[Update] สถานการณ์ขนส่งประจำสัปดาห์: Maersk คาดการณ์ปี 2021 จะทำกำไรได้มากกว่าปี 2020

ช่วงนี้อาจเป็นช่วงที่หลายๆ คนได้หายใจหายคอ โล่งขึ้นหน่อย เพราะช่วงนี้โรงงานในจีนบางส่วนหยุดตรุษจีน การนำเข้า ส่งออก ก็เพลาๆ ลงไปบ้าง

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่ความต้องการสินค้า มีมากกว่า กำลังการขนส่งแบบช่วงนี้ ก็ยังคงอยู่ และอาจกลับมาเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ หลังเปิดตรุษจีน และสายเรือ หลายๆ สาย ก็ยังแข่งกันขึ้นราคาขนส่งอยู่

โดยทางสายเรือที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดของโลกอย่าง สายเรือ Maersk ก็เพิ่งประกาศงฯ ไตรมาสที่ 4 ปี 2020 มีตัวเลข EBITDA (กำไรก่อนดอกเบี้ยภาษีค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย) ไตรมาสเดียวสูงกว่า 84,000 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นกว่า 85% เทียบปีก่อนหน้า

และทาง Maersk ยังคาดการณ์ว่า บริษัทจะทำกำไรในไตรมาส 1 ปี ค.ศ.2021 นี้ ได้สูงกว่า ไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว และโดยรวมทั้งปี 2021 จะทำกำไรได้มากขึ้นกว่าปี่ที่แล้วทั้งปีอีกด้วย แสดงถึงความมั่นใจว่ายังไงค่าขนส่ง ก็คงไม่ลดลงไปง่ายๆ

ในบทความนี้เราไปอัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศล่าสุดกัน หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

1) ทาง Maersk เอง ระบุว่า ทุกสายเรือ ก็พยายามเพิ่มกำลังการขนส่งอย่างเต็มที่ โดยช่วงปีที่ผ่านมามันเป็นสถานการณ์ที่ผิดปกติมากๆ ที่อยู่ดีๆ ความต้องการขนส่งก็หายไปเฉยๆ แต่พอกลับก็เด้งกลับมารุนแรงมาก ซึ่งทาง CEO ของ Maersk กล่าวว่า “ก็เรือมันไม่สามารถขยายขนาดใหญ่ขึ้น ตามความต้องการได้เร็วขนาดนั้น”

2) ทั้งนี้โควิดก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ราคาขนส่งสูงขึ้นขนาดนี้ แต่ความเปลี่ยนแปลง ต้องย้อนไปตั้งแต่ช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ช่วงปี 2008-2009 ที่ทำให้สายเรือหลายสาย “ไปต่อไม่ได้” เกิดการควบรวมกิจการ และการรวมกลุ่มพันธมิตรสายเรือคอนเทนเนอร์ เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ทำให้ปัจจุบัน สถานการณ์คือ “ตลาดของผู้ขาย” สายเรือ มีอำนาจต่อรอง เหนือ ผู้นำเข้า ส่งออก และบรรดา เฟรท ฟอร์เวิร์ดเดอร์

3) ทาง Maersk ยังมองว่า ไตรมาส 1 ปี 2021 นี้ จะทำกำไรสูงกว่าปีที่แล้วซะอีก โดยประเมินว่าทั้งปี 2021 นี้ น่าจะทำกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ได้อยู่ในช่วง 133,000-195,000 ล้านบาท เทียบปีที่ผ่านมาที่มี EBIT ประมาณ 130,000 ล้านบาท

4) หากดูสายเรืออื่นๆ ก็ทำกำไรเพิ่มกันทุกสายเรือ ไม่ว่าจะเป็น HMM ที่พลิกกลับมาเป็นบวก, Hapag-Lloyd ทำกำไรเพิ่มขึ้น30%, OOCL และ COSCO ก็ผลงานดี

5) สถานการณ์ขนส่งทางทะเล หากดูดัชนี SCFI ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็จะพบว่าปรับตัวลดลงเล็กน้อย 58.87 จุดไปอยู่ที่ 2825.75 จุด ลงตามช่วงหยุดตรุษจีน

6) แต่จริงๆ แล้วก็มีหลายๆ สายเรือ ที่ประกาศปรับเพิ่มราคาขนส่งหลังตรุษจีนไปอีก ตัวอย่างเช่น MSC ประกาศปรับราคาเส้นทางจาก ตะวันออกกลาง และอินเดีย ไปทางยุโรป หรือทาง CMA/CGM ก็ประกาศเพิ่มค่าธรรมเนียม อีก 200 ถึง 400 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตู้ ด้วยเหตุผลคือ ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน

7) หากเราไปมองตัวเลข แนวโน้มปริมาณคอนเทนเนอร์ในแต่ละท่าเรือ จาก Container Availability Index ก็ต้องบอกว่า สถานการณ์ตู้อาจกำลังกลับด้านได้ คือ ตู้เริ่มหมุนกับมาถึงจีน และฝั่งเอเชียแล้ว สถานการณ์ขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ เริ่มเบาลงแล้ว

.

