สรุป เสวนา “จับคู่ธุรกิจ ติดปีกการค้าออนไลน์”
เจาะตลาดกัมพูชา กับ Klangthai.com
ในช่วงเวลาแบบนี้ คงไม่ใช่เวลามาถามว่า เราควรจะขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์หรือไม่?
แต่ควรเปลี่ยนเป็นถามว่า เราจะประสบความสำเร็จในการค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์ อย่างไร จะดีกว่า? เมื่อ e-commerce หรือการค้าออนไลน์ ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไปในยุคโควิด-19
ซึ่งทางกรมส่งเสริมการส่งออกเอง ก็เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดเสวนา เพื่อเป็นการเปิดช่องทางทำตลาดใหม่ๆ ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งในเสวนาครั้งนี้ ได้มีตัวจริงเสียงจริง ผู้ก่อตั้ง แพลตฟอร์ม e-commerce ที่ชื่อว่า “คลังไทย” Klangthai มาให้ความรู้ซึ่งผู้ประกอบการไม่ควรพลาด!!
แอดมินจึงสรุปมาให้เป็นข้อๆ แบบย่อยง่ายๆ
หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย
════════════════
ช่วย SMEs นำเข้า ส่งออก
════════════════
1) ทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เร่งปรับตัว โดยเฉพาะงานแสดงสินค้า จะมีการปรับรูปแบบเป็นออนไลน์ แบบ “Multi Media Online Virtual Exhibition” คือแสดงสินค้าแบบเสมือนจริง โดยจะเริ่มจากสินค้าดิจิตอลก่อน, จากนั้นจะขยายไปอาหาร, และสินค้า Lifestyle
2) ความแตกต่างระหว่างการค้าออนไลน์ และออฟไลน์?
ผอ.ฉันทพัทธ์ (ผอ.แจ๊ค) เกริ่นว่า การค้าออนไลน์ แตกต่างจากการค้าแบบดั้งเดิมอย่างสิ้นเชิง เพราะว่าขายออนไลน์ ผู้ซื้อมีโอกาสได้แค่ดูรูป ข้อมูลสินค้า รีวิวเท่านั้น ไม่ได้ชิม ไม่ได้สัมผัส ดังนั้น ผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จ ต้องทำสินค้าตัวเองให้ มีความ “แตกต่าง” โดดเด่นจากเจ้าอื่นๆ
ตัวอย่าง เช่น ทุเรียนทอด ต่างจากคู่แข่งอย่างไร เพราะจะเคลมว่าอร่อย ลูกค้าก็ไม่ได้ชิมอยู่ดี
และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือ การวร้างแบรนด์ คือ ลูกค้าเกิดความมั่นใจในสินค้า จากนั้นเวลาเสิร์ช ก็จะสามารถเสิร์ชชื่อแบรนด์เราได้โดยตรง
คุณธรรมนาถ (คุณปิง) ผู้ก่อตั้ง แพลตฟอร์ม e-commerce Klangthai เสริมว่า ต้องเรียนรู้ว่า คนกัมพูชา ชอบเสพย์ข้อมูลออนไลน์แบบไหน เพื่อที่จะทำตลาดได้ตรงความต้องการผู้บริโภค
3) ทำความรู้จักกับ Thaitrade.com
Thaitrade.com คือ ช่องทางค้าขายออนไลน์ที่จะพาผู้ส่งออกไทย ไปสู่เวทีโลก ซึ่งเป็นโครงการดีๆ เริ่มมาเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ตลาดออนไลน์กำลังมา โดยเจาะเน้นขายปริมาณมากเป็น B2B
โดยมีการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์ม Thaitrade ไปแล้วมากกว่า 6,500 ล้านบาท และมีผู้ประกอบการไทย กว่า 23,000 รายอยู่ในระบบ และมีผู้ซื้อลงทะเบียนในระบบกว่า 2 แสนราย
และตอนนี้ยังมีโครงการอื่นๆ ด้วย เช่น TopThai Flagship Store ซึ่งจะเน้นเจาะตลาด B2C เพิ่ม นำมาสู่ความร่วมมือกับ Klangthai
4) คลังไทย Klangthai คือ อะไร? ที่มาที่ไป เป็นอย่างไร?
