[Freight Weekly] : อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 24-28 เมษายน กับ ZUPPORTS !!! สัปดาห์สุดบันเทิงก่อนหยุดยาว ค่า Freight ก็ปรับขึ้น Space ก็แน่น !!!

หยุดยาว

[Freight Weekly] : อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 24-28 เมษายน กับ ZUPPORTS !!!

สัปดาห์สุดบันเทิงก่อนหยุดยาว ค่า Freight ก็ปรับขึ้น Space ก็แน่น !!!

.

กลับมาพบกันเหมือนเช่นเคย ในการรายงานข่าวสาร ความเคลื่อนไหว รวมถึงสถานการณ์ในแวดวงนำเข้า-ส่งออก ภาคการขนส่งสินค้าทางเรือประจำสัปดาห์ ในรูปแบบของพวกเราชาว ZUPPORTS !!!

.

สัปดาห์นี้เข้าสู่สัปดาห์ที่ 17 ประจำปี 2566 และนับเป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ที่แสนวุ่นวายสำหรับใครหลายคน เนื่องจากในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายสิ้นเดือนเมษายน แถมในสัปดาห์หน้ายังมีวันหยุดในลักษณะที่เป็นฟันหลอจำนวนหลายวัน ดังนั้น นี่จะเป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ที่แสนชุลมุนสำหรับคนทำงานหลายคน

.

โดยเฉพาะคนที่ต้องดูแลรับผิดชอบในส่วนงานฝ่ายปฏิบัติการณ์ ที่ต้องทำการประสานงานจองเรือ จองรถซึ่งค่อนข้างที่จะแน่นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมไปถึงคนที่ดูแลงานเอกสาร ที่ต้องปิดงานทุกอย่างให้ทันตามกำหนดภายในวันศุกร์สุดท้ายของเดือน ก่อนที่จะปิดงานยาว

.

ดังนั้น ใครที่ไม่มีเวลาในการติดตามสถานการณ์ข่าวสารรอบตัว ขอแค่กดติดตามพวกเราไว้ รับรองว่าจะได้อัพเดทข้อมูลในรูปแบบที่ย่อยง่าย ใช้เวลาไม่นาน เพราะพวกเราย่อยมาให้ทุกท่านแล้ว

.

เอาล่ะเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมและพร้อมกันแล้ว ตามพวกเรา มาไล่กันทีละประเด็น ตามลิงค์ด้านล่างนี้กันเลย !!!

.

=========================

ZUPPORTS ช่วยผู้นำเข้าส่งออก หา Space

เปรียบเทียบราคาและบริการ Freight ทั้งทางทะเล ทางอากาศ ทางบก และทางรถไฟ

ด้วยพันธมิตรผู้ให้บริการขนส่ง มากกว่า 30 บริษัท

ลงทะเบียนทดลองใช้งานได้ที่

นัดหมายทดลองใช้งาน

=========================

1) สถานการณ์ในการจองพื้นที่ระวางขนส่งสินค้าทางเรือ SPACE ในหลายเส้นทาง หมดเวลาสำหรับงานด่วน !!!

.

ภาพรวมการจองเรือสำหรับงานใหม่ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะเริ่มเป็นเรื่องที่ยากขึ้นสำหรับใครหลายคน พื้นที่ระวางขนส่งในหลายเส้นทางเริ่มอยู่ในสภาวะที่เพียบแน่น และเต็มอย่างมาก เนื่องจากอุปสงค์หรือความต้องการในการขนส่งสินค้าทางเรือ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในหลายเส้นทาง

.

โดยเฉพาะในเส้นทางขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือและยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- North Europe Trade/ Asia- Mediterranean Trade

.

งานขนส่งสินค้าประเภทที่มีน้ำหนักมาก งานสำหรับตู้สินค้าประเภท 20’GP อาจต้องทำใจกันในช่วงนี้ โดยเฉพาะในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- Mediterranean Trade

.

