[Freight Weekly] : อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 7 – 11 สิงหาคม กับ ZUPPORTS !!!
สัปดาห์แห่งความท้าทาย หลายเลนจองเรือยาก แถมลำบากเจอ Freight ปรับ !!!
.
กลับมาพบกันอีกครั้ง เป็นประจำในทุกวันเริ่มต้นการทำงานของสัปดาห์ กับข่าวสาร เรื่องราวต่างๆ รวมถึงสถานการณ์ความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับแวดวงการนำเข้าส่งออกประจำสัปดาห์กับพวกเรา ZUPPORTS !!!
.
สัปดาห์นี้ ถือเป็นการเข้าสู่สัปดาห์ที่ 32 ประจำปี 2566 โดยสัปดาห์นี้ นับว่าเป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ ที่มีเรื่องราวข่าวสารต่างๆมากมายที่เกิดขึ้น ในแวดวงการนำเข้าส่งออก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวพวกเราทุกคน
.
ทั้งเรื่องของทิศทางแนวโน้มของค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หรือ Freight Rate ซึ่งหลายเส้นทาง เริ่มมีการปรับเพดานขึ้นอีกครั้ง รวมถึง เรื่องของระยะเวลาในการขนส่งที่ยาวนานขึ้น จากปัญหางานขนส่งถูกจับ Roll Over หรือตกเรือที่จุดถ่ายลำ
.
ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นตัวแปรที่มีผลต่องานของพวกเราโดยตรง ซึ่งเราต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในทุกสัปดาห์ และหากทุกคนพร้อมกันแล้ว ก็ตามพวกเรา มาไล่เรียงกันทีละประเด็นกันเลย
.
=========================
ZUPPORTS ช่วยผู้นำเข้าส่งออก หา Space
เปรียบเทียบราคาและบริการ Freight ทั้งทางทะเล ทางอากาศ ทางบก และทางรถไฟ
ด้วยพันธมิตรผู้ให้บริการขนส่ง มากกว่า 30 บริษัท
ลงทะเบียนทดลองใช้งานได้ที่ zupports.co/register
=========================
1) สถานการณ์ในการจองพื้นที่ระวางขนส่งสินค้าทางเรือ แม้ว่าหลายคนอยากได้ของในหลายเลน แต่เอาเข้าจริงเรือเต็ม !!!
.
เริ่มกันที่สถานการณ์ในการจองพื้นที่ระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หรือ การบุ๊คกิ้งสำหรับงานใหม่ หลายเส้นทางยังอยู่ในภาวะที่จองเรือค่อนข้างยาก เนื่องจากพื้นที่ระวางขนส่งถูกบีบแคบจากการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing
.
ทั้งนี้ ภาพรวมการจองเรือสำหรับงานใหม่ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายเส้นทางดูจะยังไม่เป็นใจสำหรับคนที่ยังมีของ มีงานในมือสักเท่าไร เนื่องจากงานจำนวนไม่น้อย ที่ไม่สามารถจองเรือได้ตามที่ต้องการ
.
แม้กระทั่ง การจองเรือสำหรับงานที่ขนส่งออกจากท่าเรือตอนเหนือ และท่าเรือตอนล่างของประเทศจีน ไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ North America Trade ทั้งในฝั่ง East Coast และในฝั่ง West Coast ก็ยังถือว่าค่อนข้างแน่น
.
โดยต้องทำการจองเรือล่วงหน้าอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ ซึ่งในบางสายการเดินเรือ ไม่สามารถรับการจองเรือสำหรับงานใหม่ได้ สำหรับตารางเรือในเดือนสิงหาคมนี้แล้ว
.
บุ๊คกิ้งยืนยันการจองเรือที่ถูกปล่อยออกมาในรอบสัปดาห์นี้ ส่วนใหญ่จะยังคงเป็นการจองเรือภายในการทำสัญญาค่าระวางขนส่งระยะยาว หรือ Service Contract Rate ตามด้วย การจองเรือภายใต้ราคาค่าระวางระยะสั้น หรือพวกกลุ่ม SPOT Rate /Weekly Rate/ Monthly Rate
.
