ธุรกิจควรปรับตัวอย่างไรในภาวะวิกฤต?

เคล็ดวิชาจากกองทุน Venture ระดับโลก

เมื่อเร็วๆ นี้ทางกองทุน Sequoia Capital ที่ลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพดังๆ ทั่วโลกทั้ง Apple, Google, PayPal, YouTube, Instagram, WhatsApp, AirBnb, Alibaba และบริษัทอื่นๆอีกมากมาย

ออกมาเตือน ถึงความน่ากลัวของสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า…

โดยทาง Sequoia Capital ระบุว่า ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) คือ

หงส์ดำ หรือ “Black Swan” แห่งปี ค.ศ. 2020 เลยทีเดียว

ที่ผู้บริหารธุรกิจ ต้องวิเคราะห์ และเตรียมการรับมือ

ครั้งล่าสุดที่ทาง Sequoia Capital ออกมาเตือน คือช่วงปี 2008 ก่อนที่จะเกิดเหตุวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ หรือ Sub-prime ในสหรัฐฯ ด้วยเอกสารที่ชื่อว่า “ไว้อาลัยให้กับช่วงเวลาดีๆ – R.I.P. Good Times”

ดังนั้น เราก็ควรที่จะเรียนรู้ว่า ทาง Sequoia Capital ให้คำแนะนำแก่ผู้บริหาร บริษัทที่ Sequoia ไปลงทุน ไว้ว่าอย่างไรบ้างในช่วงเวลาวิกฤต เช่นนี้

ซึ่งเราน่าจะสามารถนำข้อคิดที่ได้ มาประยุกต์ใช้กับบริบทของธุรกิจบ้านเราได้ ไม่มากก็น้อย…

หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย

════════════════

หาราคาขนส่งทั่วโลก ที่ดีที่สุด

www.zupports.co

════════════════

1) บริษัทต่างๆ กำลังประสบปัญหา หลักๆ ได้แก่

หนึ่ง ยอดขายพลาดเป้า

บางบริษัทเช่น ในจีน อาจเจอผลกระทบตั้งแต่เดือน ธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา บางบริษัทกำลังปวดหัวกับตัวเลขไตรมาส 1

สอง การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน

บริษัทที่ต้องพึ่งจีนในการผลิตสินค้า ต่างต้องมุ่งหา แหล่งผลิตในประเทศอื่น ส่วนบริษัท ซอฟต์แวร์ อาจได้รับผลกระทบช้ากว่า แต่ก็มีโอกาสได้รับผลเสียเป็นลูกโซ่

สาม การชะงักของธุรกิจจากการที่คนหยุดเดินทาง

ปัจจัยนี้กระทบมากกับธุรกิจที่ต้องใช้พนักงานขาย หรือต้องเดินทางไปเจรจาธุรกิจ

2) ทาง Sequoia ให้ความเห็นว่า คงต้องใช้เวลาหลายเดือน หรือบางทีอาจหลายไตรมาส จนกว่าทุกคนจะแน่ใจว่าสามารถควบคุมไวรัสได้แล้ว

แต่มันจะใช้เวลานานกว่านั้นกว่าเศรษฐกิจโลกจะกลับมาที่จุดเดิม

บางธุรกิจอาจเจอปัญหาลูกค้าไม่สั่งของ บางธุรกิจอาจเจอปัญหาไม่มีของให้สั่ง

3) ผู้บริหารทุกคน ควรตั้งคำถาม กับ สมมติฐานในการทำธุรกิจ ในทุกๆ มิติ ได้แก่

หนึ่ง เงินทุนที่เหลือในการทำธุรกิจ (Cash Runway)

. ข้อแรกนี้ถือเป็นจุดตายเลย สำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่ต้องพึ่งเงินจากนักลงทุนในการอยู่รอด เนื่องจากธุรกิจยังไม่ทำกำไร

. ผู้บริหารต้องพิจารณาว่าหาก มีผลประกอบการที่แย่ลง บริษัทยังอยู่รอดได้หรือไม่ รวมไปถึง มีหนทางลดต้นทุนอย่างไรบ้าง?

