รู้จัก ฮาวายานัส (Havaianas) รองเท้าแตะยอดขาย 17,000 ล้านบาท สินค้าส่งออกที่คนบราซิล ภาคภูมิใจ

หากไปถามชาวบราซิลว่า การส่งออกที่มีชื่อเสียงของประเทศมีอะไรบ้าง ส่วนใหญ่ ก็คงตอบว่า เทศกาลคาร์นิวัล (ส่งออกวัฒนธรรม), ฟุตบอล, การเต้นแซมบ้า, แล้วก็รองเท้าแตะ ฮาวายานัส…

3 ข้อแรก หลายๆ คนน่าจะพยักหน้าตามว่าใช่ๆ แต่ข้อสุดท้าย นั่นก็คือ รองเท้าแตะฮาวายานัส หลายๆ คนอาจสงสัย ว่ารองเท้าแตะอะไรชื่อภาษาอังกฤษอ่านยากจัง แล้วชื่อฮาวายๆ นี่มาจากประเทศบราซิล หรอ?

เชื่อหรือไม่ว่า รองเท้าแตะหน้าตาบ้านๆ (แต่ขายราคาไฮโซในไทย และต่างประเทศ) อย่าง ฮาวายานัส (Havaianas) ขายได้ปีละกว่า 220 ล้านคู่ หรือ ทุกๆ 1 วินาที จะขายได้ 7 คู่!

แค่ขายรองเท้าแตะก็สร้างรายได้ เข้าประเทศปีละมากกว่า 17,000 ล้านบาท

พูดถึงเรื่องรองเท้าแตะ จริงๆ แล้ว ก็คงไม่ต้อง #saveรองเท้าแตะ เพราะล่าสุดทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศของไทย ให้ข้อมูลว่า รองเท้าแตะเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกของไทยที่น่าจับตามองเช่นกัน มียอดเติบโตต่อเนื่องทุกปี โดยเฉพาะรองเท้าแตะที่ทำจากยาง หรือพลาสติก…

ฮาวายานัส ทำสำเร็จได้อย่างไร และรองเท้าแตะแบรนด์ไทยๆ จะบุกตลาดโลกบ้างได้หรือไม่? หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

1) ต้องบอกว่าต้นกำเนิดของรองเท้าแตะฮาวายานัส จริงๆ แล้วก็ไม่แน่ชัดซะทีเดียว แต่เรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาก็คือ ช่วงปี ค.ศ.1962 ผู้บริหารบริษัทผลิตอุปกรณ์กีฬาในบราซิล Alpargatas ได้มีโอกาสเดินทางไปญี่ปุ่น แล้วก็ได้มีโอกาสได้ใส่รองเท้าแตะ Zori ของญี่ปุ่น (คิดภาพรองเท้าแตะแบบเกี๊ยะ) ก็เลยรู้สึกประทับใจ

2) จุดเด่นของรองเท้าแตะ Zori ก็คือ เรื่องของความทนทาน ทำให้เท้าเย็น และที่สำคัญที่สุดคือ ราคาถูก ก็เลยเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้บริหารท่านนั้น ที่จะมาผลิตรองเท้าแบบเดียวกันขายที่บราซิลบ้าง แต่จุดอ่อนของรองเท้า Zori ก็คือ วัสดุที่ทำจากฝางข้าว และผ้า ทำให้ไม่เหมาะสมกับประเทศเขตร้อนชื้น

3) แต่ก็ประจวบเหมาะที่บราซิลเองขึ้นชื่อเรื่องอุตสาหกรรมยาง ก็เลยได้มีการคิดค้นรองเท้าแตะโฉมใหม่ที่ทำมาจากยางแท้ๆ และก็ได้ตั้งชื่อรองเท้านั้นตามชื่อสถานที่ๆ ชาวบราซิล นิยมท่องเที่ยวมากที่สุด ก็คือ เกาะฮาวาย เป็นที่มาของชื่อ ฮาวายานัส (Havaianas) ซึ่งเป็นชื่อเยกเกาะฮาวายในภาษาโปรตุเกส

