[Freight Weekly] อัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 9-13 พฤษภาคม 2565 กับ ZUPPORTS
เมื่อโลกของการนำเข้า-ส่งออก กำลังหมุนรอบประเทศจีน
กลับมาพบกับพวกเราอีกครั้งกับพวกเราชาว ZUPPORTS ในการรายงานข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหว สถานการณ์ต่างๆ ของแวดวงนำเข้า-ส่งออก ในภาคการขนส่งสินค้าทางเรือในรอบสัปดาห์
.
ซึ่งในสัปดาห์นี้นับเป็นสัปดาห์ที่ 20/2022 ของเดือนพฤษภาคม ตามปฏิทินของคนทำงานขนส่งทางทะเล และเป็นอีกเดือนที่วันหยุดพิเศษค่อนข้างเยอะสำหรับประเทศไทยเรา โดยมีทั้งที่เป็นวันหยุดร่วมและวันหยุดแยก ระหว่างภาคราชการกับภาคเอกชน
.
สำหรับนาทีนี้เชื่อว่าหลายคนในบ้านเราที่อยู่ในวงการนำเข้า-ส่งออก รวมไปถึงอีกหลายคนทั่วโลกที่อยู่ในแวดวงการขนส่งและการกระจายสินค้า ต่างกำลังเฝ้าจับตาไปที่สถานกาณณ์การล็อคดาวน์เมืองเซี่ยงไฮ้ของประเทศจีน ที่ดูท่าจะยืดเยื้อและลากยาวกว่าที่หลายคนคาดการณ์
.
และดูเหมือนการบังคับใช้มาตรการล็อคดาวน์ มีแนวโน้มขยายไปเมืองเมืองหลวงอย่างปักกิ่ง หากแต่ทางการจีนยังยืนยันไม่มีคำสั่งการปิดเมืองหลวง แม้จะมีการสกัดกั้นการเดินทางและขนส่งสาธารณะ โดยสั่งปิดสถานีรถใต้ดินไปแล้วกว่า 60 สถานี
.
รวมถึงสถานการณ์การสู้รบในภูมิภาคยุโรปตะวันออกที่ยืดเยื้อมากว่า 2เดือน จนหลายคนเริ่มมองเป็นเรื่องปกติหรือเลิกสนใจไปแล้ว หากแต่ในความจริง ในสงครามมันยังคงมีความสูญเสียของอีกหลายชีวิตเกิดขึ้นไม่ว่าฝั่งใดก็ตาม นับรวมไปถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง ที่แผ่มาถึงเรื่องปากท้องเราแบบเลี่ยงไม่ได้
.
ดังนั้นเราจึงไม่อาจละสายตาจากสถานการณ์ดังกล่าวได้ ทั้งในฐานะเพื่อนมนุษย์และในฐานะสมาคมโลก ที่อยู่ภายใต้ห่วงโซ่ทางเศรษฐกิจร่วมกัน
.
เมื่อถึงเวลาพร้อมแล้ว ตามพวกเราชาว ZUPPORTS มาดูกันในแต่ล่ะประเด็นกันเลย
=========================
ZUPPORTS ควบคุมต้นทุนขนส่งผ่านระบบเปรียบเทียบราคาเฟรทออนไลน์
สนใจลงทะเบียนทดลองใช้งานฟรี ที่ www.ZUPPORTS.co/register
=========================
1) เปิดประเด็นกันที่ภาพรวมของการจองพื้นที่ระวางเรือ หรือการบุ๊คกิ้งเรือ
.
หลายเส้นทางในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ในทุกภูมิภาคของการส่งออกรวมถึงในไทยบ้านเราเอง พื้นที่ระวางยังคงเปิดโล่งและได้รับการยืนยันการจองจากสายการเดินเรืออย่างต่อเนื่อง หากแต่ต้องทำการจองเรือล่วงหน้า 2-3 สัปดาห์ และยังต้องลุ้นเรื่องตู้เปล่าสำหรับงานขาออก
.
