[Freight Weekly] : อัพเดตสถานการณ์ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประจำวันที่ 28 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม กับ ZUPPORTS !!!
สัปดาห์แห่งการนับถอยหลัง 5 สัปดาห์สุดท้ายก่อนสิ้นปี 2565 !!!
.
กลับมาพบกันเหมือนเช่นเคยในทุกเช้าวันจันทร์ กับการรายงานข่าวสาร สถานการณ์ รวมถึงความเคลื่อนไหวต่างๆ ในแวดวงการนำเข้า-ส่งออก ในภาคการขนส่งสินค้าทางเรือตามแบบฉบับของพวกเราชาว ZUPPORTS !!!
.
สัปดาห์นี้ เป็นการเข้าสู่สัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่เดือนสุดท้ายของปี 2565 ซึ่งเท่ากับว่า พวกเราเหลือเวลาในการทำงานอีกเพียงแค่ 5 สัปดาห์เท่านั้นก็จะก้าวเข้าสู่ปี 2566 !!!
.
ซึ่งเป็นปีที่หลายคนหวาดหวั่นและคาดกันว่า เป็นจะเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับคนในแวดวงการนำเข้าส่งออก ขณะที่มีผู้ประกอบการรวมถึงคนในวงการนำเข้า-ส่งออกอีกไม่น้อย กลับมองว่าในทุกสถานการณ์ที่มีวิกฤติ มักจะมีคำว่าโอกาสเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอ
.
ขอแค่เตรียมพร้อมตั้งรับให้แน่น เพื่อรอเวลาและหาจังหวะในการรุกตลาดต่อ โดยนำเอาบทเรียนในช่วง สามปีที่ผ่านมา ช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 มาปรับใช้กับสถานการณ์ ซึ่งพวกเราเชื่อว่า สุดท้ายแล้วพวกเราทุกคนในวงการนำเข้า-ส่งออก จะผ่านปีที่ว่ายากลำบากด้วยกันอีกครั้ง เหมือนที่เราเคยผ่านวิกฤติตู้สินค้าขาดแคลนและเรือล้นท่าเรือร่วมร้อยลำในอเมริกามาแล้ว !!!
.
เมื่อถึงเวลาพร้อมกันแล้ว ตามพวกเราชาว ZUPPORTS มาไล่เรียงกันทีละประเด็นกันเลย !!!
.
=========================
ZUPPORTS ควบคุมต้นทุนขนส่งผ่านระบบเปรียบเทียบราคาเฟรทออนไลน์
สนใจลงทะเบียนทดลองใช้งานฟรี ที่ www.ZUPPORTS.co/register
=========================
1) สถานการณ์ในการจองพื้นที่ระวางขนส่งสินค้าทางเรือหรือการบุ๊คกิ้ง หลายเส้นทางไม่ต้องรีบ แต่บางเส้นทางต้องจองล่วงร่วมเดือน !!!
.
เปิดประเด็นเริ่มต้นกันที่สถานการณ์ในการจองพื้นที่ระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หรือการบุ๊คกิ้งจองงานใหม่ หลายเส้นทางเข้าสู่ภาวะที่ค่อนข้างแน่น จองลำบาก ขณะที่หลายเส้นทางการขนส่งจะยังคงสามารถทำการจองได้ไร้ปัญหา แต่ไม่มีรอบเรือในการบริการให้เลือกมากนัก
.
ภาพรวมการจองเรือในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายเส้นทางยังคงสามารถทำการจองไม่ยากเย็น ปลอดโปร่ง ทั้งนี้เนื่องจากอุปสงค์หรือความต้องการในภาคขนส่งยังคงอ่อนตัว จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะถดถอย ภูมิภาคที่เป็นตลาดหลัก อย่าง ภูมิภาคยุโรปและภูมิภาคอเมริกาเหนือยังคงซบเซา
.
