จากองค์ความรู้ และประสบการณ์ในการรับมือไวรัส โควิด-19 ของโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง สาขาที่หนึ่ง (ตัวย่อว่า FAHZU)
สำหรับบทความนี้ แอดมินสรุปประเด็นมาแชร์ให้เพื่อนๆอ่านกัน
เราไปติดตามกันเลย
1) ศาสตราจารย์ นายแพทย์เหลียง แห่งโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง ในบทบาทบรรณาธิการ เปิดด้วยการขอบคุณทุกภาคส่วน และบอกว่าด้วยเวลาที่จำกัด รายงานอาจมีความบกพร่องบ้าง ซึ่งยินดีรับคำแนะนำ ติชม
ศาสตราจารย์ นายแพทย์เหลียง แห่งโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง
2) คู่มือนี้ กลั่นมาจาก บันทึกการรักษารายวัน ของทีมแพทย์ในหน่วย FAHZU ตลอดระยะเวลา 50 วันที่ผ่านมา, โดยมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษากว่า 104 ราย โดย 78 รายมีอาการขั้นวิกฤต
ด้วยวิธีการตรวจเช็ค วิธีการรักษา ส่งผลให้ ไม่มีการวินิจฉัยผิดพลาด ไม่มีผู้เสียชีวิต และไม่มีทีมแพทย์ ที่ติดเชื้อ
มีการเปรียบเปรยว่า โควิด-19 คือ สงครามของมวลมนุษยชาติ…
และสงครามนั้น…
พึ่งเริ่มต้น…………
3) คู่มือ แบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่
หนึ่ง การป้องกันและการควบคุมโรค
สอง การวินิจฉัยและการรักษา
สาม การดูแลผู้ป่วย
ซึ่งต้องบอกว่า คู่มือละเอียดมาก เอามาทำตามขั้นตอน 1, 2, 3 ได้เลย ตัวอย่างเช่น บอกกันชัดๆ เลยว่า การจัดเตียงผู้ป่วย (ที่คอนเฟิร์มแล้ว) สามารถอยู่ในห้องเดียวกันได้ แต่ต้องมีระยะห่างระหว่างเตียงไม่น้อยกว่า 1.2 เมตร (4 ฟุต) โดยในห้องต้องมีห้องน้ำในตัว และต้องจำกัดบริเวณผู้ป่วย เป็นต้น
ดังนั้น แอดมินไม่ได้สรุปทั้งหมด แต่เราไปลองดูส่วนที่ เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย หรือผู้ต้องสงสัยว่าจะป่วยกัน
เผื่อใครกำลังคิดอยู่ว่า ” -ูติดยังว่ะ?”
(แล้วแอดติดยังว่ะ T.T)
4) การคัดกรองผู้ป่วย โดยแนะนำให้บุคลากรทางการแพทย์ ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น 2 ส่วน ก็คือ
หนึ่ง Epidemiological History หรือประวัติการสัมผัสโรค ให้ตรวจสอบ 4 ข้อ คือ
– ภายใน 14 วันที่ผ่านมา ผู้ป่วยมีการเดินทางหรืออยู่ ใน “ประเทศกลุ่มเสี่ยง” หรือไม่?
– ภายใน 14 วันที่ผ่านมา ผู้ป่วยมีประวัติ สัมผัส หรือใกล้ชิด ผู้ป่วยที่คอนเฟิร์มว่าได้รับเชื้อโควิด-19 หรือไม่?
– ภายใน 14 วันที่ผ่านมา ผู้ป่วยมีประวัติสัมผัสกับผู้ที่มีไข้สูง หรือ มีอาการทางระบบทางเดินหายใจในภูมิภาค หรือประกลุ่มเสี่ยงหรือไม่?
