เพื่อนๆที่ทำงานในหน่วยงานจัดหาฯ หรือผู้ประกอบการ ที่ต้องนำเข้าสินค้า น่าจะเคยปวดหัวกับการตีความเรื่องพิกัดภาษีนำเข้า ว่าเราควรจะจ่ายในอัตราเท่าไหร่ดี?
และยิ่งช่วงเงินบาทแข็งแบบนี้ น่าจะเป็นโอกาสดีที่เราจะนำเข้าเทคโนโลยี มาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับการให้บริการ!
บทความนี้แอดมินเลยจะมาแชร์ กรณีศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การจ่ายภาษีนำเข้า โดยจะยกตัวอย่างของอุปกรณ์จำพวกเกียร์มอเตอร์ (Gear Motor) หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย
1. ในการนำเข้าสินค้าการระบุชื่อสินค้าถูกกำหนดโดยผู้ขายต่างประเทศ ซึ่งการพิจารณาเฉพาะชื่อสินค้าไม่อาจบอกได้ว่าสินค้าเข้าพิกัดใด และไม่สามารถระบุได้ว่าสินค้าที่นำเข้ามาจริงๆ คืออะไร
สินค้า Gear / Gear box / Gear Motor (Motor) สามารถเป็นสินค้าได้ดังต่อไปนี้ คือ
a) เกียร์มอเตอร์ (ที่มีมอเตอร์): อากร 0% หรือ 10%
b) เกียร์มอเตอร์ (ที่ไม่มีมอเตอร์): อากร 5% หรือ 10%
c) เกียร์ครบชุดสมบูรณ์: อากร 5%
d) ส่วนประกอบเกียร์: อากร 10%
เนื่องจากพิกัดอัตราศุลกากรของแต่ละสินค้าและอากรขาเข้ามีความแตกต่างกัน ผู้พิจารณาพิกัดจึงต้องทราบว่าสินค้าที่นำเข้ามาจริงๆ แล้วคืออะไร!
หากยกตัวอย่าง เกียร์ตัวใหญ่ ราคาชุดละ 300,000 บาท หากตีความว่าเป็นเกียร์ครบชุดสมบูรณ์ จะเสียภาษี 5% ก็คือ 15,000 บาท แต่หากถูกตีความว่าเป็นส่วนประกอบเกียร์ (เป็น Spare Part) จะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกถึง 15,000 บาท
2. ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็คือ กรณีผู้นำเข้าแจ้งรายละเอียดสินค้าโดยดูเฉพาะชื่อสินค้าทำให้แจ้งรายละเอียดสินค้าคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจเจอปัญหาได้ นั่นก็คือ
3. หากผู้ประกอบการ สำแดงภาษีผิด คือ “น้อยกว่า” ที่เจ้าหน้าที่ตีความ นั่นก็คือ “อากรขาด” กรมศุลกากรตรวจจับฐานสำแดงเท็จและหลีกเลี่ยงอากรและมีค่าปรับ 0.5-4 เท่าของอากรที่ชำระขาด ศาลอาจสั่งริบของ และ/หรือ จำคุกไม่เกิน 10 ปี
4. ในทางตรงกันข้าม หากผู้ประกอบการชำระ “อากรเกิน” กรมศุลกากรไม่ตรวจจับแต่ผู้นำเข้าจะเสียหายเนื่องจากเป็นการชำระอากรมากกว่าที่กฎหมายกำหนด
5. ทั้งนี้จากข้อมูลข้างต้น แอดมินลองยกตัวอย่างกรณีเกียร์ที่ไม่มีมอเตอร์ ก็อาจพิจารณาได้ดังต่อไปนี้
6. กรณีไม่มีมอเตอร์ ให้พิจารณาว่าเป็นเกียร์ครบชุดหรือไม่?
โดยสินค้าเกียร์ครบชุด ก็คือ สามารถผ่อนแรง-ทดกำลังได้สมบูรณ์ ประกอบด้วยล้อเฟือง เฟืองดอกจอก เฟืองรูปกรวย เฟืองฟันเฉียง เฟืองหนอน เฟืองราวเฟืองพีเนียน เฟืองท้าย แบริ่งเกียร์ ซีลเกียร์ เสื้อเกียร์ (รายละเอียดเยอะจังเนอะ อย่าพึ่ง งง)
แบบนี้จะจ่าย อากร 5%
7. หากเราพิจารณาแล้วว่า เกียร์ที่เรานำเข้ามาเป็นส่วนประกอบเกียร์ (นำเข้าไม่ครบชุดสมบูรณ์) ก็จะมีอัตราภาษีที่ต่างไปอีก!!
– เพลา /เฟือง /เสื้อเกียร์ อากร 10%
– เหล็กฐานรองเกียร์ อากร 10%
– ซีลเกียร์ อากร 10%
– แบริ่งเกียร์ 0%
8. ก็เป็นหลักการเบื้องต้น เรื่องการประเมินภาษีนำเข้า ที่ผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจเอาไว้
9. เพื่อนๆ สามารถตรวจสอบภาษีนำเข้า เบื้องต้นด้วยตัวเองได้ แอดลงวิดีโอนี้ไว้ลองดูได้เลย
10. ทั้งนี้กฎเกณฑ์ก็มีโอกาสเปลี่ยนแปลง ผู้นำเข้า ควรตรวจสอบกับกรมศุลกากร ก่อนนำเข้า หรือจะติดต่อตัวแทนนำเข้าส่งออก ไม่ว่าจะเป็นชิ้ปปิ้ง หรือ Freight forwarder ก็สามารถให้คำแนะนำได้
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเรื่องภาษีนำเข้า หรืออยากรู้เรื่องอื่นๆ ก็ คอมเม้นท์ หรือ Inbox (เฟสบุ๊ก) มาคุยกันได้เลย
หรือจะทักไปที่ Line @zupports (มี@) ตามลิงค์ข้างล่างนี้เลยนะ
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม
ติดดาว ⭐ “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”
⚓บริการเช็คราคาขนส่งระหว่างประเทศ ช่วยลดต้นทุน และปรึกษานำเข้า–ส่งออก
👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า–ส่งออก