4) เทคนิคการขายในช่วงแรกก็ไม่ซับซ้อนมากนัก เนื่องจากบราซิลเป็นประเทศที่ค่อนข้างใหญ่และช่องทางการขายสมัยใหม่ก็ยังไม่ค่อยมี ทางบริษัทก็เลยเอาของขึ้นรถตู้ Volkswagen เอา Logo แปะ แล้วก็เร่ขายมันซะเลย (อารมณ์เดียวกับสาวบาวแดง ของคาราบาว)

Cr. Havaianas

5) คนบราซิล เรียกได้ว่า “คลั่ง” รองเท้าแตะฮาวายานัส ผ่านไปเพียง 2 ปี แรงงานแทบจะทั้งประเทศบราซิล ต้องมีรองเท้าแตะฮาวานยานัส 1 คู่ และใส่ของปลอมอื่นๆ ด้วย ด้วยความที่สินค้า ราคาเข้าถึงได้ ทนทาน และใส่สบาย…

6) ทางบริษัทมีการจดสิทธิบัตร รองเท้าฮาวายานัสในปี ค.ศ.1966 นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมสีสันเข้าไป จากเดิมที่หูรองเท้ามีแต่สีขาวและสีนำเงิน แต่ก็ดันเกิดข้อผิดพลาดในการผลิตปี 1969 ได้หูสีเขียวออกมาแทน ซึ่งพอทดลองเอาไปขายก็พบว่าขายดีเป็นเทนำเทท่า ก็เลยออกสีต่างๆ หลากหลายสีอย่างต่อเนื่อง

Cr. Havaianas

7) ผ่านไปกว่า 20 ปี ในปี ค.ศ.1980 รัฐบาลบราซิลประกาศให้รองเท้าฮาวายานัส เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประจำชาติ แถมยังเพิ่มรองเท้าแตะ เข้าไปอยู่ในดัชนีชี้วัดเงินเฟ้ออีกด้วย! เคียงคู่สินค้าประจำวันอย่างข้าว และถั่วเลยทีเดียว

8) อย่างไรก็ตาม การเป็นสินค้าประจำชาติ หรือคำสามัญไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป ลองคิดภาพการที่คนไทยติดปากเรียกผงซักฟอกว่า แฟ๊บ หรือ เปา (ถ้ามีอายุหน่อยฮ่าๆ) ก็ทำให้รองเท้าแตะกลายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์อย่างเต็มตัว

.

จากสินค้าแฟชั่น กลายเป็นสินค้าทั่วๆ ไป ลูกค้าไม่รู้จะซื้อรองเท้าแตะคู่ใหม่ไปทำไม เพราะคู่เก่าก็ทนทานเหลือเกิน

9) ในยุค 1990 ทางบริษัท พยายามที่จะปรับภาพลักษณ์แบรนด์ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยบริษัทได้สังเกตว่าลูกค้าวัยรุ่นที่ซื้อรองเท้าแตะฮาวายานัสไป ได้มีการพลิกด้านรองเท้า กลับด้านสีขึ้นมาแทน เพื่อให้รองเท้ามีสีสันสดใส เป็นสีเดียวกันทั้งคู่ พื้นไม่ขาว น่าเบื่ออีกต่อไป

7) ผ่านไปกว่า 20 ปี ในปี ค.ศ.1980 รัฐบาลบราซิลประกาศให้รองเท้าฮาวายานัส เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประจำชาติ แถมยังเพิ่มรองเท้าแตะ เข้าไปอยู่ในดัชนีชี้วัดเงินเฟ้ออีกด้วย! เคียงคู่สินค้าประจำวันอย่างข้าว และถั่วเลยทีเดียว

8) อย่างไรก็ตาม การเป็นสินค้าประจำชาติ หรือคำสามัญไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป ลองคิดภาพการที่คนไทยติดปากเรียกผงซักฟอกว่า แฟ๊บ หรือ เปา (ถ้ามีอายุหน่อยฮ่าๆ) ก็ทำให้รองเท้าแตะกลายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์อย่างเต็มตัว

.

