Freight Weekly Update [8– 18 Jul 2025]
อัปเดตโลจิสติกส์ Freight ระหว่างประเทศ (8–18 ก.ค. 2025)
ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2025 ตลาดโลจิสติกส์ทั่วโลกยังคงเผชิญความไม่แน่นอนสูง ทั้งจากนโยบายภาษีใหม่ของสหรัฐฯ การปรับกลยุทธ์สายเรือ และความแออัดของท่าเรือทั่วโลก โดยเฉพาะผู้ส่งออกจากไทยและอาเซียนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสงครามภาษีรอบใหม่
หากพร้อมแล้วไปติดตามกันเลย
=========================
ผู้นำเข้า-ส่งออก เทียบราคาขนส่งจากอย่างน้อย 3 เจ้า ในคลิกเดียว
ช่วยคุณวางแผนโลจิสติกส์ได้คุ้มค่าและแม่นยำยิ่งขึ้น
ลงทะเบียนฟรี https://bit.ly/3B5yRY8
=========================
🇺🇸 นโยบายภาษีสหรัฐฯ สั่นคลอนตลาดส่งออก: ไทยโดน 36%, เวียดนามได้ดีล 20%, อินโดนีเซียลดเหลือ 19%
สถานการณ์ล่าสุดชี้ให้เห็นว่า สหรัฐฯ เร่งเดินหน้านโยบาย “Reciprocal Tariffs” โดยมีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้:
-
ประธานาธิบดีทรัมป์ทยอยส่งจดหมายประกาศภาษีนำเข้าสำหรับคู่ค้ากว่า 10 ประเทศต่อวัน โดยคาดว่าจะมีผล 1 ส.ค. 2025 หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากคำสั่งฝ่ายบริหาร
อัตราภาษีล่าสุดที่ประกาศ:
-
25%: ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, คาซัคสถาน, ตูนิเซีย
-
30%: สหภาพยุโรป (EU), เม็กซิโก, แคนาดา, แอฟริกาใต้, บอสเนีย
-
32%: อินโดนีเซีย (ก่อนลดลงเหลือ 19% ตามข้อตกลงล่าสุด)
-
35%: แคนาดา, บราซิล, เซอร์เบีย, บังคลาเทศ
-
36%: ไทย, กัมพูชา
-
40%: ลาว, เมียนมา
-
เวียดนาม: ได้ข้อตกลงชั่วคราวอยู่ที่ 20% (จากเดิมประกาศไว้ 46%)
-
สินค้าที่ transshipment ผ่านเวียดนามจากจีน ยังถูกเก็บภาษี 40%
-
ข้อมูลเพิ่มเติมล่าสุด:
-
อินโดนีเซีย: สหรัฐฯ ประกาศข้อตกลงใหม่เมื่อ 15 ก.ค. ลดภาษีเหลือ 19% (จากเดิม 32%) ทางฝั่งอินโดนีเซียมีการยืนยันตัวเลข 19% แต่ยังไม่มีเอกสารอย่างเป็นทางการ
-
EU: ชะลอการตอบโต้ภาษีสหรัฐฯ ไปถึงต้นเดือนสิงหาคม เพื่อเปิดทางเจรจา
-
USTR เปิดสอบสวน Section 301 กับบราซิล: ตรวจสอบนโยบายดิจิทัล, ระบบชำระเงิน, การบังคับใช้กฎหมายทุจริต ฯลฯ
-
ทรัมป์ประกาศภาษีใหม่:
-
BRICS: เก็บเพิ่มอีก 10% จากอัตราปกติ
-
ยา: มีแผนเก็บภาษีสูงสุด 200% หากไม่ย้ายฐานการผลิตกลับสหรัฐฯ ภายใน 1 ปี
-
ทองแดง: เตรียมเก็บภาษี 50% เริ่ม 1 ส.ค. หลังสิ้นสุดการสอบสวนด้านความมั่นคง
-
