[Freight Weekly Update] สถานการณ์ การขนส่งระหว่างประเทศ วันที่ 4 -8 เมษายน 65 กับ ZUPPORTS

เตรียมการรับมือวันหยุดยาวของไทย ช่วงสงกรานต์ กับการขนส่งระหว่างประเทศ

 

สัปดาห์นี้ นับเป็นสัปดาห์แรกของการเริ่มต้นไตรมาสที่สอง ประจำปี 2565 ซึ่งถือได้ว่าเป็นไตรมาสที่โหดพอสมควร สำหรับคนที่ในวงการนำเข้า-ส่งออก ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบอยู่ในส่วนงานหารายได้ ที่เราเรียกกันว่าฝ่ายขายหรือ เซลล์นั่นเอง เนื่องจากในไตรมาสสองของทุกปี มีวันหยุดต่างๆค่อนข้างเยอะพอสมควร

 

รวมถึงยังเป็นไตรมาสที่ทดสอบพละกำลังของเหล่าทีมงานหลังบ้าน หรือที่เราเรียกว่า CS and DOC พอสมควร เพราะอย่างที่เรารู้กันว่า งานในแวดวงนำเข้า-ส่งออกรวมถึงขนส่งนั้นไม่ค่อยเหมือนชาวบ้านในสาขาอื่น การมีวันหยุดเยอะจึงไม่ใช่เรื่องดีเท่าไหร่ ดังนั้นยิ่งหยุดไปนานเท่าไร ก็ต้องยิ่งใช้กรรมเท่านั้น เมื่อกลับมาเปิดทำงาน!!

 

ยิ่งในสัปดาห์สุดท้ายก่อนหยุดสงกรานต์แบบนี้ หากเป็นการฝึกของหน่วยรบพิเศษ นี่คือ “สัปดาห์นรก” ชัดๆ

 

อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องราวและสถานการณ์มากมาย ที่ล้วนแต่มีผลกระทบต่อวงการพวกเราทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นประเด็นร้อนของโลก อย่างสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย ที่ส่อเค้ายืดเยื้อกว่าที่หลายคนวิเคราะห์และคาดการ รวมไปถึงภาวะการกลับมาแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ระลอกล่าสุดในประเทศจีน จนถึงขั้นต้องมีการออกคำสั่งล็อคดาวน์ตามเมืองใหญ่อย่าง เซิ่นเจิ้น และล่าสุดคือ เซี่ยงไฮ้

 

ซึ่งในมุมของแอดมินมองว่า นี่อาจเป็นมรสุมลูกใหญ่ที่มีผลกระทบเป็นวงกว้างสำหรับอุตสาหกรรมการขนส่งทั้งทางทะเลและทางอากาศ รวมถึงอาจก่อให้เกิดการบิดเบี้ยวของระบบห่วงโซ่การบริหารและกระจายสินค้า ยิ่งกว่าวิกฤติสงครามในภูมิภาคยุโรปตะวันออกเสียอีก

 

ถ้าพร้อมแล้ว ตามเรามาอัพเดทสถานการณ์กันเลย

 

=========================

ZUPPORTS ควบคุมต้นทุนขนส่งผ่านระบบเปรียบเทียบราคาเฟรทออนไลน์

สนใจลงทะเบียนทดลองใช้งานฟรี ที่ www.ZUPPORTS.co/register

=========================

 

1) เริ่มต้น เรามาดูกันที่ภาพรวมของการจองเรือหรือบุ๊คกิ้ง ดูเหมือนในสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ ในทุกเส้นทางไปยังทุกภูมิภาคยังแน่นและตึงตัวอย่างมาก หากแต่ยังพอมีเรื่องประหลาดใจให้หลายคนยังพอจะยิ้มได้อยู่บ้าง

.

หลายงานที่ทำการจองเข้าไปแบบไม่น่ามีความหวัง แต่กลับได้สเปชและได้รับบุ๊คกิ้งยืนยันการจองจากสายเรือราวมีปาฏิหารย์!!

