ก็เป็นอย่างที่น่าจะพอคาดการณ์ได้ คือ การแพร่ระบาดของโควิด-19
ทำให้ทุเรียนไทย เดินทางไปไม่ถึงผู้บริโภคที่เมืองจีน
จากรูปรถติดหนักยาวเป็นสิบกิโลเมตร 2 พันกว่าตู้ ติดอยู่ที่ด่านโหย่วอี้กว่าน
รถติดหนักหลายวัน จนทุเรียนแตกเสียหาย
โดยหากใครติดตาม เฟสบุ๊ก อ.อรทัย เอื้อตระกูล อดีตผู้เชี่ยวชาญ
ด้านระบบนำเข้าและส่งออกสินค้าพืชและปัจจัยการผลิต กรมวิชาการเกษตร
ก็จะได้รับข่าวสารอัพเดต เกี่ยวกับเรื่องนี้
แต่สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังไม่ทราบ แอดมินได้สรุปที่มาที่ไปของเรื่องนี้ให้อ่านกัน หากพร้อมแล้วไปติดตามกันเลย
════════════════
ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก
หาขนส่งมืออาชีพ
════════════════
1) สัดส่วนผลไม้ที่ส่งออกไปจีน?
ก่อนอื่น เรามาดูผลไม้ที่ส่งออกไปจีน 5 อันดับแรก ก็คือ ทุเรียน มังคุด ลำไย มะพร้าวอ่อน และน้องใหม่มาแรงคือ ขนุน โดยแค่ผลไม้ 5 อย่างนี้ ก็กินสัดส่วนปริมาณการส่งออกไป 95% ของผลไม้ไทยที่ส่งออกไปจีน
ซึ่งมีราชาผลไม้อย่างทุเรียน ยืนหนึ่ง ที่ 41% ของปริมาณส่งออกทั้งหมด โดยปีที่แล้วส่งออก New High ไปที่ 666,373 ตันเลยที่เดียว (คนจีนชอบทุเรียนไทยมากๆ)
และช่วงเดือนเมษายนแบบนี้ ก็เป็นช่วงที่ทุเรียน ออกมาก ประจวบเหมาะกับการตรวจสินค้าเข้าออกด่านแบบเข้มข้น จึงเกิดปัญหาดังกล่าว
(แต่ลำไย น่าจะโชดดีหน่อย ไม่ได้ออกช่วงนี้ ชาวสวนน่าจะรอดไป)
2) ด่านโหย่วอี้กว่าน?
ด่านโหย่วอี้กวานป็นด่านชายแดน เวียดนาม-จีน โดยเป็นด่านสำคัญ อันดับ 1 ที่ผลไม้ไทยวิ่งเข้าจีนโดยใช้เส้นทางรถบรรทุก ซึ่งปริมาณส่งออกผ่านด่านนี้ในปี 2561-2562 มีมากถึง 530,551 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 35%
สำหรับช่องทางที่รองลงมาได้แก่ การส่งทางทะเล ไปขึ้นท่าที่ เซิ่นเจิ้น และช่องทางขนส่งทางบกออกทางลาว เข้าด่านโมฮ่านมณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของจีน
3) รถติดเพราะโควิด?
อ.อรทัย โพสตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย. ว่า สถานการณ์รถติดที่ด่านโหย่วอี้กว่านเป็นมาหลายปีแล้ว
โดยช่วงหลังทางจีน เพิ่มมาตรการตรวจแบบเข้มข้น ทั้งแสกนว่ามีการขึ้นทะเบียนถูกต้องหรือไม่ และหากตรวจเจอศัตรูพืช ก็จะเป็นเรื่องใหญ่ สวนหรือล้งที่ส่งผลไม้อาจโดนถอดชื่อออกจากเว็บไซต์ GACC ส่งไปจีนไม่ได้อีกต่อไป
และพอมีโควิด-19 สถานการณ์ก็ยิ่งแย่ลงไปอีก
แต่เหตุผลที่สำคัญที่สุด ก็คือ รถเวียดนามไปได้ แต่รถไทยไปไม่ได้ ก็ด่านขาออกมันอยู่บ้านเวียดนาม
ทางเวียดนามก็จัดคนไปคุม ให้รถเวียดนามได้ไปก่อน (ไม่ได้ปล่อยตามคิว)
สรุปคือ โควิดก็ส่วนหนึ่ง อีกส่วนมาจาก เวียดนาม
4) สถานการณ์ล่าสุด?