จากสินค้าแฟชั่น กลายเป็นสินค้าทั่วๆ ไป ลูกค้าไม่รู้จะซื้อรองเท้าแตะคู่ใหม่ไปทำไม เพราะคู่เก่าก็ทนทานเหลือเกิน

9) ในยุค 1990 ทางบริษัท พยายามที่จะปรับภาพลักษณ์แบรนด์ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยบริษัทได้สังเกตว่าลูกค้าวัยรุ่นที่ซื้อรองเท้าแตะฮาวายานัสไป ได้มีการพลิกด้านรองเท้า กลับด้านสีขึ้นมาแทน เพื่อให้รองเท้ามีสีสันสดใส เป็นสีเดียวกันทั้งคู่ พื้นไม่ขาว น่าเบื่ออีกต่อไป

Cr. Havaianas

10) ทางบริษัทก็เลยปิ๊งไอเดีย แล้วก็ทำขายมันซะเลย แถมยังใส่สีสัน ลวดลาย ลงไปที่พื้นรองเท้าอีกด้วย จากนั้นก็ยิงโฆษณาโดยการจ้างเหล่า ดารา นักแสดงของบราซิลมาใส่กัน ล้มล้างความเชื่อเดิมๆ ที่บอกว่ารองเท้าแตะ เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ใส่เฉพาะในเหล่าแรงงาน

11) จุดเด่นสำคัญที่ทำให้ลูกค้าคิดถึงฮาวายานัสก็คือ ความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมของคนบราซิล การเชื่อมโยงเรื่องสีสัน และก็เป็นรองเท้าที่ใส่กันได้ไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร

12) จุดเปลี่ยนสำคัญก็คือ ช่วงที่บราซิลได้เข้าแข้งขัน ฟุตบอลโลกปี 1998 ที่ประเทศฝรั่งเศส ถึงแม้ปีนั้นบราซิลจะแพ้ในนัดชิงต่อเจ้าภาพฝรั่งเศสอย่างหมดรูป บอลแพ้ แต่รองเท้าแตะไม่แพ้ โดยฮาวายานัส ได้เปิดตัวรองเท้ารุ่น “Havaianas Brazil” ที่มีลายธงชาติบราซิล ทำให้รองเท้าแตะรุ่นดังกล่าว ได้กลายเป็นรองเท้ายอดนิยมทั่วโลกมาจนถึงปัจจุบัน

Cr. Havaianas

13) ปัจจุบันรองเท้าแตะฮาวายานัส มีจุดจำหน่ายกว่า 100 ประเทศทั่วโลก และถึงแม้ปีที่ผ่านมาจะเกิดวิกฤต ผู้ติดเชื้อในบราซิลสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก แต่ยอดขายรองเท้าแตะโดยรวมก็ยังเติบโตได้ 6% คิดเป็นยอดขายกว่า 17,000 ล้านบาท

.

หากวัดยอดขายต่างประเทศยิ่งน่าประทับใจ คือ เติบโตถึง 12% ปิดยอดขายปีที่แล้วที่มูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนส่งออกกว่า 30% ของยอดขายรวม

.

โดยราคารองเท้าแตะมีขายตั้งแต่หลักร้อย ไปจนถึงหลายพันบาท

14) ก็เป็นเรื่องราวของสินค้าไลฟสไตล์อย่างรองเท้าแตะ ที่ต้องบอกว่าเป็นมากกว่า แค่รองเท้าแตะ ธรรมดาๆ แต่มันเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ของชาวบราซิลกันเลยทีเดียว

15) สำหรับไทยเอง ก็ไม่ใช่ธรรมดา โดยปัจจุบันไทยเราเป็นผู้ส่งออกรองเท้าแตะ อันดับที่ 8 ของโลก รองจากจีน สหภาพยุโรป เวียดนาม ตุรกี สหราชอาณาจักร อินโดนีเซีย และบราซิล

16) ไทยเราก็ต้องบอกว่ามีแต้มต่อเหมือนกัน ทั้งเป็นแหล่งผลิตยางพารา และเม็ดพลาสติกลำดับต้นๆของโลก อีกทั้งยังมีข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่มีกับ 18 ประเทศคู่ค้า ทั่วโลก

.