ทั้งนี้ก็เนื่องจากหลายสายการเดินเรือ ที่แม้ว่าจะประสบกับปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้า แต่ยังคงทำการปล่อยบุ๊คกิ้งยืนยันการจองเรืออย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจำนวนบุ๊คกิ้งที่ปล่อยจึงมากกว่าจำนวนตู้เปล่าที่มีให้บริการพอสมควร โดยในบางสายการเดินเรือมีสัดส่วนของจำนวนบุ๊คกิ้งกับจำนวนตู้อยู่ที่ 60/40 หรือที่หนักหน่อยคือสัดส่วน 70/30
.
หากแต่ในหลายสายการเดินเรือ แม้จะมีพื้นที่ระวางว่างในหลายเส้นทาง หากแต่ไม่สามารถปล่อยบุ๊คกิ้งยืนยันการจองได้ ทั้งนี้เนื่องจากขาดแคลนตู้สินค้าเปล่าในการให้บริการ รวมไปถึงหลายสายการเดินเรือยังคงนโยบาย ไม่ปล่อยบุ๊คกิ้งยืนยันการจองล่วงหน้าเกิน 2 -3 สัปดาห์ก่อนเรือออก เนื่องจากประสบกับปัญหาตู้สินค้าเปล่าขาดแคลนและตารางเดินเรือที่ไม่นิ่ง
.
ในส่วนภูมิภาค North America, Europe โดยจำนวนบุ๊คกิ้งที่ทำการปล่อยออกมานั้น ส่วนมากจะยังคงเป็นการจองเรือภายใต้ FAK/ SPOT rate ในขณะที่หลายตัวแทนรับขนส่งแบบ Freight Forwarder หลายรายทยอยได้รับบุ๊คกิ้ง การยืนยันการจองภายใน SVC/ NAC Bullet ต่างๆมากขึ้น และไม่จำเป็นต้องจ่าย Premium Rate
.
หากแต่ต้องไปลุ้นเอาตอนลากตู้เปล่ากับตรวจสอบตารางเรือที่สามารถรับได้อีกครั้ง เนื่องจากในภาพรวมของพื้นที่เรือ ก็ยังถือว่าค่อนข้างแน่นเนื่องจากหลายสายการเดินเรือมีการปล่อยตารางเรือว่าง
.
ทางด้านของเส้นทางภายในภูมิภาคเอเชียรวมไปถึงเอเชียใต้หรือ Indian Subcontinent พื้นที่บนเรือในการขนส่งไปในหลายท่าเรือยังถือว่าแน่น เนื่องจากหลายสายการเดินเรือประสบกับปัญหาเรือไม่กลับมาสบตามรอบ หลายเส้นทางจากที่เคยมี 2 -3 รอบต่อสัปดาห์ หุบเหลือแค่รอบเรือเดียวต่อสัปดาห์
.
ในขณะที่คนที่รอสินค้าขาเข้ามาจากเมืองจีน โดยเฉพาะจากผู้ผลิตที่อยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมในเมืองใหญ่ๆฝั่งตะวันออก ยังคงประสบกับปัญหาการรอคอยที่ดูจะไม่มีความหวังสักเท่าไร เนื่องจากสิ่งที่เรากำลังประสบกันอยู่ ไม่ใช่แค่ปัญหาความหนาแน่นในเมืองท่าเซี่ยงไฮ้เท่านั้น
.
หากแต่มันลามไปถึงเมืองท่าใกล้เคียงอื่นๆแบบไม่มีทางเลี่ยง อย่าง Ningbo, Nanjing ในขณะที่งานหรือสินค้าที่ออกมาจากท่าเรือในเมืองตอนล่าง อย่าง HKHKG/ CNYTN, CNSHK เริ่มเข้าสูภาวะปกติ
*******
2) ภาพรวมของสภาวะตู้สินค้า ที่ดูจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในทุกภูมิภาค
.
จากปัญหาตู้สินค้าที่ไปตกค้างอยู่ตามท่าเรือต่างๆทั่วโลก รวมถึงที่ตกค้างในประเทศจีน เป็นผลให้ในทุกภูมิภาคทั่วโลกกำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนอย่างหนัก โดยเฉพาะตามเมืองหรือท่าแห้งที่อยู่กลางแผ่นดินหรือดินแดนส่วนที่ไม่ติดทะเล
.
