กรณีศึกษาการทำ Digital Transformation (DX) ในงานจัดซื้อและซัพพลายเชนของ SRIC
แนวคิดการทำ Digital Transformation (DX) ในบริบทของงานจัดซื้อและซัพพลายเชน คือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการจัดหา การบริหารซัพพลายเชน และการจัดการโลจิสติกส์ แนวคิดหลักของ DX คือการเพิ่มความโปร่งใส (Transparency) และความสามารถในการปรับตัว (Agility) ในห่วงโซ่อุปทาน ผ่านการใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์และระบบอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถลดต้นทุน เพิ่มความเร็ว และสร้างความยั่งยืน
เหตุผลที่ใช้คำว่า Digital Transformation (DX) แทน DT
การเลือกใช้คำว่า DX แทน DT มีเหตุผลที่มาจากความนิยมและการใช้งานในวงการธุรกิจและเทคโนโลยี:
- DX เป็นคำย่อที่ใช้กันแพร่หลาย ในบริบทของ Digital Transformation ทั่วโลก คำว่า DX ถูกใช้เป็นคำย่ออย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในประเทศที่มีการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านดิจิทัล เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป เพื่อสื่อถึงการปรับเปลี่ยนองค์กรในทุกมิติให้เหมาะกับยุคดิจิทัล
- DX คำว่า X ในภาษาอังกฤษ แปลความได้เป็นคำว่า “Trans” หรือการเปลี่ยนแปลง เช่น X-Transformation
- คำว่า DT อาจทำให้เข้าใจว่าเป็น “Digital Technology” ซึ่งโฟกัสที่เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ DX (Digital Transformation) สื่อความหมายที่กว้างกว่า โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการธุรกิจ วัฒนธรรมองค์กร และการใช้ข้อมูลร่วมกับเทคโนโลยี
กรณีศึกษา การทำ Digital Transformation ของบริษัทผู้ส่งออกวัสดุทนไฟชั้นนำอย่างบริษัทสยามวัสดุทนไฟ (SRIC)
- การปรับตัวในวิกฤต ธุรกิจต้องปรับตัวตลอดเวลาในช่วงวิกฤต โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มความราบรื่นในการทำงาน SRIC เป็นหนึ่งในองค์กรที่ต้องเผชิญกับวิกฤตต่างๆ เช่น วิกฤตการณ์การเงินโลก (Global Financial Crisis), โควิด-19 และสงครามรัสเซีย-ยูเครน (Russian-Ukrainian War) ตั้งแต่ปี 2008 จนถึงปี 2024 ซึ่งทำให้ต้องปรับตัวตลอดเวลาเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้
- จุดเริ่มต้นจาก Warehouse การนำ Digital เข้ามาเริ่มต้นจากการปรับปรุงกระบวนการในคลังสินค้า (Warehouse) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
- งบประมาณในการนำระบบดิจิทัล การพัฒนาระบบดิจิทัลไม่มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากใช้ IT ภายในองค์กรในการเขียนโปรแกรม และต้นทุนหลักเป็นคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์
- การเปลี่ยนจากอนาล็อกเป็นดิจิทัล การนำระบบใหม่ๆ เข้ามามักจะไม่ง่าย ทุกคนต้องมีโอกาสในการเปลี่ยนแปลงความคิด หากเห็นประโยชน์ที่ชัดเจน ซึ่งก่อนที่จะลงมือทำอะไรเพิ่มเติม อาจต้องปรับ process ที่ซับซ้อน ให้ “ง่าย” ขึ้นก่อน
- แนะนำ แนวคิด ECRS (Eliminate, Combine, Rearrange, Simplify) เพื่อลดสิ่งที่ไม่จำเป็นและทำกระบวนการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- การพัฒนาแรงงาน (Up skill) SRIC มุ่งเน้นการฝึกอบรมพนักงานในด้านดิจิทัลและทักษะการเป็นผู้นำ โดยการพัฒนาทักษะการคิดและการเสนอความคิดเห็นร่วมกันในทีม
