ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพื่อนๆที่ทำธุรกิจ โดยเฉพาะ ที่เกี่ยวข้องกับการ นำเข้า ส่งออก คงได้เจอปัญหาท้าทาย ไม่จบไม่สิ้น ทั้งสงครามการค้า จีน-สหรัฐ ค่าเงินบาทที่แข็งค่ามาก และล่าสุดคือ ปัญหาโควิด-19 ที่เหมือนการจัดระเบียบโลกใหม่เลยทีเดียว
สำหรับบทความนี้ เราจะลองไปดู Megatrends การค้าและการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลสำคัญ ที่เพื่อนๆ สามารถเอาไปปรับใช้ในธุรกิจได้
หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย
════════════════
หา ขนส่ง ที่ดีที่สุด สำหรับ
ธุรกิจ นำเข้า ส่งออก
════════════════
1) การฟื้นตัวหลัง โควิด-19 เราคงไม่สามารถคาดหวังว่าจะฟื้นตัวแบบ V-Shaped หรือ แบบทันทีทันใดได้
ควรเตรียมการสำหรับการฟื้นตัวแบบ U-Shaped คือ เศรษฐกิจค่อยๆ ฟื้นตัว
หรือบางประเทศ อาจหนักถึงขั้น L-Shaped คือ ใช้เวลานานมาก กว่าจะกลับไปสู่จุดเดิมก่อน โควิด-19
2) แน่นอนว่า จีน คือ ประเทศผู้ส่งออก เบอร์ 1 ของโลก สำหรับมณฑลหูเป่ย จุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาด มีปริมาณการค้าอยู่ลำดับที่ 17 ของมณฑลในจีน
(โดยมณฑลที่ค้าขายกับชาวโลก มาก 3 อันดับแรก คือ กวางตุ้ง, เจียงซู, และเซี่ยงไฮ้)
3) 20% ของสินค้า Made in China ส่งออกไปขายทั่วโลก โดยกลุ่มสินค้าที่ส่งออกในสัดส่วนที่สูงกว่า 20% ได้แก่
– สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 20-40%
– สิ่งทอ เสื้อผ้า 30-50%
– เครื่องมือเครื่องใช้ในบ้าน 30-50%
4) หากเราพิจารณา กระบวนการผลิต ยิ่งน่าตกใจคือ จีนมีสัดส่วน Market Share ในการส่งสินค้าทุน (Capital Goods) คือพวกวัตถุดิบ ในสัดส่วนที่สูงมาก เกือบ 25% ซึ่งก็ไม่แปลกใจที่พอเริ่มเกิดปัญหาที่จีน ถึงทำให้โลกปั่นป่วนได้ขนาดนี้
ห่วงโซ่อุปทานของโลก กำลังถูกท้าทายด้วยโจทย์ปัญหา ที่ไม่เคยพบมาก่อน
5) เข้าสู่ Megatrend ที่ 1: การย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น นอกเหนือจากจีน ด้วยอัตราเร่ง
ที่ผ่านมา ธุรกิจต่างมุ่งหวังที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการผลิต กระบวนการผลิตรูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ก็คือ การผลิตแบบ “Just-in-time” ที่คิดค้นโดยผู้ผลิตรถยนต์อย่าง โตโยต้า
โดยโรงงานเปรียบเสมือนสายพานการผลิต ที่มีการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยลดการเก็บสินค้าคงเหลือ ให้น้อยที่สุด หรือหลายๆครั้งคือ ไม่เก็บไว้เลย แต่ชิ้นส่วนจะมา “ทันเวลา” พอดีสำหรับการผลิต
แต่การทำแบบนั้น ทำให้เกิด “ความเสี่ยง” ที่สำคัญมาก คือ หากใครคนใดคนหนึ่งหยุดงานไป ธุรกิจก็จะเดินต่อไม่ได้
ซึ่งการย้ายฐานการผลิตครั้งนี้ คงไม่ใช่การหนีออกจากเมืองจีน แต่คือการ หาฐานการผลิตสำรองโดยเฉพาะย้ายไปประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหนีไม่พ้น เวียดนาม!
