[Freight Weekly] อัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศ 30 พฤษภาคม-3 มิถุนายน เมื่อเมืองเซี่ยงไฮ้ฟื้นคืนชีพ สถานการณ์เฟรทเริ่มกลับมาตึงตัว

[Freight Weekly] อัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 30 พฤษภาคม-3 มิถุนายน 2565 กับ ZUPPORTS

เมื่อเมืองเซี่ยงไฮ้ฟื้นคืนชีพ

.

กลับมาพบกับพวกเราชาว ZUPPORTS เหมือนเช่นเคยในทุกสัปดาห์ กับการเสิร์ฟข่าว รายงานทุกสถานการณ์ความเคลื่อนไหวการนำเข้า-ส่งออก ในภาคการขนส่งสินค้าทางเรือ ประจำสัปดาห์ ที่ 23/2022

.

โดยในสัปดาห์นี้เป็นการก้าวเข้าสู่การเริ่มต้นของเดือนมิถุนายน ซึ่งถือได้ว่าเป็นเดือนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับหลายองค์กร เนื่องจากเป็นเดือนสุดท้ายของไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2565 ที่หลายคนต้องเร่งทำตัวเลขก่อนที่จะทำการปิดกล่องครึ่งปีแรก

.

และอย่างที่ทุกคนรู้กันดีคือ ตัวเลขผลประกอบการในช่วงไตรมาส2 และไตรมาส 3 นั้น สำคัญต่อผลการประเมินผลตอบแทน ปรับขั้นของมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆมากขนาดไหน ดังนั้นเดือนนี้จึงเป็นอีกเดือนที่มีการขับเคี่ยวกันค่อนข้างสูง !!!

.

ยิ่งสำหรับคนในวงการนำเข้า-ส่งออก โดยเฉพาะคนในแวดวงขนส่งทางเรือ จะต้องเตรียมตัวรับมือกับการเริ่มต้นช่วงฤดู Peak Season สำหรับการขนส่งในหลายๆภูมิภาค ซึ่งในความเป็นจริงจากสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมา นับตั้งแต่การระบาดของไวรัสโควิด-19 พวกเราเองแทบจะไม่ได้พักไม่ต่างจากการเจอช่วง Peak Season มาตลอดสองปี !!!

.

เรื่องสำคัญในสัปดาห์นี้ ทางการจีนจะดำเนินการคลายล็อคดาวน์เมืองเซี่ยงไฮ้ตามแผนของเฟสที่ 3 นั่นคือการผ่อนคลายให้ธุรกิจต่างๆกลับมาดำเนินการตามปกติ สามารถกลับมาทำงานตามสำนักงานต่างๆแทนการทำงานจากที่พัก รวมถึงการผ่อนปรนด้านการขนส่งต่างๆตามเส้นทางหลักทั้งหมด และตามแผนสุดท้ายคือปลดทั้งหมดแบบเต็มรูปแบบภายในสิ้นเดือนมิถุนายน

.

ดังนั้นเรามาดูกันว่า การเริ่มต้นสัปดาห์ของเดือนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งนี้ จะมีเรื่องราวหรือประเด็นด้านใดกันบ้าง ถ้าพร้อมแล้วตามเรามากันเลย

 

=========================

ZUPPORTS ควบคุมต้นทุนขนส่งผ่านระบบเปรียบเทียบราคาเฟรทออนไลน์

สนใจลงทะเบียนทดลองใช้งานฟรี ที่ www.ZUPPORTS.co/register

=========================

 

1) เริ่มต้นกันที่ประเด็นภาพรวมการจองพื้นที่ระวางขนส่งหรือการบุ๊คกิ้งเรือ ที่ยังคงตึงตัวและแน่น

.

โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายคนประสบกับปัญหาในการจองเรือไม่เข้าในหลายเส้นทางขนส่ง เรียกได้ว่าแน่นทุกภูมิภาค หลายคนที่พอจะสนิทกับตัวแทนฝ่ายขายหรือทีมหลังบ้านของสายการเดินเรือ ต่างพยายามขอเบียดงานตัวเองขึ้นเรือเพื่อหวังจะดันงานออกก่อนจบไตรมาสสอง ซึ่งแน่นอนมีทั้งคนที่สมหวังและที่ผิดหวัง

.