สำหรับ Klangthai เริ่มมาตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว ที่ทางคุณธรรมนาถ เริ่มจากเป็น Trader นำสินค้าไปขาย ใน CLMV หลังจากนั้นพอมีประสบการณ์ตรง ก็เลยทำแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ประกอบการไทย นำสินค้าไปขายในกัมพูชาได้
และยังเสริมเรื่องบริการต่างๆ เช่น บริการแปลภาษา ทำคอนเท้นต์โฆษณา เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการนำสินค้าไปขายในช่องทางอื่นๆ ในกัมพูชา ได้ด้วย
ทาง Klangthai เอง ลองผิดลองถูกมาจนพบว่า การที่จะลอกเลียนเทคโนโลยี e-commerce ต่างๆ แล้วเอาไปใช้เลย ไม่มีทางสำเร็จแน่นอน ต้องออกแบบให้เข้าถึงความต้องการคนกัมพูชาด้วย
5) สินค้าไทย อะไรขายดีในกัมพูชา?
จริงๆ คนกัมพูชา ชอบสินค้าไทย เป็นทุนเดิม เช่นเวลาซื้อของ คนกัมพูชา จะพลิกดู Barcode ถ้ามีเลข “885” คือ ผลิตในไทย ซึ่งคนกัมพูชามองว่าเป็นสินค้าที่ดีมีคุณภาพ
ผอ. แจ๊ค เล่าว่า เคยมีกรณีศึกษาบริษัทนำเข้าจากไทยไป ขายดีในกัมพูชา ก็เลยขยับไปตั้งโรงงานในกัมพูชา สุดท้ายดันขายไม่ค่อยดี เพราะคนกัมพูชาไม่เชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าที่ผลิตในประเทศ
สินค้ากลุ่ม ที่ขึ้นชื่อ เชิดหน้าชูตา ในตลาดออนไลน์ ได้แก่
หนึ่ง Beauty and Wellness ขายได้ทั้ง CLMV ขายชนเกาหลีได้เลย
สอง Food โดยเฉพาะอาหารแปรรูป เช่น อาหารทะเลแปรรูปขายดีมากในกัมพูชา
สาม เครื่องใช้ในบ้านและเครื่องครัว โตขึ้นทุกเดือน คุณภาพดี ถึงแม้ราคาจะแพงกว่าจีนเท่าตัว
สี่ เสื้อผ้า แฟชั่น คนกัมพูชาเดินไปซื้อของตามห้าง Platinum คือ คนไทยนำเข้าจากจีน มาตกแต่งเพิ่มนิดหน่อย แล้วแปะแบรนด์ ก็ยังได้รับความนิยมจากคนกัมพูชา
6) Top Thai Flagship Store ร่วมมือกับ Klangthai
เนื่องจากทาง Klangthai ทำตลาดไว้ดีพอสมควร ทาง DITP ก็เลยมองว่า การไปเปิดเป็นร้าน Top Thai Flagship Store ใน “ห้าง” หรือ แพลตฟอร์ม ที่ขายดีอยู่แล้ว ก็จะทำให้สินค้าไทยเจาะตลาดได้อย่างก้าวกระโดด
ทางผอ. ยกกลยุทธ์ของแจ็คหม่า เรื่องการค้าออนไลน์ ก็คือ “Iron Triangle” โดยต้องประกอบด้วย 3 ส่วนคือ e-commerce ที่ลูกค้าคุ้นเคย ใช้งานง่าย, การมีระบบขนส่งที่รวดเร็ว และส่งของถูกต้อง แม่นยำ, และระบบจ่ายเงินที่เหมาะกับลูกค้า
นอกจากนี้ คนกัมพูชา 16 ล้านคน เข้าถึงอินเตอร์เนตกว่า 12.5 ล้านคน หรือ 78% และมีบัญชีเฟสบุ๊คกว่าครึ่งของประชากร
ดังนั้นผผู้ประกอบการต้องเข้าใจช่องทางที่จะเข้าถึงผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์
7) คุณปิง ยกตัวอย่าง พฤติกรรมลูกค้ากัมพูชา เวลาซื้อของออนไลน์ (อันนี้ Highlight เลย)
ลูกค้าชอบแชท มอง website เป็น catalog
แชทไม่พอ แต่ชอบโทรคุย
แต่ทิ้งเบอร์ให้โทรกลับนะ ดังนั้นหากไม่มีเบอร์กัมพูชา แต่ต้องโทรจากไทยเหนื่อยแน่)
8) การเงิน?
