[Freight Weekly] : อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 10 – 14 กรกฎาคม กับ ZUPPORTS !!! สัปดาห์ต้อนรับเดือนแห่ง Peak Season ประจำปี 2566 ซึ่งไม่รู้จะมีหรือไม่ !!!

[Freight Weekly] : อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 10 – 14 กรกฎาคม กับ ZUPPORTS !!!

สัปดาห์ต้อนรับเดือนแห่ง Peak Season ประจำปี 2566 ซึ่งไม่รู้จะมีหรือไม่ !!!

.

กลับมาพบกันเหมือนเช่นเคยเป็นประจำทุกวันเริ่มต้นการทำงานของสัปดาห์ ในการรายงานข่าวสาร ความเคลื่อนไหว รวมถึงสถานการณ์ต่างๆ ในแวดวงนำเข้าส่งออก ตามแบบของพวกเรา ชาว ZUPPORTS !!!

.

สัปดาห์นี้ นับเป็นสัปดาห์ที่ 28 ประจำปี 2566 ซึ่งถือเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่ง ที่ผู้ประกอบการสามารถใช้เวลานี้ในการเดินหน้า ได้อย่างสบายใจ เนื่องจาก ช่วง 2- 3 สัปดาห์นี้ ยังเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีวันหยุดราชการมาคั่นกลาง

.

ทุกภาคส่วน จึงสามารถที่ดำนเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะเข้าสู่เดือนสิงหาคม ซึ่งถือได้ว่า เป็นอีกหนึ่งเดือนที่มีช่วงเวลาวันหยุดค่อนข้างมาก ดังนั้น หลายคนจึงใช้ช่วงเวลานี้ในการ เร่งทำผลงานให้ได้ตามเป้าที่วางไว้

.

สัปดาห์นี้ นับเป็นอีกสัปดาห์ที่มีความเคลื่อนไหวต่างๆที่น่าสนใจ และน่าติดตาม ซึ่งเกิดขึ้นรอบตัวพวกเราในแวดวงการนำเข้า-ส่งออก ซึ่งแน่นอนว่า ล้วนมีผลหรือส่งผลทางตรงต่อการทำงานของพวกเราทั้งสิ้น

.

ดังนั้น เพื่อมิให้เป็นการเสียเวลา ตามพวกเรามาไล่เรียงกันทีละประเด็นกัน

.

=========================

ZUPPORTS ช่วยผู้นำเข้าส่งออก หา Space

เปรียบเทียบราคาและบริการ Freight ทั้งทางทะเล ทางอากาศ ทางบก และทางรถไฟ

ด้วยพันธมิตรผู้ให้บริการขนส่ง มากกว่า 30 บริษัท

ลงทะเบียนทดลองใช้งานได้ที่ https://zupports.co/register/

=========================

1) สถานการณ์ในการจองพื้นที่ระวางขนส่งสินค้าทางเรือ การจองเรือด้วย Service Contract Rate กลับมาศักดิ์สิทธิ์อีกครั้ง  !!!

.

เริ่มเปิดประเด็นกันที่ สถานการณ์และภาพรวมของการขนส่งสินค้าทางเรือ ภาพรวมของการจองเรือสำหรับงานใหม่ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายเส้นทางจะยังคงอยู่ในภาวะที่จองเรือค่อนข้างยาก

.

เนื่องจากพื้นที่ระวางขนส่ง หรือ Allocation Space ที่มีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้ต้องทำการจองเรือล่วงหน้าอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ หรือในบางเส้นทาง อาจต้องทำการจองล่วงหน้า อย่างน้อย 3- 4 สัปดาห์

.

หรือในบางเส้นทาง อย่าง เส้นทางที่ขนส่งไปยังภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกกลาง หรือ Asia- Indian Subcontinent and Middle East Trade และ ในเส้นทางขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคแอฟริกา หรือ  Asia – South Africa Trade ซึ่งเต็มไปจนถึงต้นเดือนสิงหาคมเป็นที่เรียบร้อย

.

