[Freight Weekly] อัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 04-08 กรกฎาคม 2565 กับ ZUPPORTS เมื่อห่วงโซ่อุปทานของภาคขนส่ง อาจต้องรับมือกับปรากฎการณ์ แส้ม้าอีกครั้ง !!!

กลับมาพบกันเช่นเคย กับการรายงานสถานการณ์ ความเคลื่อนไหว ข่าวสารการนำเข้า-ส่งออก ในภาคการขนส่งสินค้าทางเรือประจำสัปดาห์ กับพวกเราชาว ZUPPORTS

.

โดยในสัปดาห์นี้ คือสัปดาห์ที่ 28/2022 ตามปฏิทินคนทำงานเรือ ซึ่งถือว่าเป็นสัปดาห์ในการเปิดเข้าสู่ไตรมาสที่สามในครึ่งปีหลังแบบเต็มตัว และนับว่าเป็นอีกหนึ่งไตรมาสที่มีความสำคัญอย่างมากในภาคธุรกิจนำเข้า-ส่งออก เนื่องจากเป็นไตรมาสที่ตรงกับช่วง Peak Season ในการขนส่งของโลก เรียกได้ว่าเป็นโค้งสุดท้ายในการเร่งทำตัวเลขของแต่ล่ะองค์กร

.

ซึ่งในไตรมาสที่สามนี้ แน่นอนว่าจะยังคงเป็นอีกไตรมาสที่ยังคงต้องขับเคี่ยว และถือว่าเป็นช่วงเวลาที่หนักหน่วงสำหรับทุกคนในแวดวงการนำเข้า-ส่งออก โดยเฉพาะบรรดาตัวแทนรับขนส่งในกลุ่ม NVOCC  เนื่องจากต้องรับมือกับ งานปริมาณมากที่โถมเข้าหา ในขณะที่สถานการณ์การขนส่งทางเรืออยู่ที่ในจุดที่สาหัส ทั้งจากปัญหาความหนาแน่นของท่าเรือหลักที่ยุโรปและอเมริกา รวมถึงปัญหาความไม่แน่นอนของตารางเดินเรือโลก

.

ดังนั้นสิ่งที่เราต้องติดตามต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน คือภาวะความแออัดของในแต่ล่ะท่าเรือทั่วโลก ที่เป็นตัวแปรหลักและส่งผลให้ทุกห่วงโซ่ในระบบโลจิสติกส์และการขนส่งปั่นป่วน ทั้งปัญหาด้านราคาค่าระวางขนส่งทางเรือ และปัญหาตารางเดินเรือที่เลวร้ายลง

.

อีกทั้ง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลก ที่ถือว่าใกล้ตัวเราทุกคนในเรื่องปากท้อง และเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลทางตรงต่อโลกของการนำเข้า-ส่งออก ทั้งประเด็นราคาเชื้อเพลิงโลกที่ปั่นขึ้นทุกวัน จนไปดึงให้สินค้าในท้องตลาดขึ้นสูงทุกหมวดหมู่ รวมไปถึงประเด็นด้านวิกฤติทางเศรษฐกิจโลก ที่หลายคนมองว่า กำลังจะเข้าสู่ยุคแห่งการถดถอย !!!

.

ถ้าพร้อมแล้ว ตามเรามาดูกันว่า เริ่มต้นสัปดาห์ของเดือนที่มีความสำคัญแบบนี้ แต่ละประเด็นจะเป็นอย่างไรกันบ้าง

.

=========================

ZUPPORTS ควบคุมต้นทุนขนส่งผ่านระบบเปรียบเทียบราคาเฟรทออนไลน์

สนใจลงทะเบียนทดลองใช้งานฟรี ที่ www.ZUPPORTS.co/register

=========================

1) เริ่มประเด็นแรกกันที่สถานการณ์การจองพื้นที่ระวางขนส่งหรือการบุ๊คกิ้ง ที่ยังคงแน่นไม่เปลี่ยนแปลง

.

