ท่ามกลางสงครามการค้า จีน-สหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อการ นำเข้า ส่งออก ของไทย ในหลายๆ ประเทศ แต่ในวิกฤต ก็ยังมีโอกาสทางการค้าที่สำคัญ โดยเฉพาะการค้าชายแดน🌟
════════════════
ช่วยให้การค้าข้ามแดน สะดวกและง่ายขึ้นด้วย
════════════════
ทาง “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า” จึงขอนำเสนอ เรื่องราวการค้าชายแดน และอัพเดตสถานการณ์การค้า จะเป็นอย่างไร ไปติดตามกันเลย 👉
1) “การค้าชายแดน” หมายถึง การค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ มาเลเซีย เมียนมาร์ สปป.ลาว และ กัมพูชา โดยการส่งออกและนำเข้า ผ่านทาง “จุดผ่านแดน” ที่จัดตั้งขึ้นบริเวณชายแดนไทยกับประเทศเพื่อน บ้านอย่างเป็นทางการตามประกาศกระทรวงมหาดไทยภายใต้พระราชบัญญัติการตรวจคนเข้าเมือง ได้แก่ จุดผ่านแดนถาวร จุดผ่านแดนชั่วคราว และจุดผ่อนปรน
2) “การค้าผ่านแดน” หมายถึง การขนส่งสินค้า ผ่านเข้า-ออกไทย ผ่านประเทศเพื่อนบ้านประเทศหนึ่งไปยัง อีกประเทศหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นการนำไป ขนส่ง ต่อหรือใช้อุปโภคบริโภคในประเทศเองก็ได้ โดยประเทศคู่ค้าผ่านแดน ที่สำคัญ ได้แก่ จีนตอนใต้, เวียดนาม, และสิงคโปร์
3) มูลค่า “การค้า” ในที่นี้คือ ผลรวมของมูลค่า นำเข้า และ ส่งออก โดยในปี 2561
– ไทยค้าขายกับทั้งโลก มีมูลค่าการค้าประมาณ 16 ล้านล้านบาท
– มูลค่าการค้า กับ 7 ประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย, เมียนมา, สปป.ลาว, กัมพูชา, สิงคโปร์, จีนตอนใต้, และเวียดนาม) รวมกันถึง 5.3 ล้านล้านบาท หรือ 33% ของมูลค่าการค้ารวม
– และมีมูลค่าการค้าผ่านแดนและข้ามแดนอยู่ที่ประมาณ 680,000 ล้านบาท หรือ 13% ของมูลค่าการค้ากับ 7 ประเทศเพื่อนบ้าน
4) สำหรับ 6 เดือนแรกของปี 2562 ประเทศไทยมีมูลค่าการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น เล็กน้อย ประมาณ 1.2% แต่มีประเทศที่เราทำการค้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก 2 ประเทศ คือ กัมพูชา และจีนตอนใต้
5) การค้าชายแดนกับประเทศกัมพูชา 6 เดือนแรกของปี 2562 เพิ่มขึ้น 14% จาก 70,362 ล้านบาท เป็น 80,221ล้านบาท
– แบ่งเป็นการส่งออกที่เพิ่มขึ้น 20% จาก 57,331 ล้านบาท เป็น 68,932 ล้านบาท
– และการนำเข้าที่ลดลง 14% จาก 13,031 ล้านบาท เป็น 11,289 ล้านบาท
6) สินค้าส่งออก ไปกัมพูชา ที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
– เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (+20%)
– รถยนต์ อุปกรณ์ฯ(+10%)
– รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (-10.7%)
– เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบฯ (+1%)
– สินค้าแร่และเชื้อเพลิงอื่น ๆ (+178%)
7) สินค้านำเข้า จากกัมพูชา ที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
– ผักและของปรุงแต่งจากผัก(-23%)
– ลวดและสายเคเบิลที่หุ้มฉนวน (+8.9%)
– อะลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์(-27.9%)
– เสื้อผ้าสำเร็จรูป (-1%)
– สัตว์น้ำ (+9.7%)
8) ด่านการค้าสำคัญที่มีมูลค่าการค้าสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ ด่านศุลกากรอรัญประเทศ มีมูลค่าการค้ารวม 50,413 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.8 ของการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา รองลงมาได้แก่ ด่านศุลกากรคลองใหญ่ด่านศุลกากรจันทบุรีและด่านศุลกากรช่องจอม
9) การค้าผ่านแดนกับ จีนตอนใต้ 6 เดือนแรกของปี 2562 เพิ่มขึ้น 40% จาก 42,698 ล้านบาท เป็น 59,540 ล้านบาท
– แบ่งเป็นการส่งออกที่เพิ่มขึ้น 51% จาก 15,847 ล้านบาท เป็น 23,942 ล้านบาท
– และการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น 32% จาก 26,851 ล้านบาท เป็น 35,598 ล้านบาท
10) สินค้าส่งออก ไปจีนตอนใต้ ที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
– ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง (+275%)
– เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ฯ (-27%)
– ลำไยแห้ง(+182%)
– วงจรพิมพ์(+44%)
– อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด (+156%)
11) สินค้านำเข้า จากจีนตอนใต้ ที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
– เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (+43%)
– เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็กสำหรับ คอมพิวเตอร์ (+10%)
– ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ (+16,048%)
– เครื่องรับ-ส่งสัญญาณและอุปกรณ์ติดตั้ง (โทรศัพท์ วิทยุ โทรเลขฯ) ฯ (-6.9%)
– เคมีภัณฑ์อื่น ๆ (+217%)
12) การขนส่งหลักๆ จากจีนมาไทย จะผ่านทางประเทศลาว โดยด่านการค้าสำคัญที่มีมูลค่าการค้าสูงสุดได้แก่ ด่านศุลกากรมุกดาหารมูลค่าการค้ารวม 39,099 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 65.7 ของการค้าผ่านแดนไทย-จีนตอนใต้รองลงมาได้แก่ ด่านศุลกากรเชียงของ ด่านศุลกากรนครพนม ด่านศุลกากรเชียงแสน และด่านศุลกากรหนองคาย
จริงๆ ต้องถือว่า ที่ผ่านมา เราเสียเปรียบดุลการค้ากับทางจีนตอนใต้ไปมาก เริ่มตั้งแต่สินค้าเกษตร มาจนถึงช่วงนี้ที่ตลาด การค้าออนไลน์ เติบโตอยากมาก พ่อค้าแม่ค้าไทย ต่างสั่งสินค้าจาก 1688 หรือ Taobao มาขายใน Shopee Lazada กันอย่างเมามัน แต่การที่การขนส่งสะดวกขึ้น ก็มีประโยชน์ต่อการส่งออกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ช่วงหลังพอคนจีนเริ่มมีกำลังซื้อมากขึ้น เราก็เริ่มส่งสินค้าไปขายได้มากขึ้น เป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญ
สำหรับประเทศ กัมพูชา ปัจจุบันก็กำลังเติบโตอย่างมาก ด้วยขนาดประชากร 16.5 ล้านคน อัตราการเติบโตของประชากร 1.46% ต่อปี สูงกว่าไทยอย่างมีนัยยะสำคัญ และ ที่อายุน้อยกว่า 22 ปี มีประมาณ 50% ของประชากร ทำให้เป็นอีก หนึ่งประเทศที่เราต้องให้ความสำคัญ
โดยสรุป คือ ทุกวิกฤตมีโอกาส อยู่ที่พ่อค้าแม่ค้า หัวใส จะคว้าโอกาสไปได้หรือไม่
ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม
“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”
❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก
👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการ นำเข้า – ส่งออก