ทั้งนี้ ในบางสายการเดินเรือที่มีระบบ Digital Platform ที่แข็งแรง เริ่มหันกลับมาเดินหน้าในการให้ Digital เป็นตัวทำการคัดแยกงาน หรือพิจารณาการปล่อยบุ๊คกิ้งยืนยันการจองเรืออีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ หลายสายการเดินเรือกลับมาใช้ตัวแทนฝ่ายขายเข้าไป Approach ลูกค้า เนื่องจากของไม่เต็มเรือ
.
ทั้งนี้ ในหลายเส้นทางขนส่ง หลายสายการเดินเรือ มีการแจ้งลูกค้าก่อนล่วงหน้า จึงการตกเรือแม่ที่จุดถ่ายลำ หรือ Roll Over ซึ่ง สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องพึงระวัง นั่นคือ ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นตามมาอย่าง Storage Charge ที่จุดถ่ายลำ
.
เนื่องจากทางสายการเดินเรือ หรือผู้รับขนส่ง ถือว่ามีการแจ้งล่วงหน้าแล้ว ดังนั้น ผู้ประกอบการอาจต้องทำการ Clear Cut กันให้ชัดเจนก่อนที่จะทำการจองเรือ
.
*******
2) สถานการณ์ในการจัดหาและการหมุนเวียนของตู้สินค้า หลายปัจจัย ยังส่งผลต่อวงจรการหมุนเวียนของตู้!!!
.
ทางด้านสถานการณ์ในการจัดหาและหมุนเวียนตู้สินค้า วงจรการหมุนเวียนของตู้สินค้าทั่วโลก ยังคงอยู่ในช่วงชะลอตัว อันเนื่องจากภาวะภาพรวมทางเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว ทั้งนี้ แม้ว่าหลายภูมิภาค เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวในหลายกลุ่มสินค้า หากแต่สัญญาณการฟื้นตัวที่ว่านี้ ยังไม่แรงพอ ที่จะทำให้เกิดความคล่องตัวในวงจรการหมุนเวียนตู้สินค้ามากนัก
.
ภาพรวมของการหมุนเวียนและจัดหาตู้สินค้าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายพื้นที่ในหลายภูมิภาค ยังคงมีสินค้าหมุนเวียนพร้อมใช้ไม่ขาดมือ โดยที่ในหลายพื้นที่ ยังคงอยู่ในภาวะที่เกินจากความต้องการของภาคการขนส่ง ส่งผลให้เกิดภาวะความหนาแน่น หรือ Port Congestion ในท่าเรือและพื้นที่โดยรอบ
.
ขณะที่อีกหลายพื้นที่ในหลายภูมิภาคทั่วโลก ยังคงตกอยู่ในภาวะขาดแคลน หรือ Shortage โดยเฉพาะ ตามท่าแห้ง ICD, Dry Port, IPI ที่อยู่ตามตอนกลางของแต่ละภูมิภาค อย่าง เมืองที่อยู่ตอนเหนือของภูมิภาคเอเชียใต้ หรือเมืองที่อยู่ตอนกลางของภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ
.
ทางด้านภาพรวมการหมุนเวียนตู้สินค้าในไทยบ้านเรา ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงอยู่ในภาวะทรงตัว ไม่ต่างจากหลายสัปดาห์ก่อนมากนัก โดยในหลายสายการเดินเรือ ยังคงสามารถจัดหาและหมุนเวียนตู้สินค้าได้คล่องตัว
.
ทั้งนี้ ปัญหาที่หลายคนพบเจอ คือเรื่องของสภาพตู้สินค้า มีกรณีที่หลายสายการเดินเรือไม่สามารถจัดหาตู้สินค้าสภาพดีกว่า +B Grade ได้ รวมถึง ในบางสายการเดินเรือ มีจำนวนตู้สินค้าพร้อมปล่อยค่อนข้างจะพอดีกับจำนวนบุ๊คกิ้งยืนยันการจองเรือที่ปล่อยออกมา
.
ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ยังต้องเสียเวลาในขั้นตอนการรับตู้สินค้าเปล่าที่ลาน รวมถึง เริ่มมีกรณีที่ ผู้ประกอบการต้องเสียเวลาช่วงขั้นตอนในการรอทีมช่างของลาน ในการซ่อมแซมหรือ Maintenance บ่อยมากขึ้น เนื่องจากตู้สินค้าเปล่าที่รับมาไม่ตรงกับความต้องการของคนบรรจุสินค้าหน้างาน
.
