สรุปสัมมนา “ติวเข้มเจาะตลาดลาว

ถึงแม้ล่าสุด สปป.ลาว จะเพิ่งประกาศปิดด่านชายแดนไป เพื่อรับมือโรคโควิด-19 แต่เราก็ยังไม่หยุดเรียนรู้ เตรียมรับโอกาสหลังวิกฤตผ่านพ้นไป

ซึ่งแอดมินค้างมาหลายวัน วันนี้เอาสรุปสัมมนา “ติวเข้มเจาะตลาดลาว

ที่ จัดโดย DITP มาลงให้เพื่อนๆ ศึกษากัน

หากพร้อมแล้วไปติดตามกันเลย

════════════════

เร็วที่สุด เช็คราคาขนส่งทั่วโลก

www.zupports.co

════════════════

1) ไทย-ลาว บ้านพี่เมืองน้อง??

ข้อมูล GDP ประเทศลาว

คำว่า “บ้านพี่เมืองน้อง” อาจเกิดประเด็นว่าใครพี่ ใครน้อง? ดังนั้นใช้คำว่า “ประเทศเพื่อนบ้าน” จะดีกว่า

ลาวมีประชากรประมาณ 7 ล้านคน เป็นวัยแรงงาน 60% หรือ 3.8 ล้านคน แต่อยู่ในภาคการเกษตรเป็นหลัก 65%

รายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ที่ประมาณ 83,000 บาท/คน/ปี

มูลค่าการค้าระหว่าง ไทย- สปป.ลาว ปี 2557 -2562

2) ลาวค้าขายกับไทยเป็นอันดับหนึ่ง 60% รองลงมาคือ จีน และเวียดนาม ซึ่งก็เป็นคู่แข่งที่สำคัญของผู้ประกอบการไทย

ไทยส่งออกไปลาว กว่า 120,000 ล้านบาท นำเข้าจากลาว ประมาณ 80,000 ล้านบาท

สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป, รถยนต์และชิ้นส่วน, สินค้าปศุสัตว์, เหล็ก, เครื่องสำอาง, เคมีภัณฑ์ เป็นต้น

สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เชื้อเพลิง, สินแร่, เครื่องจักรไฟฟ้า, เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน, ผัก ผลไม้, ปูนซิเมนต์

สินค้านำเข้าส่วนหนึ่ง ก็มาจากผู้ประกอบการไทยไปตั้งโรงงานใน สปป.ลาว

บริษัทไทยที่ลงทุนใน สปป.ลาว

3) ลักษณะนิสัยของคนลาว เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับญาติพี่น้อง เช่น งานดอง (งานแต่งงาน) เลี้ยงเบียร์กันสนุกสนาน คนลาวให้เกียรติผู้หญิง เกรงอกเกรงใจ

โดยวิทยากรเล่าว่าคนลาวพูดไม่เยอะ แต่พอเค้าพูดเราต้องฟังดีๆ ไม่งั้นอาจเข้าใจผิดกันได้ เรื่องไหนที่ไม่ใช่เรื่องซีเรียส คนลาวก็จะไม่เอื้อนเอ่ย ออกมา

4) สปป. ลาว ไม่ได้มีแค่ คนลาว หากจะขายของ ก็ต้องคิดก่อนว่าลูกค้าเราเป็นใคร? ขายคนลาว คนจีน หรือ คนเวียด?

คนลาวเอง ชอบสินค้าไทยมากๆ เพราะว่าคุณภาพดี

คนลาวที่มีเงิน ก็รวยสุดๆจริงๆ มีกำลังจ่าย ต้องการที่จะใช้ของที่แตกต่างจากคนอื่นๆ

แต่คนลาวส่วนใหญ่ก็ยังมีกำลังซื้อจำกัด ดังนั้น สินค้าที่ราคาแพง หรือต้องมาจ่ายซ้ำๆซากๆ ต่อเนื่อง อาจอยู่ได้ไม่นาน เช่น ธุรกิจความงาม ที่ลูกค้าต้องกลับไปทำหลายๆรอบ ก็ต้องออกจากตลาดลาวไปแล้วหลายเจ้า

5) สรุปการทำตลาดในลาว

หนึ่ง วิเคราะห์ตลาด วิเคราะห์ลูกค้า วิเคราะห์คู่แข่ง ยังมีจุดที่คู่แข่งทำได้ไม่ดีหรือไม่ เราสามารถเอาชนะได้หรือไม่?

