เศรษฐกิจไทยกำลังหดตัวต่ำสุด นับจากวิกฤตต้มยำกุ้ง กระทบหนักทุกภาคส่วน

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนชั้นนำของประเทศไทย ระบุว่า

“วิกฤตครั้งนี้ ต่างจากครั้งต้มยำกุ้ง ที่ครั้งนั้นเป็นวิกฤตคนรวย คือ บริษัทใหญ่กู้เงินต่างประเทศมามาก พอเงินบาทลอยตัวค่าเงินบาทอ่อนตัว ก็ทำให้ภาระต้องจ่ายหนี้เพิ่ม เท่าตัว แต่จากการที่เงินบาทอ่อนค่า ก็ส่งผลดีต่อการส่งออก ทำให้เศรษฐกิจไทยรอดมาได้”

ผิดกลับครั้งนี้ ที่เป็น ดร. บอกว่า เป็น “วิกฤตคนจน” ที่เริ่มจากโควิด-19 ทำให้รายได้การท่องเที่ยวเป็นศูนย์ ลุกลามไปภาคส่วนอื่น และหากปล่อยช้าไม่แก้ไข จะเป็นประเด็นปัญหาทางสังคม การเพิ่มขึ้นของอาชญากรรม และปัญหาการเมืองในที่สุด

สำหรับบทความนี้ เราลองไปดูบทวิเคราะห์เศรษฐกิจที่จัดทำโดยทาง SCB EIC และทาง KKP Research และแนวทางรับมือ หากพร้อมแล้วไปติดตามกันเลย

════════════════

ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก

www.zupports.co

════════════════

1) EIC คาดการณ์เศรษฐกิจโลก หดตัวที่ 2.1% เทียบกับภาพปี ค.ศ. 2008 ที่เศรษฐกิจโลกหดตัว 0.1% โดยเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาอาจหดตัวสูงถึง 6.0% ในขณะที่ GDP จีนเติบโต 1.5%

2) สำหรับประเทศไทย มองว่า GDP ปีนี้จะติดลบในช่วง 5.6% ถึง 6.8% โดยทั้ง 2 หน่วยงาน ประมาณการไว้ดังนี้

– การบริโภคภาคเอกชน: EIC -2.3%, KKP -4.0%

– การบริโภคภาครัฐ: EIC 2.5%, KKP 3.0%

– การลงทุนภาคเอกชน: EIC -9.7%, KKP -6.5%

– การลงทุนภาครัฐ: EIC 4.5%, KKP 3.5%

– มูลค่าการส่งออก: EIC -12.9%, KKP -10%

– มูลค่าการนำเข้า: EIC -21.5%, KKP -15%

– จำนวนนักท่องเที่ยว: EIC -67%, KKP -63%

3) จะเห็นได้ว่าที่กระทบหนักสุด ก็หนีไม่พ้นภาคการท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง มีทั้ง 2 สำนักคาดการณ์ว่า จำนวนนักท่องเที่ยว จะลดลงไปถึง 2 ใน  3 จากกว่า 40 ล้านคน เหลือ 13-14 ล้านคน คือ นักท่องเที่ยวหายไปทั่งหมดในช่วงเดือนเมษายน และพฤษภาคม และค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น

Cr. SCB EIC

หากเราลองมองเทียบไต้หวัน ที่ควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีมากๆ ช่วงนี้ชาวไต้หวันเองก็เริ่มกลับมาท่องเที่ยว แต่เฉพาะในประเทศ แต่ก็รัฐบาลไต้หวันเองก็ยังเตือนเรื่องการหลีกเลี่ยงสถานที่ ที่มีผู้คนหนาแน่น ส่วนการจะเดินทางไปต่างประเทศ คงอีกซักพักใหญ่

4) การ นำเข้า ส่งออก ก็ลดลง สาเหตุหลักๆมาจาก ราคาน้ำมันที่ลดลง และการการบริโภคพลังงาน/น้ำมันที่ลดลง