ด้านภาพรวมการจองพื้นที่ระวางขนส่งทางเรือ ทุกเส้นทางขนส่งไปยังทุกภูมิภาคทั่วโลก ยังอยู่ในจุดที่ถือว่าแน่นและไม่มีพื้นที่สำหรับงานที่จองแบบเร่งด่วน งานโดยมากในช่วงนี้จะยังคงต้องทำการจองล่วงหน้าอย่างน้อย 3 -4 สัปดาห์ โดยเฉพาะในเส้นทางขนส่งไปยังภูมิภาค เอเชียใต้หรือ India-Subcontinent, ยุโรปเหนือ, ยุโรปตอนล่างหรือ MED รวมถึงอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้

.

ในขณะที่การจองเรือในเส้นทางขนส่งภายในภูมิภาคเอเชีย หรือ Intra-Asia ยังพอที่จะถูไถได้บ้าง งานที่ทำการจองล่วงหน้า 1-2 สัปดาห์ ยังพอที่จะทีโอกาสได้รับการยืนยันการจองได้มากกว่าเส้นทางขนส่งไปยังภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะการจองเรือกับสายการเดินเรือขนาดกลาง ค่อนข้างมีลุ้นมากกว่าการจองเรือกับสายการเดินเรือขนาดใหญ่

.

ทั้งนี้ก็เนื่องจากตารางเรือ ในแต่ล่ะเส้นทางของบรรดาสายการเดินเรือขนาดกลาง มีจำนวนท่าในการเข้าแวะจอดเทียบที่น้อยกว่า จึงทำให้มีการหมุนของรอบเรือคล่องตัวกว่าและมีบริการถี่กว่า เมื่อเทียบกันกับตารางเดินเรือของสายการเดินเรือขนาดใหญ่

.

จำนวนบุ๊คกิ้งที่ถูกปล่อยมาในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา จะยังคงเป็นการจองเรือภายใต้ FAKและ Spot Rate Shipment เสียเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้น บรรดาผู้ประกอบการหรือตัวแทนรับขนส่งสินค้าแบบ Freight Forwarder รายใหญ่ๆในวงการ ที่ยังคงที่ได้รับบุ๊คกิ้งยืนยันภายใต้การจองแบบใช้ Service Contract หรือ NAC Bullet ต่างๆที่ทำไว้

.

เนื่องจาก หลายสายการเดินเรือ เริ่มที่จะปรับลดเพดานค่าระวางลง เพื่อล้อตามอุปสงค์ในภาคการขนส่งทางเรือโลกที่เริ่มหดตัว อันเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก หากแต่บุ๊คกิ้งต่างๆที่ถูกปล่อยออกมา จะเป็นลักษณะที่มีสัดส่วน ในการคละกันระหว่างงานภายใต้ FAK / SPOT Rate และService Contract. เนื่องจากพื้นที่ระวางขนส่งยังคงมีจำกัด โดยมีสาเหตุมาจากเที่ยวเรือที่ให้บริการขนส่ง หุบเหลือน้อยลง

.

รวมไปถึงหลายสายการเดินเรือ ยังคงหยุดรับการจองเรืองานประเภทที่ต้องทำการขนส่งต่อเนื่อง หรือพวกงานที่จองไปบรรดาเมืองที่ไม่ติดทะเล หรือ Inland ICD ทั้งหลาย โดยเฉพาะงานขนส่งไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ อย่างเมืองที่ต้องเชื่อมต่อการขนส่งทางรางในประเทศสหรัฐอเมริกา หรือเมืองที่ต้องทำการลากต่อในภูมิภาคยุโรป

.

ดังนั้นช่วงเวลานี้ จึงยังเป็นโอกาสทองสำหรับบรรดาตัวแทนรับขนส่งประเภท Freight Forwarder โดยเฉพาะที่เป็นในกลุ่มของ Global Network หรือแม้แต่ในกลุ่ม Local Network ที่มีตัวแทนหรือเอเยนต์ปลายทางแข็งๆในการทำ Logistics Solutions

.

*******

2) ด้านสถานการณ์การจัดหาตู้สินค้า การขาดแคลนตู้แบบ 40’GP/40’HC ยังคงเป็นปัญหาใหญของชาวโลก

.