สัปดาห์นี้ ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ต่างดันสินค้าของตนออกก่อนที่จะหยุดในช่วงวันแรงงานสากล ซึ่งนั้น ส่งผลให้พื้นที่ระวางขนส่งสินค้าทางเรือในสัปดาห์นี้ เต็มเพียบอย่างมาก จากเดิมพื้นที่ระวางก็หุบเหลือน้อยลงอยู่แล้ว

.

ส่งผลให้พื้นที่ระวางาขนส่งสินค้าในรูปแบบทางเลือกอื่น เต็มแน่นตามไปด้วย โดยเฉพาะ การขนส่งในรูปแบบทางรางและทางถนนไปยังประเทศจีนตอนล่าง ซึ่งในเวลานี้ เรียกได้ว่าเป็นชั่วโมงของฤดู Reefer Container !!!

.

หากแต่ หลายสายการเดินเรือ โดยเฉพาะสายการเดินเรือใหญ่จำนวนไม่น้อย เร่งดันงานจากหลายพื้นที่ โดยการช้อนรับงานที่เป็นการจองเรือขาออกไปยังประเทศจีน

.

ทั้งนี้ ก็เพื่อต้องการที่จะดึงตู้สินค้า หรือ Container Equipment ไปเติมให้กับประเทศที่เริ่มเข้าสู่ภาวะขาดแคลน เพื่อใช้ในการขนส่งออกจากประเทศจีนต่อไปยังภูมิภาคอื่นในเส้นทางสายนอก หรือ Long Haul Service

.

ดังนั้น ในหลายเส้นทางหลัก การจองเรือล่วงหน้าเพียง 2- -3 สัปดาห์ อาจไม่เพียงพอเสียแล้ว !!!

.

*******

2) สถานการณ์ในการจัดหาและการหมุนเวียนของตู้สินค้า วงจรการหมุนเวียนเริ่มขยับอีกครั้ง ตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลก !!!

.

ด้านสถานการณ์การจัดหาและหมุนเวียนตู้สินค้า กลไกการหมุนเวียนของตู้สินค้าเริ่มกลับมาขยับอีกครั้ง หลังจากที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวในหลายภูมิภาค หากแต่ในหลายภูมิภาคยังคงเข้าสู่ภาวะขาดแคลน เนื่องจากการหมุนเวียนยังไม่ทันต่อความต้องการ รวมถึงเส้นทางการขนส่งที่เปลี่ยนไป

.

ภาพรวมการหมุนเวียนและการจัดหาตู้สินค้าทั่วโลก ในหลายภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ที่จัดว่าคล่องตัว โดยเฉพาะตามพื้นที่ที่เป็นเมืองท่าหรือเมืองที่เป็นฐานในการผลิตหรือการกระจายสินค้าในภูมิภาคหลักของโลก อย่าง ในภูมิภาคอเมริกาเหนือ, ภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ รวมถึงในภูมิภาคเอเชีย

.

หากแต่ในหลายพื้นที่ ยังคงประสบกับภาวะขาดแคลนตู้สินค้า โดยที่ในหลายพื้นที่เริ่มอยู่ในสถานการร์ที่รุนแรงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงหลายสัปดาห์ก่อน โดยเฉพาะตามเมือง หรือพื้นที่ที่เป็นท่าแห้ง Dry Port, ICD, IPI หรือเมืองที่ไม่ใช่ศูนย์กลางการกระจายสินค้า

.

ยังคงประสบกับปัญหาการขาดแคลนอย่างเห็นได้ชัด ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ต้องทำการรับตู้สินค้าเปล่าจากเมืองท่าหลักเพื่อใช้ในการบรรจุสินค้าขาออก อย่าง ในภูมิภาคเอเชียใต้ และในภูมิภาคยุโรปตอนล่าง รวมถึงหลายพื้นที่ในภูมิภาคเอเชียของเราเอง

.

โดย หลายพื้นที่ในประเทศจีนเองประสบกับปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้า โดยเฉพาะตู้ประเภท 20 GP ซึ่งหลายสายการเดินเรือไม่สามารถจัดหาให้กับผู้ประกอบการในประเทศจีนได้ ต้องทำการระดมตู้สินค้าจากภูมิภาคต่างๆใกล้เคียงเพื่อส่งเข้าไปที่ประเทศจีน

.

