ด้วยสถานการณ์โควิด-19 แบบนี้ ทำให้ค่าขนส่งทางอากาศปรับตัวขึ้นเป็นเท่าตัว ทำให้ ขณะนี้ มีผลไม้จำนวนมากส่งออกไม่ได้ โดยเฉพาะมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง
ที่มีผลผลิตออกมามากกว่า 10,000 ตัน กดราคามะม่วงในประเทศลงไปเหลือแค่ 20 บาท/กิโลกรัม จากเดิม 50-60 บาท/กิโลกรัม
ผู้บริโภคอาจได้ทานของดีราคาถูก แต่ชาวสวนบอกแบบนี้ไม่ไหว…
════════════════
ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก
════════════════
ใช้เทคโนโลยีมาช่วย?
ข่าวดีก็คือ ผศ. ดร.พีระศักดิ์และคณะวิจัย ได้เผยแพร่ผลงานวิจัย โดยการบรรจุมะม่วงลงในถุงพลาสติก WEB (White ethylene absorbing bag) และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส
พบว่าสามารถยึดอายุการเก็บมะม่วงจาก 33 วัน จากเดิม 15 วัน ได้ โดยคุณภาพมะม่วงยังดีเหมือนเดิม ไม่เน่าเสีย
โดยถุงพลาสติก WEB ช่วยลดการสูญเสียน้ำ ลดอัตราการหายใจ และลดการผลิตเอทิลีน ทำให้ชะลอการสุกของมะม่วงได้
Cr. Manager
แล้วในแง่ต้นทุนเป็นอย่างไร?
ข้อมูลตามข่าวทาง คณะวิจัย ได้ทดลองส่งมะม่วงจากส่วนไปที่เมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 1.2 ตัน โดยใส่ถุง WEB และลงเรือไปใส่ตู้ทำความเย็น (Refer) ใช้เวลาจากการเก็บเกี่ยวไปจนถึงญี่ปุ่น ประมาณ 20 วัน
ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ แบบนี้ก็เหลือเวลาขายของประมาณ 13 วัน
ด้านต้นทุน คณะวิจัยเปรียบเทียบว่า สามารถลดต้นทุนโดยรวมได้ 2 เท่า เทียบที่ 10 ตัน ทั้งทางอากาศและทางเรือ
โดยมีต้นทุนขนส่งไม่เกิน 30 บาท/กิโลกรัม
ซึ่งปัจจุบันค่าส่งทางอากาศ สินค้าทั่วๆไป อย่างน้อยๆ ต้องกำเงิน 200-300 บาท/กิโลกรัมในมือนะ ไปญี่ปุ่นนี่ยิ่งไปกันใหญ่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากอาจารย์?
“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า” ก็ไม่รอช้า โทรไปปรึกษาอาจารย์ ถึงที่มาที่ไป
อาจารย์พีระศักดิ์ก็เล่าว่างานวิจัยนี้เป็นของ ทำผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เริ่มมาตั้งแต่ปี 2559 แล้ว มาสำเร็จทันช่วงโควิด-19 พอดี
ซึ่งต้นทุนค่าถุงก็ไม่แพงมาก ต้องถุงละ 1 บาท
ผู้ส่งออกสามารถเอาผลไม้ใส่ถุงแล้วก็ปิดปากถุงด้วยมือได้เลย แล้วก็บรรจุลงกล่อง ก็พร้อมสำหรับส่งผลไม้ทางเรือ ไปขายได้แล้ว
Cr.Manager
โดยปัจจุบันมีการใช้วิธีนี้ ส่งออกไป 60 ตันแล้ว
ถามอาจารย์เพิ่มเติม เรื่องผลไม้ชนิดอื่นๆ ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้
ไม่ว่าจะเป็น มังคุด หรือมะพร้าวน้ำหอม
ตัวอย่างมะพร้าวน้ำหอมก็จะช่วยยึดอายุไปอีก 1 สัปดาห์สบายๆ
จาก 20 วัน ก็เป็น 30 วัน บวกลบ ทำให้การขนส่งทางเรือ เป็นไปได้เช่นกัน
(แต่ก็ต้องอยู่ในตู้ควบคุมอุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส)
ถือว่า ช่วยผู้ส่งออกได้มากๆ เลย ปัญหาแก้ได้ด้วยนวัตกรรม
เกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับเอธิลีน และการบ่มผลไม้?
ผลไม้หลายชนิด เช่น กล้วย มะม่วง ละมุด ทุเรียน มะเขือเทศ
เป็นผลไม้ในกลุ่ม climacteric fruit สามารถเร่งการสุกได้ด้วยก๊าซเอธิลีน
Cr. Foodnetwork solution
ซึ่งส่วนใหญ่ เราจะ “บ่ม” ผลไม้โดยวิธีธรรมชาติ เช่นเอากระดาษไปห่อมะม่วงไว้ เพราะว่ามะม่วงเองมีการผลิตก๊าซเอธิลีนอยู่แล้ว พอสะสมมากเข้าก็เลยสุกเร็ว
ในทางกลับกัน การที่เราห่อผลไม้ด้วย ถุง WEB ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่
ก็จะช่วยควบคุมอัตราการหายใจ และลดปริมาณการผลิตก๊าซเอธิลีน
ทำให้ช่วยยึดอายุผลไม้ได้ในนั่นเอง!
ในยามวิกฤต ก็ยังมีทางออกเสมอ ถ้าเราร่วมมือกัน
คนไทยก็มีฝีมือ ไม่แพ้ชาติอื่นๆ
เพื่อนๆ ผู้ประกอบการที่กำลังมองหา Solution ดีๆ แบบนี้
ทางทีมวิจัย เปิดให้ติดต่อ ได้ที่ 081-9713510 หรืออีเมล peerasakc@gmail.com
หรือจะติดต่อผ่านมาทางแอดมิน มาคุยขนส่ง door-to-door ก็ได้เหมือนกัน
ติดต่อเราhttp://bit.ly/35Rh2ql
════════════════
ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก
════════════════
ที่มา:
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/875866
https://mgronline.com/science/detail/9630000037961
👫 พิเศษสุด! นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า Marketplace
สำหรับเพื่อนๆ นำเข้า ส่งออก เชิญค้าขายกันได้เลย
https://www.facebook.com/groups/573677150199055/?source_id=416086589242286
❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก
👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า–ส่งออก