รวมไปถึง งานที่เป็นการขนส่งไปยังเมือง หรือปลายทางที่ไม่ติดทะเลและต้องทำการลาก ขนส่งต่อ หรืองานที่เราเรียกกันว่าบรรดางาน Port ลากทั้งหลาย

.

เริ่มเข้าสู่ภาวะที่จองเรือยาก ผู้รับขนส่งจำนวนไม่น้อย ปฏิเสธ หยุดรับการจองเรือหรืองานที่ขนส่งไปยังพื้นที่ ที่ต้องทำการขนส่งต่อเนื่องเป็นการชั่วคราว เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์และแรงงานในภาคการขนส่ง รวมถึง จากปัญหาการนัดหยุดงานของกลุ่มแรรงานในภาคขนส่งต่างๆ

.

ทั้งนี้ บุ๊คกิ้งยืนยันการจองเรือที่ปล่อยออกมา ในเส้นทางสายนอกระยะไกล ส่วนมากจะเป็นการจองเรือภายใต้การทำสัญญาราคาระยะยาวหรือ Service Contract Rate ตามด้วยการจองเรือภายใต้ราคาค่าระวางระยะสั้น อย่าง SPOT Shipment / FAK Rate

.

ทั้งนี้ ก็เนื่องจากผู้ประกอบการจำนวนมาก ต้องการความมั่นใจหรืออุ่นใจในการที่งานขนส่งของตน การันตีจะได้ขึ้นเรือแม่ที่จุดถ่ายลำหากจองเรือด้วย Service Contract NAC/ Bullet ต่างๆ

.

*******

2) สถานการณ์ในการจัดหาและการหมุนเวียนของตู้สินค้า หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากวงจรหมุนเวียนตู้ที่ขาดช่วง !!!

.

ด้านสถานการณ์ในการจัดหาและการหมุนเวียนของตู้สินค้า หลายพื้นที่ยังคงอยู่ในภาวะที่ขาดแคลน หากแต่อีกหลายพื้นที่ ยังคงมีตู้สินค้าเกินจากความต้องการ เนื่องจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้อุปสงค์หรือความต้องการในภาคตขนส่งลดน้อยลง

.

จนเป็นผลให้ตู้สินค้า ไม่มีการหมุนเวียนไปตามวงรอบที่ควรจะเป็น ประกอบกับ ปัญหาความหนาแน่นของท่าเรือในภูมิภาคต่างๆ ส่งผลให้ตู้สินค้าจำนวนมาก ไปติดอยู่ตามท่าเรือหลักหรือตามเมืองที่เป็นศูนย์การกระจายสินค้าหรือ Container HUB ต่างๆ

.

รวมถึง ตู้สินค้าสินค้าจำนวนหนึ่ง ติดอยู่บนเรือสินค้าที่กำลังแล่นอยู่ในมหาสมุทรต่างๆ  จากการที่เรือสินค้าในปัจจุบันมีขนาดใหญ่ขึ้น วิ่งนานขึ้น เนื่องจากมีจำนวนท่าเรือที่ต้องแวะเทียบมากขึ้น และวิ่งช้าลงจาก Slow Steaming !!!

.

ภาพรวมการจัดหาและหมุนเวียนตู้สินค้าในไทยบ้านเรา ยังคงถือว่าดีกว่าอีกหลายพื้นที่ เนื่องจากหลายสายการเดินเรือ ยังคงสามารถจัดหาตู้สินค้า หล่อเลี้ยงได้คล่องตัว ไม่ขาดตอน โดยที่ในบางสายการเดินเรือประสบกับปัญหา ในการบริหารจัดการ

.