ทั้งนี้ แม้ว่าภาพรวมของวงจรการหมุนเวียนของตู้สินค้า จะเริ่มกลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง ตามสัญญาณทางเศรษฐกิจโลก หากแต่จะยังไม่ทันกับความต้องการในภาคการขนส่งสินค้าทางเรือ โดยเฉพาะในช่วงหลังการถือศีลอดของชาวมุสลิมทั่วโลก รวมถึงการเข้าช่วงก่อนฤดูการขนส่ง หรือ Peak Season  ของภูมิภาคยุโรปและอเมริกาเหนือ

.

*******

3) สถานการณ์ความเสถียรของตารางเดินเรือ ภาพของการปล่อยตารางเรือว่าง จะยังอยู่กับเราอีกพักใหญ่  !!!

.

ด้านสถานการณ์ความนิ่งของตารางเดินเรือ ในหลายเส้นทางหลัก ยังตกอยู่ในภาวะที่ขาดความน่าเชื่อถือ จนแทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนทำงานขนส่งสินค้าทางเรือ ทั้ง Delay Onboard, Delay Arrival , SKIP Call/ OMIT และ Blank Sailing

.

ภาพรวมสถานการณ์ความเสถียรของตารางเดินเรือในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ในหลายเส้นทางหลัก ยังคงตกอยู่ในภาวะที่ถือว่าไม่ปกติ เกือบทุกงานที่ขนส่งทางเรือยังต้องเจอกับปัญหาความล่าช้า ทั้งวันเรือออกและวันเรือถึง หรือ Delay Onboard/ Delay Arrival

.

รวมถึง สภาวะหลักที่ผู้ประกอบการจำนวนมาก ยังต้องรับมือ นั่นคือ การที่ไม่สามารถขนส่งสินค้าได้ตรงเวลา หรือไม่สามารถขนส่งสินค้าได้ตามแผนที่วางไว้ เนื่องจาก ความถี่ของรอบเรือที่ให้บริการยังคงอยู่ในสภาวะที่หดตัว จากการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing

.

โดยในช่วงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 17 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 21 หรือในช่วง 5 สัปดาห์นับจากนี้ ทุกสายการเดินเรือ มีการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing ในเส้นทางการขนส่งหลักรวมกันไปแล้ว อย่างน้อย 57 เที่ยวเรือ หรือคิดเป็น ร้อยละ 8 จากจำนวนรอบเรือทั้งหมด 675 เที่ยวเรือ !!!

.

โดย เส้นทางการขนส่งหลัก ที่ถูกยกเลิกเที่ยวเรือมากที่สุด ร้อยละ 51 คือ เส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในเส้นทาง  Transpacific Eastbound

.

ตามด้วย ร้อยละ 42 เป็นการยกเลิกเที่ยวเรือ ในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปทั้งตอนเหนือและตอนล่าง หรือ Asia- Europe and MED  และในเส้นทางขนส่งจากภูมิภาคยุโรปไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ Transatlantic Westbound คิดเป็น ร้อยละ 7

.

**************

4) สถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ เมื่อดัชนีค่าระวางทางเรือปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 15 สัปดาห์ !!!

.

ด้านสถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ ดัชนีค่าระวางขนส่งปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรก ในรอบ 15 สัปดาห์ หลายเส้นทางปรับตัวเพิ่มขึ้น จากปัจจัยพื้นที่ระวางขนส่ง หรือ Allocation Space เหลือ

ที่แทบจะไม่เหลือให้งานด่วน

 

ภาพรวมสถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ในบางเส้นทางขนส่งยังคงอยู่ในภาวะทรงตัวหรืออาจมีการปรับตัวลดลงบ้าง ในขณะที่ ค่าระวางขนส่งในอีกหลายเส้นทางขนส่ง ยังคงอยู่ในภาวะทิศทางขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์หรือความต้องการในภาคขนส่งและภาวะที่อุปทานหรือพื้นที่ขนส่งในท้องน้ำหุบแคบลงจากภาวะปกติ

.