นอกจากนี้การที่มีมาตรการควบคุมเพื่อลดการแพร่ระบาดโควิด-19 ก็ทำให้กิจกรรมการส่งออกสินค้าหลายๆ อย่างต้องชะลอไปก่อน เช่นพวก เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือผลไม้สดต่างๆ (ที่ต้องส่งทางเครื่องบิน)

แต่ก็มีสินค้าที่มียอดขายเพิ่ม คนยังต้องการได้แก่ สินค้าพวกอาหาร โดยเฉพาะ อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง สินค้าทำความสะอาดและดูแลสุขภาพ หรือเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์

นอกจากนี้สินค้าหรือบริการที่เกี่ยวกับโลกออนไลน์ การทำงานที่บ้าน ก็ได้รับประโยชน์

ได้มีโอกาสคุยกับผู้ประกอบการส่งออก ก็ต้องปรับตัวต้องหันกลับมาทำตลาดออนไลน์ในประเทศเพิ่มมากขึ้นในช่วงนี้ไปก่อน แต่ยังไงก็ต้องเตรียมการเอาไว้ หากสถานการณ์ดีขึ้น จะได้พร้อมกลับมาส่งออก

5) มีข้อมูลที่น่าสนใจจากทาง SCB EIC คือสถิติการจัดตั้งกิจการ และการเลิกกิจการในช่วง 9 สัปดาห์แรกของปีนี้ของไทย แบ่งธุรกิจเป็น 2 กลุ่มหลักๆคือ

– เก่าไปใหม่มา คือ ธุรกิจการเลิกกิจการ แต่ก็มีการจัดตั้งใหม่เป็นบวก ได้แก่ ธุรกิจร้านอาการ ขนส่ง และก่อสร้าง

– เก่าไปใหม่ไม่มา คือ ธุรกิจที่เลิกกิจการ และจัดตั้งใหม่ติดลบ ได้แก่ โรงแรม อสังหาฯ ค้าส่ง-ค้าปลีก เกษตร และการผลิต

Cr. SCB EIC

พอเจอปัญหาแบบนี้ ธุรกิจก็คงต้องปรับแผน “ปรับตัว” กันไป แต่ทาง ดร.นิเวศน์ ก็ให้มุมมองอันหนึ่ง “เรื่องการปรับตัว” ก็คือ

สำหรับคนส่วนใหญ่ เราคงต้องยอมรับว่า คนเราไม่ได้ปรับตัวได้เร็วขนาดนั้น ชีวิตทั้งชีวิตทำงานอย่างหนึ่ง หากต้องเปลี่ยนไปทำงานไอทีก็น่าจะใช้เวลา หรือหากจะไปทำค้าขายกันทุกคน ค้ากันไปมา กลายเป็นมีแต่คนขาย ไม่มีคนซื้อ

ซึ่งก็คงต้องให้ภาครัฐช่วยพยุงเอาไว้ก่อนที่ทุกคนจะไปไม่รอด โดยทาง SCB EIC ประเมินว่าทุกๆ เม็ดเงิน 5 หมื่นล้านบาท จะกระตุ้น GDP ได้ 0.25%

คงต้องจับตาดูวันนี้ว่าคณะรัฐมนตรี จะออกนโยบายกระตุนเศรษฐกิจออกมาอย่างไรบ้าง ลุ้นมาตรการที่ใหญ่ขึ้น สำหรับเฟส 3 ที่อาจสูงถึง 1.9 ล้านล้านบาท

════════════════

ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก

www.zupports.co

════════════════

ที่มา:

https://www.scbeic.com/th/detail/product/6742

https://www.scbeic.com/th/detail/product/6727

https://kkpadvicecenter.kiatnakin.co.th/th/money-lifestyle/money/economic-trend/gdp-cut-to-minus-6-point-8

https://www.youtube.com/watch?time_continue=787&v=bbKzLKwUiM8&feature=emb_logo

💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม

นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก

ZUPPORTS.co

👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้าส่งออก

http://bit.ly/35Rh2ql

 

 

ข่าวสารอื่นๆ