ส่งผลให้กำลังการขนส่งจากประเทศจีน ซึ่งเป็นฐานหลักของตลาดหายไป อย่างในเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ Asia- North America Trade ทั้งในเที่ยวเรือที่ฝั่ง East Coast และฝั่ง West Coast รวมไปถึงในเส้นทางขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรป หรือ Asia-Europe Trade
.
ขณะเดียวกันหลายเส้นทางการขนส่ง การจองพื้นที่ระวางขนส่งทางเรือสำหรับงานใหม่ เริ่มที่จะทำได้ยากขึ้น จากปัจจัยพื้นที่ระวางขนส่งมีจำกัด เนื่องจากการปล่อยรอบเรือว่าง หรือ Blank Sailing
.
ดังนั้น การจองเรือล่วงหน้าเสียแต่เนิ่นๆ ยังคงเป็นเรื่องที่จำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องตระหนัก เนื่องจากรอบเรือที่ให้บริการในปัจจุบันอยู่ในภาวะที่จัดว่าไม่ปกติและหุบเหลือน้อยลงทุกสัปดาห์ ซึ่งแน่นอนว่าปัญหาหลักที่จะตามมาก็คือ พื้นที่ระวางเหลือน้อยลงตามไปด้วย !!!
.
*******
2) สถานการณ์การจัดหาและหมุนเวียนตู้สินค้า งานขาออกไม่มีปัญหา แต่งานฝั่งขาเข้าน่าจะเหนื่อยหน่อย !!!
.
ทางด้านสถานการณ์ในการจัดหาและการหมุนเวียนของตู้สินค้า หลายภูมิภาคยังคงคล่องตัว ไร้ซึ่งปัญหา ในขณะที่อีกหลายภูมิภาคเริ่มเข้าสู่การขาดแคลนที่รุนแรงขึ้น
.
ภาพรวมการจัดหาและการหมุนเวียนของตู้สินค้าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายภูมิภาคที่เป็นฐานการผลิตหลัก หลายสายการเดินเรือยังคงสามารถจัดหาและทำการหมุนเวียนให้กับผู้ส่งออกได้คล่องตัว มีตู้สินค้าหล่อเลี้ยง ไม่ขาดช่วง อย่างในภูมิภาคเอเชีย ที่เป็นฐานการผลิตหลักของโลก
.
ในขณะที่อีกหลายภูมิภาค กลับประสบกับปัญหาการขาดแคลนรุนแรงและหนักหน่วงขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากภาวะที่ความถี่ของรอบเรือที่ให้บริการขาดช่วง และหุบน้อยลง จากการประกาศตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing รวมถึงสาเหตุจากภาวะทางเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่การถดถอย ส่งผลให้การขนส่งลดน้อยลง จนเป็นเหตุให้การหมุนเวียนของตู้สินค้ามีการสะดุด
.
อย่างในพื้นที่หรือเมืองที่อยู่ตามแนวลึกของภูมิภาคต่างๆ รวมถึงท่าแห้ง ICD และ IPI ที่กำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้า เนื่องจากปัญหาคอขวดและการขาดแคลนแรงงานหรืออุปกรณ์ในภาคการขนส่ง อย่าง ในภูมิภาคยุโรปและภูมิภาคอเมริกาเหนือ รวมไปถึงภูมิภาคเอเชียใต้
.
ในส่วนของประเทศไทยบ้านเรา ภาพรวมยังไม่มีเรื่องให้น่ากังวลในด้านการจัดหาตู้สินค้า เกือบทุกสายการเดินเรือยังคงมีกองตู้สินค้าหล่อเลี้ยงอย่างเหลือเฟือ อาจมีบ้างที่บางสายการเดินเรือประสบกับปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าในบางประเภท เนื่องจากงานขนส่งที่น้อยลงส่งผลให้การหมุนเวียนของตู้ในบางประเภทลดต่ำลงตามไปด้วย
.
ในขณะที่ฝั่งที่เป็นงานขานำเข้าจากต่างประเทศ อาจไม่สดใสเท่าไร สถานการณ์ที่ผู้ประกอบการรวมถึงคนที่เป็นฝั่งผู้นำเข้าต้องรับมือ นั่นคือ การที่ผู้ส่งออกที่ต้นทาง ไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้เนื่องจากขาดแคลนตู้สินค้า
.