โดยปัจจุบัน 16 ประเทศคู่เอฟทีเอ ได้แก่ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และชิลี ได้ยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้ารองเท้าแตะจากไทยทุกรายการ ทั้งรองเท้าแตะที่ทำจากยางหรือพลาสติก รองเท้าแตะจากหนัง และรองเท้าแตะจากวัสดุสิ่งทอ (พิกัดศัลกากร 640299900001 64041900001 64042000001)

17) สิ่งสำคัญนอกเหนือจากต้นทุนวัตถุดิบและภาษี ก็คงเป็นเรื่องของคุณภาพสินค้า และ Story หรือ เรื่องราว ที่จะใส่เข้าไปมากกว่า

18) จริงๆ แล้วรองเท้าแตะไทย ที่หน้าตาคล้ายกับรองเท้าแตะฮาวายานัส ทุกคนก็คงต้องนึกถึงรองเท้าตราช้างดาว ของนันยาง เป็นแน่ ซึ่งช่วงหลังๆ ก็ถือว่า ทำตลาดในประเทศได้ดี เป็นกระแสไวรัลอยู่หลายโครงการเลยทีเดียว…

เก๋ามาตั้งแต่รุ่นพ่อ Cr. Nanyang

19) ก็หวังว่าอนาคต จะมีบริษัทไทย หลายๆ บริษัทสามารถก้าวไปโลดแล่นในระดับภูมิภาค หรือระดับโลกได้ แอดมินเป็นกำลังใจให้ และถ้ามีโอกาสสัมภาษณ์บริษัทไทยเหล่านั้น ก็จะเอามาสรุปฝากเพื่อนๆ กันนะครับ

20) ส่งท้าย สำหรับผู้ส่งออก ที่กำลังปวดหัว ต้องเปลี่ยนเทอมการซื้อขาย จาก FOB เป็น CIF ต้องหาเฟรท จองเรือให้ลูกค้าเอง ทางแอดมินขอแนะนำแพลตฟอร์ม ZUPPORTS

.

ช่วยเปรียบเทียบราคาขนส่ง, จองเรือ รถ เครื่องบิน, ติดตามสถานะงาน และตรวจสอบบิลขนส่งออนไลน์ บริหารการนำเข้า ส่งออก ครบจบในที่เดียว

.

ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ ทดลองใช้ระบบ และรับข่าวสารดีๆ แบบนี้ ได้ที่ www.zupports.co/register

.

หรือถ้าเพื่อนๆ ผู้อ่าน มีเพื่อนที่ทำนำเข้า ส่งออก ก็ช่วยแนะนำ ZUPPORTS ให้เพื่อนๆ กันได้เลยนะ

——————————–

หากไม่อยากพลาดความรู้ ข่าวสาร ดีๆ กดไลค์เพจ และกด Favorites ในเฟสบุ๊ก กันไว้เลย

.

และหากบทความมีประโยชน์ ก็กดไลค์โพสและแชร์ให้เพื่อนๆ กัน ได้เลยจ้า

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

(Ads) ZUPPORTS เราช่วยทำให้การนำเข้าส่งออก ง่ายเหมือนการช้อปปิงออนไลน์

.

ผู้นำเข้า ส่งออก ที่สนใจทดลองใช้เครื่องมือดิจิตอล ช่วยเปรียบเทียบราคาขนส่ง, จองเรือ รถ เครื่องบิน,ติดตามสถานะงาน และตรวจสอบบิลขนส่งออนไลน์ ง่ายๆ ที่ ZUPPORTS

.

สามารถลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษได้เลยที่ www.zupports.co/register

——————————–

ที่มา:

https://havaianas.co.th/pages/about-us

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/932275

https://www.highsnobiety.com/p/havaianas-ultimate-flip-flop-brand/

https://www.bbc.com/news/world-latin-america-40610739

https://www.longtunman.com/5225

——————————–

ติดตาม “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า” ได้ที่

Website: https://www.zupports.co/author/zupports/

Facebook: https://www.facebook.com/soodkobfah.imex

Blockdit: https://www.blockdit.com/soodkobfah

Twitter: https://twitter.com/soodkobfah?s=09

นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า marketplace: https://www.facebook.com/groups/573677150199055/

นำเข้าส่งออก 101: https://www.facebook.com/groups/845457579217628

ไลน์ Openchat: http://bit.ly/2WxgB1d

 

#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า#นำเข้า #ส่งออก

#ZUPPORTS

ข่าวสารอื่นๆ