.

โดยเฉพาะในเส้นทางไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือและตอนล่าง รวมถึงเส้นทางไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ที่หลายสายการเดินเรือ เริ่มทยอยมีการยืนยันการรับจองเรือและส่งบุ๊คกิ้งกลับมา ในรอบเรือช่วงสัปดาห์ที่ 17 -18- 19

.

ทั้งนี้ เหตุเพราะได้รับอานิสงค์จากการที่ เมืองจีนมีการล็อคดาวน์ตามเมืองใหญ่ เนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด 19 และมีการบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดในการควบคุมภาคของการขนส่งและการเดินทางภายในประเทศ จึงทำให้ แรงอุปสงค์ในภาคการส่งออกและนำเข้าของประเทศจีน ซึ่งเป็นพื้นที่หลักบนเรือแม่ในทุกเส้นทางหดหายไป

.

บรรดาสายการเดินเรือจึงปล่อยพื้นที่หรือ Allocation Space ให้กับภูมิภาคอื่นเพิ่มขึ้น หากแต่เราอาจไม่โชคดีแบบนี้ เมื่อจีนเริ่มทำการคลายล็อคดาวน์ในสัปดาห์นี้หรือหลังจากหยุดช่วงเทศกาลเชงเม้ง

.

ในขณะที่สถานการณ์การจองเรือในเส้นทางเอเชียใต้ หรือ Indian Subcontinent ยังคงแน่นในทุกท่าเรือ ชนิดที่ว่าไม่สามารถจะเพิ่มหรือขยับอะไรได้เลย มีแต่จะตัดออกเท่านั้น เนื่องจากสถานการณ์ในภูมิภาคดังกล่าว มีการสะสมของตู้สินค้ารวมถึงสินค้าตามท่าเรือเป็นจำนวนมาก และมีตู้สินค้าที่รอขนส่งไปยังภูมิภาคดังกล่าวอีกมากที่ยังตกค้างรอขึ้นเรือแม่อย่างน้อย 3 สัปดาห์ที่จุดถ่ายลำอย่าง มาเลเซียและสิงคโปร์

 

2) สำหรับในภาพรวมของสถานกาณ์ตู้สินค้า ทั่วโลกยังคงประสบกับปัญหาการขาดแคลนอย่างหนัก โดยเฉพาะในภูมิภาคอเมริกาเหนือในส่วน Inland Point Intermodal (IPI) หรือ จุดที่อยู่ลึกในแผ่นดิน ส่วนที่ไม่ติดทะที่ต้องใช้บรรทุกลากตู้ต่อ, อินเดีย ในส่วน Inland Container Depot (ICD) พวกท่าเรือแห้ง ต่างๆ ที่อยู่ในตอนเหนือ, และ ยุโรปในส่วน Midland ของภูมิภาค ซึ่ง กำลังเจอกับภาวการณ์ขาดแคลนตู้สินค้าในส่วนพื้นที่ ที่ตั้งอยู่ใจกลางของทวีป

.

ทั้งนี้เนื่องจากหลายประเทศในภูมิภาคดังกล่าว กำลังประสบกับปัญหาเรื่องการขนส่งและลำเลียงตู้สินค้าภายในประเทศ เนื่องจากภาวะการขาดแคลนในภาคขนส่งและภาคแรงงาน อันเป็นผลลูกโซ่ที่สืบเนื่องมาจากภาวะโควิด 19 จนเป็นเหตุให้ตู้สินค้าจำนวนมากไม่มีการหมุนเวียนอย่างที่ควร

.

อย่างกรณีในประเทศ สหรัฐอเมริกา ที่ปัญหาหนัก อยู่ที่การขาดแคลนบุคลากรในภาคขนส่ง รวมถึงการขาดแคลน หางเทรลเลอร์สำหรับวางตู้หรือ Chassis

.