ดัชนีค่าระวางขนส่งทางเรือ หรือ ค่าเฟรทในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มาปิดอยู่ที่ USD 1,774 per 40’GP มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 4 เมื่อกับสัปดาห์ก่อน และเป็นการปรับตัวลดลง ร้อยละ 77 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาของปีก่อน

.

ทั้งนี้ ทิศทางค่าระวางขนส่งในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นไปในลักษณะที่มีการผสมผสาน คือ ค่าระวางในหลายเส้นทางอยู่ในภาวะที่ทรงตัวและคงที่ไม่ต่างจากสัปดาห์ก่อนมากนักหรืออาจมีการปรับลดลงเล็กน้อยในบางท่าเรือ

.

อย่าง ในเส้นทางการขนส่งเที่ยวกลับ จากภูมิภาคอเมริกาเหนือมายังภูมิภาคยุโรป หรือ Transatlantic Eastbound และในเส้นทางขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ หรือ Asia- North Europe Trade

.

หากแต่ยังมีอีกหลายเส้นทางหลักมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่าง ในเส้นทางการการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือในฝั่งตะวันออก หรือ Asia- North America East Coast

.

รวมถึง ค่ารางขนส่งในเส้นทางจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือฝั่งตะวันตก หรือ Asia -North America West Coast มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นแบบด้าวกระโดด คือมีการปรับขึ้นถึง ร้อยละ 11 ภายในเวลาเพียงสัปดาห์เดียว

.

นอกจากนี้ ยังมี เส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- Mediterranean Trade และบางท่าเรือในเส้นทางการขนส่งภายในภูมิภาคเอเชีย หรือ Intra-Asia Trade ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

.

==================

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากเช็คแนวโน้มราคาเฟรท ทางทะเล ย้อนหลัง 3 เดือน แยกไปแต่ละเส้นทางขนส่ง ก็สามารถ ลองเข้าไปเช็คกันได้เลยที่ https://zupports.co/our-services/

.

หรือหากอยากดูราคาเฟรท ในเดือนล่าสุด ก็ลงทะเบียน แบบ premium กันได้เลยที่ https://zupports.co/register/

==================

.

************

5) ด้านสถานการณ์ความหนาแน่นของท่าเรือหลักทั่วโลก หลายท่าเรือเห็นสัญญาณความหนาแน่นกลับมาอีกครั้ง !!!

.

สุดท้าย ประเด็นในด้านสถานการณ์ท่าเรือหลักทั่วโลก หลายท่าเรือยังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ จากปัญหาการนัดหยุดงานและจากปัญหาคอขวด จากการขาดแคลนภาคแรงงานขนส่ง ในขณะที่อีกหลายท่าเรือเข้าสู่ภาวะปกติ เช่นก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หากแต่ เริ่มเห็นสัญญาณความหนาแน่นเพิ่มขึ้นอีกครั้ง จากปริมาณเรือสินค้าที่เรียงคิวเข้าเทียบ เนื่องจากการเริ่มฟื้นตัวในหลายธุรกิจ

.

ด้านภาพรวมของท่าเรือหลักในภูมิภาคอเมริกาเหนือ หลายท่าเรือหลักในฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกา กลับเข้าสู่ภาวะปกติ หากแต่เริ่มเห็นสัญญาณความหนาแน่นหรือความพลุกพล่าน เพิ่มขึ้นอีกครั้ง จากจำนวนเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบในท่าเรือหลัก อย่าง USLAX, USLGB, USTIW, USSEA ,USNYC, USORF, USSAV, USCHS

.

ทั้งนี้ก็เนื่องจากสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ในหลายหมวดหมู่อุตสาหกรรม ในขณะที่อีกหลายท่าเรือหลัก อย่าง  USHOU ในฝั่งอ่าว และ USOAK ในฝั่งตะวันตก ยังคงอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างหนาแน่นและตึงมืออย่างมาก

.