ด้านภาพรวมการบริหารจัดการ และการหมุนเวียนของตู้สินค้า เริ่มที่จะคงที่ และมีทิศทางในทางที่ดีขึ้นจากก่อนหน้า หากแต่การหมุนเวียนของตู้สินค้าส่วนใหญ่ในช่วงนี้ จะยังคงวิ่งวนอยู่ในพื้นที่ ในส่วนที่การขนส่งเชื่อมต่อได้ง่าย โดยเฉพาะพื้นที่หรือเมืองที่ติดทะเล

.

รวมไปถึงภูมิภาคหลักๆ ที่สายการเดินเรือมองว่าเป็นตลาดหลักในการขนส่ง และเป็นฐานการผลิตหลักที่สำคัญของโลก เช่น ภูมิภาคยุโรปตอนบน ,ภูมิภาคอเมริกาใต้และภูมิภาคเอเชีย

.

ดังนั้นในบางภูมิภาค บางประเทศ โดยเฉพาะเมืองหรือบรรดาท่าแห้งต่าง ที่ในตอนลึกกลางแผ่นดินของแต่ล่ะภูมิภาค จะยังคงประสบกับปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าพอสมควร อย่าง ในภูมิภาคยุโรปและอเมริกาเหนือ บางเมืองหรือบางรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่สามารถทำการจัดหาตู้สินค้าให้ใช้ทำการส่งออกได้เลย

.

ผู้ประกอบการหลายราย ต้องทำการขนส่งสินค้าจากโรงงานของตน ไปยังตามเมืองหรือท่าเรือเพื่อทำการบรรจุสินค้า แทนการลากตู้เปล่าไปบรรจุที่โรงงาน

.

ในส่วนของบ้านเราเอง สถานกาณณ์เรื่องตู้สินค้าถือว่ายังคงทรงตัว หลายสายการเดินเรือยังพอที่จะทำการบริหารจัดการ ในการจัดหาตู้สินค้าเปล่าให้กับบรรดาผู้ส่งออกใช้ขนส่งโดยไม่ยากเย็นนัก เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศ

.

หากแต่เมื่อมองภาพรวมหรือลงเชิงลึกในมุมของคนทำงาน ถือว่าบ้านเราอยู่ในภาวะที่ตึงตัวและฝืดเคือง ดูได้จากการที่รถขนส่งของแต่ล่ะเจ้า ใช้เวลาในการรอรับตู้เปล่าที่ลานตู้ ค่อนข้างนานขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้ โดยเวลาที่เสียไป มีทั้งรอที่ลานทำการคัดตู้ รวมทั้งเสียเวลารอเจ้าหน้าที่ของลานทำการบำรุงรักษาตู้เปล่าก่อนจะปล่อย หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ซ่อมไป ปล่อยไป !!!

.

ดังนั้นสิ่งที่หลายคนต้องระวังให้มากสำหรับงานขนส่ง คือการใช้รถหัวลากแบบวนงานตู้หนักกับตู้เปล่า เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงในการผิดเวลารับงานพอสมควร

.

*******

3) ด้านสถานการณ์ตารางเดินเรือโลกและระยะเวลาขนส่ง ยังคงบิดเบี้ยวและยากจะกลับคืนเหมือนเดิม

.

ด้านประเด็นตารางเดินเรือหรือ Vessel Schedule และระยะเวลาการขนส่งหรือ Transit Time จะยังคงเป็นอีกปัญหาที่ตามกวนใจและเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ รวมถึงคนทำงานในแวดวงนำเข้า-ส่งออก อย่างเราๆ ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยตารางเรือว่างหรือ Blank Sailing ,การไม่นำเรือเข้าเทียบในบางท่าตามแผน หรือ OMIT/SKIP Call Port และ ปัญหาความล่าช้าของวันเรือออกและเรือถึง Delay ETD and ETA

.

ซึ่งปัญหาความไม่เสถียรของตารางเดินเรือและระยะเวลาในการขนส่ง ส่งผลกระทบต่อบรรดาผู้ประกอบรายใหญ่หลายราย ในทุกภูมิภาคที่เป็นฐานการผลิตสำคัญๆของทุกหมวดหมู่อุตสาหกรรม ทั้งในด้านการขาดแคลนวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ ที่จำเป็นและใช้ในการผลิตสินค้าต่างๆ

.