เนื่องจาก มีจำนวนตู้เปล่า มากเกินจากความต้องการในภาคการขนส่ง ในขณะเดียวกัน อีกหลายสายการเดินเรือ เริ่มเข้าสู่ภาวะที่ตึงมือในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะบรรดาสายการเดินเรือขนาดใหญ่ ที่มีเส้นทางการให้บริการสายนอก ระยะทางไกล หรือ Long Haul Service

.

เนื่องจาก ตู้สินค้าจำนวนมากไปตกค้างอยู่ในภูมิภาคต่างๆ และไม่มีการหมุนเวียน จากปัจจัยภาวะทางเศรษฐกิจและรอบเรือที่น้อยลง จากการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing

.

*******

3) สถานการณ์ความเสถียรของตารางเดินเรือ หลายเส้นทางยังป่วน มีการเปลี่ยนเส้นทางอย่างกระทันหัน !!!

.

ทางด้านความตึงของตารางเดินเรือจากภาวะประกาศตารางเรือว่าง ยกเลิกรอบเรือ หรือ Blank Sailing ยังคงทรงตัวและผ่อนคลายลง กลุ่มพันธมิตรเดินเรือ และบรรดาตัวแทนรับขนส่งต่างๆ มีการยกเลิกรอบเรือน้อยลง

.

โดยในช่วงตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 28 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 32 หรือในช่วง 5 สัปดาห์นับจากนี้ ทุกสายการเดินเรือ มีการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing ในเส้นทางการขนส่งหลัก รวมกันอย่างน้อย 37 เที่ยวเรือ หรือคิดเป็น ร้อยละ 5 จากจำนวนทั้งหมด 673 เที่ยวเรือ !!!

.

โดยในเส้นทางที่ถูกยกเลิกรอบเรือมากที่สุด จะยังคงเป็นในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในรอบเรือ Transpacific Eastbound ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 59

.

ตามด้วย เส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ และยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- North Europe/ MED ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 22 และในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคยุโรปไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในรอบเรือ Transatlantic Westbound คิดเป็นร้อยละ 19

.

ทั้งนี้ จากสถานการณ์นัดหยุดงาน ของกลุ่มสหภาพแรงงานท่าเรือฝั่งตะวันออกของแคนาดา หรือ ILWU Canada ได้ส่งผลกระทบให้ เรือสินค้าจำนวนหนึ่ง มีการเปลี่ยนเส้นทางกระทันหัน โดยหันมุ่งหน้าไปที่ท่าเรือหลักของของประเทศสหรัฐอเมริกา อย่าง USSEA และ USTIW

.

ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ต้องทำการแก้ไข หรือ Re-Submit AMS/ ISF Manifest กันใหม่ ดังนั้นผู้ประกอบการที่มีงานไปยังเส้นทางขนส่งดังกล่าว อาจต้องระมัด ระวังในการตรวจสอบ ประกาศที่มาจากทางสายการเดินเรือหรือผู้รับขนส่งให้ดี

.

**************

4) สถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หลายเส้นทาง ค่า Freight มีทิศทาง เชิดหัวขึ้นอีกครั้ง!!!

.

ทางด้านสถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ ในหลายเส้นทางยังคงอยู่ในภาวะที่คงที่และทรงตัว เหวี่ยงขึ้นลงในกรอบแคบๆ หากแต่อีกหลายเส้นทาง ยังคงมีการไต่ระดับขึ้นในทุกสัปดาห์ !!!

.

ภาพรวมของค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือในรอบสัปดาห์ เริ่มอยู่ในภาวะทรงตัว และนิ่งเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน โดย

ดัชนีค่าระวางปรับตัวลดลงคิดเป็น ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน มาปิดอยู่ที่ USD 1,474 per 40’GP และเป็นการปรับตัวลดลงคิดเป็น ร้อยละ 79 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

.

โดยในเส้นทางที่ค่าระวางขนส่งมีการปรับตัวลดลงในรอบสัปดาห์นี้ เป็นเส้นทางการขนส่งระหว่างภูมิภาคยุโรปและภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ Europe- North America Transatlantic ทั้งในเที่ยวเรือ Westbound และ Eastbound

.

