[Freight Weekly] : อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 14 -18 สิงหาคม กับ ZUPPORTS !!!
สัปดาห์ที่แสนดราม่าของงาน Freight มีงานมีของ แต่หลายเลน ดันไม่มี SPACE !!!
.
พบกันเหมือนเช่นเคย ในการรายงานข่าวสาร ความเคลื่อนไหว รวมถึงสถานการณ์ต่างๆ ในแวดวงการนำเข้า-ส่งออก ภาคการขนส่งสินค้าทางเรือประจำสัปดาห์ ซึ่งพวกเรา นำมาสรุปให้ในรูปแบบที่ย่อยง่าย ในทุกเช้าเริ่มต้นการทำงานของสัปดาห์ กับพวกเรา ZUPPORTS !!!
.
สัปดาห์นี้ นับเป็นสัปดาห์ที่ 33 ประจำปี 2566 โดยเป็นสัปดาห์ ที่มีเวลาในการทำงานเพียง 4 วันเท่านั้น เนื่องจากมีวันหยุดราชการ ดังนั้น จึงน่าจะยังเป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ ที่แสนวุ่นวายของใครหลายคน !!!
.
โดยในสัปดาห์นี้ ยังคงมีข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่างๆมากมายที่เกิดขึ้น รอบตัวพวกเราทุกคนในแวดวงนำเข้า-ส่งออก ทั้งภาพรวมของทิศทางค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ รวมถึง ภาพรวมของการจองเรือ หรือบุ๊คกิ้งพื้นที่สเปชเรือสำหรับงานใหม่
.
ที่ดูเหมือนว่า นับวัน หลายเส้นทางจะยิ่งจองเรือยากขึ้นทุกที เนื่องจากปัจจัยต่างๆในห่วงโซ่ของการขนส่งสินค้าและวงจรห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้น เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ตามพวกเรา มาไล่เรียงกันทีละประเด็น ทีละหัวข้อกันตามลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลย !!!
.
=========================
ZUPPORTS ช่วยผู้นำเข้าส่งออก หา Space
เปรียบเทียบราคาและบริการ Freight ทั้งทางทะเล ทางอากาศ ทางบก และทางรถไฟ
ด้วยพันธมิตรผู้ให้บริการขนส่ง มากกว่า 30 บริษัท
ลงทะเบียนทดลองใช้งานได้ที่ zupports.co/register
=========================
1) สถานการณ์ในการจองพื้นที่ระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หลายเส้นทาง ยังต้องพึ่ง Service Contract ที่แข็งแกร่ง !!!
.
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายเส้นทางอยู่ในภาวะที่จองเรือยาก หรือต้องจองเรือล่วงหน้าค่อนข้างนานกว่าปกติ โดยในบางเส้นทางขนส่ง อาจต้องทำการจองเรือล่วงหน้าอย่างน้อย 3- 5 สัปดาห์ ส่งผลให้ เราเริ่มที่จะได้เห็นภาพของผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก
.
รวมถึงบรรดาตัวแทนรับขนส่ง จำนวนไม่น้อย ต่างการหาพื้นที่ระวาง หรือ หา Space หากแต่ ผู้ประกอบการหลายราย ยังคงติดเงื่อนไขในเรื่องของราคาค่าระวางขนส่ง เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนมาก มีระดับบาร์มาตรฐานของราคาในใจ
.
รวมไปถึง ผู้ประกอบการรับขนส่งจำนวนไม่น้อย ที่มีของหรือมีงานในมือ แต่กลับ ไม่สามารถทำการจองเรือได้ เนื่องจากติดในเรื่องของค่าระวางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าราคาขายล่วงหน้า รวมถึง ไม่สามารถช่วงชิงพื้นที่ระวาง หรือ Space มาได้ !!!
.
ดังนั้น นี่จึงเป็นช่วงเวลาที่ถือว่าค่อนข้างยากสำหรับตัวผู้ประกอบการเอง รวมถึงผู้ให้บริการรับขนส่ง ที่ยังคงต้องการของหรืองานมาเติมเรือ !!!
.
