[Freight Weekly] :อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 29 มกราคม- 2 กุมภาพันธ์ 2567 กับ ZUPPORTS !!! สัปดาห์แห่งความผันผวน ช่วงเวลาหายใจไม่ทั่วท้อง ของคนขายงาน RFQ Bidding !!!

[Freight Weekly] :อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 29 มกราคม- 2 กุมภาพันธ์ 2567 กับ ZUPPORTS !!!

สัปดาห์แห่งความผันผวน ช่วงเวลาหายใจไม่ทั่วท้อง ของคนขายงาน RFQ Bidding !!!

.

กลับมาพบกันอีกครั้ง เป็นประจำเหมือนเช่นเคย ในทุกวันเริ่มต้นการทำงานของสัปดาห์ กับการรายงานข่าวสาร ความเคลื่อนไหว รวมถึง สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวพวกเรา ในแวดวงการนำเข้า-ส่งออก ในรูปแบบที่ย่อยง่าย เหมือนเพื่อนเล่าให้ฟังกัน

.

สัปดาห์นี้ นับเป็นสัปดาห์ที่ 5 ประจำปี 2567 โดยจะถือว่าเป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ ที่เป็นช่วงเวลาที่แสนวุ่นวาย และชุลมุนของใครหลายคน ในวงการนำเข้า-ส่งออก โดยเฉพาะ คนที่ต้องดูแลในส่วนงานหลังบ้าน อย่าง งาน CS and Document

.

เนื่องจาก เป็นสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ที่จะเป็นช่วงเวลาการปิดจ็อบ เก็บงานในรอบสิ้นเดือน ในขณะที่ สถานการณ์ของงานขนส่งสินค้าทางเรือ ก็ยังเป็นช่วงเวลาที่ถือว่า ค่อนข้างท้าทายอย่างมาก ทั้งเรื่องของตารางเรือที่บิดเบี้ยว รวมถึง พื้นที่ระวางขนส่ง ที่มีอย่างจำกัด ส่งผลให้การจองเรือ ยังคงเป็นเรื่องที่ยากเย็น

.

ดังนั้น ท่ามกลางช่วงเวลาที่สำคัญ และวุ่นว่ายสำหรับใครหลายคนเช่นนี้ หากใคร ที่ไม่มีเวลาในการติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นรอบตัว ก็สามารถที่จะอัพเดทข้อมูล สถานการณ์รายสัปดาห์กับพวกเรา ZUPPORTS กันได้เลย !!

.

=========================

ZUPPORTS ช่วยผู้นำเข้าส่งออก หา Space

เปรียบเทียบราคาและบริการ Freight ทั้งทางทะเล ทางอากาศ ทางบก และทางรถไฟ

ด้วยพันธมิตรผู้ให้บริการขนส่ง มากกว่า 30 บริษัท

ลงทะเบียนทดลองใช้งานได้ที่

นัดหมายทดลองใช้งาน

=========================

1) สถานการณ์ของ Sea Freight Shipment  จะยังคงอยู่ในภาวะที่ทำงานยาก ทั้งเรื่องของ Space และการหาเรือ !!

.

เปิดเริ่มต้นสัปดาห์กันที่ สถานการณ์ของงานขนส่งสินค้าทางเรือ หรือ Sea Freight Shipment ซึ่งภาพรวมในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะยังเป็นช่วงเวลาที่ถือว่า ยากเย็นและค่อนข้างตึงเครียด สำหรับผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก โดยการจองเรือในหลายเส้นทางหลัก ยังคงเป็นเรื่องที่ถือว่าทำได้ยาก

.

เนื่องจากพื้นที่ระวางขนส่ง หรือ Allocation Space ที่ค่อนข้างตึงและหุบแคบลงอย่างมาก โดยมีสาเหตุจากการที่หลายสายการเดินเรือ ยังคงอยู่ในช่วงทำการประกาศตารางเรือว่าง ยกเลิกเที่ยวเรือ หรือ Blank Sailing

.

ประกอบกับ เรือสินค้าจำนวนมาก ที่ประจำการในเส้นทางขนส่งหลักสายนอก ทางไกล ไม่สามารถกลับเข้ารอบเรือของตนเองได้ทัน เนื่องจาก มีการปรับเส้นทางเดินเรือขนส่ง หรือ Re-Routing โดยเฉพาะ เส้นทางที่ต้องผ่านทะเลแดงและคอลงสุเอช ซึ่งเป็นพื้นที่สู้รบไปแล้ว

.