60% ไม่มี Bank account หรือธนาคาร กลุ่มต่างจังหวัด ใช้คล้ายๆพวก True Money แต่เจ้าใหญ่คือ Wing ซึ่งคนกัมพูชาจะเอาเงินไปฝากที่ Shop ใหญ่ แล้วก็สามารถเดินไปรับเงินได้อีกที่หนึ่ง
ช่องทางแรก โอนผ่านธนาคาร แต่มีไม่กี่ธนาคาร ที่โอนข้ามบัญชี แล้วไม่มีค่าธรรมเนียม
ที่น่าแปลกคือ คนกัมพูชาชอบรับเงินสด แต่กลัวค่าธรรมเนียม COD ดังนั้นส่วนใหญ่คนขายจะบวกค่าขนส่งเข้าไปในสินค้า และบอกลูกค้าว่า สินค้าฟรีค่าส่งไปแล้ว
9) การขนส่งสินค้า?
มีความยุ่งยาก ไม่มีระบบไปรษณีย์สากล บ้านเลขที่เดียวกัน ที่อยู่เดียวกัน มีอยู่ในหลายเมือง ต่างกับในไทย ที่มีระบบ และ COD ปลายทาง
ปัจจุบัน กัมพูชา มีรหัสไปรษณีย์ที่ชัดเจนขึ้น แต่ปัญหาก็คือ คนที่อยู่ที่บ้านไม่รู้เบอร์บ้านตัวเองด้วยซ้ำ เลยบอกว่าให้ส่งมาแถวๆ ถนนเลขนั้นเลขนี้ แล้วเดี๋ยวค่อยโทรคุยกันตอนใกล้ๆ ซึ่งบางถนน มีระยะทางเป็น 10 กิโลเมตร
เดิมที่ Klangthai ใช้โมเดล ส่งวันรุ่งขึ้น โดน cancel 50% คนในพนมเปญต้องการของด่วนมาก ภายใน ไม่เกิน 2-4 ชั่วโมง
ขนส่งในประเทศกัมพูชายังไม่เข้าถึงเมืองในชนบท ปัจจุบัน ใช้รถบัส ในการขนส่ง และเวลาเข้าจุดเล็กๆ จะใช้แทกซี่ ประจำหมู่บ้าน ซึ่งจะเข้าพนมเปญ ทุกๆ 2 วัน โดยมี Vendor ทั้งรถบัส และแทกซี่ อยู่ในระบบเป็น 100 ราย
10) จากปัญหา และอุปสรรค การค้าออนไลน์เพิ่งเริ่มพัฒนา การจ่ายเงิน และการขนส่ง ก็มีความยากลำบาก ซึ่ง Klangthai เป็นจุดหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ โดยมีจุดเด่นคือ
หนึ่ง เชื่อมต่อช่องทางการขาย: การเชื่อมต่อหลากหลายช่องทางการสื่อสาร Social commerce, ปัจจุบัน Klangthai เชื่อมต่อกับร้าน Little fashion platform เสื้อผ้าแฟชั่นใน กัมพูชา
สอง เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ
สาม มีบริการทีมขาย & การตลาด มีทีมคอลเซนเตอร์ ช่วยติดตามการขายซ้ำได้ เพราะโดยปกติการขายครั้งแรกขาดทุนอยู่แล้ว เพราะต้องเสียค่าโฆษณาเพื่อให้ลูกค้าเข้าระบบ
11) จุดสำคัญที่ต้องดู?