ภาพรวมของ Booking Confirmation ยืนยันการจองเรือที่ปล่อยออกมาในช่วงนี้ ส่วนใหญ่ จะยังคงเป็นการจองเรือภายใต้ Service Contract ในกลุ่ม NAC/ Bullet ต่างๆ หากแต่ ดูเหมือนแม้แต่พวก Service Contract เองก็เริ่มมีการแบ่งเกรด ตามความ Premium
.
ในบางสายการเดินเรือ เริ่มที่จะเลือกหยิบเอางานที่จองภายใต้ Service Contract ที่ราคาสูงที่สุดก่อน จากนั้น จึงเลือกหยิบงานที่จองภายใต้ Service Contract ระดับรองลงมา ตามด้วยงานที่จองเรือภายใต้การทำสัญญาราคาระยะสั้น SPOT Rate / Weekly/ Monthly Rate
.
*******
2) สถานการณ์ในการจัดหาและการหมุนเวียนของตู้สินค้า ความสมดุลของตู้สินค้าทั่วโลก ยังขาดๆเกินๆ !!!
.
ภาพรวมของการจัดหา และการหมุนเวียนตู้สินค้าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะยังไม่อยู่ในภาวะเข้าที่เข้าทางสักเท่าไรนัก ในหลายพื้นที่ทั่วโลก ยังคงอยู่ในจุดที่ไม่มีความสมดุลกันเลย มีแต่ขาดๆ เกินๆ !!!
.
โดยหลายพื้นที่ ในหลายภูมิภาคยังคงอยู่ในภาวะขาดแคลน และฝืดเคืองอย่างมาก โดยเฉพาะตามเมือง หรือพื้นที่ตอนกลางของแต่ละภูมิภาค หรือ ตามท่าแห้ง ICD, Dry port, IPI ที่ไม่ใช่ศูนย์กลางการกระจายสินค้าหลัก อย่างในตอนกลางของภูมิภาคยุโรป รวมถึงตอนกลางของภูมิภาคอเมริกาเหนือ และในภูมิภาคเอเชีย
.
ส่งผลให้ ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ไม่สามารถส่งออกได้ เนื่องจากต้องรอสายการเดินเรือ หรือผู้ให้บริการรับขนส่งในการจัดหาตู้สินค้าเปล่าสำหรับงานส่งออก !!!
.
รวมถึง ผู้ประกอบการ ที่อยู่ในพื้นที่ขาดแคลน ต้องทำการรับตู้เปล่าจากเมืองท่าหรือตามลานตู้หรือศูนย์กระจายสินค้าที่อยู่ไกลห่างออกไป ส่งผลให้ต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น !!!
.
ขณะที่ในไทยบ้านเราเอง ภาพรวมส่วนใหญ่ยังคงถือว่า อยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดูดีกว่าที่หลายคนคาดหรือกังวลในช่วงก่อนหน้านี้ หลายสายการเดินเรือ ยังคงสามารถทำการหมุนเวียนและจัดหาตู้สินค้าสำหรับงานขนส่งขาออก ให้กับผู้ประกอบการที่ยังพอจะมีงาน มีของในมือ
.
ในขณะที่ หลายสายกการเดินเรือ โดยเฉพาะสายการเดินเรือใหญ่ เริ่มที่จะออกอาการให้เห็นมากขึ้น ทั้งเรื่องของความสมดุลระหว่างจำนวนตู้เปล่าที่มีกับจำนวนบุ๊คกิ้งยืนยันการจองเรือที่ปล่อยออกมา !!!
.
หากแต่ หลายคนเริ่มที่จะเห็นสัญญาณบางอย่าง ซี่งอาจเป็นปัจจัยในการเข้าสู่ภาวะขาดแคลนตู้สินค้าในอนาคตอันใกล้ นั่นคือ การที่ผู้ประกอบการต้องเจอกับปัญหาการเสียเวลาในการรอรับตู้เปล่าที่นานขึ้น
.
รวมถึงสภาพของตู้สินค้าที่มีให้บริการ ซึ่งเริ่มที่จะหาในสภาพ A Grade และ Food Grade ยากมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงที่ก่อนวันหยุดยาว หรือช่วงหน้าเทศกาลสำคัญ
.