หลายสายการเดินเรือระงับการจองงานใหม่ เหตุเพราะพื้นที่ระวางหรือสเปชเรือเต็มไปจนถึงกลางเดือนมิถุนายน หรือในบางสายการเดินเรือเต็มถึงสิ้นเดือนมิถุนายนก็มี (ทั้งที่หลายคนยังรอการยืนยันราคาค่าระวางเดือนมิถุนายน แต่สเปชเต็มไปแล้ว ???)  ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากรอบเรือที่หุบน้อยลง รวมถึงภาวการณ์ขาดแคลนตู้สินค้า จึงทำให้ทรัพยากรและอุปทานของการขนส่งทางเรือมีอย่างจำกัด

.

ในขณะเดียวกัน ตัวเลขอุปสงค์ในการส่งออกในบ้านเราเองกลับลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการหลายรายขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต โดยมีผลสืบเนื่องมาจากการล็อคดาวน์ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ทางคู้ค้าที่เมืองจีนจึงไม่สามารถทำการส่งมอบวัตถุดิบมาเมืองไทยได้

.

ซึ่งเราต้องจับตาในประเด็นนี้กันต่อว่า หลังเมืองเซี่ยงไฮ้คลายล็อคแล้ว ปริมาณสินค้าหรืองานขาเข้าจากเมืองจีนจะถีบตัวสูงขึ้นแบบโถมเข้ามาหรือจะยังคงเป็นแบบค่อยๆทยอยไหลมาเหมือนเดิม เนื่องจากบ้านเรานอกจากจะต้องเจอกับปัญหาเรื่องการจองเรือแล้ว ผู้ประกอบการยังต้องเจอักบภาวะค่าเงินในบ้านเราเองที่ยังอ่อนจนแทบจะแตะ 35บาทต่อ 1เหรียญสหรัฐ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้นำเข้ารวมถึงผู้บริโภคอย่างเราสักเท่าไร

.

ทั้งนี้ในภาพรวมของการจองเรือที่ค่อนข้างแน่นเรือแทบแตก ปัญหาหลักก็เนื่องมาจากการหดตัวของรอบเรือที่ให้บริการในแทบจะทุกเส้นทางอย่างที่กล่าว ดังนั้นจำนวนบุ๊คกิ้งยืนยันการจองที่ถูกปล่อยมาในช่วงนี้สำหรับเส้นทางไปยังภูมิภาคยุโรปและอเมริกาเหนือ ส่วนมากจะยังคงเป็นการจองภายใต้ SPOT Rate และเริ่มมีการดึงงานที่จองภายใต้ค่าระวางแบบพิเศษหรือ Premium Rate กลับขึ้นมามากขึ้น และหลายสายการเดินเรือเริ่มเขี่ยงานที่จองแบบ SVC/ NAC ออก

.

ดังนั้นนี่จะเป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ที่เราต้องเหนื่อยสำหรับการจองเรือ!!!

 

*******

2) ประเด็นสถานการณ์ภาพรวมของตู้สินค้า ปัญหาการขาดแคลนเริ่มกลับมาหลอกหลอนอีกครั้ง

.

โดยทั่วโลกยังคงประสบกับปัญหาการขาดแคลนของตู้สินค้า และเริ่มส่งสัญญาณความหนักหนาแบบเห็นได้ชัด โดยเฉพาะตามท่าแห้งหรือ ICD Dry Port ต่างๆตามภูมิภาคหรือเมืองที่ไม่ติดทะเลที่ขาดแคลนอย่างหนัก เนื่องจากหลายภูมิภาคอย่างใน อเมริกาเหนือ ,ยุโรป, เอเชีย ติดปัญหาไม่สามารถทำการไหลหรือลำเลียงตู้สินค้าจากตามท่าเรือหรือริมชายฝั่งเข้าไปตอนกลางของภูมิภาค

.

ทั้งนี้ปัญหาที่หลายคนกำลังประสบ ส่วนหนึ่งมีสาเหตุที่สะสมมาจากการล็อคดาวน์เมืองใหญ่ต่างๆทั่วโลก อันเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนมาถึงคิวการปิดเมืองใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้ที่เหมือนเป็นการตอกตะปูปิดฝาโลกของการขนส่ง ถึงขั้นตู้สินค้าปริมาณกว่า 1ใน5 ของโลก ไปตกค้างอยู่ในประเทศจีน !!!

.