สอง ศึกษากฏหมาย กฏระเบียบ ให้ดี

สาม ศึกษาช่องทางจัดจำหน่าย มีทั้งใน และนอกระบบ ซึ่งช่องทางจัดจำหน่ายก็แตกต่างกัน

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด สำคัญกว่า “Know How” ก็คือ “Know Who”

6) ตัวอย่างพฤติกรรมการบริโภคของคนลาว ใน 1 วัน

พฤติกรรมการบริโภคของคนลาว ใน 1 วัน

วันเสาร์-อาทิตย์ ช่วงเช้า รถจากเวียงจันทน์วิ่งเข้ามาที่ไทยผ่านหนองคาย แล้วไปอุดรธานี เข้าห้าง ซื้อสินค้าเที่ยวเล่น

หลังจากนั้น พอตกเย็น 4 โมง ขับรถกลับแวะหนองคาย โดยเฉพาะห้างเทสโก้โลตัส ที่หนองคาย

วิทยากร แนะนำหากต้องการทดลองตลาด ให้เอาสินค้าไปทำตลาดได้ทั้งที่โลตัสหนองคาย และอุดรธานี

การโฆษณา ถ้าเป็นสินค้าการเกษตร สามารถใช้ช่องทางวิทยุได้

7) ขนส่งจากไทยไปลาว ไล่ตั้งแต่เหนือ จรดใต้

เส้นทางขนส่งจากไทยไปลาว

ภาคเหนือของไทย: ด่านเชียงของ เชียงราย, ด่านห้วยโกร๋น น่าน, ด่านภูตู๋ อุตรดิตถ์, ด่านท่าลี่ เลย

ภาคอีสานของไทย: ด่านสะพานมิตรภาพ หนองคาย, ด่านปากซัน บึงกาฬ (เรือแพ), ด่านสะพานมิตรภาพ นครพนม, ด่านสะพานมิตรภาพ มุกดาหาร, ด่านช่องเม็ก อุบลฯ

นำสินค้าผ่านได้ทุกด่าน โดยสินค้าบางอย่าง มาทางเรือ ใช้ลำน้ำโขง เข้าหลวงพระบาง (แต่ช่วงนี้ด่านปิด โควิด-19 นะ)

8) กฎหมาย

การทำธุรกิจ “ขายปลีก ขายส่ง” หรือภาษาลาวว่า “ขายยก ขายย่อย” ยังมีข้อจำกัด เช่น หากต้องการถือหุ้นบริษัทตัวแทนจำหน่ายในลาว 100% จำเป็นที่จะต้องมีทุนจดทะเบียน อย่างน้อยประมาณ 80 ล้านบาท

ซึ่ง SMEs ไม่ได้มีเงินไปลงทุนเยอะขนาดนั้น ดังนั้นควรหาตัวแทนจำหน่ายในลาว ช่วยกระจายสินค้า โดยผู้ประกอบการสามารถเข้าหา สภาธุรกิจไทย-ลาว เพื่อเช็คข้อมูลตลาดได้

สินค้าที่จะนำเข้าลาว ก็ต้องดูว่ามีกฎหมายควบคุมหรือไม่?

สินค้าที่เข้าไปเยอะคือ พวกอาหารเสริม เครื่องสำอาง ซึ่งเป็นสินค้าควบคุมในลาว ก็ต้องขอ อย. (ชื่อเดียวกับไทย) และต้องมีใบอนุญาตนำเข้าด้วย โดยตัวแทนจำหน่ายในลาวต้องเป็นคนขออนุญาต

ดังนั้น จึงต้องมีสัญญากับตัวแทนจำหน่าย และสัญญาทุกประเภทที่ทำกับคนลาว ต้องทำแปลเป็นภาษาลาว

เสร็จแล้วไปจดทะเบียน “ยั่งยืนความถูกต้อง” ที่สำนักงานทะเบียนศาสตร์ และไปติด “อากรสแตมป์” ที่กระทรวงการเงิน…หากไม่ทำตามนี้ สัญญาบังคับคดีลำบากมากๆ