โดยเฉพาะงานที่นำเข้าสินค้ามาจากเมืองหรือพื้นที่ตามแนวลึกของภูมิภาคยุโรปและภูมิภาคอเมริกาเหนือ ดังนั้น สิ่งที่ต้องระวังคือ การวางแผนและบริหารจัดการคลังสินค้าสำหรับการเติมหน้าร้าน รวมไปถึงการบริหารวัตถุดิบสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งหากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี นั่นจะเป็นการเสียโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งน่าเสียดาย !!!
.
*******
3) ด้านสถานการณ์ความนิ่งของตารางเดินเรือและระยะเวลาในการขนส่ง เตรียมรับมือกับคลื่นยักษ์ในร๔ปแบบของการ Blank Sailing !!!
.
ด้านสถานการณ์ของตารางเดินเรือและระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งทางเรือ ทั่วโลกยังต้องรับมือกับความผันผวนของตารางเดินเรือเกืออบจะในทุกเส้นทางการขนส่ง จากการการปล่อยตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing และการข้ามไม่เข้าบางท่าเรือ หรือ OMIT/SKIP Call
.
ภาพรวมในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงในช่วงเวลานับจากนี้ สิ่งที่เรายังคงต้องรับมือและต้องปรับตัวตามให้ทัน นั่นคือการที่ตารางเดินเรือไม่มีความเสถียร บิดเบี้ยวจากภาวะปกติอย่างมาก โดย เกิดจากภาวะที่เรือสินค้ามีการข้ามหรือไม่เข้าบางท่าเรือตามตารางเรือ หรือ OMIT/SKIP Call รวมถึงการปล่อยตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing !!!
.
โดยในช่วงสัปดาห์ที่ 48 ถึงสัปดาห์ที่ 52 ในเส้นทางหลักๆ อย่าง เส้นทางขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ Asia- North America Transpacific ,เส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคยุโรปไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ Europe – North Europe Transatlantic
.
และเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคยุโรป หรือ Asia- Europe ทุกสายการเดินเรือ มีการประกาศตารางเรือว่างไปแล้วทั้งสิ้น ประมาณ 105 เที่ยวเรือ หรือคิดเป็น ร้อยละ 14 จากจำนวนรอบเรือที่ให้บริการทั้งหมด 725 เที่ยวเรือ
.
ซึ่งเมื่อลองมองแบบเจาะลึกลงไป จะพบว่า เส้นทางที่มีการประกาศตารางเรือว่างมากที่สุด ยังคงเป็นเส้นทางขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ หรือ Asia- North America Transpacific โดยคิดเป็นสัดส่วนถึง ร้อยละ 60 จากจำนวนรอบเรือที่หายไปทั้งหมด
.
ทั้งนี้ก็เนื่องจากปัจจัยทางการเศรษฐกิจโลก ทำให้กำลังความต้องการในภาคการขนส่งจากภูมิภาคเอเชีย ยังคงอยู่ในภาวะซบเซา อุปทานยังคงมีมากกว่าอุปสงค์
.
ส่งผลให้สายการเดินเรือหรือตัวแทนรับขนส่งต่างๆ จึงจำเป็นต้องดำเนินกลยุทธิ์ ทำการลดอุปทานหรือพื้นที่ระวางในการขนส่ง
เพื่อปรับสมดุลให้เหมาะสมกับความต้องการ โดยการปล่อยตารางเรือว่างเพิ่มขึ้น รวมถึงการยุบหรือรวบเส้นทางการขนส่งที่ให้บริการใกล้เคียงกัน
.
**************
4) ด้านสถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ อีกไม่นานจะได้เห็นความลึกของท้องน้ำ !!!
.
ในด้านสถานการณ์ของค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือหรือค่าเฟรท หลายเส้นทางการขนส่งราคาในรูปแบบ SPOT Rate ยังเป็นทิศทางขาลง ขณะที่มีอีกหลายเส้นทางยังคงไต่ระดับวิ่งสวนทางกับดัชนีโลก !!!