รวมไปถึงการที่หลายสายการเดินเรือ ทยอยปล่อยเรือใหญ่ลงน้ำเพิ่มขึ้น ขนตู้สินค้าได้มากขึ้นต่อรอบเรือ ในขณะที่ปริมาณตู้สินค้าที่หมุนเวียนในท้องน้ำ ไม่ได้โตตามทันพื้นที่ระวางของเรือที่ปล่อย ดังนั้นนี่จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตู้สินค้าขาดแคลน

.

ขณะที่ในบ้านเรา นับวันปัญหาการขาดแคลนของตู้สินค้า ยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการหลายรายไม่สามารถทำการส่งออกได้ เนื่องจากไม่มีตู้เปล่าให้ลากไปใช้บรรจุสินค้า หรือตู้สินค้าที่มีก็อยู่ในสภาพที่ไม่ค่อยจะเอื้อหรือเหมาะสมกับการใช้บรรจุสินค้าบางประเภท อย่างเช่นตู้สินค้าสำหรับใส่อาหารหรือ Food Grade รวมไปถึง ตู้สินค้าแบบ Grade A ที่ไม่น่าจะเกินร้อยล่ะ 5-10 ของจำนวนตู้ที่หมุนเวียนในบ้านเราตอนนี้

.

รวมไปถึงอีกปัญหาที่ผู้ประกอบการขนส่งหลายคนกำลังประสบคือ จำนวนเที่ยวิ่งงานของกองรถที่หุบน้อยลงเหลือเพียงวันล่ะรอบเท่านั้น !!!

.

ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากภาวะการขาดแคลนของตู้สินค้า สภาพของตู้สินค้าในหลายลานตู้อยู่ในสภาพที่ต้องทำไป ซ่อมไป ปล่อยไป รถที่ปล่อยไปรับตู้เปล่าจึงไปกองต่อแถวเต็มถนนรอเข้าลาน เกิดลามเป็นปัญหาการจราจรตามมา ซึ่งในปัจจุบันหลายลานตู้มีการใช้ระบบหรือเทคโนโลยีในรับจองคิวล่วงหน้าเพื่อบรรเทาปัญหาความหนาแน่น

.

รวมไปถึงปัญหาที่รถต้องไปเสียเวลาในการรอคืนตู้หนักลงท่าแบบรอข้ามวันข้ามคืน โดยเฉพาะในบางเทอมินอลที่ท่าเรือแหลมฉบัง ที่หนาแน่นสาหัสขนาดที่ว่ากัปตันประจำรถต้องห่อข้าว ห่อน้ำเข้าไปด้วยเวลาเห็นใบงาน

.

ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ล้วนเป็นหนึ่งในปัจจัยของปัญหาที่ทำให้การหมุนเวียนหรือ Turnover ของตู้สินค้ามันช้าหรือไม่เป็นตามวงรอบ และลามเป็นปัญหาเรื่องต้นทุนที่ไม่ขาดคิดของเหล่าผู้ประกอบการทุกคน

 

******

3) ทางด้านสถานการณ์ภาพรวมตารางเดินเรือโลก ที่หลายคนต้องเจอกับการปล่อย Blank Sailing มากขึ้น

.

โดยรวมแล้ว สถานการณ์และภาพรวมของตารางเดินเรือทุกเส้นทางทั่วโลก มีความทรงตัวมากขึ้น หากแต่ความน่าเชื่อถือของตารางเรือที่เห็นอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก !!! หรือไร้ซึ่งความน่าเชื่อถือเลย

.

เนื่องจากสิ่งที่หลายคนรวมถึงในบ้านเราเองกำลังประสบคือ การที่หลายสายการเดินเรือทำการปล่อยตารางเรือว่างหรือ Blank Sailing กันเป็นว่าเล่น โดยเฉพาะในเส้นทางขนส่งไปยังภูมิภาค ยุโรป ,อเมริกาเหนือ,เชียใต้หรือ Indian Subcontinent หรือแม้แต่เส้นทางภายในภูมิภาคเอเชียเอง ก็เจอกับปัญหานี้

.

