ZUPPORTS 101: รู้จากการขนส่งแบบ Sea LCL หรือ Less than Container Load !!

ZUPPORTS 101: รู้จากการขนส่งแบบ Sea LCL หรือ Less than Container Load !!

.
เชื่อว่า เพื่อนหลายคนอยู่ในแวดวงการนำเข้า-ส่งออก โดยเฉพาะ คนที่ดูแลส่วนงานที่เป็นการขนส่งสินค้าทางทะเล จะต้องเคยเห็นสองคำนี้เป็นประจำ รวมถึง น่าจะรู้กันดีอยู่แล้วกับคำว่า FCL ว่าคือการขนส่งแบบเต็มตู้ และ Sea LCL คือการขนส่งในรูปแบบที่ไม่เต็มตู้ เนื่องจาก ถือเป็นพื้นฐานในการทำงานขนส่งทางเรือ !!
.
หากแต่ อีกหลายคนที่เป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกป้ายแดง รวมถึง บรรดาน้องใหม่ในวงการขนส่งสินค้าทางเรือ มักมีคำถามอยู่ในใจเสมอ ว่าแท้ที่จริงแล้ว ไอ้เจ้าสองคำพื้นฐานที่ว่า มันมีความแตกต่าง โดยเฉพาะคำว่า LCL ซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่า คำว่า FCL หรือมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง ??
.
ดังนั้นในวันนี้ เราจะมาลงลึกกันถึงพื้นฐานของไอ้เจ้า คำว่า LCL หรือ Less than Container Load กัน !!
.
คำว่า FCL และ LCL นั้น มันคือ ประเภทของรูปแบบการขนส่ง ภายใต้การขนส่งสินค้าทางเรือด้วยตู้สินค้า หรือ Sea Freight Container
.
มาเริ่มกันที่ตัวแรก ที่ดูจะทำความเข้าใจง่ายที่สุด และคงไม่ต้องอธิบายกันเยอะ อย่างคำว่า FCL ซึ่งมาจากคำเต็มที่ว่า Full Container Load ซึ่งความหมายก็ชัดเจนตรงตัว ไม่มีความซับซ้อนอะไรมากนักสักเท่าไร ว่า การส่งแบบเต็มตู้นั้น ก็คือการที่ตู้ใบนั้นเป็นของเราคนเดียว !!
.
ซึ่งการขนส่งในรูปแบบเต็มตู้นี้ สาระสำคัญ หรือสิ่งที่เราต้องรู้นั้นก็คือ ตู้คอนเทนเนอร์แต่ละประเภท มันมีความแตกต่างกันที่ตรงไหน ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับสินค้าประเภทไหน เพื่อที่จะสามารถเลือกประเภทของตู้ได้ตรงกับความต้องการของเรา
.
ขณะเดียวกัน รูปแบบการขนส่ง LCL หรือ ที่มาจากคำเต็ม ว่า Less than Container Load นั้น ถูกออกแบบมาสำหรับงานขนส่ง ที่ไม่ได้มีจำนวนสินค้ามากมาย หรือ เยอะพอที่จะขนส่งไปคนเดียวแบบเหมาทั้งตู้คอนเทนเนอร์ ดังนั้น การขนส่งในรูปแบบไม่เต็มตู้ หรือ LCL Mode จึงดูจะตอบโจทก์ สำหรับคนมีสินค้าน้อย ขนาดสินค้าไม่ใหญ่มากนัก !!
.
ทั้งนี้ งานในรูปแบบไม่เต็มตู้ จะเป็นการที่ Freight Forwarder ไปทำการจองเรือ หรือซื้อพื้นที่ระวางจากสายการเดินเรือ ในรูปแบบ FCL ก่อนที่จะมาทำการซอยพื้นที่ย่อยภายในตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อทำการแบ่งขาย ในรูปแบบ LCL ซึ่ง ผู้ที่ให้บริการในลักษณะนี้ เราจะเรียกเขาว่า Agent Co-Loader / Consolidator