ขณะที่ภาพรวมการหมุนเวียนของตู้สินค้าในบ้านเรา เริ่มที่จะเข้าสู่ภาวะที่ฝืดเคือง โดยในหลายสายการเดินเรือ เริ่มเห็นสัญญาณของปัญหามาตั้งแต่ช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จากการที่ผู้ประกอบการ ไม่สามารถทำการรับตู้สินค้าเปล่าได้ตามแผนที่วางไว้ ทั้งเรื่องของสภาพตู้และระยะเวลาที่ใช้ในขั้นตอนการรับตู้เปล่า

.

โดยผู้ประกอบการหลายราย ต้องเจอกับการที่ต้องเปลี่ยนลานรับตู้เปล่ามากขึ้น หรือต้องมีการแยกลานรับตู้เปล่าหลายที่ ในกรณีที่เป็นงานแบบ Big Lot/ Big Volume หรือมีจำนวนหลายตู้ ใน Booking เดียว

.

ขณะที่ภาพรวมการหมุนเวียน และการจัดหาตู้สินค้าในต่างประเทศ ผู้ประกอบการในหลายประเทศ ต้องรับมือกับปัญหาขาดแคลนของตู้สินค้า ที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการภาคการขนส่งสินค้าทางเรือ อย่าง ผู้ประกอบการในประเทศจีน รวมถึง ผู้ประกอบในภูมิภาคเอเชียใต้ อย่าง ประเทศอินเดีย

.

ทั้งนี้ ก็เนื่องจากเรือสินค้าในหลายเส้นทางหลัก ใช้เวลาในการเดินทางขนส่งที่ยาวนานกว่าปกติ ไม่สามารถกลับเข้ารอบเรือเดิมของตนเองได้ทัน หลังทำการปรับเส้นทางการขนส่ง หรือ Re-Routing โดยการเลี่ยงไม่ผ่านเส้นทางทะเลแดง และคลองสุเอช

.

*******

2) สถานการณ์ความเสถียรของตารางเดินเรือ ในหลายเส้นทาง การ Blank Sailing ยังเป็นปัญหาสำหรับคนทำงาน !!!

.

ทางด้านความเสถียรและความนิ่งวของตารางเดินเรือ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายเส้นทางยังคงอยู่ในสถานการณ์ที่ถือว่าไม่ปกติ เนื่องจาก รอบตัวพกวเรา ยังคงมีสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความนิ่งของตารางเรือ ทั้งจากสถานการณ์ในทะเลแดง

.

รวมถึง สถานการณ์ความหนาแน่นของท่าเรือหลักต่างๆทั่วโลก และปัญหาจากภัยธรรมชาติ ซึ่งล้วนแล้วแต่ ส่งผลให้ตารางเดินเรือในหลายเส้นทาง ตกอยู่ในภาวะที่ไม่ปกติ ทั้งปัญหาความล่าช้า หรือ Delay Onboard/ Delay Arrival รวมถึง ปัญหาการที่เรือข้ามไม่เข้าในบางท่าเรือ หรือ SKIP Call/ OMIT Port

.

อย่าง ตารางเรือในเส้นทางที่ขนส่งระหว่างภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ หรือ Asia- North Europe รวมถึง ในเส้นทางระหว่าง ภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- Mediterranean และแม้แต่ ตารางเรือในเส้นทางขนส่ง ภายในภูมิภาคเอเชียเอง หรือ  Intra-Asia

.

ภาพรวมของตารางเดินเรือ ในเส้นทางขนส่งสายใน ระยะใกล้ หรือ Short Haul Service อยู่ในภาวะที่ไม่นิ่ง ยังคงมีปัญหาความล่าช้าในหลายเส้นทาง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาความหนาแน่นในท่าเรือหลัก ส่งผลให้เรือสินค้าจำนวนมาก เสียเวลาในการรอเข้าเทียบท่า

.

ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือ ปัญหาการข้าม ไม่เข้าในบางท่าเรือตามตารางเรือ เนื่องจากสายการเดินเรือ หรือผู้ให้บริการรับขนส่ง ต้องการปรับตารางเรือให้สามารถเข้าเที่ยวเรือได้ทัน

.

ทางด้านการยกเลิกรอบเรือ ประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing ในรอบสัปดาห์นี้ กลุ่มพันธมิตรเดินเรือและสายการเดินเรือขนาดใหญ่ ยังคง เลือกที่รักษาระดับของจำนวนเที่ยวเรือ และพื้นที่ระวาง หรือ Allocation Space ที่มีในท้องน้ำ

.

