[Freight Weekly] : อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 18 -22 กันยายน กับ ZUPPORTS !!!
สัปดาห์สุดดราม่า Shipment กร่อย แถม Schedule แกว่ง แต่ Space แน่น !!!
.
กลับมาพบกันเหมือนเช่นเคยอีกครั้ง ในทุกวันเริ่มต้นการทำงานของทุกสัปดาห์ กับการรายงานข่าวสาร ความเคลื่อนไหว รวมถึงสถานการณ์ต่างๆรอบตัวเราทุกคน ในแวดวงการนำเข้า-ส่งออก ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายตามแบบฉบับของพวกเรา ชาว ZUPPORTS !!
.
สัปดาห์นี้ จะนับว่าเป็นการเข้าสู่สัปดาห์ที่ 38 ประจำปี 2566 ซึ่งถือว่า เหลืออีกเพียง 14 สัปดาห์เท่านั้น เราจะเข้าสู่ช่วงช่วงปีใหม่ นับว่าเราเหลือเวลาอีกเพียงไม่มากนัก ในการเร่งผลประกอบการก่อนที่จะปิดงานสิ้นปี
.
โดยในสัปดาห์นี้ ยังเป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ ที่มีเรื่องราว ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่างๆ มากมายเกิดขึ้นรอบตัวเรา ทั้งเรื่องของภาพรวมท่าเรือหลักทั่วโลก ที่เริ่มเห็นปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น
.
รวมถึง เรื่องของทิศทางค่าระวางขนส่ง หรือ Freight Rate ที่เริ่มมีทิศทางทรงตัว และคงที่ในหลายเส้นทาง เนื่องจากปริมาณตัวเลขของงานขนส่งจากประเทศจีน ไม่ Peak อย่างที่ฝัน หากแต่ สิ่งที่ตามมา คือ การยกเลิกเที่ยวเรือที่เพิ่มขึ้น
.
เมื่อทุกคนพร้อมกันแล้ว ก็ตามพวกเรามาไล่เรียง ติดตามกันทีละประเด็นกันเลย !!!.
.
=========================
ZUPPORTS ช่วยผู้นำเข้าส่งออก หา Space
เปรียบเทียบราคาและบริการ Freight ทั้งทางทะเล ทางอากาศ ทางบก และทางรถไฟ
ด้วยพันธมิตรผู้ให้บริการขนส่ง มากกว่า 30 บริษัท
ลงทะเบียนทดลองใช้งานได้ที่
=========================
1) สถานการณ์ในการจองพื้นที่ระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หลายเลนยังแน่น จองยาก แต่หลายคนยังอยากได้ของ !!!
.
เริ่มกันที่ ภาพรวมการจองพื้นที่ระวางขนส่ง หรือการบุ๊คกิ้งจองเรือสำหรับงานใหม่ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะที่ผู้ประกอบการยังต้องประสบและรับมือ คือ หลายเส้นทางยังคงต้องจองเรือล่วงหน้าอย่างน้อย 2- 3 สัปดาห์ !!
.
รอบสัปดาห์นี้ จึงดูจะยังไม่ใช่ช่วงเวลาสำหรับคนที่มีงานแบบด่วนๆ โดยเฉพาะ งานในเส้นทางขนส่งหลักสายไกล หรือ พวกงานขนส่งที่เป็น Long Haul Service
.
เนื่องจากพื้นที่ระวางขนส่ง หรือ Allocation Space ที่มีจำกัด ค่อนข้างแน่น ส่งผลให้หลายสายการเดินเรือ ไม่สามารถรับงานได้ในลักษณะแบบที่เป็นงานด่วน หรือ งานประเภทที่จองแล้วต้องการจะลากตู้เปล่าเลย !!
.
อย่าง งานขนส่งที่จากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกกลาง หรือ Indian Subcontinent and Middle East Trade รวมถึง งานที่ขนส่งจากภูมิภาคเอเชีย ไปยังภูมิภาคอเมริกาใต้ หรือ Asia- Latin America Trade ทั้งในฝั่ง East Coast และในฝั่ง West Coast
.
โดยที่ ในบางสายการเดินเรือ ไม่สามารถรับการจองเรือสำหรับงานใหม่ได้ จนถึงกลางเดือนตุลาคมเป็นที่เรียบร้อย รวมไปถึง ในบางสายการเดินเรือ หยุดรับการจองเรือชั่วคราวเนื่องจากต้องเจอกับปัญหาตู้สินค้าไม่เพียงพอ
.
ขณะที่อีกหลายเส้นทางสายการเดินเรือ ยังต้องการสินค้ามาเติมให้เต็มเรือ หากแต่ ปัญหาที่ต้องรับมือคือ การที่ตารางเรือ รอบเรือที่มี หรือ Vessel Schedule กลับไม่ตรงกับความต้องการ หรือไม่ตรงกับแผนงานการผลิตหรือแผนการบรรจุสินค้าของตน
.
ส่งผลให้ผู้ประกอบการ ต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนงานใหม่ทั้งหมด อย่าง ในเส้นทางที่ขนส่งจากภูมิภาคเอเชีย ไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ Asia- North America Trade ทั้งในฝั่ง East Coast และในฝั่ง West Coast
.
รวมถึง ในเส้นทางที่ขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ และยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- North Europe Trade / Asia- Mediterranean Trade
.
*******
2) สถานการณ์ในการจัดหาและการหมุนเวียนของตู้สินค้า หลายสายเรือยังพอมี A Grade แต่อาจไม่ใช่สำหรับเรา !!!
.
ทางด้านสถานการณ์ในการจัดหาและการหมุนเวียนของตู้สินค้าทั่วโลก หลายภูมิภาคตกอยู่ในภาวะที่จำนวนตู้สินค้าร่อยหรอ ลงทุกสัปดาห์ จากการที่วงจรหมุนเวียนของตู้สินค้าขาดช่วง ขณะที่อีกหลายภูมิภาค ยังคงมีตู้สินค้าเปล่าเหลือเกินจากความต้องการในภาคขนส่ง !!
.
ภาพรวมการหมุนเวียนและการจัดหารตู้สินค้าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะยังไม่มีความสมดุลเกิดขึ้นในโลกของการนำเข้า-ส่งออก เนื่องจากในหลายพื้นที่ ยังคงประสบกับปัญหาขาดแคลน หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการในภาคขนส่ง อย่าง ตามเมือง หรือ ท่าแห้ง ICD/ IPI /Dry Port ที่อยู่ตามตอนกลางของภูมิภาคต่างๆ เช่น เมืองที่อยู่ตอนกลางของยุโรป หรือเมืองที่อยู่ตอนกลางของภูมาคเอเชียใต้
.
ทั้งนี้ ก็เนื่องจาก ความต้องการในภาคขนส่งที่ไม่สมดุลกัน โดยงานส่งออกมีสูงกว่างานนำเข้า ประกอบกับภาวะที่ความถี่ของรอบเรือที่ให้บริการลดน้อยถอยลงทุกสัปดาห์ ส่งผลให้การหมุนเวียนของตู้ไม่ทันกับความต้องการ
.
ขณะที่ภาพรวมในไทยบ้านเรา รอบสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงถือว่าทรงตัว และยังไม่เจอกับปัญหาขาดแคลนเหมือนเช่นอีกหลายภูมิภาค หลายสายการเดินเรือยังคงทำได้ดีกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะในกลุ่มสายการเดินเรือขนาดกลาง ยังสามารถจัดหาและหมุนเวียนตู้สินค้าได้คล่องมือ !!
.
หากแต่ ภาวะที่ผู้ประกอบการบ้านเรายังคงต้องประสบ คือการที่สภาพของตู้สินค้ายังไม่มีให้เลือกมากนัก ซึ่งส่วนมากจะตัดเกรด คือ -B ลงมา ซึ่งในบางสายการเดินเรือขนาดใหญ่ ตู้สภาพที่พร้อมปล่อย ส่วนมากตัดเกรด ที่ C เสียเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากวงจรการหมุนเวียนตู้หยุดชะงัก ประกอบการในสายการเดินเรือ ยังคงเก็บตู้สินค้าที่มีสภาพนางฟ้า ไว้ให้กับลูกค้าในกลุ่ม Premium
.
ดังนั้น สิ่งที่ยังต้องพึงระวังคือ เรื่องของการวางแผนการบรรจุสินค้า โดยควรเผื่อเวลาที่ใช้ในการรับตู้สินค้าเปล่า รวมถึงระยะเวลาเผื่อเหลือ เผื่อขาด ในการซ่อมหรือ Maintenance ตู้สินค้า ในกรณีที่รับมาแล้วพบปัญหาการชำรุด หรือไม่ถูกใจ !!
.
*******
3) สถานการณ์ความเสถียรของตารางเดินเรือ ยังไม่ใช่เวลาสำหรับงานขนส่งประเภทงานด่วน หรือมีเส้นตาย !!!
.
ด้านสถานการณ์ความเสถียรของตารางเดินเรือ ในหลายเส้นทางยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ เนื่องจากปัญหาต่างๆ ทั้งสภาพอากาศในช่วงฤดูมรสุม และจากการที่หลายสายการเดินเรือ มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตารางเดินเรือ เพื่อสร้างสมดุลของภาวะตลาด
.
ภาพรวมความนิ่งของตารางเดินเรือ หลายเส้นทางยังคงตกอยู่ในภาวะที่ไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคสำหรับคนทำงานอย่างเรายังคงมีอยู่ อย่างเช่น ปัญหาความล่าช้า หรือ Delay Onboard /Delay Arrival รวมไปถึง การเลื่อนเที่ยวเรือ หรือ Slide VOY และการข้าม ไม่เข้าในบางท่าเรือตามกำหนด หรือ SKIP Call/ OMIT !!
.
ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการยังต้องพึงระวัง และต้องเพิ่มความใส่ใจ นั่นคือ การวางแผนงานขนส่งล่วงหน้า ทั้งการกระจายความเสี่ยงของงาน และการหลีกเลี่ยงการขนส่งในบางรูปแบบ ในกรณีที่เป็นงานขนส่งสินค้าที่เร่งด่วน หรือมีเงื่อนไขของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง !!
.
ในด้านภาพรวมของการประกาศตารางเรือว่าง ยกเลิกเที่ยว เรือ Blank Sailing หลายเส้นทางขนส่ง ตกอยู่ภาวะที่ตึงเครียดอีกครั้ง จากการที่หลายสายการเดินเรือ พร้อมใจกันยำเลิกเที่ยวเรือ เนื่องจาก ตัวเลขงานขนส่งในช่วง 4 สัปดาห์สุดท้ายก่อนวันชาติจีน หรือ ช่วง China Golden Week ไม่กลับมา Peak อย่างที่หลายคนคาดหวังหรือเฝ้ารอ
.
ทั้งนี้ ในช่วงตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 38 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 42 หรือในช่วง 5 สัปดาห์นับจากนี้ ทุกสายการเดินเรือ มีการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing ในเส้นทางการขนส่งหลัก รวมกันอย่างน้อย 104 เที่ยวเรือ หรือคิดเป็น ร้อยละ 16 จากจำนวนทั้งหมด 665 เที่ยวเรือ !!!
.
โดยในเส้นทางที่ถูกยกเลิกรอบเรือมากที่สุด จะยังคงเป็นในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในรอบเรือ Transpacific Eastbound ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 57 !!!
.
ตามด้วย เส้นทางการขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ และยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- North Europe/ MED ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 37 และในเส้นทางการขนส่ง จากภูมิภาคยุโรปไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในรอบเรือ Transatlantic Westbound คิดเป็นร้อยละ 7 !!
.
**************
4) สถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ ในหลายเส้นทางราคายังทรงตัว แม้ว่าดัชนีค่าเฟรทจะดิ่งลงแรง !!!
.
ภาพรวมของค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หรือ Sea Freight Rate ในหลายเส้นทางถือว่าอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างทรงตัว โดยในบางสายการเดินเรือยังคงปล่อยให้ราคาเป็นไปในลักษณะของการ Maintain Rate ไหลไปจนถึงสิ้นเดือน !!
.
เนื่องจากจำนวนงาน หรือตัวเลขและจำนวนสินค้าที่ขนส่งออกจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคต่างๆ ไม่พุ่งแรง หรือโตอย่างที่หลายคนคาดกันหรืออยากจะเห็น !!
.
โดยเฉพาะ จำนวนปริมาณของงานที่ขนส่งออกจากประเทศจีน แม้ว่าจะใกล้เข้าสู่ช่วงวันชาติของจีน หรือ China Golden Week ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ประกอบการจะปิดพักยาวกัน 10 -14 วัน
.
หากแต่ ราคาค่าระวางขนส่ง ก็ยังคงทรงตัว และไม่อยู่ในทิศทางปรับตัวลดลงแรงพรวดพลาด แม้ว่าตัวเลขของปริมาณสินค้าและจำนวนงานจะไม่ขึ้น Peakในช่วงก่อนหยุดยาว ทั้งนี้ก็เนื่องจาก พื้นที่ระวางขนส่งในหลายเส้นทางยังคงถือว่า อยู่ในจุดที่ตึงและแน่นพอสมควร
.
โดยมีสาเหตุจากการที่หลายสายการเดินเรือ โดยเฉพาะกลุ่มสายการเรือขนาดใหญ่ เลือกที่จะประกาศตารางเรือว่าง ยกเลิกเที่ยวเรือ หรือ Blank Sailing รวมถึง มีการจำกัดหรือลดขนาดของเรือสินค้าลงจากภาวะปกติ !!
.
อย่างไรก็ตาม ทางด้านภาพรวมของดัชนีค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือในรอบสัปดาห์นี้ ถือว่ามีการปรับตัวลดลงที่ค่อนข้างแรงเมื่อเทียบกับช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยดัชนีมีการปรับตัวลดลง คิดเป็น ร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบจากสัปดาห์ก่อน มาปิดอยู่ที่ USD 1,561 per 40’GP และถือว่า เป็นการปรับตัวลดลงคิดเป็น ร้อยละ 68 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน !!
.
ช่วงเวลานี้ ยังคงถือว่า เป็นช่วงเวลาที่หลายคนทำงานค่อนข้างยาก เนื่องจาก ทิศทางค่าระวางขนส่ง หรือ Freight Rate ในหลายเส้นทางขนส่ง ค่อนข้างที่จะมีทิศทางที่หลากหลายพอสมควร กล่าวคือ หลายคนต้องเจอกับภาวะที่ หลายสายการเดินเรือ ปิดราคาค่าขนส่ง หรือ Freight Rate ที่ค่อนข้างจะมีความหลากหลาย หรือแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แม้ว่าจะเป็นในเส้นทางขนส่งเดียวกัน !!
.
==================
สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากเช็คแนวโน้มราคาเฟรท ทางทะเล ย้อนหลัง 3 เดือน แยกไปแต่ละเส้นทางขนส่ง ก็สามารถ ลองเข้าไปเช็คกันได้เลยที่ https://zupports.co/our-services/
.
หรือหากอยากดูราคาเฟรท ในเดือนล่าสุด ก็ลงทะเบียน แบบ premium กันได้เลยที่ https://zupports.co/register/
==================
.
************
5) ด้านสถานการณ์ความหนาแน่นของท่าเรือหลักทั่วโลก หลายท่าเรือกลับมาเข้าสู่ภาวะที่ตึงมืออีกครั้ง !!!
.
ปิดท้ายกันที่สถานการณ์ของท่าเรือหลักต่างๆทั่วโลก ภาพรวมในหลายท่าเรือ ยังคงอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากภาพรวมของงานขนส่งสินค้าที่เริ่มชะลอตัวตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ หากแต่ในหลายท่าเรือ เริ่มเห็นตัวเลขของปริมาณตู้สินค้าและเรือสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยที่มีปัจจัยจากเรื่องของสภาพอากาศในช่วงมรสุมและปัจจัยจากปัญหาคอขวด !!
.
ภาพรวมของท่าเรือหลักในภูมิภาคอเมริกาเหนือ หลายท่าเรือ กลับมาอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างตึงมือ โดยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นของปริมาณตู้สินค้าที่ไหลผ่านเข้า-ออกในหลายท่า รวมถึง จำนวนวันที่เรือสินค้ารอเทียบท่าขนถ่าย เริ่มขยับเพิ่มนานขึ้นกว่าช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
.
ท่าเรือหลักในฝั่งตะวันออก ของภูมิภาคอเมริกาเหนือ ต้องรับมือกับสภาพอากาศที่แปรปรวนในช่วงหน้ามรสุม ส่งผลให้หลายท่าเรือหลัก ในฝั่ง Northeast เกิดปัญหาตู้สินค้าตกค้าง รวมถึง ปัญหาความล่าช้าของเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบท่าและรอออกจากท่า
.
โดยเฉพาะท่าเรือหลักในฝั่งตะวันออก อย่างท่าเรือ USNYC, USSAV, USBAL รวมถึงท่าเรือหลักในฝั่งอ่าว อย่าง USHOU ซึ่งล้วนแต่มีการสะสมของงานตกค้าง รวมถึงจำนวนเรือสินค้าที่รอเทียบท่าเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ปัญหาหลักที่ยังคงเป็นอุปสรรค คือปัญหาการระบายหรือการหมุนเวียนของสินค้าระหว่างท่าเรือหลัก กับเมืองที่เป็นศูนย์กลายกระจายสินค้า หรือ ชุมทางรถไฟหลัก อย่าง Dallas, Memphis, Chicago, Detroit ที่งยังคงติดขัด จากปัญหาคอขวดและการขาดแคลนอุปกรณ์ภาคการขนส่ง
.
ด้านท่าเรือหลักของภูมิภาคยุโรป สามประตูหลัก อย่าง NLRTM, BEANR, DEHAM ยังคงอยู่ในภาวะที่คงที่ ทรงตัวไม่ต่างจากสัปดาห์ก่อน โดย ที่ถือว่าตึงมือ จะยังคงเป็น BEANR, DEHAM เนื่องจากประสบกับปัญหาคอขวดในการระบายตู้สินค้า เข้าสู่ตอนกลางของภูมิภาคยุโรป !!
.
ภาพรวมของท่าเรือหลักในภูมิภาคเอเชีย หลายท่าเรือ มีปัญหาตู้สินค้าตกค้างจำนวนหนึ่ง รวมถึง มีจำนวนเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบท่าและตกค้างในท่า ซึ่งเป็นผลกระทบในช่วงที่พายุไต้ฝุ่นพัดผ่านเมื่อช่วงสองสัปดาห์ก่อน ประกอบกับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวนในช่วงหน้ามรสุม ส่งผลให้เกิดปัญหาความล้าช้า อย่างน้อย 2 -4 วัน อย่าง CNSHA, CNNGB, CNTAO, CNXMN, CNYTN, CNSHK, TWKHH
.
ด้านสถานการณ์ของกลุ่มท่าเรือซึ่งเป็นจุดถ่ายลำสินค้าหลัก อย่าง SGSIN, MYPKG ยังอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างแน่น ทั้งจำนวนตู้สินค้าที่อยู่บริเวณท่าและจำนวนเรือสินค้าที่รอเทียบท่า ทั้งนี้ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ ความถี่ของรอบเรือแม่ที่จะมาเก็บตู้สินค้าที่จุดถ่ายลำ ลดน้อยหรือหุบแคบลงจากการยกเลิกเที่ยวเรือ หรือ Blank Sailing ในขณะที่ HKHKG ยังคงทรงตัว หากแต่มีการสะสมของตู้สินค้าเพิ่มขึ้น ในช่วงที่สภาพอากาศแปรปรวน !!
.
****************
6) ความเคลื่อนไหวที่เราต้องติดตามในรอบสัปดาห์ จะดูกันที่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อวงจรห่วงโซ่อุปทาน !!!
.
สิ่งที่เราต้องติดตามกันในรอบสัปดาห์นี้ จะอยู่ที่ปัญหาความไม่นิ่งของตารางเดินเรือในปัจจุบัน ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ที่ส่งผลต่อการบริหารและจัดการห่วงโซ่อุปทานของผู้ประกอบการ
.
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภาวะหนึ่ง ที่ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก รวมถึงอีกหลายคนที่อยู่ในแวดวงขนส่งสินค้าทางเรือ ต้องประสบและทำใจ นั่นคือ การที่ตารางเดินเรือ หรือ Vessel Schedule ในท้องน้ำ ไม่มีความนิ่ง และไม่มีความน่าเชื่อถือเอาเสียเลย
.
โดยที่เราๆ ท่านๆหลายคน ต้องเจอกับอาการประจำต่างๆ ที่มักพบเจอในโลกของการขนส่งทางเรือ อย่าง Delay Schedule / SKIP Call/ Retard Schedule / Slide VOY ซึ่งในทุกอาการที่ว่า ล้วนแล้วแต่ส่งผลทางตรงต่อชีวิตคนทำงานไม่น้อย ตั้งแต่ฝ่ายขายไปจนถึงคนที่ดูแลด้านเอกสารและจัดการด้านการเงิน เนื่องจากเฉพาะแค่วันที่เรือออก/ วันเรือเข้า ก็เกี่ยวข้องกับทุกส่วนงานที่ว่า
.