รวมถึง ในบางสายการเดินเรือ เริ่มประสบกับปัญหาการจัดหาและหมุนเวียนตู้สินค้าให้เห็นบ้าง ในบางสายการเดินเรือเริ่มประสบกับปัญหาการขาดช่วงในการปล่อยตู้ เนื่องจากต้องรอรอบเรือขาเข้าจากต่างประเทศ
.
*******
3) สถานการณ์ความเสถียรของตารางเดินเรือ ภาวะยกเลิกเที่ยวเรือเริ่มนิ่ง แต่กลับต้องเจอกับปัญหาการตกเรือแทน !!!
.
ด้านสถานการณ์ความนิ่งของตารางเดินเรือ โดยในรอบสัปดาห์นี้ จะยังคงเป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ที่ตารางเดินเรือไม่ปกติ โดยในหลายเส้นทาง ทั้งระยะไกล Long Haul และระยะใกล้ Short Haul ล้วนแล้วแต่อยู่ในภาวการณ์ล่าช้า ทั้งในส่วนวันเรือออกและวันเรือถึงปลายทาง หรือ Delay Onboard/ Delay Arrival
.
ขณะที่ทางด้านภาวการณ์ประกาศตารางเรือว่าง ยกเลิกเที่ยวเรือ หรือ Blank Sailing ยังคงอยู่ในสภาวะทรงตัว เนื่องจากเที่ยวเรือที่ให้บริการในท้องน้ำ อยู่ในภาวะที่ตึงอย่างมาก โดยที่ในบางเส้นทางขนส่ง เหลือรอบเรือให้บริการเพียง 1 เที่ยวเรือต่อ 3สัปดาห์เท่านั้น
.
โดยในช่วงตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 32 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 36 หรือในช่วง 5 สัปดาห์นับจากนี้ ทุกสายการเดินเรือ มีการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing ในเส้นทางการขนส่งหลัก รวมกันอย่างน้อย 35 เที่ยวเรือ หรือคิดเป็น ร้อยละ 5 จากจำนวนทั้งหมด 665 เที่ยวเรือ !!!
.
โดยในเส้นทางที่ถูกยกเลิกรอบเรือมากที่สุด จะยังคงเป็นในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในรอบเรือ Transpacific Eastbound ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 46
.
ตามด้วย เส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ และยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- North Europe/ MED ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 26 และในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคยุโรปไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในรอบเรือ Transatlantic Westbound คิดเป็นร้อยละ 28
.
รวมถึง อีกหนึ่งปัญหาที่ทุกคนต้องรับมือ สำหรับงานขนส่งระยะไกล หรือ Long Haul Service ที่ต้องใช้เรือมากกว่า 1 ลำขึ้นไป นั่นคือ ภาวะที่ระยะเวลาในการขนส่งสินค้าทางเรือยาวนานขึ้น จากการที่งานถูกจับตกเรือ หรือ Roll Over ที่จุดถ่ายลำ
.
โดย หลายเส้นทางขนส่ง จะยังต้องประสบกับปัญหาการตกเรือ อย่างน้อย ก็มี 1- 2 สัปดาห์ หรือในบางสายการเดินเรือ หรือในบางเส้นทาง อาจต้องเจอกับการตกเรือ อย่างน้อย 3 -5 สัปดาห์ อย่างงานที่ขนส่งไปยังภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกกลาง รวมถึง งานที่ขนส่งไปยังภูมิภาคแอฟริกา
.
ทั้งนี้ ก็เนื่องจากภาวะที่ความถี่ของรอบเรือแม่จากท่าต้นทาง หดหายไปจากท้องน้ำ จากการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing รวมถึงการที่บรรดาสายการเดินเรือ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางตารางเรือ หรือ Re-Routing/ Re-Schedule ดังนั้น ผู้ประกอบการที่มีงานขนส่งภายใต้เงื่อนไขของเวลา ยังต้องเผื่อใจและทำการบ้านอย่างหนักในช่วงนี้
.
