวางหายไปอยู่ที่ 93,000 TEU !!!

.

**************

4) สถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หลายเส้นทาง ค่า Freight พร้อมที่จะบวกอีกครั้ง !!!

.

ด้านสถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หรือ Freight Rate ดูเหมือนจะมีเพียงไม่กี่เส้นทางเท่านั้น ที่อัตราค่าระวางขนส่งสินค้า ยังคงอยู่ในทิศทางขาลง เนื่องจาก เริ่มมีทิศทางที่จะเชิดหัวขึ้นอีกครั้ง จากที่เคยนิ่งมานาน ขณะที่อีกหลายเส้นทาง ยังคงติดลมบนอยู่ในระดับที่สูง !!!

.

ภาพรวมทิศทางค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายเส้นทางเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลง ในทิศทางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดย ดัชนีค่าระวางปรับตัวขึ้นเล็กน้อย คิดเป็น ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน มาปิดอยู่ที่ USD 1,488 per 40’GP และเป็นการปรับตัวลดลงคิดเป็น ร้อยละ 79 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

.

โดยในหลายเส้นทาง อย่าง เส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ Asia- North America Trade ทั้งในฝั่ง East Coast และในฝั่ง West Coast  และในเส้นทางการขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาค ยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- Mediterranean Trade

.

รวมไปถึง ในเส้นทางการขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียใต้ ไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ Indian Subcontinent & Middle East -North America และในเส้นทางการขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียใต้ ไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือและยุโรปต่อนล่าง Indian Subcontinent & Middle East – North Europe and Mediterranean Trade

.

ขณะที่อีกหลายเส้นทาง ค่าระวางยังคงอยู่ในจุดที่ค่อนข้างร้อนแรง และยังไม่มีทีท่าจะปรับตัวลดลง อย่างในเส้นทางขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกลาง หรือ Asia- Indian Subcontinent & Middle East รวมถึงในเส้นทางการขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาใต้ หรือ Asia -Latin America

.

ทั้งนี้ ก็เนื่องจากหลายสายการเดินเรือ มีการประกาศปรับขึ้นค่าระวางขนส่งทางเรือ ในรูปแบบของ GRI/ RR ในหลายเส้นทาง  รวมไปถึงจากปัจจัยพื้นที่ระวางขนส่งสินค้าที่มีค่อนข้างจำกัด !!!

.

==================

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากเช็คแนวโน้มราคาเฟรท ทางทะเล ย้อนหลัง 3 เดือน แยกไปแต่ละเส้นทางขนส่ง ก็สามารถ ลองเข้าไปเช็คกันได้เลยที่ https://zupports.co/our-services/

.

หรือหากอยากดูราคาเฟรท ในเดือนล่าสุด ก็ลงทะเบียน แบบ premium กันได้เลยที่ https://zupports.co/register/

==================

.

************

5) ด้านสถานการณ์ความหนาแน่นของท่าเรือหลักทั่วโลก หลายท่าเรือกลับมาอยู่ในภาวะตึงมืออีกครั้ง  !!!

.

ด้านสถานการณ์ของท่าเรือหลักทั่วโลก หลายท่าเรืออยู่ในภาวะคงที่และทรงตัว เริ่มนิ่งขึ้น ในชณะที่อีกหลายท่าเรือ ยังคงอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างหนาแน่น ทั้งจากปัญหาการนัดหยุดงานของแรงงานและจากปัญหาด้านการบริหารจัดการ รวมถึงภาพรวมของอุปสงค์หรือความต้องการในภาคขนส่งที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในหลายเส้นทาง !!!

.