โดยตู้สินค้าที่กำลังขาดแคลนอย่างหนักคือประเภท 40’GP /40’HC เนื่องจากเป็นตู้สินค้าที่มีความต้องการในตลาดขนส่งสูงกว่าตู้สินค้าแบบอื่น หลายสายการเดินเรือแก้ปัญหาด้วยการปล่อยตู้สินค้าประเภทอื่นให้ลูกค้า เช่น 45’HC/ 40’HRF โดยปล่อยแบบปิดระบบทำความเย็น หรือ NOR (Non-Operate Reefer) รวมไปถึงการกล่อมให้ลูกค้าใช้เป็นตู้ 20’GP สองใบแทน
.
ในบ้านเราเองก็กำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าเช่นกันกับทั่วโลก บางสายการเดินเรือขาดแคลนตู้บางประเภทไม่พร้อมหรือไม่สัมพันธ์กัน จึงทำให้หลายคนต้องเจอกับปัญหาเวลาทำการจองเรือแบบที่ต้องการใช้ตู้มากกว่าหนึ่งใบและต่างประเภทกัน
.
ในขณะที่หลายสายการเดินเรือเจอปัญหาขาดแคลนตู้ทุกประเภท (แต่ก็ยังปล่อยบุ๊คกิ้งยืนยันการจองให้ลูกค้า นี่ล่ะที่สงสัย) จนทำให้ผู้ประกอบการรวมถึงบรรดาตัวแทนรับขนส่งหรือ Freight Forwarder ต่างปวดหัวและเสียเวลาในการรับสายลูกค้าเพื่อแก้ปัญหาลูกค้าพอควร
.
ในส่วนภาพรวมของสภาพตู้สินค้าเปล่าที่ปล่อยในบ้านเรา ก็ยังคงไม่อยู่ในสภาพที่ชวนมองสักเท่าไรนัก ใครที่ตั้งธงในการลากตู้ว่าต้องได้เกรดนางฟ้าเท่านั้น น่าจะต้องรอยาวๆ
.
ดังนั้นสภาพตู้ที่เราเห็นหรือสามารถเอาไปใช้งานในขณะนี้ เกิดจากความสามารถและประสบการณ์ของช่างหรือเจ้าหน้าที่ลานตู้ล้วนๆ ในการดูแลรักษาหรือเรียกได้ว่าใช้เวลานวดกันพอควร กว่าจะปล่อยได้แต่ล่ะใบ
.
ในความเป็นจริงแล้ว ทุกสายเรือพอจะมีการขนตู้เปล่าเข้ามาให้ใช้ในบ้านเราอยู่บ้าง แต่ด้วยความที่ปริมาณไม่มากจึงทำให้ไม่ทั่วถึง และแน่นอนสายการเดินเรือส่วนมาก ก็จะเก็บไว้ให้ลูกค้าที่เป็นระดับมหาอำนาจในวงการ รวมไปถึงตัวแทนรับขนส่งหรือ Freight Forwarder ที่มีอำนาจการต่อรองสูง หรือเจ้าที่ถูก Approach มาจากต่างประเทศ
******
3) ในด้านภาพรวมของตารางเดินเรือ ที่สถานการณ์เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น
.
จากข้อมูลสถิติของสื่อต่างประเทศ รวมถึงข้อมูลสถิติจากผู้ประกอบการและบริหารท่าเรือต่างๆ มีความสอดคล้องกันและบ่งชี้ว่า สถานการณ์ภาพรวมของและความน่าเชื่อถือของตารางเดินเรือประเภทเรือตู้สินค้า มีทิศทางที่ดีขึ้นหรือเริ่มกลับมาอยู่ในจุดที่เสถียรมากขึ้น หากเทียบกับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
.
แต่อย่าเพิ่งดีใจว่าทุกอย่างจะกลับมาสู่ภาวะปกติ ปราศจากปัญหา!!!
.