โดยหลายสายการเดินเรือมีการประกาศ Blank Sailing สำหรับเส้นทางไปยังภูมิภาค อเมริกาเหนือ อย่าง สหรัฐอเมริกาและแคนาดา

ในเดือนพฤษาคมมีเรือหายไปจากท้องน้ำ 35 -40 ลำ และเส้นทางในยังภูมิภาคยุโรป อีกกว่า 30 ลำ และหลายสายการเดินเรือเตรียมทำการประกาศ Blank Sailing อีกในเดือนมิถุนายน ที่จะถึงนี้ หากแต่กำลังรอดูท่าทีการคลายล็อคดาวน์ที่เซี่ยงไฮ้

.

รวมไปถึง ปัญหาการละเว้นไม่เข้าเทียบบางท่าเรือ หรือการ SKIP Call/ OMIT ที่ค่อนข้างจะสร้างความปั่นป่วนและน่าปวดหัวสำหรับผู้ประกอบการ ที่ต้องปรับแผนการทำงานหรือการผลิต ลามไปถึงคนที่ทำงานในวงการนำเข้า-ส่งออก ที่ต้องคอยตามแก้ไขเอกสาร หากงานของตนเองเจอแจ้งเปลี่ยนเรือ หรือเปลี่ยนเที่ยวเรือ

.

ซึ่งความน่าเชื่อถือของตารางเดินเรือแบบเรือตู้สินค้าที่ลดต่ำลงอย่างมากจากเดิม ร้อยล่ะ80 เหลือเพียงร้อยล่ะ20เท่านั้น เมื่อเทียบกันกับช่วงเวลาเดียวกันของเมื่อสองปีก่อน โดยตัวเลขบ่งชี้ให้เห็นว่า ในปัจจุบัน ข้อมูลที่ผู้ประกอบการหรือคนทำงานอย่างเราๆ ได้รับจากสายการเดินเรือนั้น แทบจะเชื่อถืออะไรไม่ได้เลย  ทั้งวันเรือออก, ระยะเวลาการขนส่ง, วันเรือถึงปลายทาง, รวมถึงข้อมูลปลีกย่อยอื่นๆ

.

ดังนั้นในสถานการณ์ปัจจุบัน จึงไม่เอื้ออย่างมากสำหรับตัวแทนรับขนส่งที่รับงานประเภทที่มีช่วงเวลาบีบคั้น อย่างงานที่ขนส่งเพื่อไปจัดนิทรรศการหรืองานอีเวนต์ต่างๆ ยิ่งงานประเภทที่ขนส่งเพื่อไปให้ทันเปิดงานหรือแบบ Grand Opening เปิดกิจการร้านค้า อาจต้องคิดคำนวนเผื่อเวลาให้ดี

.

รวมไปถึงคนที่กำลังรอคอยสินค้าขาเข้า โดยเฉพาะที่ออกมาจากประเทศจีน ที่ตอนนี้ดูเหมือนเอาแน่นอนอะไรไม่ได้เลย งานถูกเลื่อนเรือกันเป็นว่าเล่น และเลื่อนแบบไม่มีความหวังเสียด้วย

.

ดังนั้นนี่เป็นอีกช่วงเวลาที่ยากเย็นสำหรับคนที่ดูแลหรือเกี่ยวข้องกับงานขาเข้าแบบเลี่ยงไม่ได้

 

*********

4) ประเด็นภาพรวมด้านค่าระวางขนส่งหรือค่าเฟรท ที่เริ่มไม่เป็นใจและไม่ถูกใจหลายคน

.

ดูเหมือนแนวโน้มราคาค่าระวางขนส่งหรือค่าเฟรทในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ในทุกเส้นทางทั่วโลกดูจะไม่เป็นใจ ไม่เป็นไปในทิศทางที่หลายคนอยากเห็น โดยอยู่ในภาวะเริ่มทรงตัวและคงที่ ไม่ไหลลงอย่างที่หลายสำนักมีการคาดการก่อนหน้านี้

.

หลายเส้นทางหลักในการขนส่ง อย่างเส้นทางภูมิภาคยุโรป,อเมริกาเหนือ,หรือภายในเอเชียเอง ราคาค่าระวางขนส่ง มีการคงตัวหรือ Maintain เสียส่วนมาก และเริ่มมีสัญญาณไปในทางที่จะมีการปรับขึ้น หากเซี่ยงไฮ้ทำการคลายล็อคดาวน์เต็มรูปแบบ โดยสังเกตได้จากการที่ จากเดิมราคาค่าระวางขนส่งจากเอเชียไปภูมิภาคยุโรปและอเมริกาเหนือ เริ่มปรับตัวลงตั้งแต่จีนเริ่มทำการล็อคดาวน์เซิ่นเจิ้นและเซี่ยงไฮ้

.