ทั้งนี้ ก็เนื่องจากจำนวนงานขาเข้าที่มาจากต่างประเทศ อยู่ในภาวะหดตัวลดลงตามภาพรวมภาวะทางเศรษฐกิจ ประกอบกับจำนวนรอบเรือที่มีจำกัดอย่างมากในปัจจุบัน ส่งผลให้วงจรการหมุนเวียนของตู้สินค้าถูกตัดขาดหรือมีอันสะดุด
.
จึงไม่แปลก ที่มีจำนวนสายการเดินเรือ ที่เริ่มประสบกับภาวะหมุนเวียนตู้สินค้าไม่ทัน เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในแต่ละสัปดาห์ ดังนั้น ผู้ประกอบการอาจต้องมีการวางแผนรับมือในอนาคต !!!
.
*******
3) สถานการณ์ความเสถียรของตารางเดินเรือ หลายเส้นทางหลักยังไม่ปกติ ส่วนหนึ่งมาจากการปรับปรุงตารางเรือ !!!
.
ทางด้านภาพรวมของตารางเดินเรือในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ในหลายเส้นทางหลัก ยังคงอยู่ในภาวะที่ไม่มีความนิ่ง และไม่มีความแน่นอน !!!
ทั้งนี้ หลายสายการเดินเรือยังคงอยู่ในช่วงปรับปรุง หรือปรับเปลี่ยนตารางเดินเรือในหลายเส้นทาง โดยส่วนใหญ่ จะเป็นการเพิ่มจำนวนท่าเรือที่ต้องเข้าเทียบท่าจากเที่ยวเรือปกติ ทั้งในรูปแบบที่เป็นการเพิ่มเฉพาะหน้า หรือ Ad Hoc และในรูปแบบปรับแก้แบบ Long Term Schedule !!!
.
โดยเส้นทางส่วนใหญ่ที่มีการปรับแก้ตารางเดินเรือ จะเป็นในเส้นทางขนส่งไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ รวมถึงในเส้นทางไปยังในเส้นทางอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
.
ทางด้านภาพของการประกาศตารางเรือว่าง ยกเลิกเที่ยวเรือ หรือ Blank Sailing ยังคงอยู่ในสภาวะทรงตัว เนื่องจากเที่ยวเรือที่ให้บริการในท้องน้ำ อยู่ในภาวะที่ตึงอย่างมาก โดยที่ในบางเส้นทางขนส่ง เหลือรอบเรือให้บริการเพียง 1 เที่ยวเรือต่อ 3สัปดาห์เท่านั้น
.
โดยในช่วงตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 33 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 37 หรือในช่วง 5 สัปดาห์นับจากนี้ ทุกสายการเดินเรือ มีการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing ในเส้นทางการขนส่งหลัก รวมกันอย่างน้อย 32 เที่ยวเรือ หรือคิดเป็น ร้อยละ 5 จากจำนวนทั้งหมด 665 เที่ยวเรือ !!!
.
โดยในเส้นทางที่ถูกยกเลิกรอบเรือมากที่สุด จะยังคงเป็นในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในรอบเรือ Transpacific Eastbound ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50 !!!
.
ตามด้วย เส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคยุโรปไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในรอบเรือ Transatlantic Westbound คิดเป็นร้อยละ 31 และในเส้นทางการขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ และยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- North Europe/ MED ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 19 !!!
.
**************
4) สถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หลายเส้นทางยังอยู่ฝั่งบวก แต่บางเส้นทาง ราคาต่ำเรี่ยดิน !!!
.
ด้านสถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หรือ Sea Freight Rate หลายเส้นทางหลัก ยังคงอยู่ในทิศทางปรับบวกแทบทั้งสิ้น หากแต่ ค่าระวางในแต่ละเส้นทาง อาจมีการปรับขึ้นด้วยความแรงที่ไม่เท่ากัน หรือช่วงของราคาแตกต่างกันไป
.
โดยดัชนีค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือในในช่วงสัปดาห์นี้ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในลักษณะที่ไม่แรงมากนัก โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบจากสัปดาห์ก่อน มาปิดอยู่ที่ USD 1,790.60 per 40’GP และเป็นการปรับตัวลดลงคิดเป็น ร้อยละ 72.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
.