.
ดัชนีค่าระวางขนส่งทางเรือในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังคงปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 39 โดยเป็นการปรับตัวลดลง ร้อยละ 7 จากสัปดาห์ที่แล้ว ดัชนีราคามาปิดอยู่ที่ USD 2,404 per 40’GP ซึ่งเป็นการปรับตัวลงคิดเป็น ร้อยละ 74 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
.
โดยเส้นทางการขนส่งที่ราคาค่าระวางปรับตัวลงแรงที่สุด ยังคงเป็นเส้นทางการขนส่งออกจากประเทศจีนไปยังภูมิภาคต่างๆ อย่างเช่น เส้นทางขนส่งจากประเทศจีนไปยังภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ หรือ China- North Europe Lane โดยปรับตัวลดลง ร้อยละ 18 จากสัปดาห์ก่อน มาปิดอยู่ที่ USD 2,192 per 40’GP
.
และเส้นทางการขนส่งจากประเทศจีน ไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือฝั่งตะวันตก หรือ China- North America Westcoast Lane โดยเป็นการปรับตัวลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน มาปิดอยู่ที่ USD 2,069 per 40’GP
.
ทั้งนี้ก็เนื่องจากปัจจัยหลักด้านเศรษฐกิจในสองภูมิภาคหลักๆที่ยังอ่อนตัว ส่งผลให้อุปสงค์หรือความต้องการในภาคขนส่งจากประเทศจีนหดหายไปอย่างมาก
.
หากแต่ราคาค่าระวางในหลายเส้นทางการขนส่ง เริ่มอยู่ในภาวะที่ทรงตัวหรือคงที่ อย่างในเส้นทางขนส่งภายในภูมิภาคเอเชีย หรือ Intra-Asia ซึ่งราคาส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะการ Maintain ไปจนถึงสิ้นปีนี้
.
ในขณะที่อีกหลายเส้นทางการขนส่ง ราคาค่าระวางยังคงอยู่ในทิศทางที่สวนทางกับดัชนีราคา คือมีภาวะปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างในเส้นทางการขนส่งระหว่างภูมิภาคยุโรปกับภูมิภาคอเมริกาเหนือ ทั้งเที่ยว Eastbound และเที่ยว Westbound
.
รวมไปถึงเส้นทางการขนส่งจากภูมิภาคเอเชียไปยังภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกกลาง หรือ Asia-Indian Subcontinent & Middle East Trade ที่ราคาค่าระวางมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอุปสงค์หรือความต้องการในภาคขนส่งสินค้าไปยังภูมิภาคเหล่านี้ ยังคงมีมากกว่าอุปทานหรือพื้นที่ระวางในตลาด
.
ดังนั้นหลายคนจึงมองว่า เราใกล้จะได้เห็นจุดที่ลึกที่สุดของท้องน้ำแล้ว ???
.
************
5) ด้านสถานการณ์ความหนาแน่นของท่าเรือหลักทั่วโลก หลายท่าเรือเริ่มเคลียร์ตัวเองได้ แต่สุดท้ายยังติดปัญหาคอขวด !!!
.
สุดท้าย ประเด็นด้านสถานการณ์ความหนาแน่นของท่าเรือหลักต่างๆ หลายท่าเรือยังคงตกอยู่ในภาวะวิกฤติ เนื่องจากปัญหาคอขวด ในขณะที่บางท่าเรือเริ่มเงยหน้าเห็นเดือนเห็นตะวันได้บ้าง แต่ก็ยังไม่พ้นขีดอันตราย !!!
.
ภาพรวมของท่าเรือหลักต่างๆทั่วโลก ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสถานการณ์ที่จัดว่ายากลำบากในการบริหารจัดการ เนื่องจากประสบกับปัญหาคอขวด โดยมีสาเหตุจากการขาดแคลนแรงงานและอุปกรณ์ในภาคขนส่งทั้งทางถนนและทางราง รวมถึงสาเหตุปัจจัยจากการนัดหยุดงานของเหล่าสหภาพแรงงานท่าเรือ ในขณะที่หลายท่าเรือมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในจุดที่ไม่น่าวางใจ
.