ขณะที่ค่าระวางในอีกหลายเส้นทาง อยู่ทิศทางขาขึ้น อย่างในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกกลาง Asia- Indian Subcontinent and Middle East รวมถึง ในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาใต้ หรือ Asia- Latin America Trade

.

หรือแม้กระทั่ง ในเส้นทางการขนส่ง ที่ก่อนหน้านี้ ทิศทางของค่าระวางอยู่ในทิศทางขาลงมาโดยตลอด อย่าง ในเส้นทางการขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ Asia- North America ทั้งในฝั่ง East Coast และฝั่ง West Coast

.

รวมไปถึง ในเส้นทางที่ขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ หรือ Asia- North Europe ทั้งนี้ ก็เนื่องจากอุปสงค์หรือความต้องการในภาคขนส่งที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึง ในภาวะที่พื้นที่ระวางขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคต่างๆที่กล่าว ยังไม่กลับคืนสู่ภาวะปกติ

.

นอกจากนี้ หลายสายการเดินเรือ พร้อมใจเดินหน้าประกาศปรับขึ้นค่าระวางขนส่งสำหรับสินค้าทั่วไป หรือ FAK/ GDSM ในหลายเส้นทาง อย่าง ในเส้นทางการขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ Asia- North Europe Trade ซึ่งในบางสายการเดินเรือ มีการนับรวมไปถึงเส้นทางที่ขนส่งไปยังทะเลบอลติก หรือ Baltic- Scandinavia Trade

.

==================

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากเช็คแนวโน้มราคาเฟรท ทางทะเล ย้อนหลัง 3 เดือน แยกไปแต่ละเส้นทางขนส่ง ก็สามารถ ลองเข้าไปเช็คกันได้เลยที่ https://zupports.co/our-services/

.

หรือหากอยากดูราคาเฟรท ในเดือนล่าสุด ก็ลงทะเบียน แบบ premium กันได้เลยที่ https://zupports.co/register/

==================

.

************

5) ด้านสถานการณ์ความหนาแน่นของท่าเรือหลักทั่วโลก หลายท่าเรือยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ จากปัญหาคอขวดและการนัดหยุดงาน !!!

.

ประเด็นสุดท้าย ทางด้านสถานการณ์ของท่าเรือหลักทั่วโลก หลายท่าเรือยังคงบอยู่ในภาวะที่ทรงตัวและคงที่ ขณะที่อีกหลายท่าเรือ อยู่ในภาวะที่ค่อนข้างตึงมือ จากปัญหาคอขวดในการระบายตู้สินค้า และจากปัญหาการนัดหยุดงานของแรงงานท่าเรือ

.

ภาพรวมของท่าเรือหลักในภูมิภาคอเมริกาเหนือ กลุ่มท่าเรือหลักทั้งในฝั่งตะวันออกและในฝั่งตะวันตก ส่วนใหญ่เข้าสู่ภาวะที่ค่อนข้างทรงตัว หลังการมีความคืบหน้าในการเจรจาสัญญาจ้างแรงงานฉบับใหม่ ระหว่าง ILWU กับ PMA

.

หากแต่ สามท่าเรือหลัก อย่าง USSAV, USHOU, USOAK ยังคงถือว่าค่อนข้างตึงมือ มีการสะสมของตู้สินค้าที่ค่อนข้างหนาแน่น ส่งผลให้เกิดการสะสมของเรือสินค้าที่รอเทียบ และปัญหาความล่าช้า อย่างน้อย 3 -7 วัน รวมไปถึงท่าเรือหลักในกลุ่ม Pacific Northwest อย่าง USSEA, USTIW ที่เริ่มเห็นความหนาแน่นเพิ่มขึ้น จากการที่เรือสินค้าจำนวนหนึ่งเบนหน้าหนีมาจากท่าเรือของประแคนาดา

.