ทั้งนี้อย่างที่รู้กันสำหรับคนที่ทำในเส้นทางอเมริกาคือ การจองหัวลากบ้านเขา จะมีแต่หัว ส่วนหางต้องหาไปเองหรือใช้ของสายการเดินเรือ ซึ่งในปัจจุบัน ที่หางขาดแคลนเนื่องจากมันมีจำนวนจำกัด และถูกนำไปใช้วางตู้เพื่อรอหัวมาลากจากท่า หรือลานนั้นๆ ดังนั้นยิ่งจำนวนหัวลากมีน้อยเท่าไร การหมุน หรือการ Turn Over ของหางที่วางตู้ก็ยิ่งลดน้อยลงเท่านั้น

.

รวมถึงในประเทศจีนเอง ที่คาดกันว่าจะต้องประสบกับปัญหานี้เช่นกันในอีกไม่เกินสองสัปดาห์จากนี้

เนื่องจากสถานการณ์การล็อคดาวน์ในประเทศจีนช่วงที่ผ่านมานั้น ทำให้มีตู้สินค้าอีกเป็นจำนวนมากตกค้างอยู่ในประเทศจีน และตามท่าเรือหลักต่างๆ

.

ในส่วนบ้านเรา ภาพรวมการบริหารจัดการหลายสายการเดินเรือ หลายลาน ยังถือว่าทำได้ดี แต่ในบางสายการเดินเรือที่มีเส้นทางให้บริการระยะไกล หรือสายนอก Long haul ยังคงประสบกับปัญหาติดขัดและฝืดเคืองพอสมควร เนื่องจากตู้สินค้าไปตกค้างอยู่ในภูมิภาคยุโรป และภูมิภาคอเมริกาเหนือเสียส่วนใหญ่

.

หากแต่ ต้องจับตาดูว่าบ้านเราจะต้องเจอกับปัญหาการขาดแคลนตู้แบบสาหัสเหมือนในปีที่ผ่านมาหรือไม่ จากการล็อคดาวน์ที่ประเทศจีน เนื่องจากบ้านเรา ตู้ที่ใช้ส่งออกส่วนมาก เป็นการเกี่ยวมาจากตู้ขาเข้า ที่นำสินค้าเข้ามาจากจีน รวมถึงหลายบริษัทในบ้านเรา ต่างเร่งทำการดันงานให้จบก่อนหยุดยาวช่วงสงกรานต์

 

3) กลับมาที่ภาพรวมของตารางเดินเรือ ที่ดูจะเป็นปัญหาหนักสำหรับทุกคนในวงการแทบจะทั่วโลก เนื่องจากหลายเส้นทางขนส่ง มีการเปลี่ยนแปลงกันเป็นว่าเล่น แทบไม่มีเค้าเดิมของตารางเรือที่เคยออกเป็นรายสัปดาห์เลย

.

ที่หนักสุดดูเหมือนจะเป็นเส้นทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิค (Trans Pacific) รวมถึงเส้นทางไปยังภูมิภาคยุโรป (Far East to Europe) ที่เริ่มเห็นบางสายการเดินเรือมีการปล่อยตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing เนื่องจากสินค้าหลักที่ขึ้นเรือต้นทางจากจีนหดหายไป เนื่องจากไม่พร้อมส่งออก

.

นอกจากนี้ เส้นทางภูมิภาคเอเชียใต้ และเส้นทางภายในภูมิภาคเอเชีย ที่กำลังประสบกับปัญหาตารางเรือแกว่ง เนื่องจากเรือใช้เวลารอเทียบท่าและใช้เวลาทำการขนถ่ายนานขึ้น จึงทำให้เรือไม่สามารถหมุนกลับมาเข้ารอบเรือของตนได้ทัน จนตารางเรือบิดและรวนอย่างที่เราๆกำลังประสบกัน

 

4) ในส่วนของค่าระวางขนส่ง หรือค่าเฟรท ภาพรวมในตลาดโลก แนวโน้มเพดานเริ่มลดต่ำลง จำนวนบุ๊กกิ้งหรืองานที่ถูกปล่อยภายใต้การจองแบบ “FAK (Freight All Kind). เริ่มมีมากขึ้นในหลายเส้นทาง โดยเฉพาะในเส้นทางจากเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรป เนื่องจากตลาดสินค้าจากจีนหดลง หากแต่ในเส้นทางไปยังภูมิภาคหลักอย่างอเมริกาเหนือ เพดานค่าเฟรทยังคงอยู่ในระดับสูง และงานส่วนมากยังคง ต้องจองเรือในแบบราคาพิเศษ “Premium Rate” เสียเป็นส่วนใหญ่

.