6) เราได้เห็นปริมาณการขนส่งสินค้าเข้าสหรัฐฯ ที่เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019
โดยหากดูข้อมูลปริมาณตู้สินค้าจากประเทศต่างๆ ที่สหรัฐฯ นำเข้าสินค้า
เทียบ ปี 2019 กับ ปี 2018 จะพบว่า
– ลำดับหนึ่ง คือ จีน ประมาณ 11.5 ล้านตู้ (TEU) แต่ลดลง 9.8%
– ลำดับสอง เวียดนาม ประมาณ 2 ล้านตู้ (TEU) เพิ่มขึ้นถึง 34.2%
– ลำดับสาม เกาหลีใต้ ประมาณ 1.5 ล้านตู้ (TEU) เพิ่มขึ้นถึง 7.2%
– ลำดับเจ็ด คือ ไทย ประมาณ 1 ล้านตู้ (TEU) เพิ่มขึ้นถึง 18.5%
7) อย่างไรก็ตาม ประเทศต่างๆ ก็ยังต้องพึ่งพาวัตถุดิบขั้นกลาง จากทางจีนอยู่ดี โดยเฉพาะเวียดนาม ที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบขั้นกลางจากจีน ในสัดส่วนที่สูงถึง 15% ของ GDP (ขณะที่ไทยนำเข้าวัตถุดิบขั้นกลาง จากจีนประมาณ 5%)
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดช่วงนี้ก็เช่น ผ้า Spunbond ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญ ที่ใช้สำหรับทำหน้ากากอนามัย และเสื้อกาวน์สำหรับบุคคลากรทางการแพทย์ ที่หลักๆ มีแค่ จีน กับ อินเดีย ที่ผลิตได้ ส่วนราคาตอนนี้ก็วิ่งขึ้นไป 8-10 เท่าตัว ไม่ต้องแปลกใจที่ทำไมอุปกรณ์การแพทย์เหล่านี้ ราคากระโดดมาก (เป็นอีกปัจจัยที่กระทบราคาขาย นอกเหนือจากการกักตุนสินค้า)
8) Megatrend ที่ 2: อัตราการเติบโตของการขนส่งระหว่างประเทศ ที่โตต่ำกว่าเศรษฐกิจ จะกลายเป็น “New Normal”
จากสงครามการค้า ทำให้ปริมาณการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ ในปี 2019 เติบโตเพียง 1.2% และการที่เจอโควิด-19 แบบนี้ อาจทำให้การเติบโตเหลือต่ำสุดเพียง 1% เท่านั้น
ซึ่งการเติบโตที่น้อยลงเราอาจได้เห็นการควบรวมกิจการที่มากขึ้น
9) Megatrend ที่ 3: ต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น จากกฎเกณฑ์ต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อม และการเงินที่จะเข้มงวดมากขึ้น
ผู้ประกอบการน่าจะพอทราบว่า ต้นทุนการเดินเรือเพิ่มสูงขึ้น จากการถูกควบคุมปริมาณกำมะกันหรือ Sulfur ที่เรือจะปล่อยได้ลดน้อยลง ทำให้สายเรือต้องไปใช้น้ำมันที่มีค่ากำมะถันต่ำ หรือไปติดเครื่องบำบัด ซึ่งก็ต้องลงทุนเพิ่ม
นอกจากนี้ยังมีกฏเกณฑ์ที่กำลังตามมาอีกมากมาย หลักๆ ก็เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ซึ่งแนวโน้มก็คือ เรือกำลังถูกปรับลดความเร็วลง เพื่อให้ประหยัดน้ำมัน โดยมองภาพย้อนหลัง 15 ปี เรือมีการลดความเร็วมาแล้วกว่า 20% ในขณะที่อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงลดลงไปกว่า 50%
นอกจากนี้ยังมีแนวโน้ม ที่เรือ จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ขนมากๆ ประหยัดต้นทุนต่อหน่วย และช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
สำหรับเพื่อนๆ นักลงทุนที่อาจสนใจหุ้นสายเรือ มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ การ Oversupply ของปริมาณเรือ เริ่มควบคุมได้แล้ว
และมีประเด็นที่สำคัญให้สายเรือคิดก็คือ
“ใครที่จะอยากลงทุนซื้อเรือตอนนี้ หากรู้ว่า ในปี ค.ศ.2030 เรือที่ซื้อมา อาจจะตกยุค”
เนื่องมาจากประสิทธิภาพของเรือและการปล่อยมลพิษ ไม่ได้ตามกฎหมาย ที่กำลังทะยอยบังคับใช้
10) Megatrend ที่ 4: เงินลงทุนไหลเข้ามาในเทคโนโลยีดิจิทอลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ มากกว่าที่จะไปลงทุนสร้างเรือ
วงการขนส่งก็หนีไม่พ้นการทำลายล้างด้วยดิจิทอล (Digital Disruption) ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เงินลงทุนไหลเข้ามาในธุรกิจขนส่งมากพอสมควร
ตัวอย่างเช่น ขาใหญ่อย่าง Soft Bank ก็ลงทุนไปถึง 33,000 ล้านบาท (1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติอเมริกันอย่าง flexport ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิตอล มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ การขนส่งระหว่างประเทศ
สำหรับทีมแอดมินเอง ก็ทำสตาร์ทอัพสัญชาติไทย ชื่อว่า ZUPPORTS ก็มุ่งเน้นเรื่องใช้ เทคโนโลยีดิจิทอล มาช่วบผู้ประกอบการนำเข้า ส่งออก เช่นเดียวกัน หากเพื่อนๆ สนใจ Inbox หรือ ลองดูในเว็บไซต์ www.zupports.co กันได้
11) โดยสรุปทั้ง 4 Megatrends ได้แก่
– Megatrend ที่ 1: การย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น นอกเหนือจากจีน ด้วยอัตราเร่ง หลังโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ณ เวลานี้ การหาประเทศที่จะเอาชนะจีน เรื่องการส่งออก แทบเป็นไปไม่ได้
– Megatrend ที่ 2: อัตราการเติบโตของการขนส่งระหว่างประเทศ ที่โตต่ำกว่าเศรษฐกิจ จะกลายเป็น “New Normal”
– Megatrend ที่ 3: ต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น จากกฎเกณฑ์ต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อม และการเงินที่จะเข้มงวดมากขึ้น
– Megatrend ที่ 4: เงินลงทุนไหลเข้ามาในเทคโนโลยีดิจิทอลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ มากกว่าที่จะไปลงทุนสร้างเรือ
ก็เป็น Megatrends ทางด้านการค้าและการขนส่งระหว่างประเทศ ที่ผู้ประกอบการควรพิจารณา หาแนวทางรับมือให้ทันท่วงที หากเพื่อนๆมีข้อสงสัยทักทายมาคุยกันได้เลย
และหากบทความมีประโยชน์ไลค์ และแชร์ให้เพื่อนๆกันได้เลย
════════════════
หา ขนส่ง ที่ดีที่สุด สำหรับ
ธุรกิจ นำเข้า ส่งออก
════════════════
ที่มา: TPM20 What we missed, IHS Markit, Reuters
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม
“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”
❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก
👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก