แพลตฟอร์มที่ ผู้นำเข้า-ส่งออก ห้ามพลาด (1)

รีวิว “SCB Trade Club”

แอดมินเคยทำธุรกิจกับคนจีน และถกกับเพื่อนๆ
ประเด็นที่ทำให้ประเทศจีนและบริษัทจีนถึงได้ยิ่งใหญ่แบบทุกวันนี้

แล้วก็ได้พบประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ ก็คือ
คนจีนเขา “ทำงานกันเป็นทีม”

หน่วยงานของจีนทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการตลอดขั้นตอนของธุรกิจ เริ่มตั้งแต่ งานวิจัยพัฒนา การผลิต การตลาด และการขาย

ตัวอย่างแรก เรื่องการวิจัยพัฒนา
.
แอดมินเคยคุยกับ Supplier เครื่องจักรจีนว่า
“เนี่ยคุณมีทีมออกแบบรึเปล่าเนี่ย เก่งจังทำเครื่องจักรที่ใช้งานได้ดี แต่ราคาไม่แพงได้ยังไง”
.
Supplier ก็อธิบายให้ฟังว่า เขาเป็นผู้ผลิต ไม่ได้มีทีมออกแบบของบริษัท แต่เค้าจ้างสถาบันวิจัยต่างๆ ที่ขึ้นกับในจีน ในการออกแบบ
.
แปลความให้ง่ายขึ้น ก็คือ เขามีสถาบัน Copy คือ ลอกแบบ แล้วก็ Development หรือพัฒนา หน่ะ
.
ที่เราพอทราบกันดีว่าบริษัทต่างชาติ ที่ไปตั้งโรงงานในจีน ก็ต้องยอม ถ่ายทอด “เทคโนโลยี” ให้จีน

เรื่องที่สอง ใกล้ตัวเข้ามาหน่อย คือ เรื่องการตลาด
.
รู้หรือไม่ว่า แค่ขายทุเรียน คนไทยเค้าก็ใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลนะ
คือ บอกได้หมดว่า ความต้องการทุเรียน และราคาในอีก 12 เดือนจะเป็นอย่างไร และควรเอาทุเรียนไปขายที่ไหนดี
.
ฟังแค่นี้ ก็ปาดเหงื่อละ หากคิดจะไปแข่งขันกับจีน ในตลาดโลก

อย่างไรก็ตาม ในไทยเองก็มีทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนที่พยายามช่วยกัน สนับสนุน “ติดอาวุธ” ให้คนไทยบุกตลาดโลกเหมือนกัน

ซึ่งก็เป็นที่มาของบทความซีรีส์นี้ ที่แอดมินจะมารีวิวแพลตฟอร์มต่างๆ ให้ฟัง

สำหรับบทความนี้ แอดมินได้มีโอกาสฟังแนวคิด ของแพลตฟอร์มหนึ่งที่มีชื่อว่า “SCB Trade Club”
พอฟังแล้วก็แบบ…เฮ้ย…มีความสอดคล้องกับแนวคิดที่คนจีนเค้าช่วยผู้ประกอบการของเค้าเพื่อตะลุยตลาดโลก

เราลองไปดูที่มาที่ไปของ SCB Trade Club และจุดที่น่าจะช่วยสนับสนุน การนำเข้า-ส่งออก
หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย

———————————————————–

1) SCB Trade Club มีเป้าหมายที่จะช่วยสนับสนุนธุรกิจไทย ให้เติบโตในเวทีโลก โดยเริ่มทดลองเปิดให้บริการช่วงปีที่แล้ว ปัจจุบันมีบริษัทเข้าอยู่ในระบบกว่า 1,200 บริษัท


2) สำหรับบริการ แบ่งได้เป็น 3 ส่วน ก็คือ Trade Portal, Trade Club, และ Trade Finance

ซึ่งก็มีเครื่องมือหลายๆ อันที่น่าสนใจ สามารถ ช่วยผู้นำเข้า-ส่งออก เราไปลองดูรายละเอียดกัน


3) Trade Portal บริการนี้ช่วยตอบคำถามได้หลายข้อเลย
คำถามแรกที่ผู้ส่งออก ต้องเกิดคำถามในหัวก็คือ สินค้าเราควรส่งออกไปที่ไหนดี?
.
แอดมินลองเช็ค ใส่ทุเรียนไป ก็ขึ้นข้อมูลพี่จีน ก็มาอันดับ 1 เลย ตามมาด้วยฮ่องกง ข้อมูลก็น่าจะแม่นอยู่นะ

จริงๆ เราอาจลองดูประเทศที่ Import ทุเรียนน้อยๆ อยู่แล้วลองส่งไปทำตลาดดูก็น่าสนใจ ตัวอย่าง เช่น กาตาร์, ฟินแลนด์, สาธาารณรัฐเช็ค

ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องเจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภคกันด้วย
.
หรืออีกส่วนหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ข้อมูลและรายงานเศรษฐกิจ สำหรับประเทศที่เราจะเข้าไปค้าขาย ที่เจ้าของ ต้องรู้ ตัวอย่างเช่น กฎเกณฑ์ในการตั้งบริษัทในจีน

นอกจากนี้ยังมี ส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Business Directory หรือข้อมูลคู่ค้า และขั้นตอนการนำเข้า-ส่งออก ซึ่งต้องสมัครสมาชิกกันก่อนนะ (ลงทะเบียนฟรี)


4) Trade Club อันนี้เป็นบริการจับคู่ทางธุรกิจ ช่วยหาคู่ค้าที่ต้องการสินค้าของเพื่อนๆ ได้
.
แอดมินมองว่า ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางขายของ ที่น่าทดสอบดู โดยในระบบมีคู่ค้ากว่า 21,000 ราย ใน 51 ประเทศ
.
นอกเหนือจากวิธิปกติไม่ว่าจะไปออกบู๊ธทั้งในประเทศ และต่างประเทศ หรือเดินทางไปเจรจาทางการค้า….
.
แต่ช่วงนี้ก็อย่างที่เห็นกันคือ พอมีโควิด-19 งานต่างๆ ก็เลื่อนไปหมด ก็ถือว่าแพลตฟอร์มลักษณะนี้ มาถูกเวลา
.
จริงๆ แล้ว หากพูดถึงการจับคู่การค้าระหว่างประเทศ ปัจจุบันก็มีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ส แบบ B2B อยู่พอสมควร
แต่ละแพลตฟอร์ม ก็มีข้อดีข้อเสียต่างๆ กันออกไป ซึ่งของ SCB เอง จุดแข็งน่าจะเป็นเรื่องกลุ่มคู่ค้าในระบบ ที่แบงก์ตรวจสอบตัวตนมาให้แล้ว
.
คือ มั่นใจได้ว่า มีตังค์จ่ายค่าสินค้า ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญมากๆ ในภาวะที่มีความเสี่ยงโดนเบี้ยวเงินแบบนี้
(ไว้โอกาสหน้าจะมารีวิวแพลตฟอร์มอื่นๆ เพิ่มให้ฟัง)


5) Trade Finance แน่นอนว่าจุดนี้ถือเป็นจุดแข็งของแพลตฟอร์มนี้เลย และทาง SCB เองเขาก็มุ่งหน้าสู่ดิจิตอล
การให้บริการต่างๆ ทางการเงินก็น่าจะมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น


6) จริงๆ แล้ว SCB Trade Club ไม่ได้มีแค่ธนาคาร SCB นะ แต่เป็นความร่วมมือของ 14 กลุ่มธนาคารชั้นนำของโลก ก็คือ ผู้ประกอบการมีโอกาสเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของอีก 13 ธนาคาร ที่เหลือทั่วโลก

เป็นจุดที่น่าสนใจ คือเรียกว่า เราสามารถ “Leverage” คือ สมัครที่ไทย แต่เข้าถึงพันธมิตรได้ทั่วโลก


7) อย่างที่เล่าไปตอนต้นว่าปัจจุบัน SCB Trade Club มีสมาชิกกว่า 1,200 บริษัท จากหลายอุตสาหกรรม เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์, ยาง, เครื่องจักร, วัสดุก่อสร้าง, เคมีภัณฑ์, อาหาร, เครื่องดื่ม, และสินค้าเกษตร เป็นต้น
.
โดยปีนี้ ก็ตั้งเป้า ขยายไปที่ 5,000 บริษัท เติบโตแบบกระโดดเลย
ยิ่งมีสมาชิกมาก ก็ยิ่งเกิดประโยชน์โดยรวม


8) พอลงทะเบียนไปแล้ว ก็มีทั้งข้อมูลที่ดูได้ฟรี แต่หากเป็นบริการพิเศษก็มีค่าใช้บริการแยกเป็นรายการๆ ไปนะ
เพื่อนๆ ลองเข้าไปเช็คดูได้


9) ทั้งนี้แนะนำให้เพื่อนๆ ทดลองเข้าไปเล่น หาข้อมูลเบื้องต้นดูได้ คือ ในเว็บไซต์ www.scbtrade.com
.
หากเรายังไม่ลงทะเบียน เขาก็เปิดให้ใช้งานได้ในบางฟังก์ชั่น เหมือนที่แอดมินรีวิวเบื้องต้นให้ดู
.
แต่หากใครสนใจก็ไปลงทะเบียนได้เลย ที่ www.scbtrade.com และ สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.scb.co.th อีกด้วย หรือหากยังสงสัยก็โทรไปสอบถามรายละเอียดได้ที่เบอร์ 0-2722-2222
.
ไว้มีโอกาส แอดมินจะมารีวิวการใช้งานให้ดูเป็นคลิปวิดีโอนะ

———————————————————–
ส่วนบทความตอนถัดๆ ไปแอดมินจะมารีวิวแพลตฟอร์มดิจิตอล อื่นๆ ให้ฟัง ซึ่งต้องบอกว่า ผู้นำเข้า-ส่งออก ยุคใหม่ ห้ามพลาด!
กดติดตามกันเอาไว้เลย
———————————————————–

ที่มา:
SCB Trade Club
https://mgronline.com/stockmarket/detail/9630000024221
———————————————————–
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม See first “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า
#นำเข้า #ส่งออก
#ZUPPORTS
#สนับสนุนSMEsไทยก้าวไกลไปทั่วโลก

ข่าวสารอื่นๆ