แม่น้ำโขงกับปัญหาภัยแล้ง

ในขณะที่ช่วงนี้ บนหน้าสื่อโซเชียล เต็มไปด้วยข่าวโควิด-19 ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนและเศรษฐกิจอย่างมาก

แต่ก็ยังมีปัญหาอีกด้านหนึ่ง ที่รอการแก้ไข และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรากหญ้า นั่นก็คือ ปัญหา “ภัยแล้ง”

ซึ่งทาง SCB ออกบทวิเคราะห์ ประเมินว่า ภัยแล้งปีนี้มีแนวโน้มที่จะอยู่ยาวถึงเดือนมิถุนายน

อาจทำให้ผลผลิตอ้อย และข้าว ลดลง ,27% และ 21% ตามลำดับ

และบริเวณหนึ่ง ที่มีข่าวภัยแล้งทุกปี และดูจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆทุกปี ก็คือบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ทางภาคอีสานของไทย

ในบทความนี้ เราลองไปดูความสำคัญของลุ่มแม่น้ำโขง และปัญหาที่เกิดขึ้นกัน

════════════════

หาราคาขนส่งทั่วโลก ที่ดีที่สุด

www.zupports.co

════════════════

1) ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง หรือ Greater Mekong Sub-Region (GMS) ประกอบด้วยประเทศ จีน (ยูนนาน) เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย

แม่น้ำโขงความยาวโดยรวมกว่า 4,700 กิโลเมตร โดยมีประชากรในบริเวณนี้ประมาณ 334 ล้านคน

2) ด้วยความที่เป็นพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ประชากรกว่า 60 ล้านคน ประกอบอาชีพหรือเกี่ยวข้องกับการปลูกข้าว โดยข้าวกว่า 44% ของทั้งโลก ปลูกจากดินแดนแห่งนี้

ประชากรอีก 140 ล้านคนที่เหลือ ทำอาชีพเกี่ยวกับการเกษตร

หลายๆ ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง เป็นผู้ส่งออกข้าวสุทธิ ยกเว้นประเทศจีน

ดังนั้น สถานการณ์ภัยแล้ง ส่งผลโดยตรงกับประชาชนในพื้นที่อย่างไม่ต้องสงสัย

3) ประชากรกว่า 60 ล้านคน ใช้ชีวิตโดยพึ่งพาธรรมชาติ ในการหาอาหาร น้ำ พลังงาน โดยมีอาชีพที่สำคัญก็คือ อาชีพประมง

1 ใน 4 ของการประมงน้ำจืดของโลก มาจากลุ่มแม่น้ำโขงแห่งนี้ เป็นรองเพียงแค่ลุ่มน้ำอะเมซอน (Amazon) แห่งทวีปอเมริกาใต้

การประมงสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ กว่า 5 แสนล้านบาท ปริมาณปลาเกือบปีละ 3 ล้านตัน

แต่ด้วยสถานการณ์ภัยแล้ง และการสร้างเขื่อนแบบรัวๆ จนน้ำในแม่น้ำโขงบางช่วงแห้งเหือด ถึงขนาดที่เอารถปิกอัพ ลงไปวิ่งได้ ทำให้ชาวบ้านกำลังประสบปัญหาใหญ่

4) มีการสร้างเขื่อนทั้งในจีน และตลอดแนวแม่น้ำโขงแล้วกว่าร้อยแห่ง โดยเฉพาะในลาวที่มีกลยุทธ์หลักเป็น การเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย

โดยโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ถือเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนที่สะอาด หากเทียบกับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน

5) อย่างไรก็ตามการสร้างเขื่อนจำนวนมาก เพื่อกักเก็บน้ำเอาไว้ปั่นไฟ ก็สร้างความเสียหายให้ธรรมชาติด้วย

และที่สำคัญก็คือ ประเทศต้นน้ำ สามารถควบคุมปริมาณการปล่อยน้ำได้ตามใจระดับหนึ่ง กลายเป็นประเด็นทางการเมือง ผสมกับเศรษฐกิจไปด้วย

6) คาดการณ์ว่าในปี 2563 นี้ เขื่อนในลาว จะกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 10,000 MW ไฟฟ้ากว่า 90% ไม่ได้ขายให้ใครอื่น แต่ก็ไทยนั่นเอง