รวมถึงสร้างปัญหาบรรดาร้านค้าและผู้ผลิต ในด้านการวางแผนการสำรองสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลตามมาอย่าง ปรากฎการณ์แส้ม้า หรือ Bullwhip Effect !!!

.

โดยในช่วง 5 สัปดาห์จากนี้ คือตั้งแต่ Week 27 ถึง 31 ในเส้นทางการขนส่งหลัก อย่าง เส้นทางขนส่งไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือฝั่งตะวันตก หรือ Trans-Pacific/ เส้นทางการขนส่งไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือฝั่งตะวันออก หรือ Trans-Atlantic/ เส้นทางขนส่งจากเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ หรือ Asia-North Europe และ เส้นทางการขนส่งจากเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนล่าง หรือ Asia-MED

.

ทุกสายการเดินเรือ เริ่มมีการแจ้งยกเลิกเที่ยวเรือ ไปแล้ว 85- 90 รอบเรือ จากเที่ยวเรือรวมกันทั้งหมด 760 -770 รอบเรือ

.

โดยเฉพาะที่หนักหนาที่สุด ดูเหมือนจะเป็นในเส้นทางขนส่งข้ามมหาสมุทนแปซิฟิค ไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือฝั่งตะวันตก หรือTrans-Pacific สำหรับเดือนกรกฎาคม ทุกสายการเดินเรือมีการแจ้งประกาศยกเลิกรวมกันอยู่ที่ 14 -16 รอบเรือ

.

รวมถึงเส้นทางการขนส่งในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ฝั่งตะวันออก หลายสายการเดินเรือยังคงเลือกที่จะประกาศข้าม ไม่เข้าเทียบท่า Charleston (USCHC) และSavannah (USSAV) เพื่อที่จะพยายามทำให้เรือสามารถกลับมาเข้ารอบเรือของตนเองได้ทัน

.

ดังนั้นคนที่ทำงานในส่วนนี้ ควรเพิ่มความระวังเป็นอย่างยิ่งในการตรวจสอบเมลล์ที่แจ้งเตือนจากสายการเดินเรือหรือตัวแทนรับขนส่ง

.

*********

4) ทางด้านสถานการณ์ค่าระวางขนส่งหรือค่าเฟรท เริ่มปรับลดเพดานลงอย่างที่หลายคนอยากจะเห็น

.

โดยภาพรวมของค่าระวางขนส่งทางเรือ หรือค่าเฟรท ในทุกเส้นทางทั่วโลก เริ่มมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอีกครั้งในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา และยังไม่มีการแจ้งประกาศปรับขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปของ PSS หรือ GRI  ทั้งนี้ก็เนื่องจากอุปสงค์หรือความต้องการในภาคขนส่งทางเรือที่หดตัวลง อันเนื่องจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก

.

จะมีเพียงบางเส้นทางขนส่งเท่านั้น ที่ราคาค่าระวางยังคงทรงตัวและกดไม่ลง อย่าง เส้นทางจากภูมิภาคยุโรป ไปยังอเมริกาเหนือ และเส้นทางจากเอเชียไปยังยุโรปตอนล่างหรือ MED ทั้งนี้ก็เนื่องจากพื้นที่ระวางและรอบเรือที่ให้บริการขนส่ง ในเส้นทางดังกล่าวยังคงมีจำกัด และสายการเดินเรือผู้ให้บริการมีจำนวนน้อยลง

.

แม้มันจะเป็นสิ่งที่หลายคนเฝ้ารอคอย หากมองในระยะสั้น มันคือการที่ผู้ประกอบการมีโอกาสในการลดต้นทุนค่าขนส่งลง หากแต่ถ้ามองหรือทำการวิเคราะห์ในเชิงลึกแล้ว ค่าระวางขนส่งดันปรับตัวลงในขณะที่พื้นที่ระวางขนส่งทั่วโลกหดตัว ดังนั้นปัจจัยที่มากดราคาค่าระวางลง มิใช่อุปสงค์อุปทานค่าระวางเสียทีเดียว แต่มันคือภาวะทางการตลาดที่เริ่มซบเซา ซึ่งไม่เป็นผลดีในระยะยาวกับวงการเราเท่าไรนักหาก

.