หากแต่ราคาหยุดที่จะไหลลงและคงที่ เมื่อมีการพูดถึงมาตรการผ่อนผันหรือเริ่มเห็นช่วงเวลาในการคลายล็อคที่ชัดเจน ซึ่งแน่นอนอุปสงค์ในภาคการขนส่งจะดีดกลับมาทันที ดังนั้นหลายสายการเดินเรือจึงรอดูท่าทีสถานการณ์ที่เมืองจีนเป็นหลัก

.

อีกทั้งอย่างที่เคยกล่าวในเพจบ่อยๆว่า ในค่าระวางขนส่งที่เราเห็นมาเป็นก้อนเดียวหรือ ALL IN นั้น หากทำการแตกค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงหรือ Bunker ออกมา จะเห็นว่าอัตราค่าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นมีการปรับขึ้นต่อเนื่องในทุกเดือน หรือถ้าคนที่ติดตามข่าวสารของแต่ล่ะสายการเดินเรือ จะรู้ว่าแต่ล่ะสายการเดินเรือ มีการประกาศปรับค่าเชื้อเพลิงในการขนส่งทั้งสิ้น และมีการประกาศแบบถี่รายเดือนเสียด้วย

.

ดังนั้นเมื่อมองปัจจัยองค์ประกอบต่างๆที่กล่าวมา ประกอบกับสถานการณ์ต่างๆแล้ว เราไม่น่าจะได้เห็นราคาค่าระวางขนส่งปรับเพดานลงอย่างที่อยากจะเห็นในช่วงเดือนมิถุนายน โดยต้องรอดูสัญญาณการคลี่คลายความหนาแน่นหลังจากเซี่ยงไฮ้คลายล็อคดาวน์

.

รวมไปถึงภาวะความต้องการของผู้บริโภคในช่วงฤดู Peak Season ของภูมิภาคยุโรปและอเมริกาเหนือ ว่าจะออกมาในทิศทางใด???

.

ซึ่งหากภาพรวมความต้องการตลาดของผู้บริโภคออกมาในทิศทางที่ปรับตัวสูงขึ้น แน่นอนว่าเราจะไม่ได้เห็นการปรับราคาค่าระวางขนส่งแบบสามารถจับต้องได้ หรือลดลงฮวบฮาบอย่างที่หวังจนถึงสิ้นปี

 

*******

5) สุดท้ายในประเด็นภาพรวมความหนาแน่นของท่าเรือสินค้าทั่วโลก ที่ยังคงทรงตัวและถือว่าแน่น

.

โดยในภาพรวมของท่าเรือทั่วโลกยังคงทรงตัว ทำการระบายการสะสมของเรือและตู้สินค้าเป็นไปอย่างช้าๆ หลายท่าเรืออย่างในภูมิภาคยุโรป รวมไปถึงภูมิภาคอเมริกาเหนือฝั่งตะวันตกยังคงอยู่ในจุดที่เรียกได้ว่า แทบจะเต็มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของท่าแล้ว หากแต่ก็ยังมีความหนาแน่นสะสมอยู่ค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับช่วงเวลาปกติก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

.

ในส่วนของท่าเรือภายในภูมิภาคเอเชีย เริ่มที่ประเทศจีน หลายท่ายังคงต้องรับมือกับจำนวนเรือสินค้าที่สะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่รอเข้าเทียบท่าเพื่อขนถ่าย และที่เข้าเทียบแล้วกำลังปฏิบัติงาน ท่าเรือหลักอย่าง CNSHA/ CNNGB ที่ดูจะหนักหนาที่สุดในตอนนี้ โดยมีเรืออยู่บริเวณทั้งสองท่าอยู่ที่กว่า 7,000 ลำ เฉพาะที่ CNSHA คือกว่า 6,000ลำ

.

ในขณะที่ท่าเรือในตอนล่างของจีนอย่าง HKHKG/ CNSHK/ CNYTN มีปริมาณเรือสะสมอยู่บริเวณทั้งสามท่ากว่า 1200 ลำ โดยเฉพาะแค่ที่ HKHKG มีอยู่กว่า 900ลำ

.