หากแต่เริ่มมีแนวโน้มที่ผ่อนคลายลง หากแต่ในเกือบทุกท่าเรือของสหรัฐอเมริกา ยังคงประสบกับปัญหาคอขวดในการระบายสินค้า เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานและอุปกรณ์ในภาคขนส่ง ยังคงมีให้เห็นในหลายพื้นที่

.

ขณะที่สถานการณ์ของท่าเรือหลักในภูมิภาคยุโรป สามท่าเรือหลัก อย่าง NLRTM, BEANR, DEHAM เริ่มที่จะทรงตัวอีกครั้ง หลังสามารถระบายสินค้าและเรือที่ตกค้างออกจากท่าเรือหลักของเยอรมันได้เร็วกว่าที่คาด

.

หากแต่สิ่งที่ต้องจับตาดูคือ สถานการณ์ที่ท่าเรือหลักของประเทศฝรั่งเศส อย่าง FRLEH ซึ่งเป็นท่าเรือหลักตอนเหนือ และ ท่าเรือหลักตอนล่าง อย่าง  FRFOS เนื่องจากยังคงประสบกับปัญหาการนัดหยุดงานของแรงงานท่าเรือและส่วนงานภาคการขนส่งและการขนส่งกลาง ส่งผลให้เรือสินค้าจำนวนมาก ข้ามหรือ SKIP สองท่าเรือหลักของฝรั่งเศส

.

ขณะที่ทางด้านสถานการณ์ของท่าเรือหลักในภูมิภาคเอเชีย ภาพรวมหลายท่าเรือหลักในประเทศจีนยังคงจัดว่าอยู่ในสถานการณ์ปกติ หากแต่ในบางท่าเรือหลัก ประสบกับภาวะความหนาแน่นจากปัจจัยด้านสภาพอากาศที่แปรปรวน อย่าง CNNGB, CNTAO ส่งผลให้เกิดปัญหาความล่าช้าอย่างน้อย 2 -5 วัน

.

ขณะที่กลุ่มท่าเรือที่เป็นจุดถ่ายลำหลัก อย่าง HKHKG เริ่มทรงตัวและพอจะรับมือได้ ในขณะที่อีกสองท่าอย่าง SGSIN, MYPKG เจอกับภาวะความหนาแน่นของกองตู้สินค้าในท่า เนื่องจากความถี่ของรอบเรือแม่ที่จะมาเกี่ยวตู้ขึ้นหุบน้อยลง ส่งผลให้เรือสินค้าเกิดปัญหาความล่าช้า อย่างน้อย 2-4 วัน เนื่องจากเรือต่างๆ ไม่มี Window เข้าเทียบ

.

****************

6) สถานการณ์ ความเคลื่อนไหวในรอบสัปดาห์ ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก ต้องรับมือกับ GRI / RR !!!

.

เรื่องที่เรายังต้องติดตามในรอบสัปดาห์นี้ จะอยู่ที่ทิศทางการวิ่งของราคาค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หรือ ค่าเฟรท ที่ดูเหมือนจะไม่ได้เป็นไปในทิศทางที่ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกอยากเห็นเท่าไรนัก เนื่องจาก ในช่วง 2 -3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าระวางขนส่งในหลายเส้นทาง อยู่ในทิศทางขาขึ้นกันยกแผง

.

โดยจะเห็นได้จาก หลายสายการเดินเรือต่างเดินหน้า พร้อมใจกันประกาศปรับขึ้นค่าระวางขนส่งในหลายเส้นทางหลัก ในรูปแบบของ GRI General Rate Increase RR Rate Restoration ซึ่งสิ่งที่เราต้องไม่ลืมกัน นั่นคือ ในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี จะเป็นการก้าวเข้าสู่ช่วงฤดูแห่งการขนส่งสินค้า นั่นหมายถึง เราอาจต้องเจอกับการปรับขึ้นค่ารางาสขนส่งอีกระลอก ในรูปแบบ Peak Season Surcharge

 

ทั้งนี้ สถานการณ์ที่พวกเราต้องเผชิญในปัจจุบัน นั่นคือ การที่ความถี่ของรอบเรือที่ให้บริการในหลายเส้นทาง หุบเหลือน้อยลงอย่างมาก หรือ ในบางเส้นทางแทบจะไม่เหลือรอบเรือเลยในช่วงเดือนมีนาคม- เมษายนที่ผ่านมา ในขณะที่ความต้องการในภาคการขนส่งทางเรือ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกสัปดาห์ ตามสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก ที่ค่อยๆทยอยกลับคืนมาทีละภูมิภาค

.