หนึ่ง สินค้า เหมาะกับการส่งไปต่างประเทศหรือไม่ บรรจุภัณฑ์ต้องแน่นหนา สินค้าที่แตกหักง่าย อาจส่งไปขายยาก
สอง คอนเท้นท์ ที่มีต้องเหมาะกับช่องทางขาย ซึ่งก็คือ การขายบนเฟสบุ๊ก โดยทาง Klangthai มีโปรแกรม สามารถช่วยแปลภาษาไทยเป็นกัมพูชาได้ ปัจจุบันเปิดให้ใช้ฟรี 3 เดือน, ถ้าพร้อม 7-14 วัน พร้อมขายได้
สาม ต้องมีการทำการตลาดเพิ่มเติม ให้คนกัมพูชา จดจำสินค้าได้ โดยค่ายิงโฆษณา บนเฟสบุ๊คที่กัมพูชาถูกกว่าไทย เพราะที่ไทยต้นทุนการ Bid โฆษณาแข่งกันมาก ที่กัมพูชา ปกติ 2 บาท เพื่อให้ลูกค้าทัก 1 inbox ต่างจากที่ไทย อาจเป็นหลักสิบ ถึงร้อยบาท ต่อการทัก 1 inbox
หากจะไปทำตลาดโฆษณา ต้องเตรียมงบหลักหมื่น ใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือนสร้างตลาด หลังจากนั้นจะดีขึ้น
ในการยิงโฆษณา โดยช่วงแรกงบโฆษณาอาจอยู่ที่ 25-30% และลดลงเหลือ 5-10% เมื่อลูกค้าจดจำแล้ว หากเทียบกับการไปแสดงสินค้า ก็ต้องใช้เงินทั้งค่าที่พักโรงแรม อาจเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า
12) กัมพูชา เทียบ ตลาดอื่นๆ ใน CLMV?
จุดเหมือนคือ ชอบสินค้าไทย
จุดต่าง เช่น การโฆษณาในประเทศลาว สามารถใช้ได้เลย วัฒนธรรมการรับรู้ถึงกัน ส่วนกัมพูชา ต้องใช้ดาราชื่อดัง, คนกัมพูชา ชอบความสนุก, แทรกความเป็นครอบครัว, และการอยู่รวมกันเป็นแก๊งค์
13) ส่งท้าย
ทำไมต้องออนไลน์ คงไม่ต้องถาม และหากดูว่าตลาด CLMV เป็นตลาดใหญ่ 200 ล้านคน เทียบประเทศไทย 3 ประเทศ คิดดูว่าหาก จ้างคนมาถ่ายทำ 1 ครั้ง โฆษณาคน 200 ล้านคน
ล่าสุดยอดขาย Klangthai หลังโควิด โตขึ้นแล้ว 30%
และช่วงนี้ คุณปิงมีการจัด โปรโมชั่น Free Shipping, Free COD ช่วงนี้ ให้กับ Thai Pavilion บน Klangthai
สนใจอ่านเพิ่มได้ที่ https://bit.ly/3eDOwO5
และ สำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ สามารถลงทะเบียนรับเรทพิเศษกับทาง Zupports.co ได้เลย
https://zupports.co/register/?utm_source=web&utm_medium=home_banner&utm_campaign=register
ต้องขอบคุณทาง Thaitrade และ Klangthai ที่จัดงานเสวนาดี มา ณ ที่นี้
════════════════
ราคาขนส่งทั่วโลก ที่ดีที่สุด
════════════════
👫 พิเศษสุด! นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า Marketplace
สำหรับเพื่อนๆ นำเข้า ส่งออก เชิญค้าขายกันได้เลย
https://www.facebook.com/groups/573677150199055/?source_id=416086589242286
❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก
👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า–ส่งออก