**************
4) สถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หลายเส้นทาง พร้อมใจปรับขึ้น และแถมปรับแรงเสียด้วย !!!
.
ทางด้านสถานการณ์ของค่าระวางนส่งสินค้าทางเรือ หรือ ค่าเฟรท เกือบจะทุกเส้นทางขนส่งหลัก พร้อมใจดีดตัวปรับขึ้นอีกครั้ง จากหลายปัจจัย ในขณะที่ในบางเส้นทาง ค่าระวางยังคงอยู่ในภาวะแช่ตัว หรือ Maintain Rate
.
โดยดัชนีค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือในช่วงสัปดาห์นี้ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างแรง ในลักษณะที่เป็นการก้าวกระโดด ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 11.8 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน มาปิดอยู่ที่ USD 1,761.33 per 40’GP และเป็นการปรับตัวลดลงคิดเป็น ร้อยละ 73.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
.
ทั้งนี้ ภาพรวมของค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือในรอบสัปดาห์ หลายเส้นทางซึ่งเป็นเป็นเส้นทางหลัก โดยเฉพาะ ในส่วนที่เป็นเส้นทางขนส่งทางไกล สายนอก หรือ Long Haul Service มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบจะยกแผงทั้งกระดาน
.
อย่าง ในเส้นทางขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ Asia- North America ทั้งงานที่ไปยังฝั่ง East Coast และในฝั่ง West Coast รวมไปถึง ในเส้นทางขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ และยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- North Europe/ Asia -Mediterranean และในเส้นทางขนส่ง จากยุโรปและเอเชียใต้ไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ Transatlantic Westbound
.
นอกจากนี้ ค่าระวางขนส่งในอีกหลายเส้นทาง ยังคงอยู่ในระดับที่สูงและมีการไต่ระดับอย่างต่อเนื่องในทุกสัปดาห์ เนื่องจากความต้องการในภาคขนส่งของตลาด ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าอุปทานหรือพื้นที่ระวางที่มีให้บริการในท้องน้ำ
.
อย่าง ในเส้นทางขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกกลาง หรือ Asia- Indian Subcontinent & Middle East และในเส้นทางขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาใต้ หรือ Asia- Latin America
.
==================
สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากเช็คแนวโน้มราคาเฟรท ทางทะเล ย้อนหลัง 3 เดือน แยกไปแต่ละเส้นทางขนส่ง ก็สามารถ ลองเข้าไปเช็คกันได้เลยที่ https://zupports.co/our-services/
.
หรือหากอยากดูราคาเฟรท ในเดือนล่าสุด ก็ลงทะเบียน แบบ premium กันได้เลยที่ https://zupports.co/register/
==================
.
************
5) ด้านสถานการณ์ความหนาแน่นของท่าเรือหลักทั่วโลก หลายท่าเรือเจอปัญหาซ้ำเติม จากภัยธรรมชาติ และปัยหาภายใน !!!
.
ทางด้านสถานการณ์ของท่าเรือหลักทั่วโลก หลายท่าเรือยังคงอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างตึงมือ เนื่องจากจากปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงหลายสัปดาห์ จากปัจจัยปัญหาการนัดหยุดงานในท่าเรือ รวมถึง จากปัจจัยปัญหาภัยธรรมชาติ ทั้งภาวะคลื่นความร้อนและพายุในช่วงหน้ามรสุมส่งผลให้มีจำนวนตู้สินค้าและเรือสินค้าตกค้างสะสมจำนวนมาก
.
ด้านภาพรวมของท่าเรือหลักในภูมิภาคอเมริกาเหนือ หลายท่าเรือของประเทศสหรัฐอเมริกา ยังอยู่ในภาวะที่ทรงตัว โดยเริ่มเห็นปริมาณตู้สินค้าไหลผ่านเพิ่มสูงขึ้น รวมถึง ระยะเวลาในการขนถ่ายสินค้าและระยะเวลาในการรอเข้าเทียบท่าที่เพิ่มขึ้น ทั้งใน ฝั่ง East Coast และในฝั่ง West Coast
.