- อีกจุดหนึ่งที่ทำ Digital Transformation ได้เร็วขึ้นก็คือ การสนับสนุนจากพันธมิตร ผู้ให้บริการด้าน IT เช่น ZUPPORTS ที่ให้บริการระบบ PO Management และ Freight Management ช่วยติดตามข้อมูลคำสั่งซื้อรวมไปถึงการติดตามการดีเลย์ของเรือขนส่ง
- การเตรียมตัวในอนาคต SRIC กำลังเตรียมพร้อมเรียนรู้การใช้ AI ในอีกสองปีข้างหน้า เพื่อพัฒนาการทำงานต่อไป
- ประโยชน์ของดิจิทัล
- การใช้ดิจิทัลช่วยให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุน และช่วยในด้านสิ่งแวดล้อม
- การลดการใช้กระดาษ การเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลในปี 2024 ทำให้ไม่ต้องใช้กระดาษ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทำให้พนักงานในองค์กรมีความสุขในการทำงานมากขึ้น
จะเห็นได้ว่า การทำ Digital Transformation อาจเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ เช่น ระบบตรวจเช็คสินค้าใน Store หรือหลังสินค้า และต่อจากนั้นสามารถขยายไปสู่กระบวนการอื่นๆ ได้แก่
- ระบบ e-Procurement การใช้แพลตฟอร์ม e-Procurement เพื่อสร้างและจัดการ PR (Purchase Requisition) และ PO (Purchase Order) ช่วยลดเวลาที่ใช้ในกระบวนการอนุมัติและลดข้อผิดพลาดจากเอกสารแบบกระดาษ
- การเชื่อมต่อกับซัพพลายเออร์ การเชื่อมโยงระบบขององค์กรกับซัพพลายเออร์ผ่านพอร์ทัลที่รวมศูนย์กลาง ทำให้สามารถติดตามสถานะคำสั่งซื้อและการส่งมอบได้แบบเรียลไทม์
- การใช้ข้อมูลสำหรับการคาดการณ์ การเก็บข้อมูลการสั่งซื้อและการบริโภคสินค้าเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและคาดการณ์ความต้องการในอนาคต
รูปแบบการใช้งานที่เกิดขึ้น เมื่อองค์กรเริ่มต้น DX ในซัพพลายเชนและงานจัดซื้อ การเปลี่ยนแปลงจะขยายไปยังส่วนอื่น ๆ ดังนี้:
- การบริหารซัพพลายเชนแบบ End-to-End การนำระบบ WMS และ TMS มาใช้เพื่อบริหารการจัดเก็บและการขนส่งสินค้า ทำให้สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้าตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ในเครื่องจักรและอุปกรณ์ การรวบรวมข้อมูลการใช้งานเครื่องจักรและอะไหล่ผ่าน IoT และระบบ MES ช่วยให้สามารถคาดการณ์การซ่อมบำรุงได้ล่วงหน้า ลดปัญหาการหยุดชะงักของการผลิต
- การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ข้อมูลจากระบบ e-Procurement และ WMS สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อลดความไร้ประสิทธิภาพในกระบวนการและค้นหาโอกาสในการลดต้นทุน
- ความยั่งยืนและ ESG Compliance การติดตามการปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมโลจิสติกส์และการจัดซื้อ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
บทเรียนที่ได้จากกรณีศึกษา การเริ่มต้นทำ DX ในงานจัดซื้อและซัพพลายเชนควรเน้นที่กระบวนการสำคัญ เช่น การจัดการคำสั่งซื้อหรือการบริหารคลังสินค้า การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปช่วยให้ทีมงานปรับตัวและเพิ่มประสิทธิภาพในระยะยาว นอกจากนี้ การรวมข้อมูลจากระบบต่าง ๆ เช่น e-Procurement, WMS และ IoT จะช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
.
สำหรับทีมงานจัดซื้อ, Supply Chain ที่อยากได้ข้อมูล Digital Procurement Trend 2025
พร้อมทั้งรับชมเสวนา กรณีศึกษาการทำ Digital Transformation ของบริษัทผู้ส่งออกวัสดุทนไฟชั้นนำอย่างบริษัทสยามวัสดุทนไฟ (SRIC)
สามารถลงทะเบียน เพื่อรับข้อมูลได้ที่ https://bit.ly/3P4A8SM