– มีการกระจุกตัวของโรค (Disease Clustering) หรือไม่? คือ มีผู้ที่มีไข้สูง หรือมีโรคทางเดินหายใจ มากกว่า 2 คน ในที่เดียวกัน เช่น ที่บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน ภายใน 2 สัปดาห์
สอง Clinical Manifestions หรือ ผลตรวจโรคของผู้ป่วย ให้ตรวจสอบ 3 ข้อ คือ
– ผู้ป่วยมีไขสูง และ/หรือ มีอาการผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ
– พบอาการผิดปกติในปอด จากการทำ CT สแกน
– จำนวนเม็ดเลือดขาว ทรงตัว หรือค่อยๆ ลดลง
ผู้ป่วย ที่ต้องสงสัยว่าจะติด โควิด-19 ก็คือ
– เข้าเกณฑ์ Epidemiological History 1 ข้อ และเข้าเกณฑ์ Clinical Manifestions 2 ข้อ
– ไม่เข้าเกณฑ์ Epidemiological History แต่ เข้าเกณฑ์ Clinical Manifestions ทั้ง 3 ข้อ
– ไม่เข้าเกณฑ์ Epidemiological History แต่ เข้าเกณฑ์ Clinical Manifestions 1-2 ข้อ แต่ผลจากภาพถ่าย CT บ่างชี้ว่า มีความเสี่ยง ก็ควรปรึกษาแพทย์ เช่นกัน
5) คนที่เข้าข่ายในข้างบน ก็ควรทดสอบ โควิด-19 ด้วยวิธี Nucleic acid testing (NAT) เพื่อหาเชื้อ
ทั้งนี้ คนไข้ที่ตรวจพบว่าไม่ติดเชื้อ หรือ Negative แต่มีข้อบ่งชี้ว่าอาจเป็น ตามที่สรุปในข้อ 4 ก็อาจทำการตรวจ NAT ซ้ำอีกที ใน 24 ชม.ให้หลัง
หากพบ Negative ซ้ำ และไม่ได้มีอาการบ่งชี้ ก็กลับบ้านได้…
6) มีการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้บริการ ผู้ที่คิดว่าตัวเองติดเชื้อ แล้ว เช่น การใช้ Alipay (เวอร์ชั่นจีน) และสามารถเลือก โรงพยาบาล FAHZU เพื่อมาปรึกษาแพทย์ได้ทางออนไลน์เลย ไม่ต้องเดินทางมาหา ซึ่งมีคนใช้บริการกว่า 10,000 คน (ถึงวันที่ 14 มี.ค.)
7) อีกเทคโนโลยี ก็คือการทำ CT สแกนภาพปอด หรืออาจใช้การ X-Rays สำหรับผู้ป่วยขั้นวิกฤต โดยผู้ป่วยควรได้รับการทำ CT สแกน ในวันที่ admit เข้าโรงพยาบาล
ลองไปดูรูปตัวอย่างปอดที่ติดเชื้อ ในคู่มือกันได้
รูปตัวอย่างปอดที่ติดเชื้อ
8) มีการให้ข้อมูลยาที่ใช้รักษา โดยแบ่งแยกตามอายุและอาการ ของผู้ป่วย
รายงานยังอัดแน่นด้วยข้อมูลแนวทาง ให้บุคคลากรทางการแพทย์ ดูแลผู้ป่วย…
เพื่อนๆ ที่สนใจ อยากอ่านในรายละเอียด สามารถเข้าไปดาวน์โหลด ได้ที่
https://covid-19.alibabacloud.com/
โดยสรุป ต้องบอกว่า ณ เวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยเหลือกัน เหมือนกับที่ แจ็ค หม่า สรุป เอาไว้ว่า
“ณ เวลานี้…เราคงไม่สามารถสยบไวรัส (โควิด-19) ได้ หากเราไม่แบ่งปันทรัพยากร ความรู้ และบทเรียนที่ได้มาด้วยความยากลำบาก ให้แก่กัน”
ซึ่งต้องบอกว่า ความรู้และประสบการณ์ที่กลั่นออกมา จากบุคคลากรทางการแพทย์ทั้งของจีน ในเอกสารฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์กับคนทั่วโลก
Handbook of COVID-19 Prevention and Treatment
และจริงๆ แล้ว บุคลากรของจีน ก็ยังไม่จบงาน…
พวกเขาเหล่านี้ ยังเสียสละเดินทางไปช่วยประเทศอื่นๆ ต่อด้วย
ที่จีนมีอาลีบาบา ที่ไทยเอง ก็มีกลุ่มที่ร่วมกันทำแอพพลิเคชั่น และเครื่องมือต่างๆ เพื่อช่วยเหลือในสถานการณ์วิกฤตแบบนี้
แนะนำเฟสบุ๊กกลุ่มนี้เลย คือ “TCDG” หรือ Thailand COVID-19 Digital Group จะได้ทันสถานการณ์
https://www.facebook.com/groups/192150165377624/
เรา “ยกย่อง” แจ็ค หม่า และเหล่ามหาเศรษฐี ที่เอาศักยภาพ และเงินทองของตน มาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ กันไปพอสมควร
และเราก็ไม่ลืม ที่จะ “ยกย่อง” และ “ขอบคุณ” บุคลากรทางการแพทย์ และผู้เกี่ยวข้องทุกๆท่าน
เหล่านักรบ ผู้สยบโควิด-19
ขอแสดงความนับถือ ขอบคุณมากๆ
(และขอบคุณล่วงหน้า)
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม
“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”
❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก
👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า–ส่งออก