ขณะที่ในบ้านเราเอง ที่ดูเหมือนค่าระวางขนส่งยังคงทรงตัวในแทบจะทุกเส้นทาง แต่ก็ยังไม่มีสัญญาณการปรับเพดานลงหรือล้อไปตามกระแสโลก เนื่องจากเมื่อเทียบสัดส่วนแล้ว ความต้องการหรือปริมาณสินค้าที่ส่งออก ยังคงมีสูงกว่าเมื่อเทียบกับจำนวนพื้นที่หรือ Allocation Space ที่สายการเดินเรือรับได้ เว้นแต่ในเส้นทางภายในภูมิภาคเอเชีย (Intra Asia) ที่เริ่มเห็นการปรับเพดานค่าเฟรทลง ในบางท่าเรือ

 

5) เชื่อว่าประเด็นที่ค่าระวางเริ่มปรับตัวลงนี้ ตัวแทนรับขนส่ง หรือ Freight Forwarder หลายที่ กำลังประสบกับปัญหาเรื่องการสื่อสารกับตัวแทนต่างประเทศหรือ Oversea Agent โดยเฉพาะงานประเภท Nominate Routing Shipment ที่บรรดา Agent ต่างพยายามรบเร้า หรือเร้าหรือ ให้บ้านเราจองเรือภายใต้ FAK เพื่อต้องการต้นทุนที่ต่ำกว่า

.

ในขณะที่ความเป็นจริงในบ้านเรา เกือบร้อยล่ะ 90 สายการเดินเรือจะรับแต่งานที่จองภายใต้ Premium Rate เท่านั้น ส่วนการจองภายใต้ FAK คงต้องรอยาวๆท้ายสุด ถึงจะรับ เนื่องจากมุมที่ต่างประเทศรับรู้หรือได้รับข้อมูล มันสวนทางกับความจริงในการจองเรือบ้านเรือ รวมถึงในหลายประเทศต้นทางในเอเชีย

.

ในมุมของแอดมินมองว่า เพดานค่าระวางขนส่งในทุกๆเส้นทาง มันแตะจุดที่เรียกว่าสูงที่สุดแล้ว หากแต่ตัวที่ยังไม่เห็นเพดานคือ ในส่วนอัตราค่าเชื้อเพลิง หรือ Bunker รวมไปถึง พวกค่าใช้จ่ายประเภทค่าธรรมเนียมเบี้ยรายทาง ที่บรรดาตัวแทนรับขนส่งหรือสายการเดินเรือ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การขนส่ง มีการคิดจัดเก็บตัวใหม่ออกมาเรื่อยๆ และสุดท้ายคือการพลักมาที่ ผู้ซื้อและผู้ขายสินค้า

.

อนึ่ง หลังวันที่ 1 เมษายน 2565 ตู้สินค้าทุกใบที่มีการผ่านเข้าออก ท่าเรือ Long beach < USLGB > / Los Angeles <USLAX> จะต้องถูกเรียกเก็บ CTF ( Clean Truck Fund ) USD 10 per TEU

.

ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมตัวใหม่ ที่เรียกเก็บตามประกาศโดยนายกเทศมนตรี Los Angeles ซึ่งว่ากันด้วยเรื่องค่าธรรมเนียมสำหรับเรียกเก็บยานพาหนะที่มีการปล่อยมลภาวะทางอากาศของเมือง

 

6) ประเด็นสุดท้าย ในส่วนภาคความหนาแน่นของท่าเรือต่างๆ โดยรวมถือว่าแน่นและตึง ทุกท่าเรือหลักในทุกภูมิภาคทั่วโลก ยังคงมีตู้สินค้าสะสมตกค้างเป็นจำนวนมาก

.

รวมถึงปริมาณเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบเพื่อขนถ่าย ยังมีจำนวนมากขึ้นกว่าเมื่อสองสัปดาห์ก่อน ไล่มาตั้งแต่ท่าเรือหลัก ในภูมิภาคอเมริกาเหนือทั้งสองฝั่ง USEC / USWC ที่ยังมีปริมาณเรือสินค้ารอเทียบเป็นจำนวนมาก

.

มีบ้างที่เริ่มมีสัญญาณดีขึ้นในบางท่าเรือ อย่าง USSAV ที่เริ่มทยอยระบายได้ดีขึ้น , ถัดไปคือภูมิภาคยุโรป โดยเฉพาะที่ ท่าเรือหลักอย่าง DEHAM และ GBFLX ซึ่งยังคงมีเรือสินค้าจำนวนมาก รอเทียบท่า โดยเสียเวลารอเพิ่มเป็น 4 -7 วัน เนื่องจากมีตู้สินค้าจำนวนมากตกค้างในท่าและรอการระบายออก

.

ในขณะที่ภูมิภาค เอเชียใต้ อย่าง โคลอมโบ/LKCMB ที่กำลังประสบกับปัญหาตู้สินค้าตกค้างสะสมในท่าและนับวันปัญหายิ่งหนักขึ้น เนื่องมาจากวิกฤติการขาดแคลน พลังงานอย่างหนักรวมถึงปัญหาเงินเฟ้อภายในประเทศ ที่ดึงราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคขนส่งสูงขึ้น จนเป็นเหตุให้ภาวะขาดแคลนรถบรรทุก จนสถานการณ์ภาคขนส่ง เริ่มเข้าสู่จุดวิกฤติ

.

รวมถึงท่าเรือหลักในภูมิภาคเอเชียของเรา ที่ปัญหาความหนาแน่น มีสาเหตุจากการบริหารจัดการท่าที่ไม่สอดคล้องกับจำนวนตู้สินค้า รวมถึงเหตุจาก ภาวะการระบาดของโควิด 19 ที่ทำให้กำลังการปฏิบัติงานในแต่ล่ะท่าเรือทดถอยลง อย่างเช่นที่ เมืองจีน อย่าง HKHKG/ CNSHK/ CNYTN / CNSHA ที่กำลังเป็นคอขวด ทั้งสินค้าขาเข้าและขาออกจากท่า มากองและสะสมที่ท่าเป็นจำนวนมหาศาล เนื่องจากการล็อคดาวน์และมาตรการเข้มงวดในการเคลื่อนย้ายของภาคขนส่งระหว่างเมืองที่ทำได้ยากขึ้น

.

หลายฝ่ายกำลังจับตาดูกันว่าท่าเรือใด ที่กำลังจะได้รับผลกระทบแบบลูกโซ่ เป็นท่าต่อไปเนื่องจาก 4 ท่าเรือหลักของจีนที่กล่าว รับไม่ไหวและเกินเยียวยา

 

——————————

 

ทั้งหมดที่เล่ามา คือภาพรวมของสถานการณ์ รวมถึงทิศทางแง่มุมต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางเรือในรอบสัปดาห์ ซึ่งอาจมีทั้งเรื่องที่เป็นพอเป็นแรงส่งหรือเอื้อต่อการทำงาน และหลายสถานการณ์ที่ยังคงไม่เป็นใจ

.

โดยในบ้านเราเองกำลังเข้าสู่การทำงานในสัปดาห์สุดท้าย ก่อนที่จะหยุดยาวเนื่องจากเทศกาลสงกรานต์ เชื่อว่าทุกบริษัท รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่างพยายามเร่งพลักดันสะสางงานที่คั่งค้างก่อนปิดงาน

.