ทางด้านภาพรวมของท่าเรือหลักทั้งสองฝั่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ยังคงภาวะทรงตัวและคงที่ โดยสถานการณ์ความหนาแน่นของท่าเรือหลักฝังตะวันตก หรือ USWC เริ่มที่ผ่อนคลายขึ้น ปริมาณเรือที่รอเทียบท่าน้อยลงเกือบเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ยังจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ตึงมือเนื่องจากปัญหาคอขวด ในขณะที่ท่าเรือหลักในด้านตะวันออกหรือ USEC ตกอยู่ในภาวะที่หนาแน่นทั้งปริมาณตู้สินค้าและมีเรือสินค้าที่ล้นมาจากฝั่งตะวันตก ยังคงโหมเข้ามาไม่ขาด
.
อย่างท่าเรือหลักในฝั่งตะวันออก หรือ USEC (USNYC/ USCHS/ USSAV/ USMIA) มีจำนวนเรือรอเทียบท่าและที่เทียบท่ามากกว่า 100 ลำ. โดยเรือสินค้าใช้เวลารอเข้าเทียบ รวมถึงใช้เวลาในการปฏิบัติงานขนถ่ายที่ท่า อยู่ที่ 3-7 วัน. (โดยเฉพาะที่ USSAV มีเรือที่รอเทียบและที่เทียบท่ามากกว่า 40 ลำ โดยเรือใช้เวลารอเข้าเทียบรวมถึงใช้เวลาในการปฏิบัติงานขนถ่ายอยู่ที่ 7-18 วัน).(เฉพาะที่ USNYC มีจำนวนเรือสินค้ารอ มากกว่า 20 ลำ และใช้เวลารอ 3-10 วัน).
.
ทางด้านท่าเรือหลักฝั่งตะวันตก หรือ USWC (USSEA/ USTIW/ USOAK ) ยังคงภาวะทรงตัว โดยมีเรือรอเข้าเทียบและเทียบที่ท่าแล้วประมาณเกือบ 50 ลำ. และใช้เวลารอเข้าเทียบท่ารวมถึงเวลาในการขนถ่ายอยู่ที่ 2-5 วัน (เฉพาะที่ USOAK ใช้เวลารอเทียบประมาณ 12-17 วัน). ในขณะที่ท่าเรือฝั่งอ่าวหรือ Gulf Port MID West อย่าง USHOU ยังคงอยู่ในภาวะหนาแน่น โดยมีจำนวนเรือตู้สินค้าทั้งที่เข้าเทียบแล้วและที่รอเข้าเทียบขนถ่ายประมาณเกือบ 50 ลำ โดยใช้เวลารอเทียบอยู่ที่ 12-18 วัน
.
ส่วนทางด้าน สองท่าเรือหลักของสหรัฐอเมริกา อย่าง (USLAX/ USLGB) เริ่มผ่อนคลายมากขึ้น เนื่องจากสินค้าจำนวนไม่น้อยยังคงถูกย้ายหนีไปขึ้นที่ท่าเรือฝั่งตะวันออก จากความกังวลเรื่องการนัดหยุดงาน หากแต่ก็ยังจัดว่าหนาแน่น โดยมีเรือรอเข้าเทียบท่าอยู่ในรัศมี 25 ไมล์ทะเลประมาณ 40 ลำ และใช้เวลารอเทียบท่าอยู่ที่ 3 -7 วัน และตู้สินค้าที่ต้องขึ้นรางต่อ ใช้เวลารอ 15 -25 วัน
.