โดยลาวเก็บไว้ใช้เอง เพียง 5-10% เท่านั้น ที่เหลือขายให้กัมพูชา, เวียดนาม

7) ทางเวียดนามซึ่งปีนี้เป็นประธานอาเซียน ก็ตั้งเรื่องการจัดการลุ่มแม่น้ำโขงโดยเฉพาะการที่จีนขยายอำนาจลงมาเป็นประเด็นสำคัญ

ซึ่งประเด็นนี้ทาง Asian Nikkei รายงานว่าไทยเราก็งัดข้อกับทางจีนก่อนหน้านี้ โดยการไม่เห็นด้วยกับแผนของจีนที่จะขยายแม่น้ำโขง เพื่อเป็นทางออกสู่ทะเลของมณฑลยูนนาน

โดยปัจจุบัน มีเฉพาะเรือขนาด 80-250 ตัน ที่สามารถใช้แม่น้ำโขงในช่วงฤดูฝน แต่ทางจีนต้องการที่จะให้เรือ Barge ขนาด 500 ตัน ผ่านได้

8) พอมีการโวยไปทางจีนจากสถานการณ์ภัยแล้งช่วงมกราคม ในช่วงปลายเดือน กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางจีนก็ยอมปล่อยระบายน้ำออกจากเขื่อนเพิ่มให้แล้ว

9) ล่าสุดถึงแม้จะมีฝนตกมา แต่การแก้ปัญหาระยะยาว ก็คงต้องอาศัยความร่วมมือของทุกประเทศในกลุ่มแม่น้ำโขง

โดยเฉพาะแหล่งต้นน้ำอย่างจีน ที่สามารถควบคุมการปล่อยน้ำสู่แม่น้ำโขงได้

ส่วนไทยเอง ดูจะเสียเปรียบ (อีกแล้ว)

ไฟฟ้าก็ต้องใช้จากลาว ที่ถูกจีนแผ่อิทธิพลครอบงำ ไหนยังมีภัยแล้ง ที่แก้ไม่ตก เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขกันอย่างจริงจัง

10) แนวทางแก้ปัญหา (ด้วยตัวเราเองก่อน) ก็คงต้องปรับรูปแบบการทำเกษตร ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำ

รวมถึงการนำ เทคโนโลยี Agritech มาใช้ ได้แก่ ระบบให้น้ำอัตโนมัติ

(เช่น Agcura)

เรียนรู้เพิ่มเติมhttps://www.agcura.com/

หรือ ระบบเตือนภัยด้านภูมิอากาศ (เช่น Ricult)

ที่น่าศึกษาเพิ่มเติม ก็คือ กลยุทธ์ การเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ของประเทศลาว และ ความสัมพันธ์ระหว่าง ลาว กับ จีน ที่ลึกซึ้ง ว่าจะกระทบประเทศไทย อย่างไรบ้าง

ประเทศลาว ที่มองผิวเผิน มีประชากรเพียง 7 ล้านคน และเป็นประเทศปิดไม่มีทางออกสู่ทะเล (Land Lock)….

แต่จริงๆ แล้ว ประเทศนี้ มีอะไรหลายๆ อย่างที่น่าค้นหาและศึกษา

นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า จะมาเล่าเรื่องราวของประเทศลาวให้ฟังในหลายๆ แง่มุม

กับบทความในซีรีส์ “ไทย-ลาว พี่น้องกัน”

เชิญ เพื่อนๆ กดติดตามเพจ จะได้ไม่พลาดบทความดีๆ เสิร์ฟถึงหน้าจอ ทุกวันนะครับ

════════════════

หาราคาขนส่งทั่วโลก ที่ดีที่สุด

www.zupports.co

════════════════

เยี่ยมชมhttps://www.zupports.co/

ที่มา: https://asiatimes.com/2019/12/mekong-river-dying-a-slow-but-certain-death/

https://www.benarnews.org/english/news/thai/thailand-china-02192020175528.html

https://asia.nikkei.com/Politics/International-relations/Vietnam-puts-the-Mekong-s-fate-on-ASEAN-s-agenda

https://blogs.worldbank.org/eastasiapacific/five-facts-about-rice-and-poverty-in-the-greater-mekong-sub-region

https://thediplomat.com/2019/08/something-is-very-wrong-on-the-mekong-river/

https://www.worldwildlife.org/places/greater-mekong

http://www.mrcmekong.org/assets/Publications/Catch-and-Culture/CatchCultureVol-21.3.pdf

💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก

ZUPPORTS.co

👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก

http://bit.ly/35Rh2ql

 

ข่าวสารอื่นๆ