รัสเซีย: ขู่เก็บภาษี 100% หากไม่เจรจาสันติภาพกับยูเครนภายใน 50 วัน และยังรวมถึงประเทศที่ค้าขายกับรัสเซียด้วย
-
หมายเหตุ:
-
สินค้าที่พยายาม “transship เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี” จะถูกตีความว่าต้องเสียภาษีในอัตราสูงสุดของต้นทาง
-
จนถึงตอนนี้ ยังไม่มีการยืนยันว่าประเทศที่อยู่ใน USMCA เช่น เม็กซิโกหรือแคนาดา จะได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่
- ภาษี Reciprocal Tariff เหล่านี้ที่ประกาศเพิ่ม เป็น add-on จากภาษีเดิมที่มีอยู่ทั้งหมด เช่น พวก MFN, Anti Dumping
📦 ความต้องการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ทั่วโลกฟื้น ยกเว้นอเมริกา
-
Global Container Demand เดือน พ.ค. 2025:
-
ทั่วโลก +1.8% YoY
-
หากไม่รวมอเมริกาเหนือ: +5.6%
-
-
ตลาดอเมริกาเหนือยังติดลบ:
-
นำเข้า -9.4% / ส่งออก -8.1%
-
เส้นทาง Pacific: นำเข้า -15% / ส่งออก -16%
-
-
สายเรือเริ่มหันไปเน้นเส้นทาง intra-Asia, ตะวันออกกลาง และยุโรป
🚢 สายเรือเริ่มลดเที่ยวบน Pacific หลังดีมานด์ร่วง
-
Hapag-Lloyd ประกาศ GRI $1,000/ตู้ สำหรับสินค้าจาก Indian Subcontinent & ตะวันออกกลางไปอเมริกาเหนือ
-
ONE เปิดตัว Finland Express 2 ใช้เชื้อเพลิงเมทานอล — พัฒนาร่วมกับ X-Press Feeders
-
สายเรือลด capacity เส้นทางเอเชีย–สหรัฐฯ หลังดีมานด์ชะลอตัว
-
ความตรงต่อเวลาเรือดีขึ้นเล็กน้อยในเดือน มิ.ย. แต่ยังต่ำกว่า 65% โดยเฉพาะเส้นทางเอเชีย–สหรัฐฯ
-
ราคาน้ำมันเรือ VLSFO เพิ่มขึ้นอีก $35/ตัน นับจาก เม.ย.
⚓ ท่าเรือหลักยังหนาแน่น: สิงคโปร์–อินเดีย–เวียดนาม–ยุโรป ยังมีความเสี่ยงดีเลย์สูง
สถานการณ์การปฏิบัติงานของท่าเรือทั่วโลกในช่วง 8–18 กรกฎาคม 2025 พบว่า:
-
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
• สิงคโปร์, Port Klang, เซี่ยงไฮ้: ความแออัดต่อเนื่อง ดีเลย์ 7–10 วันขึ้นไป แนะนำเผื่อเวลาก่อน ETD 10–15 วัน
• เวียดนาม (HCM, Haiphong, Vung Tau): ความต้องการใช้งานเพิ่มจากการย้ายฐานการผลิต ทำให้ utilization สูงถึง 80–90% ดีเลย์เฉลี่ย 0.5–1 วัน
• ไทย (แหลมฉบัง): สถานการณ์หัวลากดีขึ้น แต่ควรคืนตู้ล่วงหน้า ≥1 วัน
• ปากีสถาน–บังกลาเทศ: ต้องจองล่วงหน้า 2–3 สัปดาห์ โดยเฉพาะสินค้า DG หรือพิเศษ
• ตะวันออกกลาง (Jebel Ali): ผู้คนกักตุนสินค้าเพิ่ม สเปซแน่น โดยเฉพาะสินค้าจากจีน ซึ่งพุ่งขึ้นกว่า 300% ในต้นเดือน ก.ค. -
จีน
• เซี่ยงไฮ้: ท่า YS ดีเลย์ 2–3 วัน, WGQ ดีเลย์ 1.5–2 วัน