ทางด้านสามท่าเรือหลักในภูมิภาคยุโรป อย่าง NLRTM/ DEHAM/ BEANR อยู่ในภาวะที่คงที่เริ่มอยู่ตัว โดยพื้นที่ความจุในท่าเรือถูกใช้จนเกือบเต็มศักยภาพ แต่ยังคงสามารถบริหารจัดการได้ โดยภาพรวมทั้งสามท่าเรือ มีจำนวนเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบท่ารวมกันมากกว่า 800 ลำ ซึ่งแค่เฉพาะที่ NLRTM มีเรือเทียบท่าขนถ่ายแล้วและที่รอเทียบประมาณ 380 ลำ
.
สุดท้าย สถานการณ์ของท่าเรือหลักต่างๆภายในภูมิภาคเอเชีย ในหลายท่าเรือ เริ่มที่จะผ่อนคลายลง สามารถทำการระบายตู้สินค้าและปริมาณเรือได้ดีขึ้น หากแต่โดยรวมยังจัดว่าหนาแน่นและตึงมือ โดยเฉพาะท่าเรือหลักๆในประเทศจีน มีการสะสมของเรือสินค้าและตู้สินค้าบริเวณท่าเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากทางการจีนยังคงมาตรการ ZERO Covid-19 ในหลายเมืองหลัก ส่งผลให้เกิดปัญหาคอขวดในการระบายตู้สินค้าจากเมืองท่าไปยังพื้นที่ปิดล็อค
.
โดยท่าเรือหลักฝั่งตะวันออกของประเทศจีน ยังคงมีเรือสินค้าสะสมรอเทียบท่าเพิ่มขึ้น จากมาตรการในการล็อคดาวน์ในหลายเมืองที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส อย่าง ท่าเรือหลัก CNSHA มีจำนวนเรือสินค้าสะสมที่ท่าและบริเวณโดยรอบ ประมาณเกือบ 5,000 ลำ ส่วนทางด้าน CNNGB สามารถทำการระบายตู้สินค้าและเรือที่รอเทียบได้ดีขึ้น หากแต่ใช้พื้นที่ในเขตท่าเรือเกือบเต็มความจุ สืบเนื่องจากหลายเมืองโดยรอบยังคงภายใต้ล็อคดาวน์เมือง โดยมีเรือสินค้าที่รอเทียบท่าขนถ่าย ประมาณเกือบ 900 ลำ
.
ขณะที่ทางด้านท่าเรือหลักของจีนตอนล่าง อย่าง HKHKG/ CNSHK/ CNYTN อยู่ในภาวะทรงตัว พื้นที่ในเขตท่าเรือค่อนข้างแน่น ติดขัดปัญหาการไหลเวียนของตู้สินค้าและเรือสินค้า อันเนื่องจากการล็อคดาวน์ในบางเขตของเมือง Shenzhen รวมถึง Guangzhou และการจำกัดปริมาณรถขนส่งที่ข้ามพรมแดนระหว่าง Hong Kong กับแผ่นดินใหญ่
.
โดยทั้งสามท่าเรือ มีเรือสินค้ามีเรือสะสมอยู่โดยรอบ มากกว่า 1,000-1,100 ลำ โดยเฉพาะที่ HKHKG มีจำนวนเรือสินค้าอยู่บริเวณท่าและที่รอเทียบท่า ประมาณ 900 ลำ
.
****************
6) ความเคลื่อนไหวที่ต้องติดตามในรอบสัปดาห์ ยังต้องเกาะติดกับทิศทางของค่าระวางขนส่ง หรือ ค่าเฟรท !!!
.
สถานการณ์และความเคลื่อนไหวในรอบสัปดาห์นี้ ที่คนในแวดวงการนำเข้า-ส่งออกยังคงต้องติดตาม จะยังหนีไม่พ้นเรื่องของทิศทางค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือ หรือ ค่าเฟรท ซึ่งในหลายเส้นทางการขนส่งเริ่มจะได้เห็นทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น ทั้งตัวเลขดัชนีกลางและค่าเฟรทในชีวิตจริง
.
ทั้งนี้ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายคนเริ่มได้เห็นค่าระวางขนส่งในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งหลายเส้นทางจะออกมาในลักษณะที่หลายสายการเดินเรือมีการตรึงหรือ Maintain ราคาไปจนถึงสิ้นปีเสียส่วนใหญ่
.