ทั้งนี้เนื่องจากหลายสายการเดินเรือมีการแก้ปัญหาด้วยการปล่อยเรือว่างมากขึ้น รวมถึงการข้ามไม่เข้าบางท่าเรือ ซึ่งเป็นวิธีตามหลักของการบริหารกองเรือ จึงทำให้ภาพรวมตารางเดินเรือเริ่มดีขึ้น ปัญหาการล่าช้าหรือ Delay ลดน้อยลง แต่อย่าลืมว่าเราจะยังคงต้องเจอกับปัญหาการถูกเปลี่ยนเรือ หรือSKIP/ OMIT/ Blank Sailing อยู่ดี
.
ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานั่นคือสิ่งที่คนทำงานหรือผู้ประกอบการไม่อยากเจอ และแม้ตัวเลขข้อมูลสถิติจะชี้แนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น แต่จะพบว่ามันขยับดีขึ้นเล็กน้อยมากๆ หากนำไปเทียบกับภาพรวมความน่าเชื่อถือของตารางเรือตู้สินค้าก่อนช่วงโควิดจะระบาด
.
และเราต้องไม่ลืมว่าประเทศจีนยังคงมาตรการล็อคดาวน์เมืองท่าหลักอย่างเซี่ยงไฮ้อยู่ โดยที่ทุกคนก็พอจะรู้อยู่แล้วว่าจะต้องเจอกับอะไรบ้าง หากเซี่ยงไฮ้มีการคลายล็อคและทุกอย่างกลับมาเดินเครื่องตามปกติ !!!
.
แต่สิ่งที่ทุกคนยังไม่รู้คือ มันจะปั่นป่วนถึงขั้นไหน และต้องใช้เวลานานแค่ไหนในการที่ตารางเดินเรือที่รวนจะกลับไปเหมือนเดิม???
.
รวมไปเส้นทางการให้บริการไปยังประเทศจีน หลายสายการเดินเรือมีการตัดบริการในการขนส่งในรูปแบบขนส่งต่อเนื่องหรือMultimodalออก หรือที่เราเรียกกันติดปากวว่าพวก พอร์ตลากต่อ โดยหดลงเหลือให้บริการขนส่งไปถึงแค่ท่าเรือหลักๆเท่านั้น ทั้งนี้ก็เนื่องจากปัญหาในการขนส่งข้ามเมืองภายในประเทศจีน อันเนื่องจากมาตรการล้อคดาวน์และจำกัดการเดินทาง
.
โดยในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ สำหรับเส้นทางการขนส่งไปยังภูมิภาคอเมริกา, ภูมิภาคยุโรป หลายสายการเดินเรือจะยังคงมีการทยอยประกาศตางเรือว่างหรือ Blank Sailing ออกมาเรื่อยๆ เนื่องจากสินค้าจากจีนที่เป็นตลาดหลักในการขนส่งยังอยู่ในช่วงหดตัวลงไป
*********
4) ทางด้านค่าระวางขนส่งสินค้าหรือค่าเฟรท เหมือนจะมีสัญญาณไปในทิศทางที่ดีขึ้น
.
ซึ่งแนวโน้มทางการตลาดโลกมันมีทิศทางในการปรับลดเพดานลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอุปสงค์ในภาคการขนส่งของทั่วโลกมีการปรับตัวลดลงโดยเฉพาะทางเรือ อันเนื่องมาจากจำนวนสินค้าจากประเทศจีนยังไม่ไหลกลับสู่ตลาด รวมไปถึงสภาวะความต้องการในการบริโภคเริ่มทดถอย
.
หากแต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีสถานการณ์อื่นที่เข้ามาเป็นปัจจัยในทางพยุงค้ำ ไม่ให้ค่าระวางขนส่งโลกปรับลดหรือรูดลงแบบชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นภาวการณ์ขาดแคลนของตู้สินค้าทั่วโลก หรือพื้นที่ระวางขนส่งทางเรือที่ยังค่อนข้างแน่นในหลายเส้นทาง
.
รวมไปถึงราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ผันผวนหนัก และยังคงแตะอยู่ในจุดที่ถือว่าสูงเมื่อเทียบกับภาวะปกติ ซึ่งหลายคนที่อยู่ในวงการขนส่งจะรู้ดีว่าในค่าระวางขนส่งหรือค่าเฟรทที่เราซื้อขายกันแบบเหมารวมหรือ All In ทุกวันนี้ มันมีค่าน้ำมันเชื้อเพลิงหรือ Bunker รวมไปถึงค่าธรรมเนียมต่างๆอีกหลายตัว ที่เกี่ยวข้องกับค่าเชื้อเพลิงหมกซ่อนอยู่
.