• Qingdao, Ningbo: ยังมีเรือรอเข้าท่า 30–100+ ลำ
• Xiamen ปิดชั่วคราว 7 ชั่วโมงจากหมอก -
ยุโรป
• Antwerp & Hamburg: ความหนาแน่นสูง, รอขึ้นของ 7–8 วัน, ขาดแรงงานช่วงวันหยุดฤดูร้อน
• Zeebrugge: ถูกเลือกเป็นทางเลือกใหม่แทน Antwerp
• Algeciras: ให้ความสำคัญกับเรือที่มีน้ำหนักบรรทุกสูงเพื่อลดความแออัดในลาน
• Rotterdam: RWG รอเทียบท่า 5 วัน, ECT ดีเลย์บ่อยช่วงพีค -
อเมริกา
• Los Angeles: มี volume สูงสุดในรอบหลายเดือน (จากการเร่งนำเข้าในช่วงหยุดภาษีจีน)
• เม็กซิโก (Altamira, Veracruz): เสี่ยงดีเลย์จากฤดูพายุเฮอริเคน
• นิวยอร์ก: APMT ปิดประตูเมื่อ 15 ก.ค. จากเหตุขัดข้องไฟฟ้า
• แคนาดา: Vancouver รอรถไฟขนส่งนาน 9 วัน -
แอฟริกา
• Durban (แอฟริกาใต้): เรือรอเทียบท่าเฉลี่ย 2.5 วัน
• Mombasa (เคนยา): รอเทียบท่า 5.6 วัน
• Skikda (แอลจีเรีย): ดีเลย์สูงสุด 6.5 วัน -
อเมริกากลางและใต้
• Manzanillo (เม็กซิโก): Utilization สูง 91%
• Callao (เปรู): ความล่าช้าจากปิดทางเข้าเมือง
• El Salvador – Acajutla: ดีเลย์ลดลงจาก 10 วัน เหลือ 3–4 วัน
ค่าระวางผันผวน: ค่าระวางโดยรวมอ่อนตัว เส้นทางเอเชีย–US ปรับตัวลงไปใกล้เดียงกับช่วงเดือน มี.ค. 2025
- ดัชนี Freight ล่าสุด:
- SCFI (USWC): ลดลงกลับไปเท่าระดับ มี.ค. 2025
- ดัชนี SCFI (11 Jul 2025) ปรับตัวลงเล็กน้อย อยู่ที่ 1733.29
- ZUPPORTS Freight Rate Trend ราคาเฟรท นำเข้าส่งออกจากไทย มี แนวโน้มราคาเฟรทบางเส้นทางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ Intra Asia ในขณะที่เส้นทางส่งออกจากไทย ไปสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง สนใจข้อมูลสมัครใช้บริการได้ที่ https://bit.ly/3B5yRY8
=========================
ผู้นำเข้า-ส่งออก เทียบราคาขนส่งจากอย่างน้อย 3 เจ้า ในคลิกเดียว
ช่วยคุณวางแผนโลจิสติกส์ได้คุ้มค่าและแม่นยำยิ่งขึ้น
ลงทะเบียนฟรี https://bit.ly/3B5yRY8
=========================
ZUPPORTS แพลตฟอร์มโลจิสติกส์ที่ช่วยคุณรับมือทุกสถานการณ์
ไม่ว่าค่าระวางจะผันผวนแค่ไหน หรือท่าเรือจะแออัดเพียงใด ZUPPORTS คือผู้ช่วยมืออาชีพของผู้นำเข้าส่งออก
✅ เปรียบเทียบราคาค่าระวางจากหลายสายเรือได้ในไม่กี่คลิก มี Freight Rate Trend เช็คราคาเฟรท ง่ายๆ
✅ วางบิลออนไลน์ ตรวจสอบค่าใช้จ่ายอัตโนมัติด้วย AI
✅ ทีมแอดมินช่วยประสานงานแบบเรียลไทม์
✅ ติดตามข่าวสารโลจิสติกส์อย่างสม่ำเสมอ
👉 สมัครทดลองใช้งานฟรี ได้ที่: https://zupports.co/register/