ในบ้านเราเองก็เช่นกัน ที่ราคาค่าระวางมีการล้อไปตามกระแสของโลก หากแต่เราต้องไม่ลืมว่า บรรดาผู้รับขนส่งประเภทต่างๆ ยังสามารถทำการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่ม ไม่ใช่แค่ค่าระวางขนส่งหรือค่าเฟรทเท่านั้น

.

ซึ่งเราเริ่มได้เห็น หลายสายเรือมีการแจ้งปรับค่าธรรมเนียม ทั้งขาเข้า-ขาออกหรือ LOCAL CHARGE ในหลายเส้นทาง โดยเฉพาะในภูมิภาค ยุโรปล่างหรือ MED และในภูมิภาค อัฟริกาตอนเหนือหรือ North Africa รวมถึง หลายสายเรือมีการเล่น ค่าธรรมเนียมน้ำหนักสินค้าส่วนเกินหรือ OWS (Over Weight Surcharge)

.

ดังนั้น หากเมื่อมองภาพรวมแล้ว นี่ยังเป็นช่วงเวลาที่ผู้ประกอบการ ยังคงต้องแบกรับต้นทุนค่าขนส่ง ที่ถือว่าค่อนข้างสูงอยู่ดี

.

*******

5) ประเด็นสุดท้ายด้านสถานการณ์ความหนาแน่นของท่าเรือทั่วโลก ที่ยังคงเหมือนไฟสุมอกของทุกคน

.

ในด้านภาพรวมความหนาแน่นและพลุกพล่านของท่าเรือทั่วโลก ยังอยู่ในจุดที่คงที่และยังคงไม่มีสัญญาณใด ที่จะบ่งชี้ได้ว่าจะมีพัฒนาการหรือแนวโน้มดีขึ้นจากสัปดาห์ก่อนๆ แถมหลายท่าเรือที่หนาแน่นอยู่แล้ว ต้องมาเจอกับปัญหาซ้ำซ้อน เพิ่มเติมเข้าไปผสมโรงอีก

.

เช่นในภูมิภาคเอเชีย ที่หลายท่าเรือต้องหยุดการทำงาน เนื่องจากปัญหาเรื่องหมอกลงจัดหรือพายุลมแรง ในช่วงหน้ามรสุม อย่าง CNTAO และ CNNGB รวมถึงหลายท่าเรือในภูมิภาคยุโรป ที่เจอปัญหาเรื่องการนัดหยุดงานของเจ้าหน้าที่ในท่าเรือ เป็นระยะๆ

.

ดังนั้นหากมองโดยรวมแล้ว เราจะยังคงต้องอยู่ในจุดที่วิกฤติแบบนี้ และไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า เมื่อไรจะกลับสู่ภาวะปกติ !!!

.

ในด้านภาพรวมท่าเรือทั้งสองฝั่ง ของภูมิภาค อเมริกาเหนือ ยังอยู่ในสภาวะที่ทรงตัว โดยในบางท่ายังคงมีแนวโน้มความหนาแน่นเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานและหางเทรลเลอร์ในการวางตู้สินค้า รวมถึงปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ในการขนส่งทางรางเข้าไปในส่วน IPI ต่างๆ จึงยิ่งทำให้การระบายสินค้าในหลายท่าเรือค่อนข้างล่าช้า

.

อย่างท่าเรือหลักฝั่งตะวันออก USEC (USNYC/ USCHS/ USSAV) ที่ดูแล้วค่อนข้างหนาแน่น มีเรือรอเทียบท่าประมาณ 75-80 ลำ โดยเฉพาะที่ USSAV มีจำนวนเรือเกือบ 50ลำ  . และเรือใช้เวลารอเข้าเทียบรวมถึงใช้เวลาในการปฏิบัติงานขนถ่ายอยู่ที่ 8 -14 วัน. ( เฉพาะที่ USNYC ใช้เวลารอมากกว่า 20วัน)

.