ซึ่งสภาวะเหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หรือ Sea Freight Rate ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปแต่ละสัปดาห์ ตามหลักอุปสงค์และอุปทานในกลไกของตลาด ที่ว่า เมื่อจำนวนการจองเรือเพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่ระวางรับขนส่งมีน้อยลง จองเรือยากขึ้น นั่นหมายถึงค่าระวางขนส่งก็จะปรับตัวเพิ่มขึ้น

.

และด้วยเหตุนี้ สถานการณ์ทิศทางของค่าระวางขนส่งหรือค่าเฟรท จึงเป็นเรื่องที่คอยติดตามในทุกสัปดาห์ รวมถึง เป็นช่วงเวลาที่ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก ต้องมองหาเครือข่ายพันธมิตรในโลกของธุรกิจขนส่ง และต้องมองหาเครื่องมือด้าน Digital ที่จะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ หรือมองเห็นทิศทางการวิ่งของค่าระวางขนส่งทางเรือ เพื่อใช้ในการวางแผนการทำงานล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.

ที่เล่ามาทั้งหมด คือสรุปภาพรวมสถานการณ์นำเข้าส่งออก ภาคการขนส่งสินค้าทางเรือประจำสัปดาห์ ซึ่งพวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ติดตามทุกท่าน ที่ต้องการข้อมูลข่าวสารเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานของตน

.

และแอดมินเองก็ขอแนะนำ ZUPPORTS แพลฟอร์ม ที่จะช่วยผู้นำเข้าส่งออก หา Space  เปรียบเทียบราคาและบริการ Freight ทั้งทางทะเล ทางอากาศ ทางบก และทางรถไฟ ด้วยพันธมิตรผู้ให้บริการขนส่ง มากกว่า 30 บริษัท

ลงทะเบียนทดลองใช้งานได้ที่ https://zupports.co/register/

.

สัปดาห์นี้ขอลาไปก่อน ขอบุญรักษาทุกท่าน สวัสดีครับ

.

CR : PIC by Kees Torn

.

=========================

ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ นำเข้า ส่งออก

เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk

=========================

 

แนะนำบริการ Logistics Butler by ZUPPORTS

ระบบ Line Official Account ที่เพื่อนๆ สามารถ Chat ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ และการนำเข้าส่งออก โดยตรงกับ Shipping Man และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์

เหมือนมี พี่ๆ ที่ทำงาน / ที่ปรึกษาส่วนตัว นั่งข้าง ๆ โต๊ะคุณ!!

.

พร้อมรับสิทธิพิเศษ!

  1. Freight Monthly Report รายงานอัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศ ทุกเดือน
  2. แจ้งข่าว อบรม/Webinar ดีๆ สำรองที่นั่ง ก่อนใครเพื่อน
  3. รับส่วนลด 20% สำหรับคอร์สฝึกอบรมออนไลน์ แบบสด สำหรับสมาชิก Logistics Butler

(ตัวอย่าง Course อบรม ได้แก่ DG Cargo, Reefer, พิกัด, พิธีการศุลกากรประเภทต่างๆ บรรยาย โดยวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ ในสายวิชาชีพนั้นๆ ประสบการณ์ 10 ปี ++)

  1. จองเวลาปรึกษา Online meeting แบบ one-on-one เพิ่มเติมได้ (มีค่าบริการเพิ่มเติม)

เหมือนมีห้องสมุดส่วนตัว รวบรวมข้อมูล ความรู้ให้คุณ ถึงหน้าจอมือถือ

.

สนใจลงทะเบียนได้เลยที่

http://bit.ly/3Xma0nR

(ติดต่อสอบถาม รายละเอียด เพิ่มเติมใน inbox ได้เลยจ้า)

 

ข่าวสารอื่นๆ