พอภาครัฐ ทราบปัญหา ก็เลยไปรุมกันแก้ปัญหา จนในที่สุดวันที่ 20 เม.ย. ที่ผ่านมา ทางจีนทะยอยปล่อยตู้สินค้าที่ตกค้างของไทยแล้ว อย่างไรก็ตาม การที่ทุเรียนไปติดที่ด่าน นาน 6-9 วัน ทำให้พอเปิดตู้มามีทุเรียนแตกเสียหายทั้งตู้หลายสิบตู้
ก็ยังดีที่หลายฝ่ายช่วยกัน ทั้งสำนักงานส่งเสริมการส่งออกไทยประจำเวียดนาม กระทรงพาณิชย์ และกระทรวงต่างประเทศ ที่ช่วยเจรจา จนปัญหาผ่านพ้นไปได้
5) การขนส่งช่องทางอื่นๆ?
ช่องทาง ด่านทางบก 2 ด่าน คือ ด่านโหย่วอี้กว่าน (เวียดนาม-จีน) และ ด่านโมฮ่าน (ลาว-จีน) ติดขัดทั้ง 2 ด่าน ซึ่งปัจจุบันทางกระทรวงเกษตร ก็พยายามผลักดันที่จะเปิดด่าน “ตงชิน” ซึ่ง เป็นเขตชุมชนเมืองตั้งอยู่ในบริเวณแนวพรมแดนของเวียดนามและจีน โดยทางจีนจัดให้รองรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ได้ถึง 2,000 คันต่อวัน แต่ สินค้าเกษตรไทยยังส่งผ่าน ด่านตงชิน ไม่ได้ เนื่องจากยังติดปัญหาพิธีสารเกี่ยวกับสุขอนามัยพืช ซึ่งล่าสุดทางไทยก็ส่งร่างเอกสารให้จีนแล้ว อาจส่งสินค้าผ่านด่านตงชิน ได้ภายในสิ้นเดือนนี้
นอกจากทางรถบรรทุกแล้ว ก็ยังมีช่องทางขนส่งทางรถไฟจากเวียดนาม เข้าเมืองผิงเสียงได้อีกหนึ่งช่องทาง ซึ่งทางเวียดนามทดลองส่งผลไม้เข้าจีนไปแล้วเมื่อวันที่ 12 ก.พ. ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ไทยยังใช้ช่องทางนี้ไม่ได้ เพราะยังติดเรื่องพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการตรวจสอบและกักกันโรคสำหรับการขนส่งผลไม้ไทยที่ส่งออกผ่านประเทศที่สามเข้าสู่จีน (ไทยคือประเทศที่สาม ไม่มีพรมแดนติดกับจีน)
ดังนั้นก็ต้องรอทำเรื่องพิธีสารฯ อีกพักใหญ่ แต่หากทำสำเร็จ จะเป็นประตูเปิดโอกาสการค้าสู่จีน และยังทะลุไปถึงเอเชียกลาง และยุโรปได้อีกด้วย! น่าสนใจมากๆ!
ส่วนการขนส่งทางอากาศ ช่วงนี้ก็ลำบากมากๆ เที่ยวบินจำกัด และส่งไปอาจไม่คุ้มค่าส่งที่แพงขึ้นมากๆ
ก็เป็นประเด็น ที่คงต้องให้ทางภาครัฐช่วยให้มากๆ โดยเฉพาะในยามวิกฤตแบบนี้
ปัญหาลักษณะนี้ปล่อยให้ผู้ประกอบการไปแก้กันเองนี่ไม่ไหวอย่างแน่นอน
คือ ความต้องการซื้อยังพอมีอยู่ แต่ของส่งไปไม่ได้แบบนี้มันก็น่าปวดหัวเหมือนกัน
════════════════
ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก
หาขนส่งมืออาชีพ
════════════════
ที่มา:
เฟสบุ๊ก อ.อรทัย เอื้อตระกูล
https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/420827
รูป จากกรมวิชาการเกษตร
👫 พิเศษสุด! “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า Marketplace”
สำหรับเพื่อนๆ นำเข้า ส่งออก เชิญค้าขายกันได้เลย
https://www.facebook.com/groups/573677150199055/?source_id=416086589242286
❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก
👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า–ส่งออก