ทางด้านในส่วนฝั่งตะวันตก USWC (USSEA/ USTIW/ USOAK ) เริ่มอยู่ในภาวะที่ทรงตัวและคงที่. โดยมีเรือรอเข้าเทียบและเทียบที่ท่าแล้วประมาณ 40 -43 ลำ. และใช้เวลารอเข้าเทียบท่ารวมถึงเวลาในการขนถ่ายอยู่ที่ 5-14 วัน (เฉพาะที่ USOAK ใช้เวลามากกว่า 20++). ถัดมาในส่วนของท่าเรือฝั่งอ่าวหรือ Gulf port MID West อย่าง USHOU ถือว่าอยู่ในภาวะที่หนักหนาสาหัส โดยมีปริมาณเรือทั้งที่เข้าเทียบแล้วและที่รอเข้าเทียบขนถ่าย มีจำนวนกว่า 60-64 ลำ

.

ในส่วนของท่าเรือหลักที่มีความหนาแน่นที่สุดอย่าง (USLAX/ USLGB) อยู่ในสภาวะค่อนข้างทรงตัวและคงที่ โดยมีเรือรอเข้าเทียบท่าประมาณ 65 -70 ลำ (แบ่งเป็นอยู่ในรัศมี 25ไมล์ทะเลกว่า 53 -56 ลำ และอยู่นอกเขต SAQA Zone ประมาณ 12 -14 ลำ)  และใช้เวลารอเทียบท่าอยู่ที่ 14 -20 วัน

.

ในส่วนของท่าเรือหลักในภูมิภาคยุโรป อย่าง NLRTM/ DEHAM/ BEANR ยังคงอยู่สภาวะหนาแน่นไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งปริมาณตู้สินค้าและเรือที่รอเข้าเทียบท่าเพื่อขนถ่าย โดยมีเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบท่าอยู่รวมกันเกือบ 800ลำ ซึ่งแค่เฉพาะที่ NLRTM มีเรือเทียบแล้วและรอเทียบ 350- 370 ลำ โดยทั้งสามท่ายังต้องรับมือจากปัญหาการนัดหยุดงานเป็นระยะๆ

.

ในส่วนของท่าเรือหลักในภูมิภาคเอเชีย ที่ท่าเรือหลักของประเทศจีน ฝั่งตะวันออกอย่าง CNSHA ที่กลับมาเป็นท่าเรือหลักที่สามารถทำการระบายสินค้าได้ดี จึงสามารถช่วยแบ่งเบาและดึงงานจากท่าเรืออื่นกลับมา โดยมีจำนวนเรือสินค้าที่เข้าเทียบท่าและบริเวณโดยรอบ ประมาณ 6,500- 6,700 ลำ หากแต่ทางด้าน CNNGB ที่ยังประสบกับปัญหาความหนาแน่นไปด้วยตู้สินค้า และจำเป็นต้องหยุดการปฏิบัติงานเป็นระยะ เนื่องจากปัญหาสภาพอากาศเลวร้าย โดย เรือสินค้ารอเทียบท่าขนถ่ายโดยรอบบริเวณท่า เป็นจำนวนเกือบ 1,100 ลำ

.

ทางด้านท่าเรือของจีนตอนล่างอย่าง HKHKG/ CNSHK/ CNYTN อยู่ในภาวะที่ทรงตัวและคงที่ โดยมีเรือสะสมอยู่โดยรอบบริเวณทั้งสามท่า กว่า 1,100 -1,200 ลำ โดยที่ HKHKG มีจำนวนเรือสินค้าทั้งที่เทียบท่าขนถ่าย และอยู่บริเวณท่าเพื่อรอเทียบ ประมาณ 1,000 ลำ

.

*******

6) สถานการณ์ในรอบสัปดาห์ที่เราต้องจับตามอง คือความคืบหน้าในการทำข้อตกลงแรงงานท่าเรือที่ฝั่งอเมริกา

.