ซึ่งหากลองทำการแยกค่าระวางออกมาจะพบว่าแทบทุกสายการเดินเรือ มีการปรับขึ้นค่าเชื้อเพลิงรวมไปถึงค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับค่าเชื้อเพลิงในทุกเดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา จึงทำให้ในบางเส้นทางค่าน้ำมันท่วมค่าระวางขนส่งไปเป็นที่เรียบร้อย
.
แต่ถึงกระนั้น ในบางเส้นทางอย่างภูมิภาค อเมริกา-ยุโรป, เอเชีย-ยุโรป, เอเชีย-อเมริกาเหนือ หลายคนได้เห็นการปรับเพดานค่าระวางขนส่งลงแบบต่อเนื่อง หากแต่ก็ยังถือว่าสูงเมื่อเทียบช่วงก่อนวิกฤติโควิด-19
.
ในบ้านเราเอง ตามหลักราคาค่าระวางขนส่งมันควรจะลดต่ำลง และล้อไปกับราคาตลาดโลกตามหลักอุปสงค์อุปทาน หากแต่ด้วยหลายปัจจัยที่แทรกเข้ามา จนไปค้ำไม่ให้ราคาปรับไหลลงอย่างที่ควรจะเห็น ซึ่งปัจจัยที่ว่าก็ไม่ต่างจากที่ตลาดค่าระวางโลกกำลังเผชิญ
.
ไม่ว่าจะเป็นภาวะตู้สินค้าขาดแคลน อีกทั้งถึงพื้นที่ระวางบนเรือที่ยังคงแน่นในทุกเส้นทาง อันเนื่องจากรอบเรือในการให้บริการที่หดน้อยลง
.
รวมไปถึงอีกปัญหาที่บ้านเรายังต้องประสบ นั่นคือการที่หลายสายการเดินเรือไม่สามารถยืนราคาค่าระวางได้นานแบบเต็มเดือนเหมือนเมื่อก่อน โดยในปัจจุบันทำได้เต็มที่คือยืนกันที่ทุกสองสัปดาห์ ที่หนักหรือโหดร้ายหน่อยคือถามราคากันเป็นรายสัปดาห์หรือต่อรอบเรือ
.
ซึ่งแน่นอนคนที่รับบทหนักที่สุดคงหนีไม่พ้น บรรดาตัวแทนรับขนส่งแบบ Freight Forwarder ที่ถือว่าทำงานค่อนข้างยากในปัจจุบัน โดยเฉพาะบรรดาเจ้าเล็กๆที่กำลังการต่อรองน้อยกว่าเพื่อน จนบ่อยครั้งที่ต้องเสียโอกาสและปล่อยงานหลุดลอย เพียงเพราะไม่สามารถยืนราคาค่าระวางได้ตามที่ลูกค้าขอ
*******
5) สุดท้ายในประเด็นความหนาแน่นของท่าเรือต่างๆในแต่ละภูมิภาคทั่วโลก
.
โดยภาพรวมส่วนใหญ่แล้ว ในหลายภูมิภาคที่เริ่มทรงตัว คงที่และผ่านจุดที่ถือว่าหนักหนาที่สุดมาแล้ว แต่ก็ยังถือว่าตึงตัวและเกินศักยภาพในการจัดการของท่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาปกติ
.
หากแต่ มันจะเป็นเพียงความเงียบสงบ ก่อนที่พายุลูกใหญ่กำลังจะพัดมา !!!
.
เนื่องจากตามที่เรารู้กันว่า ประเทศจีนเองยังอยู่ในช่วงคงคำสั่งมาตรการล็อคดาวน์เมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งหลังผ่านมาเดือนกว่า เริ่มมีบางอุตสาหกรรมมีการทยอยเปิดสายการผลิตไปบ้างแล้ว และเริ่มมีการสะสมของสินค้าจำนวนหนึ่งที่สำเร็จรอแค่การส่งมอบหลังคลายล็อคดาวน์
.