ขณะที่ภาพรวมของสถานการณ์นัดหยุดงานของท่าเรือหลักฝั่งตะวันตกของประเทศแคนาดา ดูจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยมีเรือสินค้าสะสมบริเวณท่าเรือหลัก อย่าง CAVAN, CAPRR ขณะที่มีเรือสินค้าจำนวนหนึ่ง มีการเปลี่ยนเส้นทางไปเข้าที่ท่าเรือของสหรัฐอเมริกา อย่าง USSEA, USTIW

.

ด้านสถานการณ์ของท่าเรือหลักในภูมิภาคยุโรป สามท่าเรือประตูหลักแห่งยุโรป อย่าง NLRTM, BEANR, DEHAM ยังคงทรงตัว ค่อนข้างที่จะตึงมือ ทั้งจากปริมาณตู้สินค้าที่โหมเข้ามาและจำนวนเรือสินค้าที่เข้าเทียบท่า ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์จลาจลที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ในยุโรป งานจำนวนหนึ่งจึงถูกย้ายมาขึ้นที่สามท่าเรือหลัก

.

ท่าเรือหลักในภูมิภาคเอเชีย กลุ่มท่าเรือหลักในประเทศจีน หลายท่าเรืออยู่ในภาวะทรงตัวและมีความนิ่งมากขึ้น จะมีเพียง สามท่าเรือหลัก อย่าง CNSHA, CNNGB, CNTAO อยู่ในภาวะที่ตึงมือ รวมถึง มีจำนวนตู้สินค้าตกค้างสะสม และเรือสินค้าที่รอเทียบพอสมควร เนื่องจากปัญหาสภาพอากาศ ส่งผลให้เรือสินค้าไม่สามารถเข้าเทียบหรือออกจากท่าได้ตามเวลาที่กำหนด

.

ขณะที่กลุ่มท่าเรือที่เป็นจุดถ่ายลำหลักของโลก อย่าง SGSIN, MYPKG, HKHKG อยู่ในภาวะที่ค่อนข้างตึงมืออย่างมาก มีการสะสมของตู้สินค้าและเรือที่รอเข้าเทียบท่าเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ก็เนื่องจากปัญหาที่ความถี่ของรอบเรือแม่หุบน้อยลง ส่งผลให้มีจำนวนตู้สินค้าที่รอเรือแม่มาเก็บตู้สินค้าตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก

.

****************

6) ความเคลื่อนไหวที่เราต้องติดตามในรอบสัปดาห์ เราจะมาดูกันว่า ปีนี้ จะมี Peak Season สำหรับอเมริกาเหนือและ ยุโรป หรือไม่ !!!

.

สิ่งที่หลายคนให้ความสนใจและรอดูในรอบสัปดาห์นี้ คือ ในปีนี้ จะยังคงมีฤดูการส่งออก หรือ Peak Season สำหรับงานที่ไป อเมริกาและยุโรป หรือไม่ ???

.

หากเป็นในภาวะปกติ ช่วงเวลานี้ ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนไปจนถึงช่วงต้นเดือนตุลาคม จะถือเป็นการเข้าสู่ช่วง Peak Season อย่างเต็มตัวในหลายเส้นทาง อย่าง ในเส้นทาง North America รวมถึงเส้นทางไปยัง Europe และ Oceania

.

เนื่องจากสินค้าจะต้องไปถึงที่ปลายทางเพื่อเติมขึ้นชั้นวางสินค้าในเดือนสิงหาคมหรือกันยายน เพื่อที่ผู้ประกอบการทั้งหลาย จะได้ทำการจำหน่ายในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งแน่นอนว่า หากทำการขนส่งในช่วงที่ล่าช้ากว่านี้ สินค้าจะไม่มีทางไปถึงทันกำหนดในการวางจำหน่ายแน่นอน

.

