อัปเดตโลจิสติกส์ Freight ระหว่างประเทศ 7 May 25
ในช่วงครึ่งเดือนหลังของเมษายน 2025 ถึง 7 May 25 สถานการณ์โลจิสติกส์ระหว่างประเทศยังคงร้อนแรงจากการปรับนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ความแออัดในท่าเรือหลักทั่วโลก และค่าระวางเรือ (Freight Rate) ที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเส้นทางเอเชีย–สหรัฐฯ ซึ่งส่งผลต่อผู้ส่งออก-นำเข้าโดยตรง
สหรัฐฯ กดดันจีนหนัก: เรือจีนโดนค่าธรรมเนียมใหม่ กระทบ COSCO และ OOCL
เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2025 สหรัฐฯ ได้ประกาศจัดเก็บค่าธรรมเนียมใหม่สำหรับเรือที่ต่อในประเทศจีน โดยเริ่มจาก $120 ต่อคอนเทนเนอร์ และจะเพิ่มเป็น $250 ใน 3 ปี พร้อมเก็บเพิ่ม $50 ต่อตันสุทธิสำหรับเรือจีน (ขึ้นเป็น $140 ภายในปี 2028) แม้จะมีข้อยกเว้นสำหรับเรือขนาดเล็กหรือของบริษัทสหรัฐฯ แต่ผู้ให้บริการยักษ์ใหญ่อย่าง COSCO และ OOCL ถูกกระทบโดยตรง
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นฟ้องร้องรัฐบาลทรัมป์จาก 12 มลรัฐในสหรัฐฯ ที่มองว่าการเก็บภาษีควรเป็นอำนาจของสภาคองเกรส คดีนี้อาจสร้างแรงสั่นสะเทือนในนโยบายการค้าทั่วโลก
ดีมานด์จากจีนร่วง 30% – อาเซียนรับอานิสงส์ ไทย เวียดนาม กัมพูชา ได้ออร์เดอร์เพิ่ม
จากรายงานของ Hapag-Lloyd การจองเรือจากจีนไปสหรัฐฯ ลดลงถึง 30% เพราะผู้ซื้อหลีกเลี่ยงภาษี 145% ที่สหรัฐฯ บังคับใช้กับสินค้าจีน ส่งผลให้ประเทศในอาเซียน เช่น ไทย เวียดนาม และกัมพูชา ได้รับคำสั่งซื้อมากขึ้นแทน
ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นเขต ECA ใหม่ เรือทุกลำต้องใช้เชื้อเพลิงสะอาด
ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2025 IMO กำหนดให้ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็น Emission Control Area (ECA) เรือที่ผ่านต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มี Sulphur ≤ 0.1% หรือใช้พลังงานสะอาดอื่น ๆ เช่น LNG หรือ Methanol ส่งผลให้หลายสายเรือเก็บค่าธรรมเนียมสิ่งแวดล้อมเพิ่ม
ความแออัดของท่าเรือทั่วโลก ยังน่ากังวล
สรุปท่าเรือที่มีความหนาแน่นสูงในช่วงปลายเมษายน:
-
เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง เวียดนาม: ยังแออัดมาก ควรเผื่อเวลา 7–14 วัน
-
Savannah (USA): เรือรอ 16 ลำ เวลารอ >3 วัน
-
Chittagong (บังคลาเทศ): ลานเต็ม 80% ดีเลย์ 4–5 วัน
-
LA – Long Beach: ไม่มีคิวเรือ แต่รอรถไฟนานถึง 12 วัน
- ฝั่งไทยยังคงมีตู้เปล่าพร้อมใช้งานทั้ง 20′ และ 40′ และควรจองเรือไปจีนล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์
- ช่วงนี้หัวลากขาดเเคลน เนื่องจากเป็นช่วงส่งออกงานผลไม้ หัวลากส่วนใหญ่จะเน้นรับงานตู้ Reefer มากกว่า ดังนั้นหากใครมีงานรับตู้ให้จองล่วงหน้า 3-4 วัน ถ้าจองกระชั้นมีโอกาศจะไม่มีรถสูงมาก
- ราคาเฟรทสำหรับเต็มตู้จากจีนมาไทย ตอนนี้ต้องเช็คเรทรายสัปดาห์หรือต้องเช็คราคาลำต่อลำ ราคาสวิงไปสวิงมา มีโอกาศปรับเปลี่ยนสูง
- ท่าเรือหลักๆในจีน รวมถึงฮ่องกง และเวียดนามยังคงหนาแน่น เหมือนเดิม ต้องเผื่อเวลาสัก 1 อาทิตย์สำหรับการดีเลย์
- ถึงแม้จะเป็นเรือ Direct ก็มีโอกาศที่จะเจอดีเลย์ได้สูง เนื่องจากแต่ละพอร์ตที่ต้องแวะระหว่างทางมี Congestion
- งาน LCL ที่เป็นขาเข้ามาไทย และรอเปิดตู้ที่ท่าเรือ สถานการณ์เริ่มดีขึ้นหลังจากช่วงสงกรานต์ที่มีตู้รอเปิดค่อนข้างเยอะ และใช้เวลานานกว่าจะนำของออกมาได้ ตอนนี้เริ่มกลับไปเป็นปกติ
ค่าระวางเรือปรับขึ้น: ไทย–เอเชียแพงขึ้น สหรัฐฯ นำเข้าเร่งสต็อกสินค้า
แรงกดดันจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ ทำให้ผู้นำเข้าเร่งนำเข้าสินค้าล่วงหน้า ส่งผลให้ค่าระวางเรือและขนส่งทางอากาศในช่วงแรกที่มีการประกาศขึ้นภาษีนำเข้าปรับตัวขึ้น โดยเฉพาะเส้นทางจากเอเชียไปสหรัฐฯ
แต่โดยภาพรวม ราคาขนส่งมีแนวโน้มลดลง ตามความต้องการขนส่งไปสหรัฐฯ ที่ลดน้อยลงไปจากความไม่แน่ชัดของภาษีนำเข้า
ดัชนีค่าระวางเรือ ณ สิ้นเมษายน 2025:
ดัชนี | ค่า | ความเคลื่อนไหว |
---|---|---|
Freightos Baltic Index | 2042 | ทรงตัว |
Drewry WCI | $2,157 ต่อ 40′ | ลดลง 2% |
SCFI | 1340.93 | ลดลงเล็กน้อย 0.5% |
แนวโน้ม Freight Rate Trend จากระบบ ZUPPORTS มีแนวโน้มราคาเฟรท ครอบคลุม 60 ท่าเรือหลักทั่วโลก

ZUPPORTS แพลตฟอร์มโลจิสติกส์ที่ช่วยคุณรับมือทุกสถานการณ์
ไม่ว่าค่าระวางจะผันผวนแค่ไหน หรือท่าเรือจะแออัดเพียงใด ZUPPORTS คือผู้ช่วยมืออาชีพของผู้นำเข้าส่งออก
✅ เปรียบเทียบราคาค่าระวางจากหลายสายเรือได้ในไม่กี่คลิก มี Freight Rate Trend เช็คราคาเฟรท ง่ายๆ
✅ วางบิลออนไลน์ ตรวจสอบค่าใช้จ่ายอัตโนมัติด้วย AI
✅ เชื่อมต่อบัญชีและระบบ ERP เพื่อความแม่นยำ
✅ ทีมแอดมินช่วยประสานงานแบบเรียลไทม์
✅ ติดตามข่าวสารโลจิสติกส์อย่างสม่ำเสมอ
👉 สมัครใช้งานฟรีได้ที่: https://zupports.co/register/