.
ปัจจุบัน การขนส่งสินค้าในรูปแบบไม่เต็มตู้ หรือ LCL Consolidation นั้น แบ่งการให้บริการออกเป็นสองประเภทหลักๆ ตามภาพใหญ่ของการให้บริการ คือ LCL Direct Service กับ LCL Re-Consolidation ซึ่ง บริการ LCL ทั้งสองประเภท จะมีความแตกต่างกันตรงที่ ??
.
LCL Direct Service คือการที่ผู้ให้บริการรับขนส่ง ประเภท Agent Co-Loader / Consolidator ให้บริการเปิดตู้ โดยที่ทำการจองเรือกับสายการเดินเรือ ไปยังปลายทางนั้นๆ โดยตรง เช่น Agent Co-Loader เปิดตู้ไปยังท่าเรือปลายทาง อย่าง CHSHA หรือ DEHAM นั่นหมายถึง ตู้ที่เปิดตู้ให้บริการ จะต้องไปทำการจองเรือกับสายการเดินเรือตรงไปยังสองท่าเรือที่ว่า
.
ในขณะที่ ประเภท LCL Re-Consolidation มันคือการที่ Agent Co-Loader / Consolidator ทำการเปิดตู้ไปยังท่าเรือใดท่าเรือหนึ่งก่อน จากนั้น ทำการแกะตู้ขนถ่ายสินค้าออกกลางทาง เพื่อให้ตัวแทนหรือเอเยนต์ของตนทำการจองเรืออีกครั้ง ก่อนจะทำการบรรจุสินค้าเข้าตู้ใบใหม่ เพื่อส่งไปยังปลายทาง เช่น เมื่อเห็นคำว่า Re-Consol Singapore คือรู้ไว้เลยว่า ตู้คอนเทนเนอร์ใบนี้ จะต้องถูกถ่ายตู้อีกครั้งที่สิงคโปร์ ก่อนส่งไปที่ปลายทาง !!
.
ในโลกปัจจุบัน ก็มีบรรดา Freight Forwarder ทั่วไปจำนวนไม่น้อย ที่สามารถให้บริการพลิกแพลงการให้บริการได้แทบจะในทุกมิติ ไม่ต่างจาก Agent Co-Loader / Consolidator เท่าไร หากแต่ส่วนใหญ่ มักจะรับงาน ในรูปแบบการรวบรวมสินค้าจากหลายผู้ส่งออกที่ต้นทาง เพื่อขนส่งให้กับผู้นำเข้ารายเดียวที่ปลายทาง หรือถ้าจะพูดให้เห็นภาพ มันก็เหมือนการที่เราไปเดินซื้อเฟอร์นิเจอร์จากหลายร้านในงานแสดงสินค้า แล้วให้ผู้จัด หรือใครสักคนรวบรวมมาส่งบ้านเราทีเดียว !!
.
ทั้งนี้ การขนส่งในรูปแบบที่ไม่เต็มตู้ หรือ Sea LCL นั้น เป็นการขนส่งที่ค่อนข้างสะดวก ทุกเรื่องที่ว่ายากสำหรับงานเต็มตู้ จะกลายเป็นเรื่องเล็กทันที เนื่องจากผู้รับขนส่ง Agent Co-Loader / Consolidator แถบจะบริการทำให้คุณได้ทุกอย่าง หากแต่ คุณต้องระลึกอยู่เสมอและไม่ลืมว่า ภายในตู้ไม่ได้มีเพียงแค่สินค้าของคุณแต่เพียงผู้เดียว !!!
.
ดังนั้น เรื่องที่ว่าเล็กอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ทันที หากมีเหตุในลักษณะที่ผิดปกติไปจากเดิม จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม นั่นหมายถึงสินค้าของผู้ส่งออกรายอื่นในตู้เดียวกัน จะโดนติดร่างแหไปกับเราด้วยทันที ซึ่งหมายถึง หากคุณต้องการทำอะไรสักอย่าง หรือเปลี่ยนแผนการขนส่ง เช่น ในกรณีที่เกิดเปลี่ยนใจ ขอ Break ตู้กลางทางเพื่อตัดซีล รื้อตู้นำสินค้ากลับ คุณอาจต้องทำจดหมายแสดงความรับผิดชอบต่อสินค้าของทุกคนในตู้ที่อยู่ร่วมกับคุณ !!!