ในหลายเส้นทางขนส่ง ตารางเรือแกว่งหนัก จนแทบจะจำตารางเรือเดิมไม่ได้ ว่าของเดิมความถี่เคยมีเรือออกทุกวันไหนบ้าง ซึ่งเป็นผลให้ผู้ประกอบการหลายราย ที่เคยวางแผนการผลิตและแผนการลากตู้บรรจุสินค้า โดยยึดตามรอบเรือที่เคยบุ๊คจองเรือประจำมาหลายปี ต้องรื้อแผนการบรรจุสินค้าหรือแผนการผลิตใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เหมาะสมกับตารางเรือในปัจจุบัน
.
ทั้งนี้ สิ่งที่ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกต้องรับมือ โดยเฉพาะ คนที่รอคอยการมาถึงของสินค้าขาเข้าจากต่างประเทศ นั่นคือ วางแผนบริหารจัดการคลังสินค้า เนื่องจากความไม่แน่นอนของตารางเดินเรือในหลายเส้นทาง รวมถึง ปัญหาเรื่องระยะเวลาในการขนส่งและช่วงเวลาการมาถึงของสินค้าที่ไม่คงที่ ทั้งการที่สินค้าจากหลายคำสั่งซื้อโหมเข้ามาพร้อมกัน และการที่สินค้าทิ้งช่วงห่างเกินไปในการมาถึง
.
ดังนั้น การมองหาทางหนีทีไล่ในเรื่องของ Cargo Supply รวมถึงการบริหารจัดการคลังสินค้า ยังคงเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกทุกคน ทั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันการเสียโอกาสทางการค้า และการเตรียมตัวเพื่อจัดการงานนั่นเอง
.
ที่กล่าวมา เล่ามา คือการสรุปภาพรวมของสถานการณ์ ทิศทางการนำเข้า-ส่งออก ในภาคการขนส่งสินค้าทางเรือประจำสัปดาห์ ซึ่งพวกเราหวังอย่างยิ่ง จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้ติดตามทุกท่าน เพื่อช่วยให้ทันต่อเหตุการณ์รอบตัว เพื่อการบริหารและจัดการงานขนส่งสินค้าระหว่างในรอบสัปดาห์ !!
.
สัปดาห์นี้ขอลาไปก่อน ขอบุญรักษาทุกท่าน สวัสดีครับ
.
CR : PIC by Wolfgang Fricke
.
=========================
ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ นำเข้า ส่งออก
เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk
=========================
แนะนำบริการ Logistics Butler by ZUPPORTS
ระบบ Line Official Account ที่เพื่อนๆ สามารถ Chat ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ และการนำเข้าส่งออก โดยตรงกับ Shipping Man และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์
เหมือนมี พี่ๆ ที่ทำงาน / ที่ปรึกษาส่วนตัว นั่งข้าง ๆ โต๊ะคุณ!!
.
พร้อมรับสิทธิพิเศษ!
- Freight Monthly Report รายงานอัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศ ทุกเดือน
- แจ้งข่าว อบรม/Webinar ดีๆ สำรองที่นั่ง ก่อนใครเพื่อน
- รับส่วนลด 20% สำหรับคอร์สฝึกอบรมออนไลน์ แบบสด สำหรับสมาชิก Logistics Butler
(ตัวอย่าง Course อบรม ได้แก่ DG Cargo, Reefer, พิกัด, พิธีการศุลกากรประเภทต่างๆ บรรยาย โดยวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ ในสายวิชาชีพนั้นๆ ประสบการณ์ 10 ปี ++)
- จองเวลาปรึกษา Online meeting แบบ one-on-one เพิ่มเติมได้ (มีค่าบริการเพิ่มเติม)
เหมือนมีห้องสมุดส่วนตัว รวบรวมข้อมูล ความรู้ให้คุณ ถึงหน้าจอมือถือ
.
สนใจลงทะเบียนได้เลยที่
http://bit.ly/3Xma0nR
(ติดต่อสอบถาม รายละเอียด เพิ่มเติมใน inbox ได้เลยจ้า)