สอง การระดมทุนเพิ่ม (Fundraising)

แน่นอนว่าช่วงนี้คงมีนักลงทุนไม่กี่คนที่มีอารมณ์ มาให้เงินทุนเพิ่ม

อย่างไรก็ดีในทุกวิกฤติ มีโอกาส โดยมีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วเสมอๆ ตัวอย่างเช่น

. Cisco หลังเหตุการณ์ Black Monday ปี 1987

. Google และ PayPal หลังปี วิกฤต dot.com ปี 2000

. AirBnb ช่วงวิกฤต Sub-prime ปี 2008

สาม ประมาณการยอดขาย (Sales Forecasts)

ถึงแม้ว่า ตอนนี้ลูกค้า หรือลูกค้าของคุณยังไม่ปรับลดประมาณการณ์ แต่ดีลที่ยังไม่ได้มีข้อสรุป ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ดังนั้นอย่าประมาท

สี่ ค่าใช้จ่ายทางการตลาด (Marketing)

พอลูกค้าซื้อของน้อยลง และยิ่งสถานการณ์ไม่แน่นอนแบบนี้ ทำให้ต้องกลับมาพิจารณา ช่องทางที่จะทำการตลาด ที่ได้ผลตอบแทนต่อการลงทุน หรือ Return on Investment (ROI) ที่ดี

ห้า จำนวนพนักงาน (Headcount)

อาจถึงเวลาที่ต้องพิจารณาว่า เราสามารถทำงานได้มากขึ้น โดยใช้คนน้อยลงได้หรือไม่

หก งบลงทุน (Capital Spending)

ข้อนี้ ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน เหมาะกับสถานการณ์ บางทีการลงทุนในช่วงนี้ อาจเป็นสิ่งที่ควรทำก็ได้ หากธุรกิจอยู่ในจุดที่ได้ประโยชน์ (เช่น ธุรกิจสั่งอาหารออนไลน์ เป็นต้น)

4) ด้วยความที่ Sequoia Capital ดำเนินการมาแล้วกว่า 50 ปี เห็นธุรกิจเจ๊งมาเยอะแล้ว ดังนั้น เขาจึงสรุปว่า

หนึ่ง การตัดสินใจที่รวดเร็ว เฉียบขาด และเข้ากับสถานการณ์ ไม่ทำให้คุณผิดหวัง

สอง ช่วงธุรกิจขาลง เงินสดและรายได้ จะลดลงเร็วกว่าค่าใช้จ่าย อย่างแน่นอน (ทำยังไงก็ได้ให้มั่นใจว่าจะอยู่รอด)

สาม เหมือนที่ ชาร์ลส์ ดาร์วิน กล่าวว่า “ผู้ที่อยู่รอด ไม่ใช่ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุด แต่คือ ผู้ที่ปรับตัวได้ดีที่สุด”

คำแนะนำดังกล่าว ดูเรียบง่าย แต่ทำจริงอาจยากหน่อย โดยเฉพาะคนที่อาจหลงคิดว่า เราไม่ได้อยู่ในวิกฤตอะไร เลยไม่ได้ปรับเปลี่ยนอะไรเลย…

ลองพิจารณากันดูนะครับ

════════════════

หาราคาขนส่งทั่วโลก ที่ดีที่สุด

www.zupports.co

════════════════

ที่มา:

https://medium.com/sequoia-capital/coronavirus-the-black-swan-of-2020-7c72bdeb9753

https://www.cnbc.com/2020/03/05/sequoia-capital-alerts-companies-about-coronavirus-economic-fallout.html

💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก

ZUPPORTS.co

👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก

http://bit.ly/35Rh2ql

 

 

 

ข่าวสารอื่นๆ