โดยเฉพาะ ในเส้นทางสายนอก ระยะไกล ที่ขนส่งไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในเส้นทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก รวมถึง ในเส้นทางที่ขนส่งไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ รวมถึงยุโรปตอนล่าง และภูมิภาคทะเลแดง จากสถานการณ์วิกฤติที่ทะเลแดง

.

ทั้งนี้ ในช่วงตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 5 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 9 ของปี 2024 หรือในช่วง 5 สัปดาห์นับจากนี้ ทุกสายการเดินเรือ มีการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing ในเส้นทางการขนส่งหลัก รวมกันอย่างน้อย 99 เที่ยวเรือ หรือคิดเป็น ร้อยละ 15 จากจำนวนทั้งหมด 650 เที่ยวเรือ !!!

.

โดยในช่วง 5 สัปดาห์ จากนี้ เส้นทางที่ถูกยกเลิกรอบเรือมากที่สุด จะเป็นในเส้นทางการขนส่ง จาก ภูมิภาคยุโรปไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในรอบเรือ Transatlantic Eastbound คิดเป็นร้อยละ 56

.

ตามด้วย เส้นทางการขนส่งจาก ภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือและยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- North Europe/ MED ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 34 และ ในเส้นทางการขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในรอบเรือ Transpacific Eastbound ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 10 !!

.

**************

3) สถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หลายเส้นทาง สร้างความลำบากให้งาน RFQ Bidding !!!

.

ทางด้านสถานการณ์ทิศทางค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หรือ Sea Freight Rate ในหลายเส้นทาง จะยังเป็นช่วงที่ค่าระวางขนส่งสามารถทำการไต่ระดับขึ้นไปได้อีก หากแต่ ในหลายเส้นทางอยู่ในทิศทางที่ค่อนข้างทรงตัว และมีความนิ่งมากขึ้น โดยเฉพาะ ราคาค่าระวางขนส่งในเส้นทางระยะทางใกล้ จากปัจจัยที่เป็นแรงส่งต่างๆ เริ่มแผ่วลง

.

ทั้งนี้ เนื่องจากในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพรวมของอุปสงค์ หรือความต้องการในภาคการขนส่ง เริ่มที่จะปรับมาอยู่ในระดับที่ค่อนข้างทรงตัวและคงที่ ภายหลังที่ผู้ประกอบการจำนวนมากมีการดันสินค้าของตนเอง ออกมาให้พ้นก่อนที่จะหยุดยาวในช่วงเทศกาลตรุษจีน

.

ประกอบกับเริ่มได้เห็นหลายสายการเดินเรือ เริ่มที่จะมีการปรับเพิ่มกองเรือเข้ามาในระบบ หากแต่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นในเส้นทางสายในระยะใกล้ หรือ Short Haul Service อย่างในเส้นทางภายในภูมิภาคเอเชีย หรือ Intra-Asia Loop รวมไปถึง ในเส้นทางที่ขนส่งระหว่างภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคเอเชียใต้ หรือ Asia- Indian Subcontinent

.

ในขณะที่ ภาพรวมค่าระวางในเส้นทางสายนอก ทางไกล หรือ Long Haul Service ยังคงอยู่ในทิศทางขาขึ้น หากแต่เป็นไปในลักษณะที่ค่อนข้างทรงตัว และเริ่มเห็นความนิ่งมากขึ้น เมื่อเทียบช่วงก่อนหน้านี้ อย่าง ในเส้นทางที่ขนส่งไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ และยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- North Europe/ Asia- Mediterranean

.

รวมถึง ค่าระวางในเส้นทางที่ขนส่งไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ Asia- North America ฝั่งในฝั่ง East Coast และในฝั่ง West Coast

.

ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ต้องรับมือกับภาวะที่ค่าระวางขนส่ง ไม่สามารถที่จะยืนได้นาน หรือเป็นในลักษณะที่ต้องทำการตรวจสอบทุกสัปดาห์ หรือในบางเส้นทาง ต้องทำการตรวจสอบทุกเที่ยวเรือ เนื่องจากความถี่ของรอบเรือลดน้อยลง

.

ทั้งนี้ ช่วงเวลานี้ ถือว่าเป็นภาวะที่ ค่าระวางขนส่งทางเรือ ที่กลับมาอยู่ในทิศทาง to The Moon อย่างที่ไม่มีใครคาดคิดภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ หลังสถานการณ์ในทะเลแดง ส่งผลให้ ตัวแทนรับขนส่ง ที่มีการทำการปิดราคาขายระยะยาว ในรูปแบบ RFQ Bidding ต่างรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ หรือหายใจไม่ทั่วท้อง

.

