คนในวงการ นำเข้า ส่งออก น่าจะรู้จัก เฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ (freight forwarder) กันอยู่แล้ว
ซึ่งในช่วงนี้คนที่ทำงานเฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ คงกำลังหัวหมุนกันอยู่ เป็นจุดที่ลำบากใจมากๆ ฝั่งหนึ่งก็โดนสายเรือเท อีกฝั่งหนึ่งก็ต้องดูแลลูกค้า นำเข้า ส่งออก
บทความตอนนี้ เราลองทำความรู้จักที่มาที่ไปของ เฟรท ฟอร์เวิร์ดเดอร์ และช่วงนี้ เฟรท เจ้ากลางๆ ได้เปรียบเจ้าใหญ่จริงหรือไม่?
หากพร้อมแล้ว เราไปหาคำตอบกันเลย
=========================
นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม
“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”
=========================
1) ในปัจจุบัน หากพูดถึง “เฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์” ก็คงหมายถึง ตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ คือ เฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ เป็น คน(บริษัท)ที่ช่วยผู้นำเข้า ส่งออก บริหารจัดการเรื่องการขนส่งระหว่างประเทศ หลายหลากรูปแบบ ทั้งทางทะเล ทางอากาศ และทางบก
.
ทั้งจองขนส่ง บริหารจัดการเครื่องเอกสารต่างๆ โดยส่วนใหญ่ บริษัทเฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ ไม่ได้มีเรือ หรือเครื่องบินเป็นของตัวเอง แต่ ทำหน้าที่เป็นคนกลาง คอยติดต่อประสานงานสายเรือ ให้แทน ผู้นำเข้า ส่งออก
2) จริงๆแล้วในอดีต “เฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์” ไม่ได้ทำงานขนส่งระหว่างประเทศแบบนี้ โดยจุดเริ่มต้น ต้องย้อนหลังไปตั้งแต่ช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่เฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ ก็คือ ผู้ดูแลโรงแรม ที่มีหน้าที่รับฝากสิ่งของ ของแขกที่มาพักในโรงแรม แล้วก็มีหน้าที่ “ส่งต่อ” หรือ “ฟอร์เวิร์ด” (forward) ของสิ่งนั้นคืนให้ลูกค้า
.
โดยต่อมาก็ได้มีวิวัฒนาการมาสู่ เรื่อง การค้าขายมากขึ้น
3) บริษัท เฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ รายแรกๆ ที่มีการบันทึกไว้ ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนขนส่งสินค้า ก็คือ Thomas Meadows and Company Limited ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1836
.
บริษัท Thomas Meadows ทำการประสานงานกับบริษัทขนส่งต่างๆ เพื่อทำการขนส่งสินค้า แทนลูกค้า นอกจากนี้ยังช่วยให้คำปรึกษาเรื่องเอกสารขนส่ง และพิธีการศุลกากรต่างๆ ด้วย เรียก ว่าธุรกิจเฟรท มีมาแล้วมากกว่า 180 ปี!
4) ช่วงปี ค.ศ. 1970 ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทั้งรถไฟ และเรือไอน้ำ ทำให้การค้าระหว่างทวีปอเมริกาเหนือ และยุโรป คึกคัก ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ ยุคแห่งความรุ่งเรืองของธุรกิจขนส่งระหว่างประเทศ
.
และความต้องการขนส่งยิ่งพุ่งทะยาน เมื่อจีนเข้าสู่ WTO เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว ทำให้จีนกลายเป็นโรงงานของโลกในเวลาต่อมา บริษัทที่มีไอเดีย สามารถผลิตสินค้าได้ตามฝัน ที่ประเทศจีน…
5) แต่แล้วปี ค.ศ.2020 ด้วยสถานการณ์โควิด ทำให้ เฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ เสียสูญไปเหมือนกัน ในช่วงที่ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน อำนาจในการต่อรองราคาไปอยู่ที่สายเรือแทน
6) ทางสำนักข่าว Loadstarรายงานผลการศึกษาว่า ปัจจุบันบริษัท เฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ รายใหญ่ๆ ของโลก คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากกว่าบริษัทที่มีขนาดรองลงมา
.
คือ กลายเป็นว่า บริษัทใหญ่เหล่านี้ มีฐานลูกค้ากว้างก็จริง แต่ก็ทำให้มีตู้เรือที่ต้องจอง มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งในสถานการณ์ที่ผันผวนแบบนี้ ก็จะปรับตัวยากกว่ารายเล็ก
.