.
และด้วยงานขนส่งแบบไม่เต็มตู้ หรือ LCL Service นั้น มันมีความซับซ้อนที่ซ่อนอยู่ ดังนั้น พื้นฐานที่ รวมถึงการมีพันธมิตร ด้านขนส่ง หรือ Freight Forwarder ที่มีความชำนาญแน่น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก รวมถึงหลายคน ก็คงหายสงสัยกันแล้ว เวลาที่เห็นคำว่า Re-Consol !!!
.
Tips : งานขนส่งด้วยตู้สินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ หรือ Reefer Container ไม่สามารถทำการขนส่งในรูปแบบ ไม่เต็มตู้ หรือ LCL เนื่องจากสินค้าที่ต้องขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมินั้น ต้องการค่าอุณหภูมิหรือความเย็นที่ต่างกัน รวมถึง ปัจจัยทางกายภาพหน้างานต่างๆ เช่น การบรรจุสินค้าที่ท่าเรือ หรือ CFS cargo
.
Tips : งาน LCL Direct Service นั้น มักจะเป็นงานที่ขนส่งไปยังกลุ่มท่าเรือหลัก หรือเมืองที่มีความต้องการในการขนส่งที่สูง ขณะที่ บริการ LCL Re-Consolidation มักจะเป็นงานที่ขนส่งไปยังท่าเรือ หรือเมืองที่ไม่ใช่ MAIN HUB เนื่องจากความต้องการหรือสินค้าที่ไปท่าเรือรองเหล่านี้ค่อนข้างน้อย จึงต้องมีการรวบรวมสินค้าเพิ่มเติมที่จุดถ่ายลำหลัก อย่าง SGSIN, HKHKG, KRBUS เป็นต้น
.
Tips : LCL Service คล้ายกับการซื้อส่งแล้วมาแบ่งขายปลีก หรือการเช่าตึกแล้วมาแบ่งกั้นห้องให้คนเช่าอยู่ต่อ ซึ่งเท่ากับว่าภายตู้คอนเทนเนอร์นั้น จะบรรจุไปด้วยสินค้าที่ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งประเภทของสินค้าและประเภทของหีบห่อสินค้า ดังนั้น การแพคสินค้าด้วยหีบห่อ หรือ Package ที่เหมาะสม จะช่วยให้สินค้าเราปลอดภัยตลอดการขนส่ง

เช็คราคาเฟรทง่ายๆ ผ่าน ZUPPORTS Freight Rate Trend

ผู้นำเข้าส่งออก หรือ Freight Forwarder เช็คแนวโน้มราคาขนส่งระหว่างประเทศ ทาง Sea LCL, Sea FCL, Air Freight ได้ง่ายๆ แล้ววันนี้ผ่านระบบ ZUPPORTS Freight Rate Trend

สนใจลงทะเบียนรับสิทธิ์ทดลองใช้งานฟรีได้ที่

https://forms.gle/zq6hroKSxwuEAch3A

 

=========================

จองส่งออกทาง เรือ  LCL กับ ZUPPORTS

ลงทะเบียนที่ https://zupports.co/register/

=========================

พิเศษ! ZUPPORTS POST

กลุ่มไลน์ Openchat สำหรับ คนในวงการ นำเข้า ส่งออก เข้ามาสอบถามข้อมูล ติดตามข่าวการค้า การขนส่งระหว่างประเทศกันได้ที่ https://bit.ly/3seJRLk

ข่าวสารอื่นๆ