หากแต่ ทว่า ดูเหมือนว่าปีนี้ อาจจะยังเป็นอีกปี ที่ฤดูกาลต่างๆในโลกของการนำเข้า-ส่งออก ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ไม่เหมือนที่เคยเป็นมา ซึ่งหลายคนจับสัญญาณได้จากความเงียบเหงา ของงานส่งออกที่หายไป และตัวเลขที่หายไปนั้น ถือว่าเป็นจำนวนตัวเลขที่สูงพอสมควร !!!

.

ทั้งนี้ ก็เนื่องจาก ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยในภูมิภาคหลัก ทั้งในอเมริกาเหนือและในยุโรป ยังคงประสบกับปัญหาสินค้าคงคลังยังเต็มพื้นที่ และทำการระบายได้ค่อนข้างช้า เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ในภาวะทางเศรษฐกิจ

.

ซึ่งสินค้าจำนวนมาก ที่เป็นสินค้าคงทน ทั้งในหมวดหมู่เสื้อผ้า รองเท้า สิ่งทอ รวมถึงไปกลุ่มที่เป็นเครื่องเรือน หรือ เฟอร์นิเจอร์ ยังคงถือว่าอยู่ในจุดที่เกินจากความต้องการ แม้ว่าผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย พร้อมใจกันจัดทำโปรโมชั่น ลดแลก แจกแถม

.

หากแต่สินค้าคงเหลือในคลังแต่ละผู้ประกอบการ ก็ยังคงถือว่าอยู่ในจุดที่สูงเมื่อเทียบปีช่วงหลายปีก่อนที่ผ่าน ซึ่งทำให้หลายคนอดคิดไม่ได้ว่า หรือปีนี้จะเป็นอีกปี ที่ไม่มี Peak Season สำหรับเลนที่ไปอเมริกาเหนือและยุโรป !!!

.

ทั้งหมดที่เล่ามา คือการสรุปภาพรวมของสถานการณ์ ทิศทางการนำเข้า-ส่งออก ในภาคการขนส่งสินค้าทางเรือประจำสัปดาห์ ที่พวกเราหมายใจเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อท่านผู้ติดตามทุกท่าน

.

สัปดาห์นี้ขอลาไปก่อน ขอบุญรักษาทุกท่าน สวัสดีครับ

.

CR : PIC by Port of LAX

.

=========================

ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ นำเข้า ส่งออก

เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk

=========================

 

แนะนำบริการ Logistics Butler by ZUPPORTS

ระบบ Line Official Account ที่เพื่อนๆ สามารถ Chat ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ และการนำเข้าส่งออก โดยตรงกับ Shipping Man และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์

เหมือนมี พี่ๆ ที่ทำงาน / ที่ปรึกษาส่วนตัว นั่งข้าง ๆ โต๊ะคุณ!!

.

พร้อมรับสิทธิพิเศษ!

  1. Freight Monthly Report รายงานอัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศ ทุกเดือน
  2. แจ้งข่าว อบรม/Webinar ดีๆ สำรองที่นั่ง ก่อนใครเพื่อน
  3. รับส่วนลด 20% สำหรับคอร์สฝึกอบรมออนไลน์ แบบสด สำหรับสมาชิก Logistics Butler

(ตัวอย่าง Course อบรม ได้แก่ DG Cargo, Reefer, พิกัด, พิธีการศุลกากรประเภทต่างๆ บรรยาย โดยวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ ในสายวิชาชีพนั้นๆ ประสบการณ์ 10 ปี ++)

  1. จองเวลาปรึกษา Online meeting แบบ one-on-one เพิ่มเติมได้ (มีค่าบริการเพิ่มเติม)

เหมือนมีห้องสมุดส่วนตัว รวบรวมข้อมูล ความรู้ให้คุณ ถึงหน้าจอมือถือ

.

สนใจลงทะเบียนได้เลยที่

http://bit.ly/3Xma0nR

(ติดต่อสอบถาม รายละเอียด เพิ่มเติมใน inbox ได้เลยจ้า)

ข่าวสารอื่นๆ