Alibaba พัฒนา AI วิเคราะห์ภาพถ่าย CT Scan

ตรวจโควิด-19 แม่นยำ 96% รู้ผลใน 20 วินาที

เพื่อนๆ น่าจะได้เห็นคู่มือที่ทาง มูลนิธิอาลีบาบา และโรงพยาบาลแพทย์เจ้อเจียง ได้ร่วมกันเผยแพร่วิธีการรับมือโควิด-19 กันไปแล้ว

โดยที่จีนได้ใช้เทคโนโลยีอย่างหนึ่งในการช่วยตรวจวิเคราะห์ว่าผู้ป่วยติดเชื้อ โควิด-19 พร้อมทั้งยังสามารถเช็คความรุนแรงของอาการป่วย เพื่อให้รักษาได้ทันท่วงที

เทคโนโลยีนั้นก็คือ เทคโนโลยี CT Scan ย่อมาจาก Computed Tomography Scan ที่ถูกนำมาประยุกต์ ใช้เพื่อตรวจรักษาโรควิด-19 โดยเฉพาะ

ประเทศไทยอาจได้รู้จักเครื่องนี้มากขึ้นในไม่ช้า (จริงๆ ลุ้นให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นแบบช้าๆ จะได้ไม่ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่มีราคาค่อนข้างแพงแบบนี้)

บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเทคโนโลยี CT Scan ให้มากขึ้น และไปดูว่าเทคโนโลยีของอาลีบาบา มีความล้ำยุค อย่างไร

หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย

════════════════

หาราคาขนส่งทั่วโลก ที่ดีที่สุด

www.zupports.co

════════════════

1) เพื่อนๆน่าจะคุ้นเคยกับการไปถ่ายภาพ X-Ray ปอด เพื่อดูว่าปอดเรายังดีไหม โดยรังสีเอกซ์ ถูกค้นพบตั้งแต่ปี ค.ศ. 1895

2) แต่ X-Ray ก็เป็นการถ่ายภาพเพียง 1 มิติ จึงสามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้จำกัด แต่ในปี 1961ได้มีนายแพทย์ William Oldendorf นายแพทย์อายุรกรรมสมองและระบบประสาทแห่ง University of California ลอสแอนเจลิส ได้ไอเดียมาจากการใช้รังสีตรวจผลส้มบนสายพาน เลยเกิดความคิดว่าน่าจะใช้รังสี X-Ray ถ่ายภาพเนื้อเยื่อในสมองในระนาบต่างๆ ได้เหมือนกัน ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการพัฒนา CT scan ในเวลาต่อมา

Oldendorf ได้สร้างเครื่องต้นแบบโดยใช้ที่เก็บของและห้องครัวที่บ้าน อย่างไรก็ตามไอเดียเขาถูกปฏิเสธ เพราะไม่น่าจะคุ้มทุนในการผลิต ทำให้ Oldendorf ต้องยกเลิกความตั้งใจ และไปพัฒนาอย่างอื่นแทน

เครื่องต้นแบบของ Oldendorf

จนมาถึงปี ค.ศ. 1972 ความพยายามในการพัฒนาเครื่อง CT scan ก็เป็นผลสำเร็จแต่เป็นฝีมือของ Godfrey Hounsfield แห่งห้องปฏิบัติการของ บริษัท EMI และ นักฟิสิกส์เชื้อสายแอฟริกาใต้ Allan Cormack ที่ทำได้สำเร็จ และได้รับรางวัลโนเบล ในปี 1979

3) CT scan ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างภาพตัดขวงในร่างกายโดยใช้การถ่ายภาพ X-ray หลายๆ ภาพแล้วมาประมวลผล ทำให้สามารถตรวจเช็คความผิดปกติของเนื้อเยื่อ กระดูก หรือโครงสร้างของร่างกาย และช่วยบอกตำแหน่งที่แม่นยำ ที่ต้องนำเครื่องมือเข้าไปรักษาได้ เช่น การผ่าตัดต่างๆ

4) สำหรับเหตุการณ์โควิด-19 ทำให้เครื่อง CT scan ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย โดยใช้เป็นเครื่องที่ช่วยแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ออกมา ซึ่งแพทย์จีนใช้การถ่ายภาพ CT scan ควบคู่กับเทคนิคอื่นๆ

5) อาลีบาบา โดยสถาบันตั๊กม้อ (Damo) ก็ได้พัฒนา AI เพื่อใช้ช่วยวิเคราะห์ภาพถ่าย CT scan ได้เร็วขึ้น โดยสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างปอดอักเสบจากไวรัสทั่วไป และปอดอักเสบจากโควิด-19 ด้วยความแม่นยำกว่า 96%

Damo Academy

6) ในเรื่องความเร็วในการวิเคราะห์โรค โดยปกติแล้วแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจใช้เวลา 10-15 นาทีต่อเคส ในการวินิจฉัย ซึ่งพอใช้ AI ก็สามารถลดเวลาววินิจฉัยเหลือเพียง 20-30 วินาที

อย่างไรก็ตาม การใช้โปรแกรมมาร่วมในกันวินิจฉัยโรค ก็ยังถือเป็นความท้าทาย ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ต้องคุยกับทางแพทย์ผู้ใช้งานให้เข้าใจตรงกัน

7) ระบบ AI ของสถาบันตั๊กม้อ ทำหน้าที่ 2 ส่วนคือ

หนึ่ง ให้คำวินิจฉัยกรณีที่สงสัยว่าอาจติดเชื้อ

และสอง การติดตามผลการรักษาในกรณีที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อแล้ว

ซึ่งจะเห็นได้ว่า CT scan เป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นอย่างหนึ่ง ที่จีนใช้ในการรับมือโควิด-19

COVID-19 HANDBOOK

8) สถาบันตั๊กม้อ เริ่มพัฒนา AI สำหรับโควิด-19 มาตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยมากกว่า 5 พันราย

และได้ถูกนำไปใช้ช่วยงานกว่า 3 หมื่นเคส ในโรงพยาบาลมากกว่า 100 แห่ง ในมณฑลหูเป่ย, กวางตุ้ง, และอันฮุย

ก็เป็นข้อมูลความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีลองจีน โดยเฉพาะทางอาลีบาบา ที่จริงๆยังมีเทคโนโลยี ดีๆอีกมากที่งัดออกมาช่วยผู้คนในยากวิกฤตแบบนี้

ต้องถือว่าอาลีบาบา เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ใช้วิกฤตครั้งนี้เป็นสปริงบอร์ด ในการนำพาบริษัทให้ก้าวไปสู่ตำแหน่งที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันในอนาคต

ถือว่าน่าจับตามากๆ

════════════════

หาราคาขนส่งทั่วโลก ที่ดีที่สุด

www.zupports.co

════════════════

ที่มา:

http://www0.tint.or.th/nkc/nkc54/content-01/nstkc54-021.html

https://www.alizila.com/alibaba-unveils-technologies-to-empower-partners-in-fight-against-coronavirus/

https://www.alizila.com/how-damo-academys-ai-system-detects-coronavirus-cases

💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม

นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก

ZUPPORTS.co

👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้าส่งออก

http://bit.ly/35Rh2ql

 

 

ข่าวสารอื่นๆ