ทางด้านสถานการณ์ของภูมิภาคอเมริกาเหนือ ที่ดูแล้วมีความพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น หากแต่ค่อนข้างช้ามากๆ และมีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถทำการระบายได้ก่อนที่สินค้าจากจีนจะโถมมา รวมถึงต้องติดตามความคืบหน้าในการเจรจา ระหว่างสหพันธ์แรงงานท่าเรือกับผู้ประกอบการท่าฝั่งตะวันตก ที่ถูกเลื่อนออกไปเป็นช่วงเดือนมิถุนายน ซึ่งประเด็นนี้เป็นอีกตัวแปร ที่ทำให้ปัญหาความหนาแน่นไม่คลี่คลาย

.

อย่างท่าเรือหลักฝั่งตะวันออก USEC (USNYC/ USCHS/ USSAV) มีเรือรอเทียบท่าประมาณ 55 -60 ลำ. และเรือใช้เวลารอเข้าเทียบรวมถึงใช้เวลาในการปฏิบัติงานขนถ่ายอยู่ที่ 7 -12 วัน.

.

ทางด้านในส่วนฝั่งตะวันตก USWC (USSEA/ USTIW/ USOAK ) เริ่มอยู่ในภาวะที่ทรงตัว. โดยมีเรือรอเข้าเทียบและเทียบที่ท่าแล้วประมาณ 45 -50 ลำ. และใช้เวลารอเข้าเทียบท่ารวมถึงเวลาในการขนถ่ายอยู่ที่ 7-10 วัน. ถัดมาในส่วนของท่าเรือฝั่งอ่าวหรือ Gulf port MID West อย่าง USHOU ที่มีปริมาณเรือทั้งที่เข้าเทียบแล้วและที่รอเข้าเทียบขนถ่ายกว่า 50ลำ

.

ในส่วนของ (USLAX/ USLGB) มีแนวโน้มทิศทางไปในทางดีขึ้น โดยมีเรือรอเข้าเทียบท่าประมาณ 50 -60 ลำ (แบ่งเป็นอยู่ในรัศมี 25ไมล์ทะเลกว่า 40ลำ และอยู่นอกเขต SAQA Zone ประมาณ 20ลำ)  และใช้เวลารอเทียบท่าอยู่ที่ 15 -22 วัน ทั้งนี้เริ่มมีบางสายการเดินเรือมีการพูดถึงการเรียกค่าใช้จ่ายพิเศษในการวางตู้สินค้าในท่าหรือ Port Dwell Fee ตามมาตรการของทางทำเนียบข่าวสหรัฐ เพื่อหวังบรรเทาปัญหาความหนาแน่นของทั้งสองท่าเรือ

.

ทางด้านของท่าเรือหลักในภูมิภาคยุโรป อย่าง NLRTM/ DEHAM/ BEANR ยังคงอยู่ในสภาวะแน่นแบบสาหัส ตึงตัวอย่างมากและไม่มีแนวโน้มในการที่จะคลี่คลายในเร็ววัน โดยมีเรือสินค้ารอเข้าเทียบท่าอยู่รวมกันเกือบ มากกว่า 800ลำ ซึ่งแค่เฉพาะที่ NLRTM มีเรือเทียบแล้วและรอเทียบ เกือบ 400ลำ ทั้งนี้ก็เนื่องจากแต่ล่ะท่า ต้องใช้เวลาในการคัดกรองทั้งเรือและตู้สินค้าทุกใบที่เข้าเทียบ ตามมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของสหภาพยุโรป

 

*******

6) โดยในรอบสัปดาห์นี้ เรื่องที่เรายังคงต้องให้ความสนใจยังคงเป็นท่าทีและความเคลื่อนไหวที่เซี่ยงไฮ้

.

ซึ่งในช่วงกว่าหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่ทางการจีนมีการพูดถึงช่วงเวลาในการคลายล็อคเมืองเซี่ยงไฮ้ ดูเหมือนหลายสิ่งหลายอย่างในแวดวงนำเข้า-ส่งออก รวมไปถึงในแวดวงธุรกิจหรือภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เริ่มกลับมาเคลื่อนไหลมีชีวิตอีกครั้ง เพื่อรองรับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นเมื่อทางการจีนได้ปลดปล่อยเซี่ยงไฮ้กลับสู่ภาวะปกติ

.