เนื่องจาก การขายงานในรูปแบบคล้ายการยื่นซองประมูลราคาระยะยาวนั้น มันมีความเสี่ยงและความกดดัน ที่ต้องแบกรับ รวมถึง การเจ็บตัว เข้าเนื้อ จากภาวะที่ต้นทุนค่าระวางขนส่ง ดีดตัวสูงกว่าราคาขายที่ปิดไป

 

ทางด้านดัชนีค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ ในรอบสัปดาห์นี้ หลายเส้นทางยังคงอยู่ในทิศทางขาขึ้นต่อเนื่อง หากแต่ดัชนี เริ่มที่จะเป็นไปในทิศทางที่ปรับขึ้นอย่างเอื่อยๆ ไม่พุ่งตัวแรงเหมือนเช่นเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ ก็เนื่องจากหลายสายการเดินเรือ ได้มีการประกาศปรับขึ้นค่าระวาง่ไปในช่วงก่อนหน้านี้แล้ว

.

โดยดัชนีค่าระวางในรอบสัปดาห์นี้ ยังคงเป็นช่วงเวลาฝั่งขาขี้น หากแต่เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ไม่ค่อยรุนแรง หรือหวือหวามากนัก มีการปรับตัวขึ้น คิดเป็นร้อยละ 5 เมื่อเทียบจากสัปดาห์ก่อน มาปิดอยู่ที่ USD 3,964 per 40’GP

.

ทั้งนี้ ดัชนียังถือว่าเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 94 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน รวมถึง ยังคงยืนอยู่ในจุดที่สูงกว่า ดัชนีค่าระวางเฉลี่ยเมื่อปี 2019 หรือ ช่วงก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสอีกครั้ง โดยสูงกว่าคิดเป็น ร้อยละ 179 ซึ่งค่าเฉลี่ยในช่วงเวลานั้นอยู่ที่  USD 1,420 per 40’GP

.

==================

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากเช็คแนวโน้มราคาเฟรท ทางทะเล ย้อนหลัง 3 เดือน แยกไปแต่ละเส้นทางขนส่ง ก็สามารถ ลองเข้าไปเช็คกันได้เลยที่ https://zupports.co/our-services/

.

หรือหากอยากดูราคาเฟรท ในเดือนล่าสุด ก็ลงทะเบียน แบบ premium กันได้เลยที่ https://zupports.co/register/

==================

.

************

4) ด้านสถานการณ์ความหนาแน่นของท่าเรือหลักทั่วโลก หลายท่าเรือหลัก กลับมาอยู่ใน Peak Season Mode !!!

.

ปิดท้ายในรอบสัปดาห์ ด้วยประเด็นสถานการณ์ของท่าเรือหลักทั่วโลก ที่เริ่มเข้าสู่ภาวะที่ตึงมือ และคึกคักอีกครั้ง โดยในบางท่าเรือกลับมาอยู่ในภาวะที่หนาแน่น ทั้งจำนวนเรือสินค้าที่อรเข้าเทียบ รวมถึง จำนวนตู้สินค้าที่ตกค้างอยู่ในท่าเรือ โดยมีสาเหตุมาจากปัญหาความถี่รอบเรือที่ลดน้อยลง ขณะที่อีกหลายท่าเรือ เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัว ของจำนวนเรือสินค้าที่เข้าเทียบ รวมถึงตัวเลขตู้สินค้าที่ไหลผ่าน เนื่องจากผู้ประกอบการจำนวนมาก มีการดันงานขนส่งช่วงก่อนหน้านี้

.

ด้านกลุ่มท่าเรือหลักในฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ประตูหลัก อย่าง USNYC อยู่ในภาวะที่ทรงตัว ขณะที่ USSAV, USCHS, USORF, USBAL ยังตกอยู่ในภาวะที่ถือว่าตึงมือ จากจำนวนตู้สินค้าที่ไหลผ่าน รวมถึง จำนวนเรือสินค้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาความล่าช้า ของเรือที่รอเข้าเทียบอยู่ที่ 2- 4 วัน และงานที่ขนส่งต่อเนื่องทางราง ล่าช้า อย่างน้อย 3 -6 วัน

โดยที่หนักหนาที่สุด จะเป็นท่าเรือหลักในฝั่งอ่าว อย่าง USHOU ที่อยู่ในช่วงสภาพอากาศแปรปรวน และการปิดซ่อมเครนหน้าท่า ส่งผลเกิดปัญหาความล่าช้า อย่างน้อย 6 -10 วัน

.