ทางด้านสถานการณ์ของท่าเรือหลักในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ภาพรวมของประตูหลักในฝั่งตะวันออกของประเทศสหรัฐ อย่าง USNYC, USORF, USSAV, USCHS ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสภาวะที่ค่อนข้างทรงตัว โดยส่วนใหญ่ยังคงประสบกับปัญหาคอขวดในการกระจายสินค้าเข้าสู่ตอนกลางของภูมิภาค

 

ขณะที่ทางด้านท่าเรือหลักในฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา เริ่มเห็นจำนวนเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบท่า เพิ่มมากขึ้น รวมถึง จำนวนวันที่เรือสินค้ารอเทียบนานขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่าง USOAK, USTIW, USSEA

.

ทั้งนี้ ก็เนื่องจากเรือสินค้าจำนวนหนึ่ง เบนหัวเปลี่ยนท่าในการเข้าเทียบ เพื่อเลี่ยงปัญหาความหนาแน่นจากการนัดหยุดงานของท่าเรือหลักฝั่งตะวันตกของแคนาดา

.

ทางด้านสถานการณ์ท่าเรือประเทศเพื่อนบ้านของสหรัฐอเมริกา อย่าง แคนาดา ภาพรวมส่วนใหญ่ หลายท่าเรือยังคงต้องเจอกับปัญหาคอขวด โดยเฉพาะกลุ่มท่าเรือหลักในฝั่งตะวันตก อย่าง CAVAN, CAPRR จากปัญหาการนัดหยุดงาน

.

ทางด้านสถานการณ์ท่าเรือหลักของประเทศจีน หลายท่าเรือยังประสบกับปัญหาความหนาแน่นอยู่บ้าง เนื่องจากสภาพอากาศ อย่าง CNSHA, CNNGB, CNTAO ส่งผลให้เรือสินค้าไม่สามารถเข้าเทียบหรือออกจากท่าได้ตามกำหนด เกิดความล่าช้า อย่างน้อย 1- 3 วัน

.

ขณะที่สถานการณ์ของกลุ่มท่าเรือที่เป็นจุดถ่ายลำหลัก อย่าง SGSIN, MYPKG, HKHKG อยู่ในภาวะคงที่ไม่ต่างจากหลายสัปดาห์ก่อนมากนัก

.

โดยยังคงอยู่ในสถานการณ์ที่ค่อนข้างตึงมือ มีการสะสมของตู้สินค้าที่รอถ่ายลำจำนวนมาก ตกค้างอยู่ในท่า เนื่องจากความถี่ของรอบเรือแม่ที่ออกจากท่าต้นทาง ลดน้อยลงจากการประกาสตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing !!!

.

****************

6) ความเคลื่อนไหวที่เราต้องติดตามในรอบสัปดาห์ ติดตามดูกันที่ สถานการณ์ห่วงโซ่อุปทานของอเมริกาเหนือ !!!

.

ความเคลื่อนไหวในรอบสัปดาห์ที่ต้องติดตามดู หนีไม่พ้น ภาพรวมของวงจรห่วงโซ่อุปทาน และการขนส่งของภูมิภาคอเมริกาเหนือ ภายหลังการนัดหยุดงานของสหภาพแรงงานท่าเรือฝั่งตะวันตกของแคนาดา !!!

.

หลังจากเป็นที่ยืนยันแน่นอน ในการยุติการนัดหยุดงานของแรงงานท่าเรือฝั่งตะวันตก หลังการเจรจาระหว่าง สหภาพแรงงานท่าเรือฝั่งตะวันตกแคนาดา หรือ ILWU Canada กับ สมาคมผู้ให้บริการขนส่งทางเรือบริติชโคลัมเบีย หรือ British Columbia Maritime Employers Association ( BCMEA)

.

ซึ่งได้ข้อสรุปและเป็นที่ยอมรับเงื่อนไขกันทั้งสองฝ่าย โดยที่สัญญาฉบับใหม่ จะมีอายุไปอีก 4 ปี เป็นผลให้ ท่าเรือหลักในฝั่งตะวันตกของแคนาดา สามารถกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง เมื่อช่วงค่ำของวันพฤหัสที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่นฝั่งแปซิฟิก

.