แอดมินสรุปมาให้คร่าวๆ 5 พอร์ทหลัก

– Bangkok: CAx 20’ = 0.77 / CAx 40’ = 0.84 (ตู้เริ่มกลับมาเยอะแล้ว)

– Laem Chabang: CAx 20’ = 0.71 / CAx 40’ = 0.7 (ตู้เริ่มกลับมาเยอะแล้ว)

– Long Beach California: CAx 20’ = 0.93 / CAx 40’ = 0.91 (ตู้ค้างเยอะมาก สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น)

– Shanghai: CAx 20’ = 0.56 / CAx 40’ = 0.49 (ตู้กลับไปที่จีนเยอะพอสมควร จากเดิมอยู่แถวๆ 0.25)

– Kobe: CAx 20’ = 0.75 / CAx 40’ = 0.84

(โดยตัวเลข CAx ที่น้อยกว่า 0.5 คือ ตู้น้อยกว่าความต้องการที่ท่าเรือนั้นๆ ลองดูรูปประกอบ กันได้)

8) การขนส่งทางอากาศ ก็ชะลอความร้อนแรงลงช่วง 2 สัปดาห์นี้ ที่มีการหยุดโรงงานผลิตช่วงตรุษจีน อย่างไรก็ตาม หลังเปิดตรุษจีน ความต้องการขนส่งทางอากาศน่าจะกลับมาแข็งแกร่ง ในขณะที่สายการบินผู้โดยสาร ก็ยังไม่กลับมาบินเหมือนเดิม ดังนั้น ค่าขนส่งทางอากาศในปีนี้ ก็ยังสูงอยู่

9) สถานการณ์เศรษฐกิจโลก คนที่โดนผลกระทบหนักสุดก็น่าจะเป็นทางธุรกิจขนาดเล็ก โดยในสหรัฐฯเอง ทาง Fed มีผลการศึกษา ว่ากว่า 90% ของบริษัทที่มีพนักงานไม่เกิน 500 คน มีผลประกอบการที่แย่ลงเมื่อเทียบกับช่วงโควิด และจำนวนบริษัทกว่า 30% ที่ไม่สามารถ “ไปต่อ” ได้ ต้องปิดตัวลง หากไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากภาครัฐฯ

10) โดยประเด็นความเสี่ยง สำหรับธุรกิจขนส่งเองก็คือ อย่าเผลอคิดว่า demand หรือความต้องการสูงๆ แบบนี้จะคงอยู่ตลอดไป โดยจากผลสำรวจของ Fed มีข้อกังวลที่สำคัญอยู่ 2 ข้อก็คือ หนึ่ง กว่า 59% กังวลที่ความต้องการลูกค้าอาจลดลง และ 37% คิดว่าให้เตรียมรับมือผลกระทบเป็นโดมิโนในอีก 12 เดือนข้างหน้า

11) สำหรับ ผู้นำเข้า ส่งออก ที่กำลังมองหาเครื่องมือดิจิตอล ช่วยลดต้นทุนขนส่ง และช่วยบริหาร การนำเข้า ส่งออก แอดมินแนะนำ ขอแนะนำสตาร์ทัพสัญชาติไทยอย่าง “ZUPPORTS”

.

สามารถลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษได้ที่ www.zupports.co/register

——————————–

หากไม่อยากพลาดความรู้ ข่าวสาร ดีๆ กดไลค์เพจ และกด Favorites ในเฟสบุ๊ก กันไว้เลย

.

และหากบทความมีประโยชน์ ก็กดไลค์โพสและแชร์ให้เพื่อนๆ กัน ได้เลยจ้า

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

(ad) พิเศษ! ZUPPORTS บริการดีๆ สำหรับผู้นำเข้าส่งออก ช่วยบริหารจัดการ ขนส่งระหว่างประเทศเปรียบเทียบราคา และจองขนส่งทั้งทางทะเล อากาศ และทางบก ได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์

.

ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษและข่าวสถานการณ์การค้าโลก ได้แล้ววันนี้ที่  https://zupports.co/register/

——————————–

ที่มา:

https://www.ft.com/content/23d1cb6d-6a96-4bff-8437-6dc315a62669

https://container-xchange.com/features/cax/

https://www.cnbc.com/2021/02/10/maersk-q4-2020-earnings.html

https://www.wsj.com/articles/most-small-firms-below-pre-pandemic-levels-fed-survey-finds-11612371600

——————————–

❤️ อ่านบทความ ของ “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า” ได้ที่

https://www.zupports.co/author/zupports/

นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า marketplace: ซื้อ-ขาย สินค้าทั้งในและต่างประเทศ ร่วมกลุ่มได้เลยที่

https://www.facebook.com/groups/573677150199055/

#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า#นำเข้า #ส่งออก

#ZUPPORTS

 

ข่าวสารอื่นๆ