ยิ่งเพิ่มเรือขนส่งทางทะเล ท่าเรือในสหรัฐฯ ยิ่งย่ำแย่

ช่วงนี้ใครส่งออกสินค้า ไปขายสหรัฐฯ ยังต้องระมัดระวังเรื่องดีเลย์ สินค้ารอโหลดกันเยอะมาก

โดยพบว่าการที่สายเรือเพิ่มเที่ยวเรือไปสหรัฐฯ กลับทำให้สถานการณ์แย่ลงเรื่อยๆ

ในบทความนี้เราไปอัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศล่าสุดกัน

หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

1) อย่างที่เราพอทราบว่าความต้องการนำเข้าสินค้าไปสหรัฐฯ ช่วงที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วกว่า 30% สืบเนื่องมาจากการอั้นช่วงล็อคดาวน์โควิด และความต้องการซื้อสินค้าคงทนที่เพิ่มขึ้นหลังโควิด ทำให้สายเรือพากัน เพิ่มเที่ยวเรือให้รองรับความต้องการขนส่ง

2) อย่างไรก็ตาม อะไรที่มากไปก็ย่อมไม่ดี โดยทาง Alphaliner ทำสำรวจล่าสุดพบว่า มีเรือจอดเทียบท่าที่ท่าเรือ San Pedro ใน ลอสแองเจลลิส ฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ กว่า 27 ลำ และมีเรือทอดสมอรอเทียบท่ากว่า 41 ลำ คิดเป็นปริมาณตู้สินค้ารวม มากถึง 579,100 TEU เลยทีเดียว! (คิดภาพไทยส่งออกทั้งปี 5 ล้าน TEU)

3) โดยเรือที่จอดทอดสมอกว่า 41 ลำนั้น คิดเป็นกำลังขนส่งรวมกัน 336,500 TEU โดยต้องรอไปอีกอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แล้วไหนจะรอโหลดสินค้ากลับ และกว่าจะวิ่งกลับมาเอเชีย รวมๆก็คง เกือบ 2 เดือน

4) ทางสายเรือ MSC เอง ได้มีการเพิ่มกำลังขนส่งมากกว่า 81.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเส้นทางขนส่งที่เพิ่มขึ้นหลักๆ ก็คือ transpacific หรือระหว่างเอเชีย-สหรัฐฯ นี่แหล่ะ สำหรับสายเรืออื่นๆ เช่น Yang Ming เพิ่มขึ้น 29.9% และ Hapag-Llyod’s 20.3%

5) ซึ่งการที่เรือต้องไปจอดรอเฉยๆ ทำให้สายเรือสูญเสียรายได้สูงมากๆ เลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่มาก VLCS ที่ขน ตู้ยาว 40 ฟุต ได้ 4,000 ตู้ จากเซี่ยงไฮ้ ไป ลอสแองเจลลิส 1 เที่ยว จะทำรายได้มากกว่า 500 ล้านบาท ต่อเที่ยวเลยทีเดียว

6) ผลกระทบก็คือ เมื่อไม่มีเรือขาเข้าเอเชีย ฝั่งขาออก ก็อาจต้องรอไม่นิดนึง เจอโรคเลื่อนกันเหมือนกัน และสายเรือก็ชดเชย รายได้ที่หายไป ด้วยการปรับขึ้นค่าพรีเมี่ยม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ที่ปกติไม่ได้ถูกเก็บข้อมูลในดัชนีต่างๆ เช่น SCFI ที่เราคุ้นเคย)

7) สำหรับสถานการณ์เรื่องตู้คอนเทนเนอร์ ในแต่ละท่าเรือ ดูเหมือนจะดีขึ้นแล้ว โดยรอบนี้ทาง Container Xchange ใจดี เพิ่มตัวเลขของท่าเรือกรุงเทพฯ ให้ด้วย แอดมินสรุปมาให้คร่าวๆ 3 พอร์ทหลัก

– Bangkok: CAx 20’ = 0.62 / CAx 40’ = 0.75

– Long Beach California: CAx 20’ = 0.9 / CAx 40’ = 0.85 (ตู้ค้างเยอะมาก)

– Shanghai: CAx 20’ = 0.35 / CAx 40’ = 0.25 (ตู้เริ่มมีแล้ว แต่ก็ยังน้อยกว่าความต้องการส่งออก)

(โดยตัวเลข CAx ที่น้อยกว่า 0.5 คือ ตู้น้อยกว่าความต้องการที่ท่าเรือนั้นๆ ลองดูรูปประกอบกันได้)

8) สถานการณ์การขนส่งทางทะเลก็ยังตึงๆ ต่อไป รอการเปลี่ยนแปลงหลังช่วงตรุษจีน ทางผู้นำเข้า ส่งออก ต้องติดตามสถานการณ์กับทางเฟรท ฟอร์เวิร์ดเดอร์ หรือสายเรือ อย่างใกล้ชิด

9) ส่วนสถานการณ์ขนส่งทางอากาศ เริ่มมีหลายๆ เฟรท ฟอร์เวิร์ดเดอร์ เริ่มจองเที่ยวบินเช่าเหมาลำกันแล้ว ส่วนหนึ่งเพื่อรองรับความต้องการผู้นำเข้า ส่งออก ที่บางส่วนต้องหนีจากทางทะเล ไปทางอากาศแทน

10) สำหรับ ผู้นำเข้า ส่งออก สนใจบริการเปรียบเทียบราคาขนส่งทางอากาศ ทะเล และทางบก ผ่านช่องทางออนไลน์จากทาง “ZUPPORTS”

.

สามารถลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษได้ที่ www.zupports.co/register

——————————–

หากไม่อยากพลาดความรู้ ข่าวสาร ดีๆ กดไลค์เพจ และกด Favorites ในเฟสบุ๊ก กันไว้เลย

.

และหากบทความมีประโยชน์ ก็กดไลค์โพสและแชร์ให้เพื่อนๆ กัน ได้เลยจ้า

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

(ad) พิเศษ! ZUPPORTS บริการดีๆ สำหรับผู้นำเข้าส่งออก ช่วยบริหารจัดการ ขนส่งระหว่างประเทศเปรียบเทียบราคา และจองขนส่งทั้งทางทะเล อากาศ และทางบก ได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์

.

ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษและข่าวสถานการณ์การค้าโลก ได้แล้ววันนี้ที่  https://zupports.co/register/

——————————–

ที่มา:

https://theloadstar.com/extra-services-bring-more-congestion-and-vessel-delay-at-san-pedro-bay-ports/

https://container-xchange.com/features/cax/

——————————–

❤️ อ่านบทความ ของ “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า” ได้ที่

https://www.zupports.co/author/zupports/

นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า marketplace: ซื้อ-ขาย สินค้าทั้งในและต่างประเทศ ร่วมกลุ่มได้เลยที่

https://www.facebook.com/groups/573677150199055/

#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า#นำเข้า #ส่งออก

#ZUPPORTS

ข่าวสารอื่นๆ