โดยท่าเรือหลักในฝั่งตะวันตก อย่าง USOAK, USTIW, USSEA มีจำนวนเรือสินค้ารอเข้าเทียบเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากสัปดาห์ก่อน และใช้เวลาในการรอเทียบท่าเพื่อขนถ่าย อยู่ที่ 5 -8 วัน ขณะที่ งานซึ่งต้องทำการขนส่งต่อเนื่องไปยัง ชุมทางหลัก อย่าง Detroit, Dallas, Chicago, Memphis ต้องรอต่อขึ้นอย่างน้อย 7 -10 วัน
.
ขณะที่ภาพรวมของท่าเรือหลักในประเทศแคนาดา ท่าเรือหลักในฝั่งตะวันตก แม้ว่าทุกท่ายังคงปฏิบัติงานตามปกติ รวมถึงมติโหวตของสมาชิกสหภาพแรงงานท่าเรือตะวันตก ออกมาเป็นผลบวก หากแต่ ดูจะยังอยู่ในภาวะที่ไม่ค่อยสู้ดีเท่าไร เนื่องจากมีตู้สินค้าสะสมจำนวนมาก ที่ตกค้างมาจากการนัดหยุดงานในระลอกแรกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
.
ด้านกลุ่มท่าเรือหลักในภูมิภาคยุโรป สามประตูหลัก อย่าง NLRTM, BEANR, DEHAM เรียกได้ว่า ผ่านจุดที่สาหัสมาแล้ว เข้าสู่ภาวะทรงตัว เริ่มมีความนิ่งของจำนวนตู้สินค้าที่ไหลผ่านและจำนวนเรือสินค้าที่รอเทียบท่า หากแต่ ต้องรอดูสถานการณ์นัดหยุดงานที่ DEHAM และท่าเรือหลักประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงสถานการณ์คลื่นความร้อนในยุโรป ที่ส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงาน
.
ทางด้านท่าเรือหลักในภูมิภาคเอเชีย หลายท่าเรือหลักในประเทศจีน CNNGB, CNXMN เริ่มมีการสะสมของตู้สินค้าและเรือสินค้าที่รอเทียบท่า เนื่องจากการปฏิบัติงานในท่าเรือต้องหยุดชะงัก ช่วงที่ต้องประสบกับพายุไต้ฝุ่นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึง การลำเลียงสินค้าเข้าสู่เขตเมืองถูกตัดขาด เนื่องจากผลกระทบจากฝนที่ตกหนักในหลายพื้นที่
.
ทางด้านกลุ่มท่าเรือที่เป็นจุดขนถ่ายสินค้าหลัก อย่าง SGSIN, MYPKG อยู่ในภาวะที่ทรงตัว โดยยังคงอยู่ในภาวะหนาแน่นไปด้วยตู้สินค้าที่รอถ่ายลำขึ้นเรือแม่ รวมถึงจำนวนเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบ ขณะที่ HKHKG ยังคงอยู่ในภาวะคงที่และทรงตัว หากแต่ได้รับผลกระทบ ในการรับตู้สินค้าจำนวนหนึ่ง ซึ่งเปลี่ยนเส้นทางมาจากท่าเรืออื่นซึ่งได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
.
****************
6) ความเคลื่อนไหวที่เราต้องติดตามในรอบสัปดาห์ ติดตามดูกันที่ ภาพรวมทางเศรษฐกิจภายในของจีน ซึ่งอาจแย่กว่าที่คิด !!!
.
เรื่องที่เราต้องติดตามในรอบสัปดาห์ จะอยู่ที่ภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในคู่ค้าและเป็นตลาดที่สำคัญแห่งหนึ่งของผู้ประกอบการทั่วโลก รวมถึงกับประเทศไทยของเรา
.
ดูเหมือนว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนเองในตอนนี้ ดูจะไม่สดใสเหมือนช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 สักเท่าไรนัก โดยเฉพาะ เมื่อดูจากรายงานตัวเลขจำนวนผู้ว่างงานในประเทศจีน ที่พบว่าเพิ่มสูงขึ้น
.
โดยเฉพาะ บรรดาคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเรียนจบและกลุ่มคนที่มีอายุ มากกว่า 45 -55 ปีขึ้น รวมถึง ตัวเลขของกิจการสถานประกอบการของจีน ที่ต้องปิดตัวลง ซึ่งพบว่ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากในช่วงหลายปที่ผ่านมา
.