ทั้งนี้ ค่าระวางที่มีการปรับตัวขึ้น ยังคงเป็นในส่วนของเส้นทางขนส่งหลัก อย่าง เส้นทางขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ Asia- North America ทั้งงานที่ไปยังฝั่ง East Coast และในฝั่ง West Coast
.
รวมไปถึง ในเส้นทางขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ และยุโรปตอนล่าง หรือ Asia- North Europe/ Asia -Mediterranean หรือแม้แต่ ในเส้นทางที่ขนส่งจากภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกกลาง ไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ Indian Subcontinent and Middle East – North America
.
ขณะเดียวกัน ค่าระวางขนส่งในอีกหลายเส้นทาง ยังคงทรงตัวอยู่ในเพดานที่สูงกว่าภาวะปกติ หากแต่เริ่มที่จะอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างทรงตัว อย่าง ในเส้นทางขนส่ง จากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกกลาง หรือ Asia- Indian Subcontinent and Middle East Trade
.
และในเส้นทางขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาใต้ หรือ Asia- Latin America ทั้งนี้ ก็เนื่องจากอุปสงค์หรือความต้องการในภาคขนส่งไปยังภูมิภาคดังกล่าว เริ่มที่จะทรงตัว
.
ขณะที่ ยังคงมีในบางเส้นทาง ที่ค่าระวางขนส่งยังคงอยู่ในจุดที่ค่อนข้างต่ำ จนเกือบจะกลับไปเท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือในบางเส้นทางราคาอาจเทียบเท่า หรือต่ำกว่าช่วงโควิด-19 ไปแล้ว
.
อย่างค่าระวางในเส้นทางภายในภูมิภาคเอเชีย หรือ Intra -Asia Trade โดยเฉพาะ ในเส้นทางขนส่งระหว่างท่าเรือหลักของประเทศเวียดนามและประเทศจีน !!!
.
==================
สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากเช็คแนวโน้มราคาเฟรท ทางทะเล ย้อนหลัง 3 เดือน แยกไปแต่ละเส้นทางขนส่ง ก็สามารถ ลองเข้าไปเช็คกันได้เลยที่ https://zupports.co/our-services/
.
หรือหากอยากดูราคาเฟรท ในเดือนล่าสุด ก็ลงทะเบียน แบบ premium กันได้เลยที่ https://zupports.co/register/
==================
.
************
5) ด้านสถานการณ์ความหนาแน่นของท่าเรือหลักทั่วโลก ปัญหาจากภัยธรรมชาติ ยังคงกวนใจการทำงานของหลายท่าเรือ !!!
.
ปิดท้ายกันที่ สถานการณ์ของท่าเรือหลักต่างๆทั่วโลก ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายท่าเรือเริ่มกลับสู่ภาวะที่ผ่อนคลายลง จากหลายปัจจัย ขณะที่อีกหลายท่าเรือ ยังคงอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างตึงมือ และหนาแน่น จากสาเหตุเรื่องของภัยทางธรรมชาติ รวมถึงจากสาเหตุด้านการบริหารจัดการและปัญหาคอขวด !!!
.
ภาพรวมของท่าเรือหลักในภูมิภาคอเมริกาเหนือ กลับมาทรงตัวและผ่อนคลายอีกครั้งทั้งในฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก หลังมติร่วมของสหภาพแรงงานท่าเรือฝั่งตะวันตก โหวตยอมรับข้อเสนอสัญญาจ้างแรงงานฉบับใหม่ ส่งผลให้จำนวนเรือสินค้าที่รอเทียบและจำนวนวันที่รอเทียบท่าในแต่ละท่าเรือปรับลดลง
.
จะมีเพียงท่าเรือหลัก อย่าง USHOUS ที่ยังถือว่าตึงมือ โดยระยะเวลาที่รอเข้าเทียบท่าอยู่ที่ประมาณ 2- 5 วัน รวมถึง งานในส่วนที่ต้องทำการขนส่งต่อเนื่องไปยังเมืองที่เป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้า และชุมทางหลัก อย่าง Detroit, Dallas, Chicago, Memphis ต้องรอต่อขึ้นอย่างน้อย 5 -10 วัน !!!