ทางด้านกลุ่มท่าเรือหลักในฝั่งตะวันตก USLAX, USLGB, USOAK, USTIW, USSEA ยังคงตกอยู่ในภาวะที่ค่อนช้างตึงมือ ทั้งจำนวนตู้สินค้าและเรือสินค้าที่เข้าเทียบท่า ส่งผลให้เกิดปัญหาความล่าช้า ของเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบท่า อยู่ที่ 3- 8 วัน และงานที่ต้องทำการขนส่งต่อเนื่องทางรางไปยังเมืองที่ตอนกลางของประเทศ เกิดปัญหาความล่าช้าในการต่อขึ้นราง 5 -10 วัน

.

NLRTM, BEANR, DEHAM อยู่ในภาวะทรงตัว หากแต่ เริ่มเห็นสัญญาณความคึกคักขึ้นอีกครั้ง หลังจากกองเรือสินค้าที่ทำการเปลี่ยนเส้นทาง เริ่มทยอยถึงท่าเรือหลักในภูมิภาคยุโรปตั้งแต่เมื่อสัปดาห์ก่อน ในขณะที่ทางด้าน BEANR ต้องปิดท่าเรือในบางเทอมินัล เนื่องจากเรือตู้สินค้าประสบอุบัติเหตุกระแทกกับเครนหน้าท่า เมื่อหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ DEHAM ได้รับผลกระทบ จากการนัดหยุดงานของแรงงานภาคขนส่ง โดยเฉพาะภาคการขนส่งทางราง

.

กลุ่มท่าเรือหลักของประเทศจีน เริ่มที่จะเข้าสู่ภาวะทรงตัว หลังผุ้ประกอบการมีการดันสินค้าออกมาในช่วงก่อนหน้านี้ และในหลายราย เริ่มทำการปิดเพื่อหยุดช่วงเทศกาลตรุษจีนกันแล้ว หากแต่ ยังคงมีปัญหาความหนาแน่นจากกองตู้สินค้าที่ตกค้างในท่าเรือ จากปัญหาความถี่รอบเรือที่ลดน้อยลง รวมถึงปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลให้เกิดปัญหาความล่าช้าของเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบ อย่างน้อย 2- 4 วัน อย่าง CNSHA, CNNGB, CNTAO รวมถึง ท่าเรือหลักของประเทศเกาหลีใต้ อย่าง KRPUS

.

ขณะที่ทางด้านภาพรวมสถานการณ์ของท่าเรือ ที่เป็นจุดถ่ายลำหลักของโลก 3 ท่าเรือหลัก อย่าง SGSIN, MYPKG, HKHKG  ยังคงถือว่าหนาแน่น และเริ่มที่จะประสบกับปัญหาในการบริหารจัดการ เนื่องจากปัญหาความถี่ของรอบเรือแม่ที่จะมาเก็บตู้ลดน้อยลง จากการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing โดย  SGSIN  ถือว่ามีปัญหาค่อนข้างหนักกว่าเพื่อน เนื่องจากเจอปัญหาซ้ำซ้อน จากภาวะที่เรือสินค้ามาถึงในเวลาที่ไล่เลี่ยหรือพร้อมกัน ส่งผลให้เกิดปัญหาความล่าช้า อย่างน้อย 2 -4 วัน เนื่องจาก Window ที่เข้าเทียบ ไม่เพียงพอต่อเรือสินค้า

.

******************

.

ที่กล่าวมานั้น คือการสรุปข่าวสาร ความเคลื่อนไหว สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแวดวงการนำเข้า-ส่งออก ภาคการขนส่งสินค้าทางเรือประจำสัปดาห์ ที่พวกเราหมายใจอย่างยิ่ง จะให้เป็นประโยชน์ ต่อท่านผู้ประกอบการและท่านผู้ติดตามทุกท่าน ในการวางแผนการทำงาน และสามารถรับมือกับทุกอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นได้ครับ

.

สัปดาห์นี้ขอลาไปก่อน ขอบุญรักษาทุกท่าน และขอสันติสุข จงมีต่อโลกของเรา สวัสดีครับ

.

CR : PIC by @PrimeLogisticss

.

=========================

ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ นำเข้า ส่งออก

เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk

=========================

ข่าวสารอื่นๆ