หลายสายการเดินเรือทำการปิดรับการจองงานใหม่ สำหรับเส้นทางขนส่งจาก CNSHA หรือท่าเรืออื่นๆจากประเทศจีน ไปยังภูมิภาคยุโรป และภูมิภาคอเมริกาเหนือ เนื่องจากพื้นที่ระวางขนส่งในเส้นทางที่ว่า เต็มไปจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายนเป็นที่เรียบร้อย เรียกได้ว่าเรือแน่นก่อนที่จะทำการคลายล็อคเสียอีก !!!

.

รวมไปถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เรายังคงต้องจับตามองและยังไม่สามารถคลายวิตกจากมันได้ เนื่องจากเจ้าไวรัสนี้จะยังคงเป็นตัวแปรที่สำคัญในการกำหนดทิศทางต่างๆในวงการนำเข้า-ส่งออก

.

โดยล่าสุดคือการที่ทางการของประเทศซาอุดิ อาระเบีย ได้มีการออกประกาศคำสั่งพลเมืองของตน ในการระงับการเดินทางไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยง 16ประเทศ โดยมีสองชาติเพื่อนบ้านเราในอาเซียนอย่าง อินโดนีเซียและเวียดนาม อยู่ในรายชื่อ 16ประเทศนี้ด้วย

.

ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อมีการประกาศห้ามการเดินทางข้ามประเทศของพลเรือน มันต้องมีผลกระทบไปถึงเรื่องของการขนส่งสินค้าตามมา ไม่ว่าจะด้วยเส้นทางการขนส่งหรือการหมุนเวียนของจัดกระจายสินค้าหลัก และในที่สุดจะกลายเป็นการบิดเบี้ยวของระบบการขนส่งและการกระจายสินค้า

.

ทั้งหมดที่เล่ามานี้ คือการสรุปภาพรวมและทิศทางด้านต่างในแวดวงการนำเข้า-ส่งออก ในภาคการขนส่งทางเรือในรอบสัปดาห์ ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่คอยติดตามเสมอ และเราจะกลับมาพบกันใหม่ในสัปดาห์หน้าเหมือนเช่นเคย

.

สัปดาห์นี้ลาไปก่อน สวัสดี บุญรักษา

 

=========================

ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ นำเข้า ส่งออก

เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk

=========================

 

ข่าวดี! เพื่อนๆ ในวงการนำเข้าส่งออก ขนส่งระหว่างประเทศ ที่กำลังมองหาโอกาศดีๆ ในการเข้ามา เพื่อพัฒนาเปลี่ยนแปลงวงการนี้

.

พร้อมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยผู้ประกอบการไทย ให้ขยายธุรกิจ เติบโต ไปสู่ระดับภูมิภาค หรือแข่งขันในระดับโลกได้

.

แอดมินขอแนะนำสตาร์ทอัพไทย “ZUPPORTS” ที่มีเป้าหมาย ที่จะทำให้การนำเข้าส่งออก ขนส่งระหว่างประเทศ เป็นเรื่องง่ายๆ เหมือนการช้อปปิ้งออนไลน์

.

ปัจจุบันทีมงาน ZUPPORTS กำลังมองหาเพื่อนร่วมงาน หลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็น

.

  1. HR Officer คนที่ชอบ ทำงาน HRM

…สนใจงานดูแลทรัพยากร อันมีค่าแบบ Tech Company

.

  1. Fullstack software developer/Front-end/Back-end

…คนที่อยากมาสร้าง Product เพื่อปฏิวัติวงการขนส่งระหว่างประเทศด้วยกัน

…คนที่มีประสบการณ์ PHP, MySQL, NodeJS, CSS, Laravel, VueJS, หรือเคยดูแล Cloud service

.

3) Sales / Sales Coordinator

…คน ที่มีประสบการณ์ขายแบบ B2B หรือ อยู่ในแวดวงการธุรกิจ ซอฟต์แวร์ หรือ ธุรกิจขนส่งระหว่างประเทศ ก็ได้

.

4) Customers service (Customer success)

…สำหรับเพื่อนๆ ที่มีใจรักในงานบริการ และทำงานในสาย เฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ หรือสายเรือ มาก่อน เหมาะกับงานนี้มากๆ

.

ใครสนใจอย่ารอช้าเปิดรับหลายอัตรา ส่งข้อมูลมาได้เลยที่

https://bit.ly/3lEBK6Q

 

 

 

ข่าวสารอื่นๆ