9) เครื่องหมายการค้าสำคัญ ต้องจดทะเบียนเอาไว้ โดยเฉพาะสินค้าที่เพื่อนๆ คิดว่ามีศักยภาพใน CLMV

วิทยากรยกตัวอย่าง เบียร์ลาวพร้อมรูปหัวเสือ จดทะเบียนไว้ทุกประเทศทั้วโลกยกเว้นไทย โดยมีบริษัทฝรั่งเศสแย่งจดทะเบียนเบียร์ลาวพร้อมหัวเสือไว้ที่ไทย

ทำให้เบียร์ลาวในไทย ไม่มีรูปหัวเสือ (เพราะติดรูปหัวเสือไม่ได้ในไทย)

10) ภาษีต้องรู้ เอาไว้ต่อรองราคาขายกับตัวแทนจำหน่าย

หนึ่ง อากรนำเข้าใน AEC เกือบทั้งหมด เป็นศูนย์ แต่ผู้ผลิตต้องขอ “หนังสือยั่งยืนถิ่นกำเนิด” หรือ FORM D แล้วส่งให้ผู้นำเข้าใน สปป.ลาว ไปขอยกเว้นอากรนำเข้า

สอง ภาษีมูลค่า VAT 10% สูงกว่าไทย

สาม สินค้าฟุ่มเฟือยต้องเสีย ภาษีสรรพสามิต หรือ ภาษาลาวเรียกว่า “อากรชมใช้” 5-150% ตามประเภทสินค้า

11) การเงินในลาว รัฐกำหนดให้ใช้เงินกีบ แต่พกเงินบาทไทยไว้ก็อุ่นใจ อีก 2 สกุล ก็คือ ดอลล่าร์สหรัฐ และเงินหยวนของจีน

และที่สำคัญคือ สปป.ลาว เข้มงวดในเรื่องเอกสารมากๆ แถมต้องเป็นภาษาลาวด้วย

อีกอย่างคือ ต้องเตรียมแหล่งเงินทุนให้พร้อม กู้เงินในลาวยาก

12) โอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจในลาว

ด้านอุตสาหกรรม ได้แก่

– เครื่องจักรกลการเกษตร (ขนาดต้องไม่ใกญ่เกินไป)

– เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ความงาม

– โรงแรม ของตกแต่งบ้าน ร้านอาหาร ผลพวงจากการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยว แนวอนุรักษ์ธรรมชาติ

– วัสดุก่อสร้าง คนลาวค่อยๆ สร้างกว่าจะเสร็จ

– เครื่องจักรและอุปกรณ์ด้านบรรจุภัณฑ์ การถนอมอาหาร

ด้านการเกษตร ได้แก่

– เกษตร Organics

– ฟาร์มปศุสัตว์

ธุรกิจบริการ ได้แก่

– สปา โรงแรม

– ร้านอาหารแฟรนไชส์ เช่น ชายสี่บะหมี่เกี๊ยวดังมาก กำลังจะตั้งผลิตโรงงานในลาว

– Food truck อาหารนวัตกรรม ก็ยังมีโอกาสเติบโต

– ธุรกิจการศึกษา

ก็เป็นข้อมูล สำหรับผู้ที่สนใจจะเจาะตลาดลาว

อย่างบทความตอนที่แล้ว

https://www.zupports.co/landlocked-landlink-laos/

คือ เราต้องมองลาว ในแง่การเป็นกระดูกสันหลังของภูมิภาคอินโดจีน ที่สามารถ “เชื่อม” ประเทศโดยรอบ ทั้ง จีน เวียดนาม กัมพูชา และไทย

ถือเป็นอีกหนึ่งประเทศ ที่น่าสนใจมากๆ และน่าไปเที่ยวด้วย

════════════════

เร็วที่สุด เช็คราคาขนส่งทั่วโลก

www.zupports.co

════════════════

⭐ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม “See first” เพจ “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

💡แจกฟรี คู่มือ “นำเข้าส่งออก 101″

https://zupports.co/export-import-handbook/

❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก

ZUPPORTS.co

👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้าส่งออก

http://bit.ly/35Rh2ql

 

 

ข่าวสารอื่นๆ