ทั้งนี้ เป็นที่รู้กันดีว่า ในช่วงก่อนหน้านี้ กำลังซื้อของประเทศจีนมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโลกขนาดไหน อำนาจจับจ่ายใช้สอยของคนจีนที่กระจายอยู่ทั่วโลก ทั้งในรูปแบบของการท่องเที่ยว หรือในรูปแบบการเดินทางเพื่อธุรกิจ ล้วนแล้วแต่สร้างเม็ดเงินมหาศาล
.
หากแต่ ล่าสุดเป็นที่เปิดเผยว่า ชาวจีนจำนวนกว่า 1 ใน 3 กำลังประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยเป็นปัญหาที่สะสมมาตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ พฤติกรรมในการจับจ่ายในภาคครัวเรือน รวมถึง การใช้จ่ายในภาคกิจกรรมสันทนาการและการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป
.
ชาวจีนจำนวนมาก ในกลุ่มอายุเกิน 40- 45 ปีขึ้นไป ต้องรัดเข็มขัด เนื่องจากความกังวลและมีความไม่มั่นคงในฐานะทางเศรษฐกิจ รวมถึง ส่วนหนึ่งต้องออกจากงานเนื่องจากกิจการหรือธุรกิจที่เคยทำ ต้องปิดตัวลง !!!
.
ซึ่งแน่นอนว่า การหยุดชะงักในภาคธุรกิจหลายส่วนของประเทศจีน ส่งผลทางตรงและทางอ้อมมาถึงผู้ประกอบการในแวดวงต่างๆทั่วโลก รวมถึงผู้ประกอบการในบ้านเรา ดังนั้น นี่จึงเป็นเรื่องที่เราต้องติดตามดูกันว่า เศรษฐกิจภายในของจีนเอง จะกลับเมื่อไร และภูมิภาคใด ที่สามารถถดแทนกำลังซื้อแทนประเทศจีน ???
ทั้งหมดที่เล่ามา คือการสรุปภาพรวมของสถานการณ์ ทิศทางการนำเข้า-ส่งออก ในภาคการขนส่งสินค้าทางเรือประจำสัปดาห์ ซึ่งหวังว่า จะเป็นเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้ติดตามทุกท่าน ในการบริหารจัดการงานขนส่งสินค้าระหว่างในรอบสัปดาห์
.
สัปดาห์นี้ขอลาไปก่อน ขอบุญรักษาทุกท่าน สวัสดีครับ
.
CR : PIC by Kees Torn
.
=========================
ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ นำเข้า ส่งออก
เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk
=========================
แนะนำบริการ Logistics Butler by ZUPPORTS
ระบบ Line Official Account ที่เพื่อนๆ สามารถ Chat ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ และการนำเข้าส่งออก โดยตรงกับ Shipping Man และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์
เหมือนมี พี่ๆ ที่ทำงาน / ที่ปรึกษาส่วนตัว นั่งข้าง ๆ โต๊ะคุณ!!
.
พร้อมรับสิทธิพิเศษ!
- Freight Monthly Report รายงานอัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศ ทุกเดือน
- แจ้งข่าว อบรม/Webinar ดีๆ สำรองที่นั่ง ก่อนใครเพื่อน
- รับส่วนลด 20% สำหรับคอร์สฝึกอบรมออนไลน์ แบบสด สำหรับสมาชิก Logistics Butler
(ตัวอย่าง Course อบรม ได้แก่ DG Cargo, Reefer, พิกัด, พิธีการศุลกากรประเภทต่างๆ บรรยาย โดยวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ ในสายวิชาชีพนั้นๆ ประสบการณ์ 10 ปี ++)
- จองเวลาปรึกษา Online meeting แบบ one-on-one เพิ่มเติมได้ (มีค่าบริการเพิ่มเติม)
เหมือนมีห้องสมุดส่วนตัว รวบรวมข้อมูล ความรู้ให้คุณ ถึงหน้าจอมือถือ
.
สนใจลงทะเบียนได้เลยที่
(ติดต่อสอบถาม รายละเอียด เพิ่มเติมใน inbox ได้เลยจ้า)