.
ขณะที่สถานการณ์ท่าเรือหลักของประเทศแคนาดา ท่าเรือในฝั่งตะวันตกกลับมาปฏิบัติงานเต็มรูปแบบอีกครั้ง ในสภาวะที่ลดความตึงเครียด ส่งผลให้สามารถลดจำนวนเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบได้เร็วกว่าที่คาดไว้ หากแต่ ยังติดขัดในการระบายและลำเลียงสินค้าทางราง เนื่องจากปัญหาคอขวดสะสม ส่งผลให้เกิดความล่าช้าอย่างน้อย 4 -5 สัปดาห์ !!!
.
ด้านกลุ่มท่าเรือหลักในภูมิภาคยุโรป สามประตูหลัก อย่าง NLRTM, BEANR, DEHAM ยังคงภาวะทรงตัว หากแต่ เริ่มเห็นสัญญาณความหนาแน่นที่จะเกิดขึ้น จากสถานการณ์คลื่นความร้อนและภัยธรรมชาติ ส่งผลให้หลายท่าเรือขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากต้องมีการสลับทีม รวมถึง ปัญหาแม่น้ำที่ใช้ในการลำเลียงตู้สินค้าอยู่ในภาวะตื้นเขิน ส่งผลให้ตู้สินค้าสะสม !!!
.
ทางด้านสถานการณ์ท่าเรือหลักในเอเชีย หลายท่าเรือหลักในประเทศจีน อย่าง CNXMN, CNNGB กลับมาอยู่ในภาวะตึงมือ เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติงานได้ในช่วงหน้าฤดูซึ่งต้องรับมือกับพายุไต้ฝุ่น ส่งผลให้มีจำนวนเรือที่รอเทียบท่าและจำนวนตู้สินค้าสะสม เกิดความล่าช้าอย่างน้อย 2 -4 วัน
.
ขณะที่ท่าเรือหลัก อย่าง CNSHA ได้รับผลกระทบทางอ้อม เนื่องจากต้องรับมือกับสินค้าที่กระฉอกมาจากท่าเรืออื่น รวมถึงกลุ่มท่าเรือหลักของไต้หวัน อย่าง TWKEE, TWTPE,
.
ทางด้านภาพรวมของกลุ่มท่าเรือซึ่งเป็นจุดถ่ายลำหลัก SGSIN, MYPKG, HKHKG ยังคงอยู่ในภาวะทรงตัว คงที่ไม่ต่างจากสัปดาห์ก่อนมากนัก โดยมีจำนวนตู้สินค้าที่ค่อนข้างตึงมือ รวมถึง จำนวนเรือที่รอเข้าเทียบยังคงอยู่ในภาวะสะสมค่อนข้างมาก
.
****************
6) ความเคลื่อนไหวที่เราต้องติดตามในรอบสัปดาห์ ติดตามดูกันที่ ภาวะความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ที่มีผลต่อการขนส่งสินค้า !!!
.
ด้านสถานการณ์ หรือเรื่องที่เราต้องติดตามกันในรอบสัปดาห์ จะอยู่กันที่เรื่องเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ หรือสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของโลก ซึ่งล้วนแล้วส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและการขนส่ง
.
ด้วยสภาวะบางสิ่ง บางอย่างของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ซึ่งใครจะนึกว่ามันจะส่งผลกระทบทางตรงต่อการทำงานของพวกเราในแวดวงนำเข้า-ส่งออก โดย สถานการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นในหลายภูมิภาค อย่าง ปรากฎการณ์เอลนีโญ !!!
.
ที่ส่งผลให้เกิด คลื่นความร้อน ตามมาด้วยภาวะภัยแล้งในหลายพื้นที่ อย่างเช่น ในภูมิภาคอเมริกากลาง ซึ่งส่งผลให้คลองปานามา ซึ่งมีความสำคัญเป็นทางเชื่อมในการขนส่งสินค้า ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก อยู่ในภาวะแห้งขอด !!!
.