ซึ่งจุดสังเกตหนึ่งที่น่าสนใจคือ การที่หลายสายการเดินเรือ สามารถทำการยืนยันและยืนราคาในระยะยาวในนานขึ้นในหลายเส้นทางขนส่ง ซึ่งต่างจากช่วงก่อนหน้าที่มักทำการปิดราคาทุก 7-14 วันเท่านั้น ซึ่งจุดนี้แสดงให้เห็นว่า ค่าระวางในตลาดเริ่มนิ่งมากขึ้น
.
ขณะเดียวกันอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ ตั้งแต่ช่วงไตรมาสสามเป็นต้นมา ราคาค่าระวางขนส่ง ไม่ได้ปรับตัวลดลงในทุกประเภทของการให้บริการ อย่าง ค่าระวางขนส่งของเรือสินค้าประเภทขนส่งยานพาหนะ หรือ RORO Service รวมถึงค่าระวางขนส่งสินค้าสำหรับตู้สินค้าประเภทควบคุมอุณหภูมิ หรือ Reefer Container
.
ซึ่งในช่วงที่ผ่านมานั้น ค่าระวางขนส่งสินค้าสำหรับตู้สินค้าประเภท Reefer Container ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคาค่าขนส่งตู้สินค้าแบบ Dry Container แทบในทุกเส้นทางขนส่ง และยังคงเป็นตัวที่คอยพยุงและดึงผลประกอบการให้กับผู้รับขนส่ง ทั้งกลุ่มสายการเดินเรือและกลุ่ม NVOCC ในช่วงที่ค่าระวางแบบ SPOT Rate ดิ่งตัวลง
.
ดังนั้น สิ่งที่น่าสนใจและเราต้องติดตามดูกัน จะอยู่ที่ ภาวะทิศทางค่าระวางขนส่งของ ตู้สินค้าประเภท Reefer Container ว่าจะไต่เพดานไปถึงระดับใด และจะเป็นตัวฉุดให้ค่าระวางขนส่งของสินค้าประเภทอื่นๆ วิ่งสูงตามขึ้นไปหรือไม่ ในสภาวะที่พื้นที่ระวางขนส่งบนเรือมีจำกัดเช่นนี้ ???
.
ทั้งหมดที่กล่าวมา คือการสรุปภาพรวมสถานการณ์ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงแนวโน้มและทิศทางในแวดวงการนำเข้า-ส่งออก ในภาคของการขนส่งสินค้าทางเรือของสัปดาห์นี้ ตามแบบฉบับของพวกเราชาว ZUPPORTS พบกันใหม่ในสัปดาห์หน้า
.
สัปดาห์นี้ขอลาไปก่อน ขอบุญรักษาทุกท่าน สวัสดีครับ
.
CR : PIC by H. Zell
.
=========================
ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ นำเข้า ส่งออก เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk
=========================
.
สำหรับเพื่อนๆและผู้ประกอบการ ที่กำลังมองหากุนซือที่ปรึกษาข้างกายในโลกของการขนส่ง
.
วันนี้แอดมินขอแนะนำ บริการเสริมสุดพิเศษสำหรับผู้ประกอบการ ด้วยบริการ “โลจิสติกส์ บริกร” ที่จะคอยเคียงข้างให้คำปรึกษาและตอบทุกคำถาม ที่คาใจในเรื่องการขนส่งแบบส่วนตัว!!!
.
รวมถึงรายงานข่าวสาร ความเคลื่อนไหวในแวดวงการนำเข้า-ส่งออก แบบที่คุณห้ามพลาด
สนใจในบริการสุดพิเศษนี้ คลิกและลงทะเบียนได้เลยที่
https://forms.gle/PumFkpEWsNbDjQCo6
.
เช็คราคาเฟรทขนส่งทางทะเล เบื้องต้น ได้ง่ายๆไปกับบริการ Freight Rate Trend โดย #ZUPPORTS x #TNSC