นั่นหมายถึงทันทีที่เซี่ยงไฮ้ประกาศคลายล็อคดาวน์และมีการปลดล็อคระหว่างเมือง เมื่อนั้นโลกของการขนส่งจะไปหมุนรอบประเทศจีน และสินค้าจำนวนมหาศาลจะไหลบ่าออกจากประเทศจีน ซึ่งจากที่ประเมินคือ สองหรือสามเท่าจากภาวะปกติ !!!
.
ซึ่งแน่นอนเรือสินค้าจำนวนมากจากประเทศจีน ก็จะหลั่งไหลไปตามทุกท่าเรือ ทุกภูมิภาคทั่วโลก และหากท่าเรือหลักๆอย่างในภูมิภาคอเมริกา กับภูมิภาคยุโรป ยังไม่สามารถทำการเร่งลดจำนวนเรือสินค้าที่ยังทอดสมอรอเทียบท่าได้ก่อนการคลายล็อคดาวน์ของ
.
เราอาจได้เห็นวิกฤติความหนาแน่นของทั้งสองภูมิภาคหลักที่ว่า ลากยาวไปถึงปีใหม่ !!!
.
ในด้านภาพรวมของท่าเรือในภูมิภาคอเมริกาเหนือ อยู่ในสภาวะที่ทรงตัว และมีสัญญาณไปในทิศทางที่ผ่อนคลายมากขึ้น เนื่องจากประเทศจีนยังคงมาตรการล็อคดาวน์เมืองเซี่ยงไฮ้ จึงยังไม่มีเรือสินค้ามาเติมมากนัก นับเป็นโอกาสดีในการระบายเรือสินค้าที่รอเทียบท่าสะสมอยู่
.
โดยท่าเรือหลักในฝั่งตะวันออกหรือ USEC อย่าง USNYC/ USCHS/ USSAV/ USMIA มีเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบและที่เทียบแล้วในแต่ล่ะท่า ประมาณ 15-22 ลำ โดยใช้เวลารอเทียบเข้าท่าอยู่ที่ 7-10 วัน
.
ในส่วนท่าเรือหลักฝั่งตะวันตกหรือ USWC (USSEA/ USTIW/ USOAK) ยังคงอยู่ในภาวะทรงตัว โดยมีเรือรอเข้าเทียบประมาณ 15 -20 ลำ และใช้เวลารอเข้าเทียบท่าอยู่ที่ 7-14 วัน
.
ขณะที่ (USLAX/ USLGB) ยังคงทรงตัวแต่ถือว่าค่อนข้างหนักและหนาแน่น โดยมีเรือรอเข้าเทียบท่ารวมกันร่วมๆ 100 ลำ (แบ่งเป็นอยู่ในรัศมี 25ไมล์ทะเลเกือบ 60ลำ และอยู่นอกเขต SAQA Zone อีกกว่า 40ลำ) และใช้เวลารอเทียบท่าอยู่ที่ 18 -25 วัน
.
แต่ที่หนักจริงคือท่าเรือของ Canada อย่าง CAVAN ที่อยู่ในสภาวะแน่นแบบสาหัส โดยมีเรือสินค้าที่รอเทียบและเข้าเทียบท่าแล้ว 35-40 ลำ และใช้เวลารอเข้าเทียบและรอปฏิบัติงานที่ท่าอยู่ที่ 25-30 วัน ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากแคนาดากำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์รวมไปถึงแคร่รถไฟ ที่ใช้ในการไหลตู้สินค้าทางรางเข้าตอนกลางของประเทศ
.
ทางด้านท่าเรือหลักในภูมิภาคยุโรปอย่าง DEHAM/ NLRTM ก็ยังอยู่ในสภาวะที่มีความหนาแน่นสูง โดยที่ท่าเรือหลักของประเทศ Germany อย่าง DEHAM มีเรือรอเข้าเทียบท่าร่วม 100กว่าลำ ในขณะที่ท่าเรือ NLRTM ของ Netherlands มีเรือสินค้ารอเข้าเทียบอยู่ที่ร่วม 400 ลำ
*******
6) โดยสถานการณ์ที่ยังคงต้องติดตามกันในสัปดาห์นี้ นั่นคือมาตรการจำกัดพื้นที่หรือการล็อคดาวน์เมืองเซี่ยงไฮ้
.
ซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่มีบริมาณสินค้าหมุนเวียนและไหลผ่านมากที่สุดของโลก
.
และจะมีเมืองใดบ้าง ที่ทางการจีนมีแผนจะขยายในการบังคับใช้มาตรการล็อคดาวน์ เนื่องจากรัฐบาลปักกิ่งยังคงตั้งธงและบริหารจัดการภายใต้นโยบาย Zero Covid-19 แม้ว่าโดยภาพรวมแล้วจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อในประเทศจีนและในเมืองเซี่ยงไฮ้ มีแนวโน้มที่ดีขึ้นและผู้ติดเชื้อส่วนมากไม่แสดงอาการ
.
ซึ่งจากสถานการณ์ล่าสุดทางการจีน มีการผ่อนคลายการล็อคดาวน์หลายเขตในเมืองเซี่ยงไฮ้ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเบาบาง โดยอนุญาตให้ประชาชนในเขตดังกล่าวสามารถออกนอกเคหะสถานได้บ้าง หากแต่ยังคงตรึงมาตรการและให้ทุกหน่วยงานทำงานจากที่พักอาศัยเท่านั้น
.
รวมไปถึงการอุบัติใหม่ในวงการแพทย์ของประเทศจีน ที่หลายคนเริ่มพูดถึงว่าอาจจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่เข้ามาผสมโรงกับวิกฤติโควิด-19 ที่กำลังเผชิญอยู่ นั่นคือการตรวจพบการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกสู่มนุษย์เป็นครั้งแรกที่มณฑลเหอหนาน จนเป็นเหตุให้การขนส่งภายในเมืองดังกล่าวและโดยรอบเริ่มล่าช้า เนื่องจากมีการเพิ่มมาตรการควบคุมในการเดินทางเข้มยิ่งขึ้น
.
ที่กล่าวมาคือภาพรวมสถานการณ์และทิศทางการนำเข้า-ส่งออก ในภาคการขนส่งสินค้าทางเรือในรอบสัปดาห์ ที่ดูจะยังคงมืดครึ้มพอสมควร
ซึ่งไม่ว่าจะทุกท่านต้องพบกับสถานการณ์อย่างไร อย่าลืมว่าชีวิตเรายังต้องดำเนินต่อ และพวกเราชาว ZUPPORTS ยังคงเคียงข้างทุกท่านเหมือนเคย
.
สัปดาห์นี้ลาไปก่อน สวัสดี
=========================
ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ นำเข้า ส่งออก
เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk
=========================
ข่าวดี! เช็คราคาขนส่งระหว่างประเทศ ง่ายๆ ผ่านระบบ ZUPPORTS
https://www.facebook.com/100059556852446/posts/382302773764948/?d=n
.
สิ่งที่น่าปวดหัว สำหรับ เพื่อนๆ ผู้นำเข้าส่งออก ประเด็นหนึ่งก็คือ ราคาขนส่งระหว่างประเทศ หรือ ราคาเฟรท ที่เปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา ไม่รู้ว่าเฟรท ที่เราจองไป มันถูก หรือแพงกว่าตลาด
.
แต่ทางแอดมินมีข่าวดี! จะบอกว่าปัจจุบัน ทางสตาร์ทอัพ อย่าง ZUPPORTS กำลังพัฒนา feature “Freight Rate Trends” หรือแนวโน้มราคาขนส่งระหว่างประเทศ เป็นเหมือน “แว่นขยาย” ให้เพื่อนๆ ชาว นำเข้าส่งออก ส่องได้ชัดๆ ว่าราคาเฟรท ที่ได้อยู่มันเหมาะสมหรือยัง
.
เพื่อนๆ ที่สนใจเข้าร่วม มาทดลองใช้ระบบในช่วง Soft Launch รีบลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ ทดลองใช้งานฟรี กันได้เลยที่ https://bit.ly/368GR84