เริ่มต้นจากการเป็น ประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มแบบช้าๆ มาทั้งคู่
แต่มาถึงวันนี้ ต้องประกาศงบฯ ช่วยเยียวยา ต่อชีวิต กันแบบจัดเต็มทั้งสองประเทศ
เราไปเริ่มกันที่ไทย ก่อน
วันนี้ (7 เม.ย.) ครม. ประกาศ มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบโควิด-19 ระยะที่ 3 “1.9 ล้านล้านบาท”
หากคิดเป็นสัดส่วน เทียบ GDP ก็ทะลุ 10% ไปเรียบร้อย ถือว่าจัดหนักมาก
════════════════
ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก
════════════════
โดยมาตรการต่างๆ ได้แก่
1) พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อการเยียวยา และดูแลเศรษฐกิจวงเงิน 1 ล้านล้านบาท
แบ่งงบส่วนนี้ เป็นสองส่วน
ส่วนแรก วงเงิน 600,000 ล้านบาท เป็น แผนงานด้านสาธารณสุข และแผนงานเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ได้แก่ การเยียวยาประชาชนโครงการเราไม่ทิ้งกันเดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน (ขยายเพิ่มจาก 3 เดือน) แต่ยังคงจำนวนคนไว้ที่ 9 ล้านคน (ก็ตก 270,000 ล้านบาท) รวมไปถึงการดูแลด้านสาธารณสุข และเยียวยาเกษตรกร
โดยการกู้เงินนี้ มีกรอบอยู่ที่ ประมาณ 1 ปี 6 เดือน เป็นการทยอยกู้ ไม่ใช่กู้เงินทีเดียวมาวางกองไว้ ก็ได้ภายในวันที่ 30 กันยายน 2564
ส่วนที่สอง วงเงิน 400,000 ล้านบาท เป็นแผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม โดยเป็นเงินสนับสนุนและสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจชุมชน และสนับสนุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับพื้นที่
2) พ.ร.ก.ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ภาคธุรกิจวงเงิน 5 แสนล้านบาท
งบนี้ออกแบบมาเพื่อช่วย SMEs โดยเฉพาะ โดยจะเป็นสินเชื่อใหม่ 5 แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2% สำหรับ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการ ที่ ธนาคารพาณิชย์ พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน ให้ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท
3) พ.ร.ก.ดูแลเสถียรภาพการเงินวงเงิน 4 แสนล้านบาท
จะมีการจัดตั้งกองทุนรวม Corporate Bond Liquidity Stabilization Fund หรือ BSF และให้ ธปท.ซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุนดังกล่าว
พร้อมๆ กัน ทางฝั่งญี่ปุ่น ทางนายกอาเบะ ตัดสินใจ ประกาศภาวะฉุกเฉิน
ในเขตจังหวัดโตเกียว และจังหวัดหลักอีก 6 แห่ง ครอบคลุมประชากร 44 ล้านคน
โดยสั่งให้ประชาชนอยู่บ้าน และปิดทำการธุรกิจบางประเทศ
ทั้งนี้ผู้ฝ่าฝืน จะไม่ได้รับโทษใดๆ จะใช้เพียง “แรงกดดันทางสังคม” และ เจ้าหน้าที่ไปห้ามปราม
โดยนายกอาเบะ ประเมินว่า หากลดการพบปะของผู้คน ลงได้ 70-80%
ทางญี่ปุ่นน่าจะได้เห็นจุดสูงสุดของจำนวนผู้ติดเชื้อภายใน 2 สัปดาห์
นอกจากนี้ รัฐบาลยังประกาศงบเยียวยา ระดับ “บาซูก้า” คือกว่า 33 ล้านล้านบาท หรือเทียบเท่า 20% ของ GDP กันเลยทีเดียว แซงหน้าหลายๆ ประเทศไปเลย
หากเปรียบเทียบ งบเยียวยา โควิด-19
ญี่ปุ่น 20% GDP
สหรัฐ 11% GDP
ไทย 10% GDP (โดยประมาณเพราะเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท มันข้ามปี)
เยอรมัน 4.9% GDP
จีน ล่าสุด 1.2% GDP แต่น่าจะมีตามมาอีก
โดยทางญี่ปุ่นระบุในงบฯ เยียวยาว่า
“ภัยพิบัติจากโควิด-19 ครั้งนี้ ร้ายแรงยิ่งกว่าสงครามโลกครั้งที่สอง”
พอได้วงเงิน งบเยียวยา แล้ว สิ่งสำคัญที่ตามมา ก็คือ การปฏิบัติ
ว่าใช้เงินแล้วเห็นผลอย่างไร? ใช้ได้มีประสิทธิภาพขนาดไหน?
มีจุดที่หลายคนเริ่มบ่นกันแล้ว ก็คือ การแจกเงินเยียวยาของไทย
ที่เงื่อนไขซับซ้อน ก็คงมาแนว ช้อบช่วยชาติ ที่จะแจกทั้งที ทำให้ยากจริงๆ
และอยากเก็บกระสุนไว้ช่วยคนที่มีปัญหาจริงๆ
ส่วนงบ พักชำระหนี้ น่าจะถูกใจ SMEs
แต่ก็ต้องไปดูในรายละเอียดเงื่อนไข
จริงๆ แล้ว การแจกเงินให้เปล่าก็จำเป็น เพื่อต่อชีวิต
(เหมือนได้ทดสอบระบบ Universal Basic Income)
แต่อีกแง่ ก็เหมือนให้ปลากิน อย่างเดียว แต่ไม่สอนวิธีจับปลา
ควรจะมีมาตรการออกมาช่วยพัฒนาทักษะประชาชน
ให้รองรับยุคแห่งการทำลายล้างของดิจิตอล ได้แล้ว
ไม่งั้น สักวันหนึ่ง คงมีคนที่ต้องรอรับเงินจากรัฐบาลไปเรื่อยๆ
ซึ่งหากต้องเป็นแบบนั้นคงไม่ไหวจริงๆ
ขอให้เพื่อนๆอยู่รอดปลอดภัย
════════════════
ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก
════════════════
ที่มา:
https://www.statista.com/statistics/1107572/covid-19-value-g20-stimulus-packages-share-gdp/
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม
“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”
❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก
👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า–ส่งออก