หากแต่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมา หลังการนัดหยุดงานและปิดท่าเรือนานเกือบ 2 สัปดาห์ คือ ตู้สินค้าจำนวนมากตกค้างอยู่ที่ท่าเรือหลักในฝั่งตะวันตกของแคนาดา รวมไปถึงเรือสินค้าจำนวนหนึ่ง ที่ยังติดอยู่ที่ท่าตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการนัดหยุดงาน โดยที่ เรือสินค้าอีกจำนวนไม่น้อย กำลังรอเทียบท่า

.

ซึ่ง สิ่งที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจ นั่นคือ ทางแคนาดาเอง จะใช้เวลานานแค่ไหน ในการระบายสินค้าและจำนวนกองเรือที่รอเทียบท่า

.

ทั้งนี้ ประเด็นที่หลายคนกังวล นั่นคือ ปัญหาการขาดช่วงของวงจรห่วงโซ่อุปทานและภาคขนส่งของภูมิภาคอเมริกาเหนือ เนื่องจากท่าเรือหลักของแคนาดา อย่าง Vancouver (CAVAN) ถือว่าเป็นจุด Discharge ที่สำคัญของสินค้าที่จะถูกส่งข้ามพรมแดนเข้าไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

.

ดังนั้น เมื่อท่าเรือหลักของแคนาดาถูกดับตะเกียง นั่นหมายถึงย่อมส่งผลลามไปที่สหรัฐอเมริกา หรือภาพใหญ่ของภูมิภาคอเมริกาเหนือด้วย และปัญหาที่หลายคนไม่อยากเห็น นั่นคือ Cargo Supply Shortage อย่างเมื่อช่วงการระบาดของโควิด-19

.

ทั้งหมดที่เล่ามา คือการสรุปภาพรวมของสถานการณ์ ทิศทางการนำเข้า-ส่งออก ในภาคการขนส่งสินค้าทางเรือประจำสัปดาห์ ซึ่งหวังว่า จะเป็นเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้ติดตามทุกท่าน ในการบริหารจัดการงานขนส่งสินค้าระหว่างในรอบสัปดาห์

.

สัปดาห์นี้ขอลาไปก่อน ขอบุญรักษาทุกท่าน สวัสดีครับ

.

CR : PIC by CBP Photography

.

=========================

ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ นำเข้า ส่งออก

เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk

=========================

 

แนะนำบริการ Logistics Butler by ZUPPORTS

ระบบ Line Official Account ที่เพื่อนๆ สามารถ Chat ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ และการนำเข้าส่งออก โดยตรงกับ Shipping Man และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์

เหมือนมี พี่ๆ ที่ทำงาน / ที่ปรึกษาส่วนตัว นั่งข้าง ๆ โต๊ะคุณ!!

.

พร้อมรับสิทธิพิเศษ!

  1. Freight Monthly Report รายงานอัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศ ทุกเดือน
  2. แจ้งข่าว อบรม/Webinar ดีๆ สำรองที่นั่ง ก่อนใครเพื่อน
  3. รับส่วนลด 20% สำหรับคอร์สฝึกอบรมออนไลน์ แบบสด สำหรับสมาชิก Logistics Butler

(ตัวอย่าง Course อบรม ได้แก่ DG Cargo, Reefer, พิกัด, พิธีการศุลกากรประเภทต่างๆ บรรยาย โดยวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ ในสายวิชาชีพนั้นๆ ประสบการณ์ 10 ปี ++)

  1. จองเวลาปรึกษา Online meeting แบบ one-on-one เพิ่มเติมได้ (มีค่าบริการเพิ่มเติม)

เหมือนมีห้องสมุดส่วนตัว รวบรวมข้อมูล ความรู้ให้คุณ ถึงหน้าจอมือถือ

.

สนใจลงทะเบียนได้เลยที่

http://bit.ly/3Xma0nR

(ติดต่อสอบถาม รายละเอียด เพิ่มเติมใน inbox ได้เลยจ้า)

ข่าวสารอื่นๆ