แน่นอนสิ่งหนึ่งที่เลี่ยงไม่ได้ คือปัญหาการลากตู้เปล่าเพื่องานส่งออก ที่ต่างคนต่างเร่งเพื่อให้ทันก่อนหยุดแบบสบายใจ รวมถึงคนที่ทำขาเข้า ที่พยายามเร่งหรือเฆี่ยนให้จบก่อนหยุดเพื่อหลีกเลี่ยง ค่าใช้จ่ายต่างๆที่นอกเหนือการควบคุม เช่น ค่าวางตู้ Storage and Demurrage ที่บ้านเรา จะวิ่งมาคู่กัน ไม่เหมือนในบางประเทศที่มีการแบ่งกันชัดเจน

.

แน่นอน พวกเราทีมงาน ZUPPORTS จะยังคงอยู่เคียงข้าง ทุกท่าน ในภาวะเร่งด่วนเช่นนี้ และจะกลับมารายงานสถานการณ์ในรอบสัปดาห์เช่นเคยในคราต่อไป พบกับพวกเราได้ไหมในสัปดาห์หน้า สวัสดี

 

——————————

 

 

สำหรับช่วงนี้ ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ที่ประสบปัญหาจองเรือไม่ได้ ราคาเฟรทแพง แอดมิน ขอแนะนำ ZUPPORTS แพลตฟอร์มดิจิตอล ที่ได้รวบรวมเฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์หรือผู้ให้บริการขนส่ง ในระบบมากกว่า 100 ราย

.

ช่วยผู้นำเข้าส่งออก สามารถ Bid และเปรียบเทียบ ราคาขนส่งทางทะเล ทางอากาศ ทางบก ได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์

.

นอกจากนี้เรายังช่วย เชื่อมโยงข้อมูล ทั้งระบบติดตามเอกสารขนส่ง, งานศุลกากร, ประกันภัย, บริการทางการเงิน ทำให้บริษัท บริหารงานนำเข้าส่งออก ได้ครบ จบในที่เดียว

.

เพื่อนๆที่สนใจ ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ ทดลองใช้ระบบฟรี ได้ที่ www.ZUPPORTS.co/register

 

=========================

ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ นำเข้า ส่งออก

เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk

=========================

 

 

ประชาสัมพันธ์: เพื่อนๆ ในวงการนำเข้าส่งออก ขนส่งระหว่างประเทศ ที่กำลังมองหาโอกาศดีๆ ในการเข้ามา เพื่อพัฒนาเปลี่ยนแปลงวงการนี้

.

พร้อมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยผู้ประกอบการไทย ให้ขยายธุรกิจ เติบโต ไปสู่ระดับภูมิภาค หรือแข่งขันในระดับโลกได้

.

แอดมินขอแนะนำสตาร์ทอัพไทย “ZUPPORTS” ที่มีเป้าหมาย ที่จะทำให้การนำเข้าส่งออก ขนส่งระหว่างประเทศ เป็นเรื่องง่ายๆ เหมือนการช้อปปิ้งออนไลน์

.

ปัจจุบันทีมงาน ZUPPORTS กำลังมองหาเพื่อนร่วมงาน หลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็น

.

1) Fullstack software developer/Front-end/Back-end คนที่อยากมาสร้าง Product เพื่อปฏิวัติวงการขนส่งระหว่างประเทศด้วยกัน

.

2) Sales / Sales Coordinator ที่มีประสบการณ์ขายแบบ B2B หรือ อยู่ในแวดวงการธุรกิจ ซอฟต์แวร์ หรือ ธุรกิจขนส่งระหว่างประเทศ ก็ได้

.

3) Customers service (Customer success) สำหรับเพื่อนๆ ที่มีใจรักในงานบริการ และทำงานในสาย เฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ หรือสายเรือ มาก่อน เหมาะกับงานนี้มากๆ

.

ใครสนใจอย่ารอช้าเปิดรับหลายอัตรา ส่งข้อมูลมาได้เลยที่

https://forms.gle/P3D5gS6yN3d5Pfs18

 

ข่าวสารอื่นๆ