จนผู้ให้บริการคลองปานามา ต้องทำการจำกัดจำนวนเรือสินค้าที่จะผ่านข้ามคลองในแต่ละวัน ซึ่งจากเดิม อยู่ที่วันละ 38 -40 ลำ เหลือเพียงวันละ 30- 32 ลำเท่านั้น ซึ่ง เท่ากับว่าต้องลดจำนวนเรือในการผ่านคลองลงถึง ร้อยละ 20 ต่อวัน
.
แน่นอนว่า ผลที่จะตามมาคือ การสะสมของเรือสินค้าที่รอผ่านคลอง รวมถึง การชะลอตัวหรือระยะเวลาในการขนส่ง ที่จะยืดยาวนานขึ้นกว่าปกติ และสุดท้าย จะส่งผลต่อภาพรวมของวงจรห่วงโซ๋อุปทาน หรือ Supply Chain
.
รวมถึง ภาวะคลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานในภาคขนส่ง อย่างในภูมิภาคยุโรป หลายท่าเรือต้องมีการเตรียมการวางแผนเรื่องของกำลังคนและเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ในลักษณะที่มีการสลับกันเป็นทีม
.
ซึ่งเป็นผลให้ขีดความสามารถในการปฏิบัติงานในท่าเรือลดลง และเป็นผลให้มีการสะสมของตู้สินค้าในท่าเรือ ซึ่งสิ่งที่จะตามมา คือปัญหาความล่าช้าในการลำเลียงและขนส่งสินค้าจากท่าเรือ !!!
.
ดังนั้น สิ่งที่พวกเราทุกคนต้องรับมือ นั่นคือ การปรับตัวในเรื่องของการวางแผนงาน ในภาคการขนส่งที่รัดกุมยิ่งขึ้น รวมถึง การมองหาเครื่องมือในการบริหารจัดการด้านสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะอยู่รอดในการแข่งขันทางธุรกิจที่เข้มข้นขึ้นในปัจจุบัน !!!
.
ทั้งหมดที่เล่ามา คือการสรุปภาพรวมของสถานการณ์ ทิศทางการนำเข้า-ส่งออก ในภาคการขนส่งสินค้าทางเรือประจำสัปดาห์ ซึ่งหวังว่า จะเป็นเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้ติดตามทุกท่าน ในการบริหารจัดการงานขนส่งสินค้าระหว่างในรอบสัปดาห์
.
สัปดาห์นี้ขอลาไปก่อน ขอบุญรักษาทุกท่าน สวัสดีครับ
.
CR : PIC by Kees Torn
.
=========================
ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ นำเข้า ส่งออก
เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk
=========================
แนะนำบริการ Logistics Butler by ZUPPORTS
ระบบ Line Official Account ที่เพื่อนๆ สามารถ Chat ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ และการนำเข้าส่งออก โดยตรงกับ Shipping Man และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์
เหมือนมี พี่ๆ ที่ทำงาน / ที่ปรึกษาส่วนตัว นั่งข้าง ๆ โต๊ะคุณ!!
.
พร้อมรับสิทธิพิเศษ!
- Freight Monthly Report รายงานอัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศ ทุกเดือน
- แจ้งข่าว อบรม/Webinar ดีๆ สำรองที่นั่ง ก่อนใครเพื่อน
- รับส่วนลด 20% สำหรับคอร์สฝึกอบรมออนไลน์ แบบสด สำหรับสมาชิก Logistics Butler
(ตัวอย่าง Course อบรม ได้แก่ DG Cargo, Reefer, พิกัด, พิธีการศุลกากรประเภทต่างๆ บรรยาย โดยวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ ในสายวิชาชีพนั้นๆ ประสบการณ์ 10 ปี ++)
- จองเวลาปรึกษา Online meeting แบบ one-on-one เพิ่มเติมได้ (มีค่าบริการเพิ่มเติม)
เหมือนมีห้องสมุดส่วนตัว รวบรวมข้อมูล ความรู้ให้คุณ ถึงหน้าจอมือถือ
.
สนใจลงทะเบียนได้เลยที่
(ติดต่อสอบถาม รายละเอียด เพิ่มเติมใน inbox ได้เลยจ้า)