ต้องบอกก่อนว่า สถานการณ์ขนส่งทางทะเลก็ยังย่ำแย่อยู่เหมือนเดิม โดยผู้นำเข้า ส่งออก คงมีโอกาสได้เจอสายเรือ “Rollover” หรือถูกเลื่อนไปขึ้นเรือลำหน้า ส่วนหนึ่งเพราะพื้นที่และตู้มีจำกัด แต่เมื่อมีคนที่อยากไปมากกว่า คนที่สู้ราคาไม่ไหว ก็ต้องโดนทำร้ายจิตใจกันไป T-T
แต่ข้อมูลล่าสุด ก็คือ ดัชนี Drewry Container Port Throughput ที่เริ่มปรับตัวลดลงเล็กน้อยแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูงมากๆ อยู่ดี
ดัชนี Drewry Container Port Throughput คืออะไร ในบทความนี้เราจะลองไปศึกษากัน และลองไปอัพเดตตัวเลขอื่นๆ กันด้วย
หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย
=========================
นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม
“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”
=========================
1) ดัชนี Drewry Container Port Throughput ถูกจัดทำโดย Drewry บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน และการขนส่ง โดยดัชนีดังกล่าว เกิดจากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ปริมาณการขนส่งที่ท่าเรือต่างๆ ทั่วโลกกว่า 235 ท่าเรือ คิดเป็น 75% ของปริมาณการขนส่งทั้งโลก
.
โดยดัชนีนี้ เริ่มจัดทำตั้งแต่เดือน มกราคม ปี 2555 โดยกำหนดให้ความหนาแน่นที่ท่าเรือ ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็น 100 จุด
2) สำหรับดัชนี Drewry Container Port Throughput ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาต่อเนื่อง ตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยไปทำจุดสูงสุดในเดือน ตุลาคม 2563 ที่ 139.6 จุด และล่าสุดเพิ่งมีการประกาศตัวเลขเดือน พฤศจิกายน ก็พบว่า ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน โดยลดลง 2.4% (หรือ 3.4 จุด) มาอยู่ที่ 136.1 จุด
3) โดยหากดูเฉพาะที่จีน ตัวเลขลดลง 2.9% มาอยู่ที่ 147.6 จุด ในเดือน พฤศจิกายน 2563 แต่ตัวเลขนี้ก็ยังถือว่าสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2562 สาเหตุหนึ่งก็อย่างที่ทราบ ทั้งสหรัฐฯ และยุโรปยังเร่งนำเข้าทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
4) ท่าเรือที่ฮอตฮิตที่สุดก็คงหนีไม่พ้น ท่าเรือฝั่งอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ที่ดัชนีวิ่งขึ้นไปถึง 162 จุดในเดือน ตุลาคม 2563 ส่วนเดือนพฤศจิกายน ปรับตัวลดลง 5% แต่โดยรวมความหนาแน่นที่ท่าเรือในอเมริกาเหนือ ก็เพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2562 ถึง 15%
5) นอกจากนี้ทาง Drewry เองก็ยังมีดัชนี ค่าระวางเรือตู้ หรือ World Container Index โดยตัวเลขล่าสุดวันที่ 21 มกราคม 2564 ก็อยู่ที่ เฉลี่ย 5,340 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับตู้ 40 ฟุต ซึ่งค่าระวางนี้เป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปี นับตั้งแต่เริ่มมีการคำนวณดัชนีในปี 2554 เลยทีเดียว
.
และหากเทียบกับช่วงปี 2562 ที่ค่าระวาง เฉลี่ยอยู่ในช่วง 1,500 เหรียญสหรัฐฯ ก็พบว่าต้นทุนขนส่งปรับตัวโดยเฉลี่ยมากกว่า 3 เท่าตัวแล้ว
6) ต้นทุนเชื้อเพลิง ก็ยังอยู่แนวโน้มขาขึ้น เป็นปัจจัยกดดันให้สายเรือขึ้นราคาขนส่งไปอีก โดยสรรหาวิธีเก็บเงินผ่าน surcharge รูปแบบต่างๆ
7) ที่น่าสนใจคือ ปริมาณ Idle Capacity หรือเรือที่จอดทิ้งไว้เฉยๆ ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จาก 6% ในเดือน สิงหาคม 2563 เหลือประมาณ 2.2% ในเดือน มกราคม 2564 ราคาดีแบบนี้ ก็ต้องรีบเอาเรือมาวิ่งทำกำไรกันหล่ะ
8) ลองดูทั้ง 4 กราฟ ใน link เดียว
https://www.drewry.co.uk/container-insight-weekly]
9) สำหรับ ผู้นำเข้า ส่งออก กำลังมองหา “ตัวช่วย” จองขนส่งทางอากาศ ทะเล และทางบก และ ควบคุมต้นทุนขนส่ง สามารถติดต่อสตาร์ทอัพไทย อย่าง ZUPPORTS ได้
.
ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษได้แล้ววันนี้ที่ https://zupports.co/register/
——————————–
หากไม่อยากพลาดความรู้ ข่าวสาร ดีๆ กดไลค์เพจ และกด Favorites ในเฟสบุ๊ก กันไว้เลย
.
และหากบทความมีประโยชน์ ก็กดไลค์โพสและแชร์ให้เพื่อนๆ กัน ได้เลยจ้า
=========================
นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม
“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”
=========================
(ad) พิเศษ! ZUPPORTS บริการดีๆ สำหรับผู้นำเข้าส่งออก ช่วยบริหารจัดการ ขนส่งระหว่างประเทศเปรียบเทียบราคา และจองขนส่งทั้งทางทะเล อากาศ และทางบก ได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์
.
ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษและข่าวสถานการณ์การค้าโลก ได้แล้ววันนี้ที่ https://zupports.co/register/
——————————–
ที่มา:
https://www.logistics-manager.com/drewry-releases-latest-port-throughput-indices/
——————————–
❤️ อ่านบทความ ของ “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า” ได้ที่
https://www.zupports.co/author/zupports/
นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า marketplace: ซื้อ-ขาย สินค้าทั้งในและต่างประเทศ ร่วมกลุ่มได้เลยที่
https://www.facebook.com/groups/573677150199055/
#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า#นำเข้า #ส่งออก
#ZUPPORTS