สุดท้ายบริษัทใหญ่ๆ ก็อาจต้องเลือกที่จะโฟกัสไปที่ลูกค้าประจำ ทำให้เปิดโอกาสให้บริษัทขนาดกลางและเล็ก เข้าไปดูแลลูกค้ารายย่อยๆ
7) หากให้เปรียบเทียบ ก็อาจเทียบได้กับนิทานเรื่อง เดวิด และโกไลแอธ ที่ทางเดวิดซึ่งเป็นชาวนาตัวเล็กๆ สามารถเอาชนะโกไลแอธ นักรบร่างยักษ์ได้ โดยใช้ความเร็วเข้าสู้ และโจมตีจุดอ่อนยักษ์ใหญ่
8) เร็วๆ นี้ มีบทสัมภาษณ์คุณ Klaus-Michael Kühne ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทเฟรท ระดับโลกอย่าง คูห์เน่ พลัส นาเกิ้ล ระบุว่า สิ่งที่กังวลคือ สายเรือเอง (Shipping Company) ก็มีการขยายงานเข้ามาเป็นเฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ เสียเอง บางสายเรือก็ใช้วิธีควบรวมกิจการเฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์
.
แต่ส่วนตัวทางคุณ Klaus ก็คิดว่ายังสู้ได้ เพราะตัว คุณ Klaus เองก็ถือหุ้นถึง 30% ในสายเรือ Hapag Lloyd เรียกว่าแทงกั๊กเอาไว้เหมือนกัน
9) พวกสายเรือ ต่างประเทศเขาเรียกว่า “Shipping service” แต่ในไทยเอง พอพูดถึง ชิปปิ้ง (Shipping) ดันหมายความถึง คนที่ช่วยเคลียร์สินค้า ช่วยดำเนินพิธีการทางศุลกากร (Customs clearance)…
.
อันนี้ส่วนตัวแอดมินก็ไม่รู้ที่มาที่ไปเหมือนกัน ว่าทำไมในไทยเรียกว่าเป็น “ชิปปิ้ง” (ลูกเพจ ท่านใดรู้ช่วยบอกแอดหน่อย)
10) การเข้ามาของคอมพิวเตอร์ จริงๆ แล้วอาจไม่ได้ทำให้การทำงานเอกสารง่ายขึ้น แต่มันช่วยให้คนทำงานติดตามสถานะเอกสารได้ ช่วยลดความผิดพลาดในการทำงาน
.
และการที่โลกเข้าสู่ยุคดิจิตอลเต็มรูปแบบ ทำให้เทคโนโลยีดิจิตอล จะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ
11) และขอประชาสัมพันธ์ว่า ทีมแอดมินเอง ก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยี ที่จะช่วยทำให้การทำงานขนส่งระหว่างประเทศ สะดวกและง่ายขึ้น หากเพื่อนๆ เฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ หรือ ผู้นำเข้า ส่งออก สนใจสามารถลงทะเบียนกันเอาไว้ได้เลย https://zupports.co/register/
——————————–
ส่งท้าย หากถามแอดมินว่าแล้วแบบนี้ บริษัทเฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ หรือสายเรือ บริษัทไหนจะเป็นผู้ชนะ? อะไรคือกลยุทธ์สำคัญ ที่จะชนะใจลูกค้า??
ก็ต้องคิดถึงคำพูดของ เจฟฟ์ เบซอส แห่ง Amazon ที่บอกเอาไว้หลายครั้งว่า
สิ่งที่จะไม่เปลี่ยนแปลง ก็คือ
“ผู้บริโภค” ที่จะต้องการสินค้าหรือบริการที่ “เร็วกว่า คุณภาพดีกว่า และราคาถูกกว่า”
นั่นคือ การพยายามพัฒนาสินค้าและบริการอยู่เสมอ ให้เข้าถึงใจลูกค้าให้ได้…
แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ คนที่ทำนำเข้าส่งออก มีคนที่เข้าใจหัวอกลูกค้ากันอยู่หลายคน ยกเว้นคนๆ หนึ่ง…(ดูรูปประกอบใน comment)
——————————–
หากบทความมีประโยชน์ กดไลค์ และแชร์ให้เพื่อนๆ ได้เลย
หรือเพื่อนๆ มีข้อสงสัยเรื่องไหน อยากให้แอดมินเล่าให้ฟัง ก็ส่ง inbox มาคุยกันเลยได้ที่ https://bit.ly/3j7BwBW
=========================
นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม
“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”
=========================
***พิเศษ*** ผู้นำเข้า ส่งออก ที่ปวดหัวกับเรื่องการขนส่งระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น จองพื้นที่ไม่ได้ หรือราคาแพงเว่อร์ ให้สตาร์ทอัพสัญชาติไทยอย่าง ZUPPORTS ช่วยคุณได้…
.
ZUPPORTS ช่วยเปรียบเทียบ และจองขนส่งทางทะเล ทางอากาศ และทางบก เราก็ช่วยได้
.
ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษและข่าวสถานการณ์การค้าโลก
ได้แล้ววันนี้ที่ https://zupports.co/register/
——————————–
ที่มา:
——————————–
❤️ อ่านบทความย้อนหลังได้ที่
https://www.zupports.co/author/zupports/
นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า marketplace: ใครมีสินค้าดีๆ โพสขายกันได้เลย
https://www.facebook.com/groups/573677150199055/
#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า #นำเข้า #ส่งออก
#ZUPPORTS