ประเด็นสำคัญที่ยังคงต้องจับตามองคือ ความคืบหน้าในการเจรจาสัญญาฉบับใหม่ สำหรับพนักงานท่าเรือตามชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างสหภาพแรงงานท่าเรือฝั่งตะวันตก หรือ ILWU กับสมาพันธ์ผู้ให้บริการท่าเรือและสายการเดินเรือฝั่งแปซิฟิค หรือ PMA (Pacific Maritime Association) ซึ่งสัญญาฉบับเดิมหมดอายุลงไปเมื่อเวลา 17.00 ของวันที่ 1 มิถุนายนหรือศุกร์ที่ผ่านมา

.

โดยข้อตกลงดังกล่าว จะมีผลผูกพันธ์และครอบคลุม พนักงานกว่า 22,000 คน ที่ประจำท่าเรือต่างๆทั้ง 29 แห่ง ตามแนวชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ที่ทอดยาวตั้งแต่รัฐแคลิฟอร์เนีย ไปถึงรัฐวอชิงตัน โดยรองรับจำนวนสินค้า คิดเป็นร้อยละ 40 ของทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา และหากยังไม่มีข้อยุติหรือการต่อสัญญาเดิมออกไป นั้นหมายถึงสหภาพแรงงานมีสิทธิที่จะทำการนัดหยุดงาน และแน่นอนว่าปัญหาความหนาแน่นที่เป็นอยู่ จะยิ่งเลวร้ายลง !!!

.

ซึ่งจากสถานการณ์ล่าสุด ยังไม่มีการประกาศนัดหยุดงานจากสหภาพแต่อย่างใด ทุกส่วนงานยังคงปฏิบัติงานตามปกติ แม้ว่าจะเลยเวลาเส้นตายมาแล้วก็ตาม ซึ่งหลายฝ่ายรวมถึงบรรดาผู้ประกอบการธุรกิจหลายราย ต่างภาวนาให้ทั้งสองฝ่ายสามารถหาข้อยุติโดยเร็ว เพื่อมิให้ซ้ำเติมระบบขนส่งและการกระจายสินค้าของสหรัฐ ที่พังพินาศไปแล้วกว่าร้อยล่ะ 60

.

ทั้งหมดที่เล่ามานี้ คือการสรุปภาพรวมและทิศทางด้านต่างๆ ในรอบสัปดาห์ ของแวดวงการนำเข้า-ส่งออก ในภาคการขนส่งทางเรือ ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่คอยติดตามเสมอ และเราจะกลับมาพบกันใหม่ในสัปดาห์หน้า พร้อมเรื่องราวดีๆ ที่จะมารายงานเหมือนเช่นเคย

.

สัปดาห์นี้ลาไปก่อน สวัสดี บุญรักษาทุกท่าน

.

=========================

ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ นำเข้า ส่งออก

เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk

=========================

 

ข่าวดี! เช็คราคาขนส่งระหว่างประเทศ ง่ายๆ

ผ่านระบบ ZUPPORTS

https://www.facebook.com/100059556852446/posts/382302773764948/?d=n

.

สิ่งที่น่าปวดหัว สำหรับ เพื่อนๆ ผู้นำเข้าส่งออก ประเด็นหนึ่งก็คือ ราคาขนส่งระหว่างประเทศ หรือ ราคาเฟรท ที่เปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา ไม่รู้ว่าเฟรท ที่เราจองไป มันถูก หรือแพงกว่าตลาด

.

แต่ทางแอดมินมีข่าวดี! จะบอกว่าปัจจุบัน ทางสตาร์ทอัพ อย่าง ZUPPORTS กำลังพัฒนา feature “Freight Rate Trends” หรือแนวโน้มราคาขนส่งระหว่างประเทศ เป็นเหมือน “แว่นขยาย” ให้เพื่อนๆ ชาว นำเข้าส่งออก ส่องได้ชัดๆ ว่าราคาเฟรท ที่ได้อยู่มันเหมาะสมหรือยัง

.

เพื่อนๆ ที่สนใจเข้าร่วม มาทดลองใช้ระบบในช่วง Soft Launch รีบลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ ทดลองใช้งานฟรี กันได้เลยที่

https://bit.ly/368GR84

ข่าวสารอื่นๆ